ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปฐมมรรค และ ปฐมฌาน (จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค)


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 26 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 09:41 PM

จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค จตุกกะที่ ๓ หน้า ๑๑

ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยอำนาจ วิตก วิจาร ปีติ สุข และสมาธิอันข่มนิวรณ์ได้แล้ว ต่อนั้น
ทุติยฌาน วิตก วิจาร สงบไป เหลือองค์ ๓ ต่อนั้น ตติยฌาน ปีติคลายไป เหลือองค์ ๒ ต่อนั้น จตุตถฌาน
ละสุขเสีย เหลือองค์ ๒ ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา สมาธิ ๔ เป็นองค์แห่งฌาน ๔ นี้
ดังนี้ อย่างนี้แลเป็น ๔ โดยเป็นองค์แห่งจตุกฌาน


คำว่าปฐมมรรค ที่ได้ยินจากครูบาอาจาร์ย คือ การเข้าถึง ดวงใส ๆ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗


ปฐมมรรคเหมือนกับปฐมฌานหรือไม่ ?

ถ้าเหมือนกัน องค์ ๕ ในปฐมมรรคคืออะไร

วิตกคืออะไร
วิจารคืออะไร
ปิติคืออะไร
สุขคืออะไร
สมาธิอันข่มนิวรณ์ได้แล้ว คืออะไร


หยุดคือตัวสำเร็จ

#2 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 10:53 PM

ปฐมฌาน ค่ะ

สมาธิคือ จิตที่มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เมื่อทำสมาธิช่วงแรกจะได้ยังไม่แนบแน่นจะเรียก ขณิกสมาธิ

เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตจะเรียกอุปจารสมาธิคือสมาธิขั้นกลาง

ทำต่อไปจะได้ ปฐมฌาน

คือ ข่มนิวรณ์ 5 ลงได้ มีองค์ฌาน 5ประการ คือ

1. วิตก - ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือกสินหรือนิมิตทำหน้าที่ข่มถีนมิถะความหดหู่ถ้อถอย
2. วิจารณ์ - ประคองจิตไว้ในนิมิตข่มวิจิกิจฉาความลังเลสงสัย
3. ปิติ - ความอิ่มใจ ข่มพยาบาท
4. สุข - ข่มความฟุ้งซ่าน
5. เอกคัตตา - ข่มกามฉันท

..................................................................................................................


จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#3 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 11:10 PM

ประเด็นคือ ปฐมมรรค และ ปฐมฌาน เป็นอันเดียวกันหรือไม่ ?

จากที่เห็น องค์ของปฐมฌาน นั้น มี ๕ อย่าง
ส่วน ปฐมมรรคนั้น ถ้าเป็นสิ่งเดียวกันย่อมมี องค์ ๕ เช่นกัน



แต่ ต่อจากปฐมฌาน แล้ว จะกลายเป็น ทุติยฌาณ

แต่ ต่อจากปฐมมรรค แล้ว จะเป็นกายฝัน กายมนุษย์ละเอียด ...

ขั้นตอนนั้นต่างกัน

ถ้าเป็นสิ่งเดียวกัน น่าจะเทียบเคียงเข้าหากันได้

เนื่องจากแต่ก่อน ผมเคยอ่าน คัมภีร์ วิสุทธิมรรค และยังไม่เข้าใจ

หยุดคือตัวสำเร็จ

#4 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 23 October 2006 - 11:22 PM

ปฐมมรรค ค่ะ

มรรคญานที่เกิดขึ้นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมมรรค หรือ โสดาปัตติมรรค

ทำลายกิเลสคือสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายะทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส

.................................................................................................

ปฐมฌาน ค่ะ

ปฐมฌาน คือ ข่มนิวรณ์ 5 ลงได้ มีองค์ฌาน 5ประการ คือ

1. วิตก - ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือกสินหรือนิมิตทำหน้าที่ข่มถีนมิถะความหดหู่ถ้อถอย
2. วิจารณ์ - ประคองจิตไว้ในนิมิตข่มวิจิกิจฉาความลังเลสงสัย
3. ปิติ - ความอิ่มใจ ข่มพยาบาท
4. สุข - ข่มความฟุ้งซ่าน
5. เอกคัตตา - ข่มกามฉันท


ดังนั้นถ้าให้ koonpatt สรุปคือ คนละอย่างค่ะ ข้อแตกต่างค่อนข้างชัดเจนค่ะ

แต่ คงต้องให้ท่าน พี่ พี่ ทั้งหลาย ช่วยพิจารณา และ ชี้แนะเพิ่มเติมนะคะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#5 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 04:08 AM

ปฐมมรรค คือ มรรคอันแรก
ปฐมฌาน คือ ฌานอันแรก

คิดว่าถ้าจำแนกออกแล้วเป็นคนละอย่างครับ แต่อาจจะเกี่ยวเนื่องกัน อันนี้ไม่ทราบ
ปฐมมรรค ถ้าดูตามศัพท์ ก็หมายถึง จุดเริ่มต้นของเส้นทาง ซึ่งอาจจะตีความได้หลายความหมาย

คำในตำรา บางทีใช้สั้น ๆ แต่เข้าใจกันระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ฉะนั้นจึงต้องศึกษาดูให้ดีว่าเขาหมายถึงอะไร ซึ่งคำเดียวกันอาจไม่ได้หมายถึงสิ่งเดียวกันในทุกที่ทุกแห่ง หรืออย่างน้อยก็มีความละเอียดลุ่มลึกกันคนละระดับ อย่างเช่น อิทธิบาท 4 เราก็คงเข้าใจว่าการทำงานให้สำเร็จ ด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แต่พระพุทธองค์เจริญอิทธิบาท 4 สามารถอยู่ได้ตลอดกัป อันนี้เกินความเข้าใจเราไปแล้ว ไม่ใช่อิทธิบาท 4 อย่างที่เราเข้าใจเพราะมีนัยเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นธรรมชั้นสูงอยู่อีก

ฉะนั้น ลองศึกษาดูให้รอบคอบครับ หรืออย่างน้อยก็อย่าคิดมากไป ยิ่งคิดยิ่งผิด เพราะเราไม่ได้อยู่กับธรรมนั้น ๆ ไม่ได้มีธรรมนั้น ๆ มาให้เราพิจารณา อย่างพิจารณาซากศพ อย่างนี้ หากเรามีซากศพให้พิจารณา เราก็พิจารณาให้เห็นตามได้ แต่หากไม่มีศากซพ อีกทั้งยังไม่เคยเห็นซากศพ มันนึกไม่ออกหรอกครับ ยิ่งนึกยิ่งผิด ไม่ตรงความจริง

การศึกษาเรื่องพวกนี้อย่างน้อยจึงควรมีผลการปฏิบัติที่ดีสักหน่อยครับ จึงจะเข้าใจได้แบบไม่ต้องเดาหรือคิดอุตลุด เพราะรายละเอียดของธรรมเหล่านี้มีมาก ไม่มีใครเขียนตำราให้สมบูรณ์ได้ แต่ถ้าตัวเราทำได้ เราก็จะเข้าใจได้ง่าย ๆ ครับ ว่าในตำราเขาหมายถึงอะไร ถ้าไม่งั้นก็จินตนาการให้น้อย ๆ หน่อยก็จะเป็นประโยชน์กว่าครับ

#6 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 10:56 AM

ขอบคุณทุก ๆ คำตอบครับ

การฝึก ให้เข้าถึงธรรมะภายใน คือ การฝึก สมถะกรรมฐานอย่างหนึ่ง ประมาณว่าอาโลกสิณ + พุทธานุสติ

เมื่อใจสงบนิ่งถึงจุดหนึ่งก็เข้าถึง ปฐมมรรค

เคยได้ยิน เคยได้จากในวัดว่าเทียบได้กับปฐมฌาน นั่นเอง เลยสงสัยนิดหน่อยครับ










หยุดคือตัวสำเร็จ

#7 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 11:05 AM

ปฐมมรรค ตามตัวหนังสือ หมายถึง มรรคที่หนึ่ง คนที่ไม่ผ่านการปฎิบัิติธรรมจนเข้าใจ มักจะคิดว่า คือ โสดาปัตติมรรค
แต่ในทางปฏิบัติ หมายถึง หนทางเบื้องแรก หรือประตูสู่มรรคผลและพระนิพพาน คือ
๑ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น จนละกิเลสหยาบของกายมนุษย์ได้ ก็จะเข้าถึงกายทิพย์
๒ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น แต่ในขณะนั้นเองก็สามารถละกิเลสหยาบของกายมนุษย์ และกายทิพย์ได้ในขณะเดียวกัน ก็จะสามารถเข้าถึงกายรูปพรหมทันทีโดยไม่ผ่านกายทั้ง ๒ นั้น
๓ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น แต่ในขณะนั้นเองก็สามารถ ละกิเลสสัญโยชน์ เบื้องต่ำได้ ๓ ประการ ก็จะสามารถเข้าถึงธรรมกายพระโสดาบันทันที
๔ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น แต่ในขณะนั้นเองก็สามารถ ละกิเลสสัญโยชน์ ์ เบื้องต่ำได้ ๓ ประการ และทำสัญโยชน์ อัก ๒ ประการ คือ ราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงไปอีก แต่ยังไม่ขาด ก็จะสามารถเข้าถึงธรรมกายพระสกทาคามีทันที
๕ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น แต่ในขณะนั้นเองก็สามารถ ละกิเลสสัญโยชน์ ์ เบื้องต่ำได้ ๕ ประการ ก็จะสามารถเข้าถึงธรรมกายพระอนาคามีทันที
๖ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น แต่ในขณะนั้นเองก็สามารถ ละกิเลสสัญโยชน์ ์ เบื้องต่ำได ๑๐ ประการ ก็จะสามารถเข้าถึงธรรมกายพระอรหัตต์ทันที
๗ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น แต่ในขณะนั้นเองก็สามารถ ละกิเลสได้ในระดับใด ก็จะสามารถเข้าถึงกายในระดับนั้นได้
บุญบารมีทั้ง ๑๐ ประการของผู้ที่ปฏิบัตธรรม อยู่ในระดับใด เมื่อดวงปฐมมรรคปรากฏ ก็จะสามารถเดินกลางดวงปฐมมรรค และเข้าถึงคุณธรรมในระดับนั้น ที่สมควรแก่บุญบารมีที่ตนได้สั่งสมมาดีแล้วแล


นี้เป้นเรื่องของปฐมมรรค
................................................................

เรื่องของปฐมฌาน เอาไว้วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง






นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#8 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 12:03 PM

คุณ บุญเย็น ตอบตามแนวทางของ หลวงปู่ สด และ วิชชาธรรมกาย รึเปล่าคะ

เพราะ ข้อมูลที่คุณ บุญเย็น ตอบ koonpatt พบเฉพาะ ในคำสอน ของหลวงปู่ และ วิชชาธรรมกายน่ะค่ะ เลยไม่กล้านำมาตอบ เพราะมักจะเห็น เป็นประโยค ดังนี้ "แล้วจึงเกิด นิมิต เป็นดวงธรรม หรือ ดวงปฐมมรรค" หรือตามที่คุณ บุญเย็นตอบมา คือ

QUOTE
๑ ผู้ปฏิบัติธรรมจนใจนิ่งสงบ ปรากฏดวงปฐมมรรค ก็สามารถ เดินกลางดวงปฐมมรรคนั้น จนละกิเลสหยาบของกายมนุษย์ได้ ก็จะเข้าถึงกายทิพย์


ดังนั้น koonpatt จึงตอบในเรื่องที่เป็นกลาง ที่รู้กันเป็นทั่วไปน่ะค่ะ คือ

QUOTE
ปฐมมรรค ค่ะ

มรรคญานที่เกิดขึ้นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมมรรค หรือ โสดาปัตติมรรค

ทำลายกิเลสคือสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายะทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส


เพราะ การเกิด นิมิตดวงธรรม หรือ ดวงปฐมมรรค น่าจะเป็นแนวทางปฏิบัติ เฉพาะ ผู้ฝึกตามแนววิชชาธรรมกาย หรือ ตามหลวงปู่ สด น่ะค่ะ


สา...ธุ ค่ะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#9 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 01:08 PM

ดวงปฐมมรรค ดวงใจสว่างใสแจ่ม
จะปฏิบัติสายไหน เมื่อใจสงบ ถูกส่วน (แนบแน่นมั่นคงจริงๆ)
ไม่ว่าจะฝึกแบบอานาปานสติ เมื่อสงบ ลมหยุด ก็เห็นนิมิตปรากฏเป็้นดวงใสเหมือนกัน
ไม่ว่าจะเพ่งกสิณ เมื่อสงบ ในระดับอัปปนาสมาธิ กสิณที่ตนเพ่ง ไม่ว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือ สีต่างๆ ก็จะใสสว่าง เหมือนกัน
หรือปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน (พองยุบ) เมื่อนิ่่งสนิท ก็ปรากฏดวงสว่างเหมือนกัน (แต่สายนี้เข้าให้ปฏิเสธนิมิต)
และปฏิบัติสายอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายเมื่อสงบแบบอัปปนา คือ แนบแน่นมั่นคง(มั่นคงจริงๆน่ะครับถ้าเพียง อุปปจาร หรือ ขณิกะ ก็ยังไม่ปรากฏ) ก็ล้วนเห็นดวงปฐมมรรคทั้งสิ้น
แต่ในวิชชาธรรมกายที่หลวงปู่สดค้นพบแล้วนำมาสอนนี้ ท่านสอนให้เข้าถึงปฐมมรรคโดยตรง แบบตรงๆ และเร็ว ง่ายที่สุด ไม่อ้อมค้อม

เพราะฉะนั้นปฏิบัติทุกสายล้วนถึงดวงปฐมมรรคทั้งสิ้นแต่สายอื่นต้องใช้เวลาหน่อย เพราะต้องอาศัยวิธีการที่ครูบาอาจารย์แต่ละท่านสอนเพื่อความสงบแตกต่างกันออกไป แต่ก็เพื่อถึงปฐมมรรคเป็นเบื่องต้นนั้นแล ถึงเมื่อไหรก็เห็นเหมือนกัน
ส่วนลูกหลานหลวงปู่สดโชคดีครับ คือ ได้เดินสายตรงครับ และชัดเจน โดยเริ่มตั้งกันที่ ฐาน ๗ ปรารถดวงปฐมมรรคกันเลย

ดังนั้น คำว่า ปฐมมรรค ความหมายในทางปริยัติ ก็สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
แต่ความหมายในทางปฏิบัติ ก็สามารถอธิบายได้ตามปริยัติแต่จะกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปนั่นเอง จนถึงปฏิเวธเลยทีเดียว

แต่คำตอบของคุณ koonpatt ก็ไม่ผิดน่ะครับ แต่นั้นเป็นนัยยะอันหนึ่งเท่านั้น
ผมเพียงนำมาขยายนัยยะอื่นๆอีก โดยเฉพาะนัยยะของหลวงพ่อวัดปากน้ำของเรา

ถ้าเป็นในเว็ปอื่นผมก้ไม่กล้ากล่าวอย่างนี้ แต่ที่นี้ถือว่าเป้นลูกหลานหลวงปู่ด้วยกัน จึงกล้าที่จะกล่าวเรื่องปฐมมรรคอย่างนี้

ขอขอบคุณและอนุโมทนา กับเจ้าของกระทู้ และ คุณ koonpatt มากๆ นะ่ครับ มีอะไรก็ช่วยแนะนำด้วยเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นไปกว่านี้

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#10 panu

panu
  • Members
  • 530 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 01:21 PM

ปฐมมรรค คือปฐมฌาน (ที่เรียกปฐมมรรคเพราะ เป็นสภาวะธรรมแรก ที่เกิดขึ้นจาก มรรคมีองค์ 8 )

สมาธิเริ่มแรก- บริกรรมนิมิต
อุปจาระสมาธิ - ปฏิภาคนิมิต
อปนาสมาธิ - ระดับเกิดฌาน
ปฐมฌานเบื้องต้น(เน้นว่าเบื้องต้น) - ปฐมมรรค (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ / เอกายมรรค)

องค์ของปฐมฌาน มี องค์ 5

1 วิตก - ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือกสินหรือนิมิต (คือความตรึก ประครอง) กำจัด ถีนะมิถะ
2. วิจารณ์ - ประคองจิตไว้ในนิมิตข่มวิจิกิจฉาความลังเลสงสัย (คือความตรอง ประครองต่อเนื่อง) กำจัด วิจิกิจฉา
3. ปิติ - ความอิ่มใจ ข่มพยาบาท (ความอิ่มใจ) กำจัด พยาบาท
4. สุข - ข่มความฟุ้งซ่าน (ความสบายใจ) กำจัดความฟุ้งซ่าน
5. เอกคัตตา - ข่มกามฉันท (ใจเป็นหนึ่ง ใจตั้งมั่น) กำจัดกามฉันทะ

เมื่อนั้นจะเกิดขึ้นของปฐมฌาน เกิดดวงปฐมมรรค ซึ่งขจัดนิวรณ์ 5

ซึ่งเป็นหนทางเบื้องต้น(เน้นว่าเบื้องต้น) สู่พระนิพพาน


#11 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 01:24 PM

สาธุ สาธุ สาธุ คุณบุญเย็น และ Koonpatt

ผมตั้งกระทู้นี้เพราะว่า แนวทางปฏิบัติสมาธิ นั้นเป็นแนวเดียวกันหมดเช่น คุณ บุญเย็นพูดถึง
ไม่มีแตกแยก ดังนั้นผมไม่หวั่นว่าใครจะมาอ่านเพราะว่า อย่างไรก็สามารถอธิบายให้เข้ากับ
แนวทางการฝึกสมถะ อื่น ๆ ได้ทั้งหมด คือก่อนที่จะเข้าถึงสมาธิ ระดับฌาน และเมื่อฟังจาก
คำครุบาอาจาร์ยและ คุณบุญเย็นก็สอดคล้องกัน นั่นคือ แนวทางของหลวงปู่นั้นใช้เป็นทาง
ลัดเพื่อ เข้าถึงมรรคได้เลย ในพระไตรปิฏก ปรากฏคำว่า เอกายนมรรค ปฐมมรรค ทั้งสิ้นดังนั้น
ถ้ามีผู้อธิบายย่อมไม่มีที่ขัดกันเลย

ขอยกตัวอย่าง

สูตรของความดัน ไม่ใช่แต่เป็นเรื่องมวลของของเหลวอย่างเดียว ยังมีสูตรของกลศาสตร์
เทอร์โมไดนามิค มาเกี่ยวข้องด้วย ย่อมสามารถ APPLY ประยกต์ใช้ประโยชน์ได้หลาย ๆ งาน
เมื่อสามารถเทียบเคียงหาความสัมพันธ์กันได้ เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักย์

อืม ... เมื่อว่างแล้วคุณบุญเย็นอย่าลืม มาเล่าเรื่องปฐมฌาน ต่อเลยนะครับ




อ้อ ขอบคุณคุณ ภาณุด้วยอีกท่าน ทำให้แจ่มชัด กระจ่าง ขึ้นอีก

อนูโมทนาสาธุครับ สาธุ สาธุ สาธุ
หยุดคือตัวสำเร็จ

#12 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 04:30 PM

สำหรับการเทียบเคียง ตามที่ได้ยินได้ฟังมานะครับ

ดวงปฐมมรรค เทียบได้กับ ปฐมฌาน
กายมนุษย์ละเอียด เทียบได้กับ ทุติยฌาน
กายทิพย์เทียบได้กับ ตติยฌาน
กายพรหมเทียบได้กับ จตุถฌาน
กายอรูปพรหมเทียบได้กับ อรูปฌาน คือ ฌานระดับอรูปพรหม
กายธรรม เทียบได้กับ โคตรภูญาน

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#13 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 05:20 PM

เก็บความรุ้สาธุค่ะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#14 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 05:27 PM

ขออนุญาติตอบนะครับ ปฐมฌาน กับปฐมสมาบัติอันเดียวกันครับ
คำว่า ฌาน แปลว่าเพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ ตามกฎแห่งการเจริญพระกรรมฐาน ถึงอันดับที่ 1 เรียกว่า ปฐมฌาน คือฌาน 1
ถึงอันดับที่ 2 เรียกว่า ทุติยฌาน แปลว่าฌาน2 ถึง อันดับที่ 3 เรียกว่าตติยฌาน แปลว่าฌาน3 ถึงอันดับที่4 เรียกว่า จตุตถฌาน
แปลว่า ฌาน4 ถึงอันดับที่ 8 คือได้ อรูปฌาน ครบทั้ง 4 อย่าง เรียกว่า ฌาน8 ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติ ก็เรียกเหมือนกับ ฌาน
ฌาน 1 ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌาน2 ท่านก็เรียกว่าทุติยสมาบัติ ฌาน3 ก็เรียกว่าตติยสมาบัติ ฌาน4ท่านก็เรียก
จตุตถสมาบัติ ฌาน8 ท่านก็เรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติ8นั่นเอง

ขณิกสมาธิ------------------เป็นสมาธิแบบวูบๆวาบๆ ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย จิตใจก็ยังไม่สว่างแจ่มใสแล้วก็ฟุ้งซ่านไป

อุปจารสมาธิ-----------------เป็นอารมณ์สมาธิที่เริ่มมีความแนบแน่นตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว แต่ยังมี วิตก วิจาร ปิติ สุข
อาการของคนที่ถึงอุปจาร จะมีความชุ่มชื้นเบิกบานใสเย็น บางคนก็สั่นไหว ขนลุก แต่ก็เข้าใกล้กับ ปฐมฌาน1
แบบเส้นยาแดงแต่ก็ยังไม่เรียกสมาบัติ เนื่องจากองค์ฌาน 5 ยังไม่ครบ ยังขาด เอกัคคตา

อัปนาสมาธิ------------------เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นสูง สามารถทำให้เกิดผล ทาง ฤทธิ์ อภิญญาได้
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#15 Tanay007

Tanay007
  • Members
  • 616 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 06:34 PM

QUOTE
ปฐมมรรค ค่ะ

มรรคญานที่เกิดขึ้นครั้งแรก เรียกว่า ปฐมมรรค หรือ โสดาปัตติมรรค

ทำลายกิเลสคือสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายะทิฎฐิ วิจิกิจฉา และสีลพตปรามาส


ปฐมมรรคตามแนววิชชาฯ จะคนละความหมายกับ ปฐมมรรคในคัมภีร์วิสุทธิมรรคครับ
จะหมายถึงอริยมรรคญาณที่ 1 (จากมรรค 4)
ส่วนปฐมมรรคในสายวิชชา จะหมายถึงต้นทาง (พระนิพพาน) ครับ คิดง่ายๆ ก็คือ เมื่อมีต้นทาง ก็มีปลายทาง
แต่ถ้าปฐมมรรค หมายถึง ที่หนึ่ง ทำไมจึงไม่มีดวงทุติยมรรค ตติยมรรค แต่กลับเป็นชื่อ ดวงศีล....แทน
นี่คือข้อต่างกันครับ


#16 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 October 2006 - 08:53 PM

ขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ได้ช่วยตอบ ทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น และค่อนข้างมั่นใจแล้ว
เพราะพอจะเห็นภาพแล้ว ปฐมมรรค ที่เราได้เข้าถึงดวงแก้วใส ๆ ภายในกายนั้น
คือสิ่งเดียวกับกับปฐมฌาน ซึ่งเป็นสมาธิระดับสูง เมื่อเทียบเคียงกันแล้ว ผู้ที่เข้า
ถึงปฐมมรรค หรือ ปฐมฌาน จะสามารถเข้าถึงสมาธิระดับสูงต่อไปได้ ตรงนี้พี่หัดฝัน
ได้ให้ข้อมูลเทียบเคียงมาแล้ว ดังนั้นคำว่า " ไม่เกิดหลงติดในนิมิต " เพราะสามารถ
เดินฌานไปถึง อรูปฌาน ๔

ตรงนี้ คุณสาครได้ให้ ข้อมูลมาว่า รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สามารถเรียกว่าสมาบัติ ๘ ได้
ตรงนี้คือสูงสุด ของสมถะกรรมฐาน


ตรงนี้ได้คำตอบจากคุณภานุ
QUOTE
ปฐมฌานเบื้องต้น(เน้นว่าเบื้องต้น) - ปฐมมรรค (ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ / เอกายมรรค)

องค์ของปฐมฌาน มี องค์ 5

1 วิตก - ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือกสินหรือนิมิต (คือความตรึก ประครอง) กำจัด ถีนะมิถะ
2. วิจารณ์ - ประคองจิตไว้ในนิมิตข่มวิจิกิจฉาความลังเลสงสัย (คือความตรอง ประครองต่อเนื่อง) กำจัด วิจิกิจฉา
3. ปิติ - ความอิ่มใจ ข่มพยาบาท (ความอิ่มใจ) กำจัด พยาบาท
4. สุข - ข่มความฟุ้งซ่าน (ความสบายใจ) กำจัดความฟุ้งซ่าน
5. เอกคัตตา - ข่มกามฉันท (ใจเป็นหนึ่ง ใจตั้งมั่น) กำจัดกามฉันทะ


การที่ใครก็ตามเมื่อเห็นดวงนิมิตแล้ว ก็ไม่ได้เรียกว่าปฐมมรรค ต้องมีอารมณ์ ของปฐมฌาน พร้อมก่อน
ผมเคยฝึกสมาธิ แบบก่อนมาก็พอเข้าใจ ในบางที่ผู้ที่ปฏิบัติไม่เข้าใจตามนี้จะทำให้หลงว่าตัวเองเข้าถึงแล้ว
ได้ง่าย ๆ ความจริงแล้วการเข้าถึงปฐมฌานยากเพียงไหน ใคร ๆ ก็ทราบดี หลาย ๆ ที่คิดว่าการเข้าถึงในแนว
ฝึก ของวิชชาธรรมกาย นั้นอาจจะหลงได้ง่าย ๆ หรือถูกหลอกว่าเข้าถึงแล้ว ( อันนี้เคยมีเพื่อนบอกว่าเขาเข้าถึง
แล้วเมื่อลองสอบถามดูน่าจะเป็นเพียงแค่เห็นนิมิตเท่านั้น )

เพราะถ้าเข้าถึงปฐมฌานได้ เป็นอันว่าสามารถแสดงฤทธิ์ได้ ( อัปนาสมาธิ )

สาธุ สาธุ สาธุ ทุกท่าน ที่ช่วยกันแบ่งปันความรู้ความเข้าใจครับ






หยุดคือตัวสำเร็จ

#17 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 01:00 AM

ปฐมมรรค กับ ปฐมฌาน คิดว่าเป็นคนละอย่างกันครับ เพราะสมาธินอกพระพุทธศาสนาก็สำเร็จปฐมฌานถึงจตุตถฌานได้ แต่ไม่ได้บรรลุปฐมมรรคแต่อย่างใด เพราะปฐมมรรคจะมีบังเกิดขึ้นเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

อีกทั้งการเปรียบเทียบที่ยกมา ไม่ได้หมายความว่าปฐมฌาน คือ กายมนุษย์ละเอียดหรือดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบ แต่ปฐมฌาน คือ การเข้าฌานโดยการใช้ดวงธรรมของกายมนุษย์เป็นฐาน ทั้งนี้ พระอรหันต์ก็สามารถเดินสมาบัติคือไปในฌานต่าง ๆ ได้ แม้เราจะรู้ว่าลำดับการเข้าถึงธรรมเป็นเช่นไรจากที่เคยได้รับฟังมา แต่ไม่ได้หมายความว่ามันมีรายละเอียดอยู่เพียงแค่นั้น เรามักยึดถือถ้อยคำทางวิชาการมากเกินไป แต่หากเราไม่รู้นัยที่กว้างขวางลึกซึ้งของธรรมนั้น มันก็เท่ากับว่าเราไปตีกรอบของคำตอบไว้แค่ในสิ่งที่ตนเคยรู้เคยเข้าใจมา เลยทำให้ไม่สามารถเข้าใจให้ถูกต้องได้ หากคำตอบนั้นมันอยู่นอกเหนือสิ่งที่เราเคยได้รับฟังมา

คำตอบของคุณบุญเย็นไม่ว่าจะนำมาจากที่ไหน แต่ถ้าดูในเชิงวิชาการก็พอฟังได้ถ้าหากเราศึกษาโดยไม่ได้ยึดติดว่าเป็นถ้อยคำของใครหรือจำมาจากไหน เพราะนั่นเป็นวิธีการศึกษาโดยใช้ศรัทธา และจากที่ค่อย ๆ ศึกษามาผมก็พิจารณาได้เช่นนั้นเหมือนกัน เพียงแต่ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนอย่างนี้ และยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติม อีกทั้งต้องการความชัดเจนจากผลการปฏิบัติอีกมาก

อย่างไรก็ตาม คำตอบที่ได้จากการศึกษาทางวิชาการ ยังมีข้อบกพร่องและความผิดพลาดอยู่มาก เพราะญาณทัสสนะเราไม่แจ่มใสและใจก็ยังไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้น จึงควรศึกษาเพื่อเป็นแนวทาง ดีกว่าศึกษาเพื่อหาคำตอบที่แน่ชัดนะครับ เพราะมันเหมือนมีโคลนปิดตาอยู่แล้วพยายามเดินหาทาง บางทีก็ผลัดตกบ่อตกคูไป

#18 panu

panu
  • Members
  • 530 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 09:27 AM

QUOTE
ปฐมมรรค กับ ปฐมฌาน คิดว่าเป็นคนละอย่างกันครับ เพราะสมาธินอกพระพุทธศาสนาก็สำเร็จปฐมฌานถึงจตุตถฌานได้ แต่ไม่ได้บรรลุปฐมมรรคแต่อย่างใด เพราะปฐมมรรคจะมีบังเกิดขึ้นเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น


เราน่าจะเทียบเคียงกันเฉพาะที่เป็นแนวทางมัชฉิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนาครับ และขอยืนยันว่า ปฐมมรรค เป็นสภาวะธรรมแรก จึงเรียกว่าปฐม ที่เกิดจากปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ถูกส่วน ใจจึงหยุดใจนิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน

ปฐมมรรค คือปฐมฌานเบื้องต้น(ปฐมฌานมีหลายระดับ) เนื่องจากประกอบด้วยองค์ฌานทั้ง 5 ประการ และเป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์ ครับ

#19 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 10:29 AM

แล้วผมจะเอาไรตอบเนี้ยตอบกันหมดแล้ว
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#20 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 11:05 AM

ครับคุณ Punu กล่าวได้ชอบแล้ว เพราะถ้าหากได้ฟังคุณครู จะมีคำพูดของท่านว่า ฌานนอกตัว กับ ฌานในตัว ดังนั้น ปฐมฌาน จนถึง ตถุตถฌาน (ในตัว) จึงเป็นหนทางที่ถูกต้องครับ เพราะถ้าหากไปแสดงความเห็นว่า ฌาน 1-4 ไม่ถูกต้อง (ไม่ตรงกับปฐมรรค และกายต่างๆ) ก็จะไปค้านกับพระไตรปิฎก ซึ่งความจริงถูกต้องแล้ว เพียงแต่วางใจในกลางตัวเท่านั้นแหละครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#21 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 12:11 PM

QUOTE
เพราะถ้าหากไปแสดงความเห็นว่า ฌาน 1-4 ไม่ถูกต้อง


อย่าไปศึกษาแค่ว่าถูกหรือผิดสิครับ มันไม่มีอะไรผิดหรอก เพียงแต่มันไม่สมบูรณ์เท่านั้น มันผิดมากกว่าถูก หรือถูกมากกว่าผิด เราศึกษาให้เข้าใจความเป็นจริงที่สมบูรณ์ ดีกว่ามานั่งคิดว่าผิดหรือไม่ผิดนะครับ เพราะถ้าคิดแค่นั้นจะทำให้เราตีความผิดไปเพราะไม่วางใจเป็นกลางครับ หากเราตั้งใจค้นความจริงแล้ว สิ่งที่เป็นความจริงก็เป็นความจริงอยู่วันยังค่ำ เหมือนเราเห็นต้มยำที่ลืมใส่มะนาว ก็อย่าคิดไปว่ามันไม่ใช่ต้มยำ เพราะหากเราเพิ่มมะนาวเข้าไปมันก็เสร็จสรรพเป็นต้มยำได้ เรื่องนี้ก็เช่นกัน เรารู้มาว่าอะไรถูก เราก็พยายามไปโยงเรื่องต่าง ๆ ให้ตรงกับความรู้ของเรา แทนที่จะขยายความรู้ของเราให้ไปตรงกับความจริง ธรรมเป็นเรื่องลึกซึ้งละเอียดอ่อน มีนัยมาก แค่ที่เราได้ยินได้ฟังมาไม่ทำให้เราสรุปได้หรอกครับว่าอย่างนั้นถูก อย่างนั้นผิด เพราะมันอยู่ที่ความเข้าใจของเราเองด้วย ไม่ได้อยู่ที่ตัวภาษาแต่เพียงอย่างเดียว มีหลายครั้งที่เราเข้าใจอย่างหนึ่ง แต่พอครูบาอาจารย์มาอธิบายเพิ่ม เราจึงถึงบางอ้อ ซึ่งถ้าหากมันสวนกับสิ่งที่เราเคยคิดมาตามประสาของเรา เราก็จะนึกในใจว่า เอ มันจะจริงหรือ เป็นต้น

ส่วนตัวผมยังไม่ได้คิดว่าฌานนอกศาสนาพุทธเป็นเรื่องที่ผิดเลย เพราะฌานนอกศาสนาพุทธนี่แหละ ที่สุเมธดาบสใช้ทบทวนพุทธการกธรรมหลังจากได้รับพุทธพยากรณ์ เพียงแต่ว่ามันยังไม่สมบูรณ์ ไม่อย่างนั้นอาฬารดาบสกับอุทกดาบสจะเป็นผู้ที่พระพุทธองค์ปรารภเป็นสองท่านแรกเพื่อรู้แจ้งธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ได้อย่างไรถ้าหากว่ามันผิด แต่เพราะมันไม่ได้ผิด เพียงแค่ไม่สมบูรณ์ แต่ก็เกือบแล้ว หากได้รับคำแนะนำจากพุทธองค์ก็บรรลุธรรมได้เลย เพราะมาใกล้ถึงแล้วไงครับ

ลองศึกษาดูเพิ่มเติมให้มาก ๆ ครับ อย่าพยายามไปคิดให้มันถูก แค่หาความจริงก็พอ อย่าลำเอียงเข้าข้างใครแม้แต่ครูบาอาจารย์ครับ ผมก็ทำอย่างนี้แหละ แต่คำตอบมันยิ่งทำให้เราเห็นชัดเจนว่า ครูบาอาจารย์ของเราวิเศษแค่ไหนครับ วนเวียนศึกษาไปทั่วสุดท้ายก็ต้องกลับมาซบที่เดิม เพราะว่าคำตอบสุดท้ายท่านเฉลยให้เราแล้วครับ เพียงแต่เราอยากเสียเวลาไปศึกษาเพื่อให้ตัวเองยอมรับได้เท่านั้นเอง

#22 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 01:26 PM

แต่คุณพักผ่อนต้องลองดูกระทู้ที่เขาถามข้างต้นก่อนนะครับว่า
ดวงปฐมมรรค จนถึง กายต่างๆ ที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านสอนมา เข้ากันได้อย่างไร กับปฐมฌาน ทุติยฌาน จนถึง จตุตถฌาน จนถึง อรูปฌาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค หรือ แม้แต่ในพระไตรปิฎก

หากเราตอบทำนองว่า "ไม่เข้ากัน ไม่เหมือนกัน" คำตอบของเรา จะสื่อไปในทำนองว่า อย่างใดถูก และอย่างใดผิดขึ้นมาทันที ก็ในเมื่อคำพูดว่า ฌาน 1-4 มีปรากฏในตำรา แต่ทำไมคำพูดที่หลวงปู่ท่านสอนจึงไม่เหมือนตำรา สิ่งนี้ไม่ใช่เขาหรอกครับ ที่เคยสงสัย แม้แต่ผมเองสมัย 20 ปีที่แล้ว ก็สงสัย จนกระทั่งได้มีโอกาสฟังพระอาจารย์สมชาย ฐานะวุติโฑ ท่านอธิบายขยายความว่า มันเป็นการอธิบายสภาวะใจของภาษาวิชาการ ให้เป็นภาษาที่เข้าใจได้ในรูปแบบของภาษาปัจจุบันเท่านั้นเอง ซึ่งคุณครูไม่ใหญ่ท่านก็เคยอธิบายไว้ว่า อย่างเช่น การเข้าถึงไตรสรณาคมณ์ (ภาษาวิชาการในตำรา) ความหมายที่เราเข้าใจกัน ก็คือ การเข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน คือ พระธรรมกายนั่นเอง

ดังนั้น ฌาน 1-4 ในตำรา เข้ากันได้กับคำสอนหลวงปู่แน่นอน ต่างกันแต่รูปแบบของภาษาครับ ส่วน ฌาน 1-4 ที่วางใจนอกตัวนั้น เป็นความเข้าใจไปเองของผู้ฝึกว่า บรรลุฌาน 1-4 ตามตำรา แต่แท้จริงไม่ใช่ เพราะคลาดเคลื่อนในเรื่องการวางใจเท่านั้นเองครับ

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#23 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 01:39 PM

พี่หัดฝันพูดไว้ถูกต้องครับ การศึกษาหรือการอ่านแล้วยังคลุมเครือ
โดยเฉพาะเป็นปฐมบทด้วยย่อมจะทำให้ เกิดการเข้าใจผิดได้ง่าย

อนุโมทนาบุญกับ ธรรมทานที่ช่วยแบ่งปันความรู้แก่ข้าพเจ้าหรือผู้อื่นที่เข้ามาอ่านแล้ว
เพื่อความเห็นที่ถูกต้อง

จงมีแก่ทุกท่านครับ สาธุ สาธุ สาธุ
หยุดคือตัวสำเร็จ

#24 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 07:57 PM

การละครั้งหนึ่งนานมาแล้ว นานจนจำไม่ได้ มีคนตาบอดมาแต่กำเนิดกำลังยืนคุยกับคนตาดี

คนตาดีถามคนตาบอด นี่ ท่านนเคยเห็นส้มโอหรือเปล่า

คนตาบอดจึงตอบว่า ไม่เคยแหละท่าน มันมีลักษณะสีของมันอย่างไรละท่าน

คนตาดีบอกว่า ก็มันสีเขียวๆไงละท่าน

คนตาบอดจึงถามต่อไปว่า เอ้าท่านแล้วไอสีเขียวๆนี้มันเป็นสียังไงละท่าน

คนตาดีจึงบอกว่า มันก็เหมือนสีของไบไม้ละท่าน

คนตาบอดจึงถามว่า ก็แล้วไอสีไบไม้มันเป็นยังไงละท่าน - -"

คนตาดีก็ตอบไม่ได้ เพราะต่อให้ตอบไปลึกกว่านี้ คนตาบอดก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันสียังไง เพราะเค้ามองไม่เห็น ต่อเมื่อคนตาบอดมองเห็นจึงรู้ แต่คนตาดีรู้ ว่ามันเป็นยังไง ลองให้ชี้สี ว่าอันไหนสีเขียว คนตาดีชี้ได้ สบ๊ายๆ^^

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า . . . . . . . . . อะไรน๊าาาา
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#25 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 11:35 PM

ผมว่ามีบางอย่างก็เข้าใจตรงกัน บางอย่างแม้แต่พูดก็ยากจะเข้าใจ เพราะมันอยู่ในใจ ผ่านออกมาเป็นคำพูดแล้วผู้ฟังนำไปแปลใหม่อีก ยิ่งเป็นกระดานข่าวด้วยแล้วยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ และจริง ๆ แล้วเราก็ใช่ว่าจะรู้อะไรแจ่มแจ้ง ฉะนั้นก็ต้องยึดหลักฐานตามตำรา ตามครูบาอาจารย์เอาไว้ก่อน แต่ในการทำความเข้าใจจริง ๆ ใช้แค่นี้ไม่ได้ครับ เรื่องที่เรารู้มาแค่ฝุ่นใต้ใบไม้ จะนำไปเปรียบเทียบกับความรู้ระดับใบไม้ในป่าได้อย่างไร ไม่อย่างนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ต้องเหนื่อยสร้างบารมีเพื่อรู้ธรรมอันนี้ แล้วเราก็จะไม่ต้องเหนื่อยปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งเห็นจริง

เรื่องที่จะมีใครตีความไปตามอัธยาศัยเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในการศึกษา เพราะแม้แต่ผู้อ่านพระไตรปิฎกแล้วมาตีความคนละเรื่องก็มีมากมาย เรื่องนี้จะไปโทษผู้เรียบเรียงได้อย่างไร ต้องโทษตัวเราเองที่ประมาทในการศึกษา ไม่รอบคอบ ไม่ฉลาด ไม่ระมัดระวัง ไม่ตั้งใจให้ดี อีกทั้งไม่ค่อยจะนำไปปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริง จึงทำให้ตีความผิดพลาดไปตามอัตโนมัติอัธยาศัยของตน ผมจึงได้บอกว่าเรามักศึกษากันแบบตีกรอบ ศึกษากันแบบถูกผิด ศึกษากันแบบเอาความ ศึกษากันโดยดูหีบห่อ หน้าตา ส่วนประกอบ โดยยึดประสบการณ์ของตนเป็นหลัก แต่ไม่ค่อยมีใครตั้งใจจะชิมหรืออย่างน้อยรวบรวมข้อมูลที่เป็นไปได้ให้มากที่สุด

การจำแนกธรรมเป็นเรื่องปกติ ธรรมอันเดียวกัน แต่พอจำแนกออกแล้วก็จัดได้เป็นหมวด แต่ละหมวดก็จัดได้เป็นข้อ ๆ เพราะมีลักษณะเฉพาะของธรรมนั้น ๆ เหมือนกับเปลวเทียนที่มีแสง มีสี มีประกาย มีความร้อน เราจะบอกว่ามันเหมือนกันหมดเป็นไปไม่ได้เพราะมันไม่เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ว่าเป็นคนละอย่างกัน เพราะทั้งหมดนั้นคือเปลวเทียน ที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ อยู่ครบถ้วน

ความแตกต่างไม่จำเป็นต้องแตกแยก หากเราต้องการศึกษาพระธรรมเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ควรยึดติดกับความคุ้นเคย ความลำเอียง หรืออคติใด ๆ จนทำให้คิดเหมาไปด้านใดด้านหนึ่ง แม้จะมีผู้บอกว่า เปลวเทียนจะต้องมีความร้อน อีกที่หนึ่งบอกว่าเปลวเทียนจะต้องมีแสง หากเรามีอคติเราก็จะเหมาเอาด้วยความคิดใดความคิดหนึ่ง เช่น ความร้อนเท่านั้นถูก แสงผิด หรือ ความร้อนกับแสงเป็นอันเดียวกัน เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผู้รอบรู้ย่อมตอบได้ว่าแตกต่างกันตรงไหน เหมือนกันตรงไหน และเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่ คือ แสง กับ สี แตกต่างกันโดยคุณสมบัติ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่ทั้งสองอย่างนี้แยกกันไม่ออก เกิดขึ้นพร้อมกัน และเป็นสิ่งเดียวกัน คือ เป็นคุณสมบัติของเปลวเทียนนั่นเอง

หากเราเป็นคนประเภท เห็นข้อความสนับสนุนแล้วมั่นใจ หรือเห็นข้อความปฏิเสธแล้วขุ่นใจ อย่างนี้ต้องพิจารณาตนเองครับ ว่าเรากำลังมีอคติ เรากำลังมีความลำเอียง เรากำลังเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ไม่เข้ากลาง บางทีผู้พูดไม่ได้กล่าวในเชิงปฏิเสธ แต่เราไปตีความว่าเป็นการปฏิเสธ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วควรจะมองที่เนื้อหาที่กล่าว มากกว่าจะไปมองคำหรือประโยคที่ใช้กล่าว ฉะนั้น จึงได้มีผู้ตีความตำราผิดอยู่มากมาย เพราะไปยึดติดกับตัวภาษา ตัวประโยคที่ใช้มากเกินไปนั่นเอง

และที่ผมมาเขียนอะไรยืดยาว ก็อย่ามองว่าผมเห็นผู้อื่นเป็นผู้ไม่รู้ หรือว่าไม่ได้สนับสนุนความเห็นของใคร เพราะผมมีปกติชอบเสริมในสิ่งที่เห็นว่ายังไม่มีใครเสริม หากมีความสมบูรณ์พอแล้วก็จะไม่แสดงความเห็น และในเรื่องที่สนทนากันอยู่นี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบ ถ้าต้องการสนทนากันจริง ๆ จึงต้องยอมเหนื่อยหน่อยไม่ควรสรุปเอาง่าย ๆ อีกทั้งผมเห็นว่าท่านทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา มีศรัทธา และมีสัมมาทิฏฐิ จึงควรสนทนาด้วยอย่างยิ่ง และเป็นโอกาสที่จะได้ปัญญาเพิ่มพูนจากการแลกเปลี่ยนทรรศนคติและสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมา เพราะถ้าไม่ใช่อย่างนี้แล้ว ก็จะสนทนากันไม่รู้เรื่อง

และกระทู้นี้ผมก็เห็นว่าได้ประโยชน์พอสมควรล่ะครับ เราไม่จำเป็นต้องให้ใครเห็นว่าของเราดีอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าของเราดีจริง ยิ่งใครมาท้าพิสูจน์เขาก็ยิ่งพบความจริง สิ่งที่เราควรทำก็คือทำตัวเราให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องไปใส่ใจว่าจะมีคนเห็นว่าเราทำไม่ถูก หรือทำไม่ดี เพราะเรายังดีไม่พอเขาจึงไม่เห็น จึงต้องทำใหดี้ยิ่งขึ้นไปอีก บางทีเราเป็นคนมีฐานะ มีชื่อเสียง มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีคนยกย่องสรรเสริญ ทำให้เรามองไม่ออกว่าเรามีความไม่สมบูรณ์ตรงไหน เพราะมีแต่คนชื่นชม บางทีก็คิดว่าตนเองเก่ง แต่จริง ๆ ก็อาศัยบารมีของครูบาอาจารย์ อาศัยบุญเก่าช่วยส่งเสริม ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีความรู้อะไรไปอวดผู้อื่น

ความรู้ที่ลักจำเขามา ไม่ว่าจะจากตำราหรือจากครูบาอาจารย์ ขอให้ศึกษาแค่พอเอาตัวรอดก่อนก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเลยครับ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้สนทนาธรรมกันด้วยครับ หากใครมีอะไรใหม่ ๆ หรือมีประสบการณ์ดี ๆ ก็นำมาบอกกันให้หูตาสว่างยิ่งขึ้นก็จะเป็นการดีครับ

#26 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 09:26 AM

ตอบท่านเพียงพอ

ตามที่ท่านเห็นว่า เรื่องที่ได้ยกมาประเด็นถามนี้ เปรียบเสมือนคนตาดีบอกทาง
คนตาบอดนั้น

กระผมขอตอบว่า เห็นด้วยกับท่านในบางอย่างคือมะม่วงสีมันเป็นอย่างไร ถ้าคนตาบอดไม่เคย
ได้เห็นมะม่วงเลยอธิบายว่าสีเขียว ก็คงไม่เข้าใจอีกเพราะ ไม่เคยเห็นสีเลยด้วยซ้ำ

ดังนั้น คนตาบอดก็จะถามว่ามะม่วงรูปร่างเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเช่นนี้คนตาดีจะอธิบายได้ว่าผล
ของมันมีลักษณะ กลมรี ผิวหยาบ ไม่มีขน ปลายสองข้างไม่เท่ากัน ขนาดประมาณเท่ากระป๋องโค้กได้
คนตาบอดนั้น ก็สามารถจะลูบคลำและแยกได้ว่ามะม่วงเป็นอย่างไร

ตอบท่านพักผ่อน

ตามที่ท่านเห็นว่า มีบางอย่างที่เข้าใจตรงกันแต่อ่านสื่อออกมาไม่ตรงกันนั้น "ผมเห็นด้วย" เพราะว่า
ภาษาที่ใช้สื่อนั้นอาจจะคนละความหมาย

มีอะไรก็เอามาแลกเปลี่ยนความรู้กันอีกนะครับ

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ สาธุ สาธุ สาธุ
หยุดคือตัวสำเร็จ

#27 ธรรมโฆสก

ธรรมโฆสก
  • Members
  • 23 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 August 2009 - 07:51 PM

สนทนาธรรมตามกาลแล้ว พวกเรามานั่งสมาธิกันเถิดครับ สาธุ