ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

บทบาทสถาบันพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 11 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 01:21 AM

บทบาทสถาบันพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย มากขึ้นทุกวัน
ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การปรับตัว ทุกอย่างดำเนินการไปอย่างรวดเร็วทำให้ประชาชนหันไปพึ่งวัตถุ
เพื่อใช้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ตนเอง จนเกิดเป็นความเคยชิน
คิดว่าวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เหล่านี้ คือสิ่งจำเป็นของการดำรงชีวิต
โดยลืมนึกถึงศักยภาพของร่างกายและจิตใจของตนเอง
ซึ่งมีพลังและศักยภาพมากกว่าวัตถุหลาย ๆ ชิ้น

ความทันสมัยของโลกในยุคปัจจุบัน ทำให้พระสงฆ์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามามีบทบาท
เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงามให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน
โดยเฉพาะการเข้าใจวิถีชีวิตแห่งชุมชนอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี หรือความเป็นอยู่ของประชาชน
จนสามารถเป็นผู้นำทางด้านความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องได้
ซึ่งก็คงจะเป็นการนำย้อนไปสู่บทบาทของพระสงฆ์ในอดีตนั่นเอง ไม่ใช่เรื่องใหม่
เพียงแต่เรานำสิ่งต่าง ๆ มาประยุกต์ และปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ซึ่งได้พิสูจน์มาแล้ว โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสั่งสอนต่าง ๆ พุทธศาสนิกชนก็ได้ถือปฏิบัติกันมาช้านาน
วัดและพระสงฆ์จึงเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจศีลธรรมและพฤติกรรมต่าง ๆ
ของประชาชนทั้งในทางสังคม วัฒนธรรมและศาสนาวัดและพระสงฆ์เป็นผู้นำเอาพุทธรรมมาอบรมสั่งสอนประชาชน
ให้มีความเข้าใจในการประพฤติคิหิปฏิบัติเพื่อการดำเนินชีวิตด้วยความสุขและยุติธรรม

และเมื่อพุทธศาสนิกชนมีความเข้าใจในพุทธธรรมแล้ว
ก็สามารถบังคับตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีความสุข และสามารถแนะนำผู้อื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย

บทนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เห็นคุณค่าและความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ระหว่างพระพุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทย
ตลอดจนวิธีการที่คนไทยได้รับค่านิยมทางศาสนาโดยผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางจิตใจ
ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ในแต่ละขั้นตอน นับแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่

ทั้งนี้เพื่อการนำไปสู่การพิจารณาในคราวต่อไปว่า
เมื่อได้ทราบวิธีการที่คนไทยได้รับค่านิยมจากศาสนาแล้ว
ค่านิยมดังกล่าวจะเข้าไปมีอิทธิพลในระบบการปกครองและการบิหารอย่างไรบ้าง

บทนี้จึงเป็นการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องความสำคัญและคุณค่าของสถาบันทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อประชาชน และสังคมส่วนรวม
โดยจะได้แยกเนอตามลำดับหัวข้อต่อไปนี้ คือ
บทบาทและความสำคัญของสถาบันศาสนา
คุณค่าของสถาบันศาสนาในด้านการศึกษาอบรม
คุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการช่วยเหลือเยาวชนและการเป็นยึดเหนี่ยวทางใจ


วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษาถึงบทบาทและความสำคัญของสถาบันศาสนา
๒. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าของสถาบันศาสนาในด้านการศึกษาอบรม
๓. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการช่วยเหลือเยาวชน
๔. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการพัฒนาจิตใจ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทำให้ทราบให้ถึงบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระพุทธศาสนา
๒. ทำให้ทราบถึงคุณค่าของสถาบันศาสนาในด้านการศึกษาอบรม
๓. ทำให้ทราบถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการช่วยเหลือเยาวชน
๔. ทำให้ทราบถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการพัฒนาจิตใจ

ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาบทบาทสถาบันพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่มีอิทธิพลต่อท่าทีและการประพฤติปฏิบัติต่าง ๆ ของคนไทยอยู่มาก
เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่มีส่วนผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น
พุทธศาสนานี้จึงมีส่วนช่วยขัดเกลาจิตใจ ลักษณะนิสัย และวัฒนธรรมในด้านจิตใจของชาวไทยอยู่นานัปการ
โดยแบ่งการศึกษาบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยออกเป็น ๔ บทบาท ดังต่อไปนี้

๑. บทบาทและความสำคัญของสถาบันพระพุทธศาสนา
๒. บทบาทคุณค่าของสถาบันศาสนาในด้านการศึกษาอบรม
๓. บทบาทคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการช่วยเหลือเยาวชน
๔. บทบาทคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการพัฒนาจิตใจ

ระเบียบวิธีการศึกษา
ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลในเอกสารตำราวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบทบาทพระพุทธศาสนาในด้านต่าง ๆ บ้าง
บทบาทวัด และบทบาทของพระสงฆ์เองด้วย ที่ทำหน้าที่ของตนเองในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
หนังสือเกี่ยวกับประเทศไทย และประวัติศาสตร์การศึกษาไทยด้วย


บทบาทและความสำคัญของสถาบันศาสนา
สถาบันทางพระพุทธศาสนาของเราเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ในการให้ความช่วยเหลือต่อสังคมไทยตลอดมา
โดยมีส่วนช่วยในการกล่อมเกลาจิตใจ และลักษณะนิสัยของคนไทย
ตลอดจนการให้บริการตามความจำเป็น ตามความต้องการของประชาชน

อีกทั้งมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาทางสังคมให้แก่เรามาแล้วเป็นอย่างมาก
แม้กระทั่งในปัจจุบัน ความสำคัญในประการดังกล่าวก็คงมีอยู่
พระภิกษุสงฆ์กับวัดยังต้องรับภาระหน้าที่ในการช่วยเหลือสังคมและทางราชการของเราอยู่ตลอดไป
สถาบันแห่งนี้จึงอำนวยประโยชน์เกื้อกูลต่อการปกครองและการบริหารของไทยอยู่มาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชาชนแถบชนบท ที่ยังรับบริการจากรัฐบาลได้ไม่ทั่วถึงนัก
ซึ่งมีจำนวนเกือบ ๙๐ เปอร์เซ็น

กล่าวได้ว่า
หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญของวัฒนธรรมไทย
ดังจะเห็นว่า เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิตประจำวันเกือบทั้งหมดของคนไทย
มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
ในที่นี้จะชี้ให้เห็นว่าสถาบันพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยเหลือทางราชการ และช่วยแก้ปัญหาให้แก่ทางสังคมของเราอย่างไรบ้าง



ความสำคัญของวัดต่อสังคม
ใน พ.ศ. ๒๕๐๗ ประเทศไทยมีวัดในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจำนวนมากมีนักเขียนท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า

"การที่ได้เห็นวัดกับพระเจดีย์ตามรายทางโดยไม่มีที่สิ้นสุด
แสดงให้เห็นอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของประชาชน"

นอกจากนั้นชุมชนในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังมีลักษณะเป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศประมาณร้อยละ ๙๐
ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่มีอยู่ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลซึ่งเป็นชุมชนหนาแน่น

ในประเทศไทยจึงมีชุมชนส่วนใหญ่ที่มีหมู่บ้านเห็นหน่วยหลัก
และมักจะมีวัดตั้งอยู่ใจกลางราษฎรในหมู่บ้านจึงมีวัดเป็นทั้งแหล่งกลางสำหรับการสมาคมหรือการดำเนินชีวิตทางสังคม
และเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ชีวิตในชนบทจะดำเนินอยู่รอบ ๆ วัด

เพราะประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
วัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่อยู่เหนือจิตใจของชาวไทยอยู่มาก
และนับได้ว่าเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในหมู่บ้านที่รองไปจากครอบครัวทีเดียว ความนับถือของประชาชนที่มีต่อสถาบันนี้

จำนวนเงินที่พุทธศาสนิกชนใช้ไปในการทำบุญประมาณร้อยละ ๗ ถึงร้อยละ ๘๔ ของรายจ่ายภายในครอบครัวทั้งสิ้น
สำหรับหน้าที่และความสำคัญของวัดนั้น นอกจากจะเป็นสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมหรือทำพิธีทางศาสนาแล้ว
วัดยังทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ

๑. เป็นแหล่งหรือศูนย์กลางของชุมชน
๒. เป็นโรงเรียน
๓. เป็นสถานที่ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และการปลอบใจ
๔. เป็นสถานพยาบาลและสถานจ่ายยา
๕. เป็นสถานสงเคราะห์และที่พักพิงสำหรับผู้ยากจน คนชรา และเด็กกำพร้า
๖. เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นศูนย์กลางการเล่นกีฬา
๗. เป็นที่ทำการธุรกิจ
๘. เป็นแหล่งจ่ายน้ำดื่มน้ำใช้ให้แก่ประชาชน
๙. เป็นแหล่งข่าวหรือศูนย์รวมข่าว
๑๐. เป็นฌานปนกิจสถานและเป็นที่เก็บศพ


จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่า
วัดจึงเป็นหน่วยงานสวัสดิการใหญ่ที่สุดในชนบท ที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ
ของครอบครัว ของชุมชน และของสังคมในส่วนรวมได้เป็นอย่างดี
มีแต่ในตัวเมืองเท่านั้นที่การช่วยเหลือของวัดลดความสำคัญลง
เนื่องจากเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในเขตชุมชนหนาแน่น

วัดในพระพุทธศาสนาจึงแบ่งเบาภาระในการให้บริการของรัฐบาลไปได้มาก
ทั้งยังก่อให้เกิดรากฐานอันมั่นคง และเสริมสร้างต่อบริการในด้านสวัสดิการของรัฐอีกด้วย

นอกนั้นวัดยังเป็นรากฐานสำคัญของศิลปวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา
โดยมีวัดเป้ฯสถาบันและสัญลักษณ์ วัดจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยอยู่มาก

#2 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 07:47 AM

ยาวจังเลยค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 11:20 AM

สาธุ

#4 usr27004

usr27004
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 November 2008 - 01:56 PM

ขอบคุณครับทำให้ผมได้มีข้อมูลรายงานแล้ว

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 22 December 2009 - 12:30 PM


แนบไฟล์  ordination1S.jpg   650.83K   317 ดาวน์โหลด

บทบาทและความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์

ในสมัยก่อนผู้ชายไทยเกือบทุกคนจะต้องบวชเป็นพระภิกษุอย่างน้อยที่สุดก็เป็นเวลา ๒ ถึง ๓ เดือน
เพื่อให้เกิดกุศลกรรมแก่ตัวเองหรือผู้มีพระคุณ และเพื่อศึกษาหลักธรรมของพระพุทธองค์ ในชนบทปัจจุบัน
ผู้ชายไทยจะผ่านการบวชเรียนมาแล้วร้อยละ ๕๐ ถึงร้อยละ ๕๕

จากการสำรวจความคิดเห็นและความเชื่อถือของชาวบ้านในเรื่องวิธีการได้บุญ
ปรากฏผลตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ

๑) บวชเป็นพระภิกษุ
๒) บริจาคเงินสร้างวัดตามสมควร
๓) มีบุตรได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์
๔) เดินทางไปนมัสการสถูปเจดีย์ทั่วประเทศ
๕) บริจาคเงินซ่อมแซมวัด
๖) ทำบุญตักบาตรและถวายอาหารแก่พระภิกษุเป็นประจำ
๗) บวชเณร
๘) เข้าวัดถือศีล ๕ เป็นประจำ
๙) บริจาคเงินและจีวรในวานทอดกฐิน

แสดงให้เห็นว่า
การบวชเป็นพระภิกษุเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยนับถือพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
และแสดงให้เห็นอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เหนือจิตใจและความรู้สึกนึกคิดของชาวไทยส่วนมากด้วย

การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์นั้น ย่อมได้รับการยกย่องนับถือเหนือกว่าการมีความมั่งคั่ง หรือการมีอำนาจใด ๆ

ทั้งยังได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีเกียรติที่สุดในสังคมชนบททั้งนี้มิใช่เป็นเรื่องส่วนตัว
หากเป็นเพราะพระภิกษุสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด
ทำให้เป็นแบบฉบับอันดีงามในทางศีลธรรมจรรยาของสังคม


จากการสำรวจเกี่ยวกับชุมชนแห่งหนึ่ง dr. konrad kingshill ได้รายงานผลการสำรวจของเขาไว้ตอนหนึ่งว่า

ส่วนมากพระภิกษุสงฆ์จะอยู่ในฐานะเป็นผู้นำชุมชนทั้งในด้านศาสนาและในด้านฆราวาส

จากการสำรวจเกียรติภูมิของชนชั้นนำในชนบท พระภิกษุสงฆ์จะได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับสูงสุด
มีวัดแห่งหนึ่งที่เจ้าอาวาสมีบทบาทเป็นผู้นำในการดำเนินชีวิตของชาวชนบทมาก
และเป็นสื่อกลางในการพัฒนาหมู่บ้านขึ้นเป็นชุมชนใหม่
เจ้าอาวาสดังกล่าวเป็นผู้สร้างโรงเรียน และเป็นผู้ลงมือทำงานเองด้วย

โดยที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในชนบท จึงทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมาร่วมชุมนุมกัน ณ สถานที่ดังกล่าว
ทำให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันในการเป็นสมาชิกของหมู่บ้าน ณ ที่นี้

พิธีกรรมทางศาสนามักจะดำเนินร่วมไปกับกิจการทางสังคมด้วยเสมอ
ย่อมเป็นการยากที่จะจำแนกบทบาทของพระภิกษุสงฆ์ในสังคมชนบท
เพราะตามปกติแล้วพระภิกษุสงฆ์จะไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกมากนัก
แต่เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชนบท ทั้งในทางโลกและในทางธรรม มักจะผสมปนเปกัน
บรรดาพระภิกษุสงฆ์จึงต้องมายุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมในทางโลกอยู่เสมอ

เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือมากที่สุด
ชาวบ้านจึงมักจะมาปรึกษาหารือเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ด้วย ในกรณีที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ
พระภิกษุสงฆ์นับเป็นบุคคลแรกที่จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือและปลอบใจ
พระภิกษุสงฆ์จึงมีอิทธิพลต่อการกระตุ้น หรือแนะนำให้เกิดกิจกรรมในทางสังคม และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้มาก
ดังที่ blanchard กล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า

"…พระภิกษุสงฆ์นับเป็นสถาบันที่ได้รับการเคารพนับถือจากสังคมและใกล้ชิดกับจิตใจของประชาชนมากว่ารัฐบาล
พระภิกษุสงฆ์นับเป็นแบบฉบับขั้นอุดมคติในด้านวัฒนธรรมทางจิตใจของคนไทย


เจ้าอาวาสทั้งโดยฐานะตำแหน่งและโดยบุคลิกส่วนตัวจะเป็นบุคคลที่ได้รับการเคารพนับถือ
และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น"


สำหรับลักษณะแห่งการช่วยเหลือของฝ่ายสงฆ์ที่มีต่อชุมชนนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับบุคลิกของเจ้าอาวาสเป็นสำคัญ
ถ้าท่านเป็นผู้ที่กระตือรือร้น ความเกี่ยวข้องระหว่างวัดกับชุมชนก็มีมาก
แต่ถ้าท่านถือว่าเป็นพระภิกษุที่หมดกิเลสไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกเสียแล้ว
พระภิกษุอื่น ๆ ก็อาจจะลดความเอาใจใส่ต่อความต้องการหรือความจำเป็นต่าง ๆ ของชุมชนลงไปบ้าง
ในเรื่องของบทบาทและความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์ก็คือที่มีต่อสังคมนั้น

อาจกล่าวได้ว่า
มีความเกี่ยวพันกับความสำคัญและหน้าที่ของวัดดังที่กล่าวมาแล้วนั้นข้างต้น
ในที่นี้ จะขอกล่าวเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยเพราะสถาบันทั้งสอง คือวัดกับพระภิกษุสงฆ์ เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก

สำหรับหน้าที่หลักของพระภิกษุสงฆ์ก็คือ
การศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรม
ส่วนหน้าที่ที่มีต่อสังคมก็นับว่ามีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
นอกจากจะมีหน้าที่ดำเนินกิจกรรมบางอย่างของวัดแล้ว
พระภิกษุสงฆ์ยังมีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนหลักธรรมให้แก่ประชาชนเพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติตามและอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
ยิ่งกว่านั้นพระภิกษุสงฆ์ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้แก่ชาวบ้านอีกด้วย

บรรดาเจ้าอาวาสและพระภิกษุอาวุโสยังอาจทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา อนุญาโตตุลาการ หรือ ผู้รักษาคนป่วยไข้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจิตใจ ฯลฯ

ที่สำคัญคือ ในระยะหลังนี้ทางราชการได้เห็นความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์
ในลักษณะที่จะเชิญชวนให้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมของเรามากขึ้น
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า

พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ได้รับการเคารพยกย่องให้มีเกียรติที่สุดในสังคมในฐานะเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด
เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านศีลธรรมและจริยธรรมทั่วไป
จึงได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมาก

พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ให้คำแนะนำช่วยเหลือในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวันของราษฎรในชนบท
ป็นครูสอนหนังสือมาแต่สมัยโบราณ เป็นที่ปรับทุกข์ เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดีความ
และเป็นผู้ประกอบพิธีทางศาสนาในทุกวงจรชีวิตของชาวบ้าน
และในพิธีการของทางราชการ

ฉะนั้น พระภิกษุสงฆ์จึงมีส่วนช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้แก่สังคมอยู่ไม่น้อย
แม้แต่การพัฒนาชุมชน พระภิกษุสงฆ์ก็มีส่วนชักจูงราษฎรให้ร่วมมือด้วย
เพราะได้รับการยกย่องนับถือในฐานะที่มีความรอบรู้ในกิจการเกือบทุกด้าน

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระภิกษุสงฆ์จะบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำชุมชน
และเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ซึ่งรวมถึงการสร้างวัด สร้างบ่อน้ำ สะพาน ศาลาประชาคม
บางทีก็ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าควบคุมงาน หรือเป็นผู้กระทำตนเป็นตัวอย่างด้วยการออกแรงทำสิ่งต่าง ๆ
พระภิกษุสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนพอ ๆกับผู้ใหญ่บ้านและครู

เหตุผลเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นความสำคัญและความสัมพันธ์ของพระภิกษุสงฆ์ที่มีต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทย
แต่เราจะเห็นคุณค่าละความสำคัญของสถาบันทั้งสองคือวัดและพระภิกษุสงฆ์มากยิ่งขึ้น
เมื่อได้พิจารณาถึงคุณค่าของสถาบันพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษาอบรม และบทบาทในการช่วยเหลือเยาวชน
และการเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจในตอนต่อไป ตามลำดับ


แนบไฟล์  7000_b.jpg   493.87K   235 ดาวน์โหลด

คุณค่าของสถาบันพระพุทธศาสนา
ในด้านการศึกษาอบรม

ในสมัยก่อนสถาบันพระพุทธศาสนาเป็นสถาบันแห่งแรกที่ให้การศึกษาแก่คนไทย
การศึกษาของเราเริ่มต้นจากที่วัด โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา
แม้ในปัจจุบันความสำคัญในด้านนี้ก็ยังมีอยู่

ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมทำนุบำรุงการศาสนา
ก็เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจและเป็นสถาบันอบรมศีลธรรมอันดีงามให้แก่ประประชาชน
ในที่นี้จะได้ชี้ให้เห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษาเบื้องต้น จริยศึกษา และคุณค่าของการบวชเรียน
ทั้งนี้ เพื่อจะได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีอยู่เหนือจิตใจของคนไทยโดยแจ้งชัดยิ่งขึ้น

๑. สถาบันพระพุทธศาสนากับการปูพื้นฐานการศึกษาให้กับคนไทย
นับแต่โบราณมา วัดเป็นสถาบันแห่งเดียวที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนไทยโดยส่วนรวม
การศึกษาจะกระทำกันในโรงเรียนวัด
โดยมีพระภิกษุสงฆ์ผู้มีความรู้สูงกว่าชาวบ้านเป็นผู้จัดการศึกษาและเป็นครู
เด็กผู้ชายจะถูกส่งไปเป็นศิษย์วัดหรือสามเณร
เพื่อเรียนการอ่าน การเขียน และเรียนวิชาเลขคณิตอย่างง่าย ๆ
รวมทั้งรับการอบรมทางศีลธรรม และหลักธรรมของศาสนา
ทำให้เด็กผู้ชายส่วนมากอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้ในด้านจริยธรรมของสังคม
ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติของตนเองและของครอบครัว

แสดงให้เห็นการที่เราต้องพึ่งพาอาศัยวัดในด้านนี้มาโดยตลอด
รัฐบาลเพิ่งจะยื่นมือเข้าไปจัดการในด้านการศึกษาของประชาชนเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๕๑๔ นี้เอง
โดยมีการตั้งโรงเรียนแห่งแรกของประเทศไทยในพระบรมมหาราชวัง
และออกประกาศให้วัดเปิดการสอนแก่เด็ก ๆ ในท้องที่ของตน

แผนการศึกษาสมัยใหม่ได้พัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานของระบบการศึกษาดังกล่าวนี้
การมีพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถในการสอน
กับการมีสถานที่ภายในวัดเพียงพอแก่การจัดชั้นเรียน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยทำให้สามารถจัดตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วประเทศได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ยังขาดทุนรอนสำหรับจัดหาอาคารใหม่ ๆ
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นต้นมา จึงมีโรงเรียนเกิดขึ้นตามวัดเป็นจำนวนมาก
ทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองต่าง ๆ

ทั้งนี้ก็เพื่อให้
"วิชาหนังสือไทยรุ่งเรืองแพร่หลายเป็นคุณแก่ราชการ และเป็นความเจริญแก่บ้านเมืองยิ่งขึ้น"

ความยุ่งยากอันเนื่องมาจากการขาดแคลนเงินทุน และขาดครูที่เหมาะสมในสมัยนั้นย่อมมีอยู่มาก
แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่มีบรรดาพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก
ได้เข้ามาช่วยทำหน้าที่เป็นครูสอนในโรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงนั้น

ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ มีการตั้งโรงเรียนชั้นมูลศึกษาขึ้นในวัด ทั้งในกรุงและในหัวเมือง
โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้จัดการให้พระภิกษุสงฆ์ได้ทำการสอนบรรดาศิษย์ทั้งหลายในวัดของท่าน

การศึกษาของไทยในระยะต่อมา ได้เปลี่ยนแปลงไปตามโครงการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๑
สิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า
หลักสูตรจะขึ้นต้นด้วยจรรยา แล้วเดินตามแนวแผนการศึกษาของญี่ปุ่นเสียเป็นส่วนใหญ่ ในระยะนั้น
คณะสงฆ์ได้มีส่วนเหลือให้เกิดการขยายการศึกษาตามหัวเมืองได้เป็นอย่างมากทั้งนี้ก็เป็นไปตามนโยบายที่ว่า
"ให้พระภิกษุสงฆ์สั่งสอนกุลบุตร ให้ตั้งอยู่ในธรรมปฏิบัติและมีความรู้"

โดยที่พระภิกษุสงฆ์จะได้รับการขอร้องให้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของฝ่ายโรงเรียน
เกี่ยวกับเรื่องการตั้งโรงเรียนภายในวัด และรับหน้าที่เป็นครูเท่าที่พอจะทำได้
นับได้ว่าพระภิกษุสงฆ์ได้มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องการขาดแคลนคูได้ดีที่สุด
คณะสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญในการขยายการศึกษาตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยในระยะแรก ๆ
ซึ่งก็สอดคล้องกับประเพณีดั้งเดิมที่เด็ก ๆ ได้อาศัยเรียนหนังสือกันอยู่ใสวัดนั่นเอง

ใน พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้พระราชบัญญัติประถมศึกษา
ใช้บังคับแก่เด็กอายุระหว่าง ๗ ถึง ๑๔ ปีให้เข้าโรงเรียน โดยมีผลใช้บังคับทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘

ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๔ นั้น
จำนวนนักเรียนได้เพิ่มขึ้นจา ๒๔๑,๕๐๘ คน เป็น ๗๘๘,๘๔๖ คน
ทำให้จำเป็นต้องมีการดัดแปบงศาลาวัดต่าง ๆ เป็นจำนวนพัน ๆ แห่งให้เป็นโรงเรียนประชาบาลขึ้นมา

ใน พ.ศ. ๒๔๗๔
มีโรงเรียนที่ดำเนินการโดยวัดเป็นจำนวนถึง ๔,๖๘๘ แห่ง หรือร้อยละ ๘๕.๖
และมีโรงเรียนชั้นประถม มัธยมที่อยู่ในบริเวณวัด ๔,๙๑๑ โรง หรือร้อยละ ๗๑.๓

ในช่วงแห่งการขยายตัวของการศึกษาดังกล่าว
พระภิกษุสงฆ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นผู้จัดการศึกษาและเป็นครูสอนหนังสือ

แต่อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง ๆ นี้พระภิกษุสงฆ์ได้เริ่มลดบทบาทในการทำหน้าที่สอนในโรงเรียนลง
เนื่องจากรัฐบาลสามารถช่วยตนเองได้มากขึ้นแล้ว
หลังจาก พ.ศ. ๒๔๗๔ มาแล้ว จำนวนโรงเรียนวัดเริ่มลดลง
เมื่อท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถสร้างโรงเรียนใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ทันกับความต้องการที่เรียนของนักเรียนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๗๖
ก็ยังมีโรงเรียนถึง ๑,๕๔๓ แห่ง ที่คณะสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการ
และถึงแม้ว่าใน พ.ศ. ๒๔๘๒ จะได้มีโรงเรียนรัฐบาลเป็นจำนวน ๔๒๙ แห่ง
โรงเรียนประชาบาลจำนวน ๑๐,๗๖๘ แห่ง โรงเรียนเทศบาลจำนวน ๓๐๔ แห่ง
และโรงเรียนราษฎร์จำนวน ๑,๓๐๘ แห่ง แต่ในต่างจังหวัดส่วนมาก
โรงเรียนเหล่านี้ก็ยังอยู่ในบริเวณวัดอยู่นั่นเอง

ใน พ.ศ. ๒๕๐๑ นักเรียนทั้งสิ้นมีจำนวนถึง ๔,๐๔๐,๖๐๙ คน
แต่ในปีนั้นก็ยังมีโรงเรียนที่อยู่ในบริเวณวัดเป็นจำนวนถึง ๑๐,๕๘๒ แห่ง
ในจำนวนโรงเรียนชั้นประถมและมัธยมทั้งสิ้น ๒๕,๓๓ โรง

แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุสงฆ์และวัดได้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของคนไทย
และของสังคมในส่วนรวมก่อนที่รัฐบาลจะได้ยื่นมือเข้าไปจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน

วัดได้เป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของเรามาเป็นเวลานาน
มิฉะนั้นแล้วคนไทยส่วนมาก็อาจจะเป็นผู้ไม่รู้หนังสือก็ได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระภิกษุสงฆ์และวัดได้มีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาในเรื่องการขาดแคลนครุและสถานที่เรียน
และช่วยทำให้โครงการศึกษาของชาติสามารถบรรลุผลสำเร็จได้

สิ่งดังกล่าวนับเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นบทบาทและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระพุทธศาสนากับประชาชนชาวไทย
แม้ในเรื่องของการศึกษา เราก็ต้องพึ่งพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตามเราย่อมตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งนี้ยิ่งขึ้น
เมื่อได้พิจารณาถึงความสำคัญของการศึกษาในด้านจริยธรรมต่อไป


๒. ความสำคัญของศาสนาในด้านการศึกษาจริยธรรม
การศึกษาในช่วงนี้มีความสัมพันธ์กับที่ได้พิจารณาแล้วในข้อ ๑ โดยตรง
กล่าวคือ พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ให้การศึกษาในด้านจริยธรรม หรือศีลธรรม แก่เยาวชนไทย
ตามหลักพระพุทธศาสนา ควบคู่กับการสอนหนังสือของท่านโดยตลอดมา
การส่งเด็กผู้ชายไปเป็นศิษย์วัด หรือเป็นสามเณร

ซึ่งการะทำกันจนเป็นประเพณีมานาน
ถือว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ได้รับความเลื่อมใสและกลายเป็นสมาชิกที่ได้รับการยกย่องจากชุมชนขึ้นมา
การกระทำดังกล่าวนอกจากจะมีส่วนช่วยทำให้เด็กผู้ชายไทยเป็นจำนวนมากอ่านออกเขียนได้แล้ว
ยังช่วยทำให้บุคคลเหล่านั้นได้มีโอกาสรับการอบรมสั่งสอนในด้านศีลธรรมและหลักธรรมทางศาสนาด้วย
ดังได้กล่าวมาแล้ว

แม้เมื่อทางราชการได้ยื่นมือเข้าจัดการการศึกษาของประชาชนแล้วก็ตาม
บรรดาพระภิกษุสงฆ์ก็ยังมีส่วนเป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้สอนเยาวชนในโรงเรียนวัดอยู่อีก
จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อไม่นานมานี้เอง
ที่หน้าที่อันสำคัญเช่นนั้นได้เปลี่ยนไปอยู่ในความรับผิดชอบของทางรัฐบาล
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในปัจจุบันก็ยังมีโรงเรียนที่อยู่ในวัดเป็นจำนวนมาก

เราจะมองเห็นความสำคัญของการศึกษาอบรมในด้านจริยธรรมได้จากการจัดหลักสูตรการศึกษา
ตามโครงการการศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๑ ที่เน้นในเรื่องจรรยาดังได้กล่าวมาแล้ว

ยิ่งกว่านั้นใน พ.ศ. ๒๔๗๒
กระทรวงธรรมการยังได้ประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาขึ้น

โดยให้มีการสอนเกี่ยวกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาขึ้นในโรงเรียนรัฐบาลทั้งหมด
และให้นักเรียนได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่ออบรมให้เด็ก ๆ มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕
ได้มีการปรับปรุงระบบการศึกษาทั้งในด้านวุฒิศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และหัตถศึกษา
สำหรับในด้านจริยศึกษาส่วนมากเป็นเรื่องหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
ประมาณ พ.ศ.๒๔๙๓ กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มกำหนดให้โรงเรียนต่าง ๆ
ทั้งโรงเรียนหลวงและโรงเรียนราษฎร์ใช้หนังสือเรียนในหลักสูตรจริยศึกษา สำหรับชั้นประถมและมัธยม

การสอนวิชาศีลธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ หลักธรรม หรือคำสอนจากพระไตรปิฎก
แบบเรียนชกุดพระพุทธศาสนาคงมีลักษณะเดียวกับที่เคยสอนกันอยู่ในโรงเรียนวัดสมัยก่อน

บางทีก็มีการสอนหรือจัดให้มีการประกอบพิธีทางศาสนาด้วย
ซึ่งอาจจะกระทำกันเป็นประจำทุกวันทุกสัปดาห์ หรือเป็นครั้งคราว
การศึกษาอย่างมีระเบียบวิธีเช่นนี้ ทำให้เด็กนักเรียนมีความสำนึกในการเป็นพุทธศาสนิกชนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นวรรณคดี ศิลปะหรือวัฒนธรรมส่วนมาก ยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ย่อมแสดงให้เห็นบทบาทและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ที่มีอยู่ในชีวิตจิตใจและความคิดคำนึงของคนไทยเป็นอันมาก
การศึกษาในด้านจริยธรรมจะมีผลต่อการมีศีลธรรม และการประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามของคนไทยอยู่ไม่น้อย

อย่างไรก็ตามเราจะมาองเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาได้ชัดยิ่งขึ้น
เมื่อได้พิจารณาถึงคุณค่าของประเพณีการบวชเรียน
ซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางศาสนา มาสู่การประพฤติปฏิบัติโดยส่วนรวมของเรา


๓. ความสำคัญและคุณค่าของประเพณีการบวชเรียน
ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าสมัยก่อนคนไทยศึกษากันที่วัด
นอกจากจะได้รับความรู้จากการศึกษาอบรมในเรื่องหลักธรรมทางศาสนาแล้ว
จะเป็นการเตรียมตัวของตนเองสำหรับการอุปสมบทที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าอีกด้วย การศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรม

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยนั้นถือกันว่าเป็นการศึกษาสำคัญที่สุดของชาติ
การอุปสมบทย่อมมีส่วนช่วยทำให้กุลบุตรมีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น
เพราะมีวัดแห่งเดียวที่เป็นสถาบันการศึกษาสิ่งนี้นับเป็นมูลเหตุจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายไทยนิยมการอุปสมบท
เป็นประเพณีทั่วไป เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จะต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์
เพราะถือว่าการบวชนั้น
นอกจากจะทำให้ได้บุญแล้ว
ยังทำให้มีโอกาสได้ร่ำเรียน มีความรอบรู้ยิ่งขึ้น การบวชเรียนจึงเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงการบวชเรียนไว้ว่า

….ในสมัยกรุงศรีอยุธยา การที่บวชเรียนถือเป็นประเพณีว่าผู้ชายทุกคนควรจะต้องบวช
เป็นเหตุให้มีพระภิกษุสงฆ์มากมายขึ้นหลายเท่า…
อีกประการหนึ่ง เมื่อประเพณีการบวชเรียนแพร่หลาย ย่อมมีผู้บวชแต่ชั่วคราว
โดยมากถือเอาการศึกษาเป็นสำคัญของการบวช การเล่าเรียนจึงได้เจริญขึ้นตามวัด วัดจึงได้เป็นที่ศึกษาสถาน…


การศึกษาในทางหลักธรรมมีความก้าวหน้าเรื่อยมาตามลำดับ
ใน พ.ศ. ๒๔๗๒
มีหลักสูตรนักธรรมของทั้งฝ่ายสงฆ์กับฝ่ายฆราวาส และหลักสูตรการเปรียญ
ในปัจจุบันมีโรงเรียนสงฆ์ขั้นมหาวิทยาลัยสองแห่งตั้งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๘๙ และ พ.ศ. ๒๔๙๐
ผู้มีโอกาสได้เรียนธรรมศึกษาและรับฟังธรรมจากวัด
ย่อมจะได้รับการอบรมจิตใจให้เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีเป็นส่วนใหญ่

การบวชเรียนนั้น นอกจากจะช่วยทำให้พระภิกษุสงฆ์
หรือผู้ผ่านการบวชเรียนได้รับการกล่อมเกลาให้เป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
จนเป็นที่ได้รับการเคารพนับถือของสังคมทั่วๆ ไปแล้ว
ยังมีส่วนช่วยทำให้บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด มีความคิดสุขุมรอบคอบยิ่งขึ้น

เมื่อสึกออกมาก็มักจะเป็นผู้ที่ครองชีวิตได้ดี มีเหตุผล และเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่บวชในขณะมีอายุเริ่มเข้าสู่วัยของการบรรลุนิติภาวะ
ซึ่งเป็นระยะเริ่มเปลี่ยนจากวัยรุ่นมาสู่วัยผู้ใหญ่ทำอะไรก็มักจะมีความคิดรุนแรงและวู่วาม
ถ้าผ่านการบวชเรียนมาแล้ว ก็จะไร้รับการขัดเกลานิสัยจิตใจ
และมีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับควบคุมตัวเอง

ด้วยเหตุนี้ประเพณีโบราณจึงถือการบวชเรียนของฝ่ายชายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแต่งงานด้วย
กล่าวคือผู้ชายจะต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้ว
ประเพณีการบวชเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการศึกษาหลักธรรมนี้

นับว่ามีความสำคัญทั้งในส่วนที่เป็นองค์พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาข้าราชการ และประชาชน
แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีอยู่ ดังจะเห็นได้จากการที่ทางราชการลาบวชได้เป็นจำนวนถึง ๑๒๐ วัน
และการที่ยังมีประเพณีที่ผู้ชายไทยยังนิยมการบวชอยู่ ซึ่งมีจำนวนถึงร้อยละ ๕๐ ถึงร้อยละ ๕๕
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#6 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 22 December 2009 - 12:41 PM

แนบไฟล์  _____________________.jpg   346.32K   233 ดาวน์โหลด

การออกผนวชขององค์พระมหากษัตริย์

นอกจากจะทรงเป็นตัวอย่างและก่อให้เกิดราชประเพณีอันดีงาม ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำของพุทธศาสนิกชน
อันทำให้เกิดศรัทธาปสาทะแก่บรรดาพสกนิการทั่วไปแล้ว
ยังมีส่วนช่วยทำให้ทรงได้มีโอกาสศึกษา และมีส่วนร่วมประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงในบวรพระพุทธศาสนา

อีกทั้งยังมีส่วนช่วยทำให้ฝ่ายราชบัลลังก์กับฝ่ายคณะสงฆ์ได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นอีกด้วย

สำหรับข้าราชการในสมัยก่อน
การบวชเรียนถือว่ามีความสำคัญมาก ในบาสมัย บุตรหลานข้าราชการคนใดที่จะถวายตัวทำข้าราชการ
ถ้ายังไม่ได้บวชก็ไม่ทรงแต่งตั้งให้เป็นขุนนางหรือให้รับราชการแม้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อมีการปรับปรุงการบริหาราชการแผ่นดินอย่างขนานใหญ่

ยังปรากฏว่ามีบรรดาผู้ยานการบวชเรียนทั้งหลายเข้ามาสมัครรับราชการและประสบความก้าวหน้าในตำแหน่งราชการเป็นจำนวนไม่น้อย
ในปัจจุบัน ผู้ผ่านการศึกษาอบรมในหลักสูตรนักธรรม หรือในชั้นเปรียญ ก็ยังอาจได้รับการยอมรับว่า
มีคุณวุฒิเหมาะสมสำหรับการเข้าทำงานหรือการประกอบอาชีบางอย่าง ผู้นำหรือหัวหน้าชุมชน
ซึ่งได้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือบุคคลสำคัญอื่น ๆ ส่วนมากจะผ่านการบวชเรียนมาแล้ว
หรืออย่างน้อยก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับกิจการศาสนาพอสมควร
ทำให้มีเกียรติภูมิสูง เมื่อจะพูดอะไรก็มีน้ำหนัก และได้รับการเชื่อถือจากผู้อื่น

ในทำนองเดียวกัน ข้าราชการที่ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว อาจมีส่วนช่วยให้เป็นผู้ประพฤติตนเป็นคนดี
มีศีลธรรมประจำใจ และทำชั่วน้อยลง เพราะในการบวชนั้น
นอกจากจะเป็นการถือปฏิบัติกันตามประเพณีของพุทธศาสนิกชนแล้ว
ยังเป็นที่เชื่อกันว่าจะเป็นการทำตนให้เป็นคนดีขึ้นด้วย
ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของข้าราชการ ทางราชการจึงให้ข้าราชการลาบวชได้ด้วยเหตุนี้

คนไทยจึงได้รับอิทธิพลจากหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
โดยการอบรมสั่งสอนจากระบบการศึกษาและการสอนจริยธรรมในโรงเรียนหรือวัด และโดยการบวชเรียนดังกล่าวแล้ว

ยิ่งกว่านั้นพุทธศาสนิกชนไทยทั่วไปย่อมจะได้รับอิทธิพลแห่งหลักธรรมของศาสนานี้โดยตรง หรือโดยทางอ้อม
ทั้งนี้ไม่ว่าจะจากการรับฟังพระธรรมเทศนา จากการซึมซาบโดยผ่านทางสื่อมวลชน จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
หรือจากการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันพระพุทธศาสนากับการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยอีกด้วย

จากการพิจารณาในเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษาจริยธรรม และในด้านประเพณีการบวชเรียน
ย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า

พระพุทธศาสนาได้เข้ามีบทบาท และความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นต่อชีวิตจิตใจและการพฤติปฏิบัติของคนไทยเป็นอันมาก
จากกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมดังกล่าวนี้ ย่อมจะมีส่วนช่วยให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่า

พระพุทธศาสนาได้มีส่วนสำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานทางวัฒนธรรมในด้านจิตใจให้แก่คนไทยโดยตรงอยู่เพียงใด
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 22 December 2009 - 12:56 PM

แนบไฟล์  292_L.jpg   529.05K   221 ดาวน์โหลด


บทบาทในด้านการช่วยเหลือเยาวชนและการเป็นที่พึ่งทางใจ

ในตอนต้นได้กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของวัดและพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนคุณค่าในด้านการศึกษาที่มีต่อสังคมไทยมาแล้ว สำหรับในที่นี้จะได้ชี้ให้เห็นบทบาทของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมอีก ๒ ประการ คือ

๑. บทบาทในการช่วยเหลือเยาวชน
นับเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ว ที่วัดได้ให้ความอุปการะแก่เยาวชน
ด้วยการให้การศึกษา การอบรมสั่งสอน ให้ที่อยู่อาศัย และให้อาหารการกิน
เด็ก ๆ ที่อยู่ในวัดจะรู้สึกมีความอบอุ่น และมีความสุข เหมือนกับอยู่บ้านหรือครอบครัวของตน
โดยที่เด็กเหล่านั้นจะต้องช่วยเหลือและเป็นธุระให้แก่พระภิกษุสงฆ์เป็นการตอบแทนตามสมควร

วัดจึงเปรียบเสมือนสถานอบรมเด็ก ที่สามารถจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่เด็กได้ดีเท่า ๆ กับครอบครัวของเขาเอง
ทั้งอาจทำหน้าที่ได้ดีกว่า สำหรับเรื่องการอบรมสั่งสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศีลธรรมจรรยา

การมีสถาบันการศึกษาอยู่ที่วัดแห่งเดียวในสมัยก่อน ทำให้คอบครัวต่าง ๆ นิยมส่งบุตรหลานของตนไปเป็นศิษย์วัดกันมาก
พระภิกษุสงฆ์ย่อมจะเป็นผู้มีความรอบรู้ มีความชำนาญในหลาย ๆ ด้านเช่น
ช่างไม้ จักสาน และการเยียวยารักษาโรค ฯลฯ เด็กวัดจะได้รับการสอนวิชาชีพเหล่านั้นจากพระภิกษุสงฆ์ที่ตนอยู่ด้วย
เด็กเหล่านั้นอาจเป็นญาติของพระภิกษุสงฆ์ บางคนอาจเป็นเด็กกำพร้าบิดามารดา หรือมีครอบครัวอยู่ห่างไกลจากโรงเรียนวัด

แต่อย่างไรก็ตาม
แนวโน้มในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปบ้าง เนื่องจากรัฐบาลได้ยื่นมือเข้าดำเนินการศึกษาของชาติ
และทางวัดต้องมุ่งเน้นในด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณรมากขึ้นตามนโยบายของกรมการศาสนา
และเด็กวัดต้องไปเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาล

ศิษย์วัดมักจะเป็นเด็กที่มีอายุระหว่าง ๑๐ ถึง ๑๖ ปี
บิดามารดาเป็นจำนวนไม่น้อยจะถือกันว่าการส่งบุตรหลานไปเป็นศิษย์วัดชั่วระยะเวลาหนึ่งนั้น
ย่อมจะช่วยยกฐานะของเด็กให้ดีขึ้น เด็ก ๆ จะได้รับการอบรมให้ถือศีลเท่า ๆ กับคนธรรมดาทั่วไป คือ
ถือศีล ๕ และได้รับการขัดเกลาให้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
ในบางกรณีจะต้องเข้าร่วมพิธีทางศาสนากับพระภิกษุสามเณรด้วย จากผลการสำรวจปรากฏว่า
มูลเหตุจูงใจที่ชาวชนบทส่งบุตรหลายของตนไปเป็นศิษย์วัดก็คือ

๑. ครอบครัวไม่สามารถให้การดูแลหรือเลี้ยงดูเด็ก
๒. ต้องการให้ได้บุญ

๓. ต้องการให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม


บางครอบครัวให้เหตุผลว่า
ทำให้เกิดความหวังได้ว่าบุตรหลานของตนจะได้บวชเมื่อถึงเวลาอันควร
แต่ปัจจุบัน การใช้วิธีนี้ได้ลดลงน้อยมาก บางทีเด็กส่วนมากใช้วัดเป็นเพียงที่พักอาศัย
สำหรับการเล่าเรียนหนังสือในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร มีเด็กหนุ่มจำนวนนับร้อย
หรือบางทีอาจเป็นจำนวนนับพัน ที่พำนักอยู่ในวัด
ซึ่งมีทั้งนักเรียนโรงเรียนมัธยม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หรือนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลับ ฯลฯ

เด็กเหล่านี้มีทั้งประเภทที่อาศัยอาหารของวัดด้วย หรือต้องการเพียงที่พำนักเพียงอย่างเดียว
จึงนับได้ว่าวัดและพระภิกษุสงฆ์ได้มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือแก้ปัญหาทางครอบครัว และช่วยในการศึกษาของชาติด้วยเช่นกัน


อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า
วัดและพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นสถาบันที่มีส่วนให้การช่วยเหลือเยาวชนของชาติในด้านการศึกษา
รวมทั้งเป็นสถานอบรมเลี้ยงดูเด็กผู้ชายไทย มาทุกยุคทุกสมัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ยากจน ขาดคนอุปการะ กำพร้าบิดามารดา

บางครอบครัวถึงกับส่งบุตรหลานไปเป็นศิษย์วัดก็เพื่อให้เด็กมีอาหารประจำวันรับประทาน และเป็นการลดภาระของครอบครัว
นักเรียนนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาห่างไกลย่อมได้ที่พักอาศัยและอาหารพอสมควร ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
จึงนับได้ว่า สถาบันพระพุทธศาสนาได้มีส่วนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ของสังคมได้มาก

ความผูกพันของวัดและพระภิกษุสงฆ์ที่มีต่อเยาวชนของไทยในลักษณะนี้
ย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้พระพุทธศาสนาได้มีโอกาสซึมซาบเข้าไปในความรู้สึกนึกคิด
และการประพฤติปฏิบัติของพวกเขาอยู่มาก และจะติดตัวอยู่ต่อไปเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น

แนบไฟล์  293_L.jpg   670.29K   228 ดาวน์โหลด

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#8 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 22 December 2009 - 01:51 PM

เยี่ยมเลย สาธุ

#9 usr32845

usr32845
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 January 2010 - 08:57 PM

คุณนักเรียนอนุบาล Dd2683 ครับ ไม่ทราบว่าข้อมูลนี้ เป็นงานวิจัยหรอครับ
พอดีจะทำงานวิจัยแนวแบบนี้ครับ ไม่ทราบว่าคุณมีต้นฉบับ หรือมีงานวิจัยแนะนำบ้างไหมครับ
จะขอบคุณยิ่งเลยครับ [email protected] ยังงัยถ้าว่างสักนิด ก็ติดต่อมาเป็นธรรมทานนะครับบ 0847335535 ครับ

#10 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 12 January 2010 - 07:22 PM

ตอบ คุณ usr32845 ครับ
เนื้อหา บทบาทสถาบันพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
เป็นผลงานวิจัยหรือ วิทยานิพนธ์ / บทความ
ของ นิสิตบัณฑิตวิทยาลัย สาขาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครับ

เมื่อเกือบสิบปีก่อน เจองานนี้ แต่ไม่ได้บันทึก url ไว้ แค่ copy ไว้ใน ms word เพื่อมาศึกษาต่อเองในภายหลัง
เพราะไม่ได้คิดนำมาเผยแผ่ต่อ
และ
ตอนนั้นใช้ Modem 56 k ไม่ได้ใช้ hi-speed การเข้าถึงแต่ละ web page ช้ามาก
โดยเฉพาะ web site ที่มีผู้เข้าชมมาก ก็ยิ่ง down load อืดอาด
จึงแค่เข้าไป copy & past ลงใน ms word แล้วก็ไปที่เวบอื่นต่อ

ตอนนั้นใช้ sanook card ไม่ได้ เหมาจ่ายรายเดือน ยิ่งใช้เวลา สตางค์ยิ่งหมดเร็ว

มีเวลาเข้า net work ครั้งละ 1 – 3 ชั่วโมง บางวันเจอ web site ที่น่าสนใจ มีข้อมูลมาก
ก็อ่านแค่ภาพรวมของเนื้อหา แล้ว copy & past เหมือนเดิม

จึงไม่มี url ให้นะครับ
แต่แฟ้มเอกสาร บทบาทสถาบันพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย
พอมีอยู่ในms word จะส่งให้ทาง eMail นะครับ

ส่วนเนื้อหาแนวแบบนี้ คุณ usr32845 ลองค้นหาในเวบของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
น่าจะมีอยู่นะครับ

http://www.mcu.ac.th
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#11 อาจารย์อู๊ด

อาจารย์อู๊ด
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 July 2010 - 01:29 PM

ขอขอบคุณมากเลยคร้าบ....สาธุ






สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมฺตตา สุภาวิตา ํผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข

#12 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 20 July 2010 - 04:21 AM

ขอกราบอนุโมทนากับนักเรียนอนุบาลฯ dangdeeด้วยค่ะ สาธุ ๆ ๆ

ภาพและเสียงแห่งสันติภาพที่แท้จริงของบ้านเราเมืองเราชาวไทยทั้งใจและกาย !!

ขอนำเผยแผ่บอกต่อ ๆกันไปนะคะ