นักวิทยาศาสตร์ก็ด่วนสรุป
ว่าภายใต้บรรยากาศอื่น
เช่นระดับมหาสมุทรลึกกว่า ๖,๐๐๐ เมตร
สิ่งมีชีวิตไม่อาจดำรงสภาพอยู่ได้
เนื่องจากแสงอาทิตย์
อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
ไม่อาจส่องเข้าไปได้ถึง
(แค่ ๒๐๐ เมตรก็มืดสนิทยิ่งกว่าถ้ำที่ถูกน้ำท่วมแล้ว)
แถมใต้น้ำลึกขนาดนั้น ไม่ค่อยมีสารอาหาร
ซึ่งจำเป็นสูงสุดสำหรับสิ่งมีชีวิตอีกด้วย
สร้างเรือดำน้ำชื่อไคโกะ (Kaiko)
ดำน้ำลึกได้เกิน ๖,๐๐๐ เมตร
แถมไปถึงจุดลึกที่สุดของมหาสมุทร
ที่ประมาณ ๑๑,๐๐๐ เมตร (๑๑ กิโลเมตร)
ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Mariana Trench ในแปซิฟิก
ในวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๙ ได้อีกด้วย
(รูปจาก inter.qianlong.com)
ณ จุดที่ลึกที่สุดในโลก
ซึ่งมีแรงดันมากกว่าแรงดันอากาศ ๑,๑๐๐ เท่า
(น่าประหลาดครับที่เผอิญมีระยะ ๑๑,๐๐๐ เมตร
เท่ากับจุดที่สูงที่สุดในโลกคือยอดเขาเอเวอเรสต์)
(รูปจาก smarterscience.com)
ไม่ต้องคาดเดากันอีกต่อไป
ว่าสิ่งมีชีวิตจะอยู่ได้หรืออยู่ไม่ได้
ไคโกะเผยให้เห็นว่ายังมีสิ่งมีชีวิต
สปีชีส์ที่เรายังไม่รู้จักดำรงอยู่
เช่น ปูขาวขนาดเล็ก (small white bythograeid crab)
กุ้งเผือก (whitish shrimp) และปลาขนาดเล็กต่างๆ ฯลฯ
นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า
สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น "ปรับตัว" ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ความดันภายในตัวของมัน
มีค่าเท่ากันพอดีกับแรงดันน้ำ
คำตอบคือสัตว์บางตัวไม่มีปากสำหรับกิน
แถมไม่มีระบบย่อยอาหารอีกด้วย
แต่มีชีวิตรอดอยู่ด้วยไฮโดรเจนซัลเฟอร์
ซึ่งพบในน้ำลึกเกิน ๒,๕๐๐ เมตรขึ้นไป
ทีนี้มาถึงคำถามมหัศจรรย์
ทำไมภายใต้ท้องสมุทรลึกสุดหยั่งปานนั้น
สิ่งมีชีวิตต้องดันทุรังไปเกิดด้วย?
คำตอบอันเป็นธรรมชาติที่เปิดเผยทางพุทธ
ก็คือกรรมเป็นตัวสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมา
ไม่ใช่ว่า "สิ่งมีชีวิต" จะต้องมีลักษณะทางกายภาพตายตัว
แบบใดแบบหนึ่งอย่างที่มนุษย์พบเห็นและคุ้นเคย
ลักษณะจิตวิญญาณและสภาพแวดล้อม
จะเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาในภายหลัง
เราก็ไปนึกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่ปกติ
ต้อง "ปรับตัว" ให้เข้ากับสภาพแวดใหม่ๆ
ความจริงก็คือไม่เคยมีการปรับตัว
มีแต่การเกิดตามกรรม
และสิ่งมีชีวิตนั้นๆจะถูกกรรมออกแบบ
ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมไปเอง
ในแต่ละครั้งที่ไปเกิด ว่าจะได้เป็นอะไร
แม้กำหนดให้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยต่อไปด้วย
ว่าจะให้เป็นสัตว์เดรัจฉานประเภทไหน
มีอัตภาพอย่างไร
ตกอยู่ภายใต้แวดล้อมแบบใด
ชีวิตในแต่ละสปีชีส์ต่างเสวยภพคนละแบบ
ยิ่งอยู่ห่างกันเท่าใด
ยิ่งแสดงถึงระยะห่างของความสัมพันธ์
ระยะที่ใกล้อาจแสดงถึงวงโคจรของความเบียดเบียน
ซึ่งต่างฝ่ายต่างหยิบยื่นให้แก่กันและกันได้