สู้ต่อไปแบบใจเย็น ๆ นะคะ บุญกำลังทำงานอยู่อย่างเต็มที่ ตลอดเวลาเลยค่ะ
แต่เราเองก็ต้องให้ความร่วมมือโดยการทำใจใส ๆ ด้วยการทบทวนบุญที่เราทำมาด้วยความปลื้มปีติ
และให้คิดว่าในอดีตเราคงไม่ได้ทำบุญสม่ำเสมอ บางช่วงของชีวิต บาปจึงได้ช่องส่งวิบากกรรมมาให้เราในขณะนี้
ลองดูตัวอย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีซิ ท่านทำบุญใหญ่ สร้างมหาทานตลอดเวลา ยังต้องพบกับช่วงหมดทรัพย์เลย
ของพวกเรา ซึ่งไม่ได้เอาเงินปูเรียงเคียงกันเพื่อสร้างวัด ทำไมจะพบกับอุปสรรคบ้างไม่ได้
แต่ที่สำคัญ เมื่อพบอุปสรรคแล้ว ต้องนิ่ง ใส เย็น ให้พอ อย่าหวั่นไหว
อย่าตัดพ้อว่าบุญไม่ช่วย เดี๋ยวบาปจะได้ช่อง แล้วเหตุการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่
ให้คิดว่าเรากำลังถูกทดสอบ เหมือนท่านวิสัยหเศรษฐีกำลังถูกพระอินทร์แกล้งไม่อยากให้สร้างทานบารมีอย่างนั้นแหละ
ถ้าเราสามารถทำใจให้สงบและเชื่อมั่นในบุญได้แม้ในยามวิกฤติแล้ว สิ่งดี ๆ จะตามมาเอง
สู้ต่อไปนะคะ ไม่ต้องกลัว บุญกำลังช่วยอยู่ ขอเพียงเราเปิดใจรับความช่วยเหลือของบุญ
แล้วร้ายก็จะกลายเป็นดี หนักก็จะเป็นเบาเอง
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: CC
สถิติเว็บบอร์ด
- กลุ่ม Members
- โพสต์ 3
- ดูโปรไฟล์ 19427
- อายุ ไม่เปิดเผย
- วันเกิด ไม่เปิดเผย
-
Gender
ไม่เปิดเผย
0
Neutral
เครื่องมือผู้ใช้งาน
เพื่อน
CC ยังไม่มีเพื่อนในตอนนี้
ผู้เยี่ยมชมล่าสุด
โพสต์ที่ฉันโพสต์
ในกระทู้: กำลังท้อค่ะ..ทำไมบุญไม่ส่งผล
09 June 2009 - 10:13 AM
ในกระทู้: บารมี บารมี 10 ทัศ
14 May 2009 - 10:53 AM
พอดีเห็นว่าไม่ได้เรียงบารมี 10 ทัศ ไปตามลำดับ จึงขอส่งการเรียงลำดับที่ถูกต้องพร้อมกับเรื่องระดับของบารมีมาให้ค่ะ
ทาน ศีล ภาวนา กับการสร้างบารมี
บุญอันเกิดจากทาน ศีล ภาวนานี้ มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ สะสมได้ เมื่อกระทำให้มากเข้าก็จะกลั่นตัวกลายเป็น "บารมี" ซึ่งมีอานุภาพยิ่งกว่าบุญมากมายนัก
บารมี คือ ความดีอย่างยิ่งยวด เป็นธรรมอันเลิศ ธรรมอันประเสริฐ ที่พระบรมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ สั่งสมไปโดยลำดับ เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 10ประการ หรือที่เรียกว่า บารมี 10 ทัศ คือ
1. ทานบารมี คือ การให้ทาน
2. ศีลบารมี คือ การละเว้นบาป และความชั่วทั้งปวง
3. เนกขัมมบารมี คือสละการพัวพันในเรื่องกามเรื่องครอบครัว แล้วหลีกเร้นแสวงหาทางหลุดพ้น
4. ปัญญาบารมี คือ การเสาะหา แสวงหาความรู้ที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
5. วิริยบารมี คือ ความหมั่นเพียรไม่ท้อถอย กล้าที่จะสู้กับอุปสรรค
6. ขันติบารมี คือ ความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่น่ายินดี และไม่น่ายินดี
7. สัจจบารมี คือ ความตั้งใจมั่นที่จะทำความดี
8. อธิษฐานบารมี คือ การตั้งความปรารถนาเพื่อบรรลุเป้าหมายในหนทางของความดี
9. เมตตาบารมี คือ ความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
10. อุเบกขาบารมี คือ ความวางเฉยต่อสุข และทุกข์ หรือมีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
บารมีทั้ง 10 ทัศนี้ เป็นสิ่งที่ต้องสั่งสมมาหลายภพหลายชาติจนติดเป็นนิสัย บารมี 10 ทัศ แท้จริงก็คือนิสัยที่ดีเลิศ 10 อย่างนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นจากการสั่งสมทาน ศีล ภาวนา มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเข้มข้นขึ้นมาในระดับที่เกิดสัมมาทิฏฐิอย่างเหนียวแน่น เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิต ว่าเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร มีใจใหญ่พอที่จะทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพัน ในการทำความดีทุกรูปแบบ ซึ่งเราเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า พระโพธิสัตว์จึงเป็นที่มาของการบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ทั้ง 3 ระดับ คือ
1. บารมีอย่างธรรมดา เรียกว่า บารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง
2. บารมีอย่างปานกลาง เรียกว่า อุปบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้แม้เลือดเนื้อและอวัยวะเพื่อความดีนั้น
3. บารมีอย่างสูงสุดอุกฤษฏ์ เรียกว่า ปรมัตถบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้แม้ด้วยชีวิต
เมื่อบารมีทั้ง 10 จำแนกออกเป็นองค์ละ 3 บารมีอย่างนี้ จึงรวมเป็น บารมี 30 ทัศ
ที่มา หนังสือเรียน DOU วิชาวิถีชาวพุทธ
ทาน ศีล ภาวนา กับการสร้างบารมี
บุญอันเกิดจากทาน ศีล ภาวนานี้ มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ สะสมได้ เมื่อกระทำให้มากเข้าก็จะกลั่นตัวกลายเป็น "บารมี" ซึ่งมีอานุภาพยิ่งกว่าบุญมากมายนัก
บารมี คือ ความดีอย่างยิ่งยวด เป็นธรรมอันเลิศ ธรรมอันประเสริฐ ที่พระบรมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ สั่งสมไปโดยลำดับ เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 10ประการ หรือที่เรียกว่า บารมี 10 ทัศ คือ
1. ทานบารมี คือ การให้ทาน
2. ศีลบารมี คือ การละเว้นบาป และความชั่วทั้งปวง
3. เนกขัมมบารมี คือสละการพัวพันในเรื่องกามเรื่องครอบครัว แล้วหลีกเร้นแสวงหาทางหลุดพ้น
4. ปัญญาบารมี คือ การเสาะหา แสวงหาความรู้ที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
5. วิริยบารมี คือ ความหมั่นเพียรไม่ท้อถอย กล้าที่จะสู้กับอุปสรรค
6. ขันติบารมี คือ ความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่น่ายินดี และไม่น่ายินดี
7. สัจจบารมี คือ ความตั้งใจมั่นที่จะทำความดี
8. อธิษฐานบารมี คือ การตั้งความปรารถนาเพื่อบรรลุเป้าหมายในหนทางของความดี
9. เมตตาบารมี คือ ความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
10. อุเบกขาบารมี คือ ความวางเฉยต่อสุข และทุกข์ หรือมีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
บารมีทั้ง 10 ทัศนี้ เป็นสิ่งที่ต้องสั่งสมมาหลายภพหลายชาติจนติดเป็นนิสัย บารมี 10 ทัศ แท้จริงก็คือนิสัยที่ดีเลิศ 10 อย่างนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นจากการสั่งสมทาน ศีล ภาวนา มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเข้มข้นขึ้นมาในระดับที่เกิดสัมมาทิฏฐิอย่างเหนียวแน่น เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิต ว่าเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร มีใจใหญ่พอที่จะทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพัน ในการทำความดีทุกรูปแบบ ซึ่งเราเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า พระโพธิสัตว์จึงเป็นที่มาของการบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ทั้ง 3 ระดับ คือ
1. บารมีอย่างธรรมดา เรียกว่า บารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง
2. บารมีอย่างปานกลาง เรียกว่า อุปบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้แม้เลือดเนื้อและอวัยวะเพื่อความดีนั้น
3. บารมีอย่างสูงสุดอุกฤษฏ์ เรียกว่า ปรมัตถบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้แม้ด้วยชีวิต
เมื่อบารมีทั้ง 10 จำแนกออกเป็นองค์ละ 3 บารมีอย่างนี้ จึงรวมเป็น บารมี 30 ทัศ
ที่มา หนังสือเรียน DOU วิชาวิถีชาวพุทธ
- ธรรมะสร้างกำลังใจ ทำให้คุณเป็นสุขใจได้ตลอดเวลา
- → ดูโปรไฟล์: โพสต์: CC
- Privacy Policy
- เงื่อนไข ข้อตกลง และกฏระเบียบของเว็บไซต์ DMC ·