จิตใจ
ควบคุมทุกระบบ
นักจิตวิทยาเชื่อว่า จิตใจคนเรานั้นมี 2 ระดับ
จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก
จิตใจทำงานอย่างไร?
เหตุใดจึงมีอิทธิพลมากนัก?
นักจิตวิทยาเชื่อว่า จิตใจคนเรานั้นมี 2 ระดับ คือ
1. จิตสำนึก ...มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนเราประมาณ 7%
2. จิตใต้สำนึก ...มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนเราประมาณ 93%
จิตสำนึก
จะทำหน้าที่คิดคำนวนแยกแยะหาเหตุผลต่างๆ ที่รับรู้มาทางประสาทสัมผัส 5 คือ "ตา หู จมูก ลิ้น กาย"
จิตใต้สำนึก
เป็นที่รองรับอุปนิสัย กล่าวคือ อุปนิสัยในความคิดของจิตสำนึก ที่รับสิ่งต่างๆ มาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะจมดิ่งลงสู่จิตใต้สำนึก "มันจะก่อประโยชน์ ถ้าอุปนิสัยคิดไปในทางบวก" และตรงกันข้าม "มันจะก่อให้เกิดโทษ ถ้าอุปนิสัยเป็นไปในทางลบ"
พฤติกรรมของเรานั้น เช่น "จะดีหรือเลว เข้มแข็งหรืออ่อนแอ ความเชี่ยวชาญในทักษะใดๆ" เป็นต้น "จิตใต้สำนึกมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมทั้งหลาย" รวมทั้ง "การทำงานของจิตใต้สำนึกด้วย"
เมื่อมีการสัมผัสต่างๆ กระตุ้นจากภายนอก ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย การรับรู้ต่างๆ จะถูกส่งไปตามเส้นประสาท พื่อถ่ายทอดไปยังสมองสมองจะแปลงสัญญาณเหล่านี้โดยลำพังไม่ได้การรับรู้เป็นหน้าที่ของจิตสำนึกในขณะที่เราไม่รู้สึกตัว เช่น "เวลานอนหลับ" ตาและหูของเรายังรับแสงและเสียงได้ แต่เราไม่รู้ตัวเลยเพราะจิตสำนึกไม่ทำงาน เมื่อจิตสำนึกรับสิ่งใดเข้ามา "มันจะส่งไปยัง...จิตใต้สำนึก" ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลต่างๆ "เพราะจิตใต้สำนึกทำงานตลอดเวลา...ไม่มีเวลานอนหลับพักผ่อน"
ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บสะสมไว้ในจิตใต้สำนึก ไม่จำเป็นจะต้องผ่านจิตสำนึกเสมอไป "ข้อมูลอาจจะถูกส่งไปที่จิตใต้สำนึกได้โดยตรง" ดังนั้น "ระหว่างที่เรานอนหลับเราไม่รู้ว่ามีเสียงอะไรมาเข้าหูเรา แต่จิตใต้สำนึกรู้และรับหมด เราจึงอาศัยวิธีนี้ในการสอนบางสิ่งบางอย่างแก่เด็กได้" และเรียกวิธีนี้ว่า "การเรียนระหว่างนอนหลับ พอเด็กตื่นขึ้นมาเขาก็ยังจดจำบางส่วนได้บ้าง" ดังนั้น พ่อแม่ทะเลาะและด่าทอกันด้วยคำหยาบ ทุกสิ่งที่พ่อแม่พูด "จะถูกเก็บสะสมไว้ในจิตใต้สำนึกของเด็ก" และสักวัน "มันจะโผล่ออกมาจากความทรงจำทำให้เด็กกลุ้มอกกลุ้มใจหรือกลายเป็นเด็กเจ้าอารมณ์ได้"
จิตใต้สำนึก "จะเป็นขุมแห่งอุดมคติ...ความคิดสร้างสรรค์...เป็นคลังแห่งความทรงจำและไม่เคยลืม" เกินกว่าความสามารถทางเทคโนโลยี จะค้นคว้าหามูลได้ แต่ทว่า "หากเราสามารถทำจิตสำนึกให้สงบได้ เราก็สามารถรับเครื่องหมาย จากจิตใต้สำนึกได้ ดึงข้อมูลต่างๆ ออกมาใช้ได้"
จิตใต้สำนึก "จะกระตุ้นการทำงานของระบบอัตโนมัติต่างๆ ในร่างกายของคนเรา" เช่น การเต้นของหัวใจ การสูบฉีดโลหิต การหายใจ ระบบย่อยอาหาร การดูดซึม การหลั่งสารต่างๆ การกำจัดของเสีย เป็นต้น เมื่อเรารับประทานขนมปังชิ้นหนึ่งจิตใต้สำนึกจะแปลงรูปขนมปังชิ้นนี้พร้อมกับส่งไปยังเนื้อเยื้อ กล้ามเนื้อ กระดูกและกระแสโลหิต "ซึ่งกระบวนการเหล่านี้มหัศจรรย์เกินกว่าขอบเขตความรอบรู้ของมนุษย์ที่ฉลาดที่สุดบนโลกนี้"
จิตใจ เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนและสิ่งสำคัญ "เพียงแค่อารมณ์เปลี่ยนเท่านั้นก็จะมีผลทันทีต่อชีวิตของคนเรา" เช่น เวลาที่คนเราโกรธนั้นทางการแพทย์พบว่า...
เมื่อเกิดขึ้นคราวใด "ก็จะทำให้ชีวิตของคนเราสั้นลงทุกครั้ง" เนื่องจาก "ระบบต่างๆ ของอวัยวะภายใน เกิดการแปรปรวนอย่างหนักทั้งระบบ เช่น การเต้นของหัวใจ ระบบสูบฉีดโลหิต ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่ายหรือการหลั่งสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย" เป็นต้น
ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ... อารมณ์ที่สงบเยือกเย็นแจ่มใสมีความสุขอย่างสิ้นเชิง !
ดังนั้น การฝึกจิตโดยการทำสมาธิ
"จึงมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง"
จากหนังสือ
วิทยาศาสตร์ทางใจ
- - - - - - - - - - - - -
เรียบเรียงโดย พระอาจารย์สุวิเชียร อุตฺตมพนโธ