ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ศาสตร์ว่าด้วย การกิน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 03:00 PM

กินอย่างไร ให้กาย-สมดุล
แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องกินยังต้องมาสอนกันอีกหรือ!
หามิได้ เพียงแค่เอาเรื่องใกล้ๆ ตัว เรื่องที่เราคุ้นเคยมาบอกกล่าวกันในอีกแง่มุมหนึ่งเท่านั้น
ต้องเข้าใจกันก่อนว่าเรื่องง่ายๆ แค่เอาอาหารใส่เข้าปากนี่แหละ ถ้าจะให้มีผลดีต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ
ถือกันว่าต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ จึงกินได้อย่างมีสุข
ลองสังเกตการกินของคุณที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่กำลังจะบอกกล่าวกันนี้
ถ้าสนใจก็ลองทำดู ไม่ใช่กฎเหล็กที่บังคับให้คุณต้องทำ แต่ยามใดที่คุณตระหนักรู้และพร้อม
นั่นเป็นสัญญาณการเริ่มต้นที่ดีสำหรับคุณ


จงกินต่อเมื่อหิว ***
ว่ากันว่าการกินอาหารโดยที่อาหารมื้อก่อนยังไม่ถูกย่อยเต็มที่เป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยหลายอย่าง
ตั้งแต่อาการพื้นๆ อย่างเช่น
เบื่ออาหาร ท้องอืด ไปจนถึงอาการเรื้อรังอย่างถ่ายอุจจาระทันทีหลังจากกินอาหาร เลือดจาง ปวดท้องบ่อยๆ


ถามว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารมื้อก่อนถูกย่อย
เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีประสบการณ์ที่ถึงเวลาอาหารแล้วยังไม่รู้สึกหิว แต่ก็นั่นแหละถึงแม้ว่ายังไม่หิวเชื่อว่าหลายคนก็ยังคงกินเพียงเพราะถึงเวลาต้องกิน และในทางกลับกันคงมีบ่อยครั้งที่เรากินเพราะใจมันอยากมากกว่ากินเพราะหิว


ความหิวเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังต้องการอาหาร
เมื่อไรที่ไม่หิวก็แสดงว่าร่างกายยังไม่ต้องการ และที่ควรเน้นค่อนข้างมากก็คือ อย่ากินอาหารมื้อต่อไปจนกว่าอาหารในมื้อก่อนจะถูกย่อยเต็มที่แล้ว


ถามว่าแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารมื้อก่อนถูกย่อยเรียบร้อยดีแล้วหรือยัง

คำตอบก็คือสังเกตตัวเองว่ารู้สึกหิวหรือไม่ ถ้าหิวก็แสดงว่าอาหารมื้อก่อนหน้านั้นถูกย่อยดีแล้ว

แต่ถ้าถึงเวลาแล้วยังไม่รู้สึกหิวแสดงว่าไฟธาตุหรือระบบย่อยอาหารของเราเริ่มเสียสมดุล
ซึ่งถ้าเรากินอาหารเข้าไปอีก อาหารจะไม่ถูกย่อยอย่างเต็มที่ ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมเอาไปใช้ได้

ระหว่างความรู้สึกหิวกับใจมันอยาก บางครั้งอาจจะดูยาก ถ้าเราไม่แน่ใจว่าเราหิวจริงหรือไม่
มีข้อแนะนำว่าจะลองอดอาหารสักมื้อสองมื้อ แล้วจะรู้จักว่าความหิวเป็นอย่างไร


นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำว่าไม่ควรกินอาหารมื้อเช้าเช้ามากเกินไป หรือกินอาหารมื้อเย็นเสียจนค่ำเกินไป ตรงนี้ก็น่าจะสัมพันธ์กับระบบย่อยเหมือนกัน ถือถ้าเช้าเกินไปไฟธาตุเรายังไม่คึกคักเข้มแข็ง และถ้าค่ำเกินไปก็เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายกำลังจะพักผ่อนแล้ว
การกินอาหารค่ำหรือดึกเกินไปจะทำให้อาหารถูกย่อยไม่เต็มที่นั่นเอง


อย่ากินอาหารในขณะที่อารมณ์ผิดปกติ

อาหารหรือจิตใจที่แปรปรวนมีผลทำให้ไฟธาตุหรือระบบย่อยอาหารเสียสมดุล
นั่นหมายถึงว่าอาหารที่เรากินเข้าไปจะถูกย่อยได้ไม่เต็มที่
เพราะฉะนั้นแทนที่จะเป็นผลดีก็อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้

อย่ากินอาหารทันทีหลังจากการออกกำลังกาย
ควรจะให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวเองก่อน อาจจะรอกระทั่งลมหายใจเริ่มเป็นปกติ และเรารู้สึกหายเหนื่อยแล้ว ถ้าจะให้ดีควรจะอาบน้ำอาบท่าให้สดชื่นก่อนแล้วค่อยมากินอาหาร
ข้อนี้รวมถึงว่าหลังจากกินอาหารแล้วไม่ควรออกกำลังกายโดยทันทีอีกด้วย
เพราะหลังจากกินอาหารแล้ว ร่างกายกำลังใช้พลังไปกับการย่อยอาหาร ถ้าไปออกกำลังกายอีกพลังในการย่อยอาหารจะลดลงทำให้อาหารถูกย่อยไม่เต็มที่ นอกจากนี้การออกกำลังกายทันทีหลังอาหารอาจทำให้เกิดอาการจุก เสียดหรือปวดท้องได้


อีกอย่างหนึ่งก็คือหลังจากกินอาหารแล้วไม่ควรอาบน้ำทันทีเช่นกัน

ไม่ควรทำกิจกรรมอื่นๆ ในระหว่างที่กินอาหาร
ขณะที่กินอาหารให้เราจดจ่ออยู่กับการกิน ถ้าอธิบายในแง่กายภาพก็เหมือนกับข้อที่แล้ว
คือระหว่างที่กินอาหารร่างกายต้องใช้พลังในการเคี้ยว การกลืน กระทั่งถึงการย่อยอาหาร
ถ้าเรากิจกรรมอย่างอื่นอีก เช่น อ่านหนังสือ ดูทีวี ฟังวิทยุ พลังในร่างกายก็จะกระจัดกระจายไป
อาหารอาจจะถูกย่อยไม่เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น
เผลอๆ กินไปคุยไป หัวเราะไป อาจสำลักอาหารที่กำลังกลืนลงไปก็ได้


ถ้ามองในแง่จิตใจก็อาจอธิบายได้ว่า
ขณะที่เรากินอาหารก็ควรจะมีสมาธิอยู่กับการกินซึ่งถือว่าเป็นปัจจุบันขณะ หรือเป็นชีวิตทั้งชีวิตของเราในขณะนั้น
มีหลายคนที่ชอบกินข้าวไปก็อ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย หรือไม่ก็นั่งกินข้าวอยู่หน้าจอทีวี หรือฟังวิทยุไปด้วย ดูแล้วเหมือนกับว่าชีวิตต้องอยู่กับความเร่งรีบ ต้องทำอะไรหลายอย่างพร้อมๆ กัน
น่าคิดว่าการกินอาหารพร้อมกับที่อ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วยนั้น
จะทำให้เราได้สัมผัสและลิ้มรสอาหารได้อย่างแท้จริงหรือไม่


เวลากินอาหารควรนั่งกิน
ไม่ควรยืนกิน เดินกิน หรือนอนกิน และควรจะนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
คำแนะนำในเรื่องทิศนี้ศาสตร์อายุรเวทของอินเดียซึ่งถือเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ของทางตะวันออก ถือว่าพลังของดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดของพลังความร้อนทั้งมวล
ซึ่งย่อมสัมพันธ์กับไฟธาตุอันเป็นพลังแห่งการย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป


สถานที่กินอาหารควรเป็นที่ๆ สงบ
มีบรรยากาศที่ชวนให้รู้สึกอยากอาหาร ไม่อึกทึกครึกโครม สะอาด มีแสงสว่างที่พอเหมาะ
เคยมีคนตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า จริงๆ แล้วคนเราจะทำอะไรก็ตามเรามักใช้ประสาทสัมผัสมากกว่าหนึ่งอย่าง หรืออาจพูดได้ว่าต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ตรงนี้น่าจะรวมถึงการกินด้วย

ถึงแม้ว่าเราจะใช้ลิ้นเป็นประสาทสัมผัสหลักในการรับรู้รสชาติของอาหาร
แต่ใช่หรือไม่ว่าถ้าตามองเห็นอาหารร้อนๆ มีควันลอยกรุ่นเพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ
จมูกของเราได้กลิ่นหอมของอาหาร หรือหูได้ยินเสียงพูดคุยที่รื่นรมย์ ทั้งหมดที่ว่ามาน่าจะมีส่วนทำให้อาหารมื้อนั้นเอร็ดอร่อยถูกปากถูกใจขึ้นมาทันตาเห็น


ตรงนี้อยากเล่าประสบการณ์ส่วนตัวสักหน่อยใกล้ๆ ที่ทำงานของมูลนิธิสุขภาพไทยมีตลาดแห่งหนึ่งเวลาเจ้าหน้าที่นอนค้างที่สำนักงานพอเช้ารุ่งขึ้น
ก็มักไปกินขนมจีนน้ำยาตรงเพิงเล็กๆ ใต้ร่มไม้ นอกเหนือจากรสชาติที่เอร็ดอร่อยแล้ว การพูดจาที่สุภาพเรียบร้อยและใส่ใจลูกค้าดูจะเป็นแรงดึงดูดที่ทำให้พวกเรากลายเป็นลูกค้าขาประจำของเธอด้วย

ควรอาบน้ำหรืออย่างน้อยก็ล้างมือให้สะอาด
ข้อนี้ด้านหนึ่งคงเป็นเรื่องของสุขอนามัยทั่วๆ ไป แต่สังเกตว่าการได้ล้างมือ ล้างหน้า ล้างตาและล้างเท้าก่อนกินอาหารมีผลต่อจิตใจเราด้วยคือทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
พร้อมกันนั้นก็เหมือนกับเป็นช่วงผ่านให้เราได้ปรับจิตปรับใจจากกิจกรรมที่ทำมาก่อนที่จะกินอาหาร
ซึ่งกำลังกลายเป็นอดีตไปแล้ว มาสู่อนาคตที่กำลังกายเป็นปัจจุบันคือการกินอาหาร


เวลากินอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียด ***
จริงๆ แล้วการย่อยอาหารเริ่มต้นตั้งแต่ในปากแล้ว
การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดย่อมทำให้อาหารถูกย่อยไประดับหนึ่ง
และที่สำคัญเมื่อลงสู่กระเพาะก็จะถูกย่อยได้เต็มที่ขึ้น
โดยทั่วไปแล้วมีข้อแนะนำเกี่ยวกับปริมาณอาหารที่กินว่า
ควรกินอาหารที่เป็นของแข็ง ประมาณหนึ่งในสองของห้อง (หรือกระเพาะ)
กินอาหารที่เป็นของเหลวหนึ่งในสี่ ที่เหลืออีกหนึ่งในสี่ให้เป็นที่ว่างเพื่อที่จะได้มีพื้นที่ว่างๆ ให้อาหารได้คลุกเคล้าได้ทั่วถึงในขณะที่กำลังถูกย่อย


อาหารควรถูกปรุงและเสิร์ฟโดยคนที่รัก
ตรงนี้ถ้ามองในแง่จิตวิทยาคงเป็นเรื่องของการดูแลเอาใจใส่จากคนที่มีความรักความห่วงใยและเอื้ออาทรในกันและกัน ย่อมปรุงอาหารที่ดีมีประโยชน์ทำด้วยความรักความเอาใจใส่ อาหารนั้นย่อมจะมีทั้งคุณค่าและรสชาติที่ดี
คิดว่าหลักการข้อนี้อาจไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันเท่าไร

โดยเฉพาะกับครอบครัวเดี่ยวที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่นอกบ้าน และต้องฝากท้องไว้กับร้านอาหารนอกบ้าน ถ้าเป็นไปได้อาจต้องหาเวลาที่คนในครอบครัวได้ทำกับข้าวกินกันเองบ้างในกรณีนี้

ข้อแนะนำในการกินที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ถือเป็นกฎเหล็กที่ต้องยึดถือเป็นเกณฑ์ที่ตายตัว
หากควรประยุกต์ดัดแปลงให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายและจิตใจของเรา
ที่สำคัญเมื่อเราได้นำไปปฏิบัติแล้ว ควรเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขและมีชีวิตชีวา และน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่นำเราไปสู่ความเป็นองค์รวมของชีวิต .

จงกินต่อเมื่อหิว *** หากป่วย หรือกำลังโศกเศร้าใจ แม้ไม่หิว แต่ถ้าถึงเวลาอาหาร ก็ต้องกินนะครับ เพราะอาหารเป็น ยา
ตามธรรมชาติ และอาหารบางชนิด มีผลต่ออารมณ์ ให้สดชื่น กระปรี้ประเปร่า ได้


เวลากินอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียด ***
พระอาจารย์ที่หมู่บ้านปฏิบัติธรรม เคยสอนให้สังเกตการเคี้ยวอาหารของแต่ละคนว่า
1 คำข้าว ควรเคี้ยวกี่ครั้ง แล้วจึงค่อยกลืนอาหารคำั้นั้้ัน
อาหารเช้า กี่คำอิ่มพอดี
อาหารกลางวัน กี่คำอิ่มพอดี เป็นต้น

ซึ่งอาหารแต่ละคำก็มีจำนวนเคี้ยวไม่เท่ากัน เช่น
ข้าวต้ม โจ๊ก เคี้ยว 10 - 12 ครั้ง แล้วกลืน
อาหารประเภททผัก 25 - 27 ครั้ง
อาหารเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก > 30 ครั้ง



ซึ่งตัวเลขของแต่ละบุคคลอาจไม่เท่ากัน
ถ้าจำนวนเคี้ยวอาหารเหมาะสมกับชนิดของอาหาร กระเพาะอาหารจะทำงานพอดี ไม่หนักเกินไป
ร่างกายก็ดูดซึม สารอาหารได้เต็มประสิทธิภาพ


และเป็นการฝึกหาความพอดี เรื่องรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
นำไปสู่รู้ความพอดี ในการฝึกวางใจ อย่างไร นึกนิมิตหรือวางใจ แผ่วเบาแค่ไหน
ใจเราจึงสบายพอดี ไม่ใช่สบายคาที่ ( หลับ ) หรือ
ไม่ตั้งใจนึกนิมิตหรือวางใจหนัก จนตึง เกร็ง เครียด ซึ่งผิดวิธี
















#2 LoveMeditation

LoveMeditation
  • Members
  • 27 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 March 2006 - 10:35 PM

ขอบคุณ ครับ สาธุ

#3 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 02:45 AM

ขอบคุณค่ะ สาธุ จะเอาไปปฏิบัติ เพื่อสุขภาพค่ะ

"ถูกเสริฟด้วยคนที่เรารัก" น่าจะจริงนะว่ามันทำให้รู้สึกอร่อยเป็นพิเศษ

ตอนนี้ไม่ได้รักใครเป็นพิเศษ แม้นแต่พ่อแม่ก็ต้องว่าอุเบกขา
แต่ว่ารักไปหมดทุกคนเลย (Loving Kindness)
ถ้างั้นก็ให้ใครเสริฟก็ได้นะคะ อิ อิ
The Strongest is The Gentlest!

ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด

#4 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 01 April 2006 - 02:54 AM

QUOTE
จงกินต่อเมื่อหิว ***

ถูกต้องนะครับ ก็เหมือนกับที่คุณยายน้ำหอมได้สอนคุณลุงถาวร (ลุงหนวด) ไว้ว่า "ถ้าหิวจงกิน ถ้าอยากอย่ากิน" ครับ