ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

โลกุตตรธรรมเก้าคืออะไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 16 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 08 June 2008 - 10:01 PM

ขอความกรุณาท่านผู้รู้ โปรดช่วยอธิบาย แจกแจงธรรมในความหมายของ โลกุตตรธรรมเก้า เพราะเวลา กล่าวคำอธิษฐานประจำวันแล้วนึกสงสัยทุกที ว่าอะไรคือ มรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง เพราะเข้าใจแต่
มรรค8 เท่านั้น ขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 08 June 2008 - 10:16 PM

พอดีผ่านมา ครับ
ขอตอบสั้น ๆ เพียงว่า

มรรค ๔ คือ โสดาปัติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค

ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคทมิผล อนาคามิผล อรหัตผล

หรือจับคู่กันดังนี้

๑. โสดาปัตติมรรค ๑. โสดาปัตติผล

๒. สกิทาคามิมรรค ๒. สกิทาคามิผล

๓. อนาคามิมรรค ๓. อนาคามิผล

๔. อรหัตตมรรค ๔. อรหัตตผล

ดังนั้น โลกุตตรธรรม ๙ จึงหมายถึง

มรรค ๔ คือ โสดาปัติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค

ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคทมิผล อนาคามิผล อรหัตผล

+ นิพพาน ๑

รายละเอียดต้องอ่านพระธรรมเทศนา ของพระมงคลเทพมุนี ครับ
และในทางปฏิบัติ ต้องเข้าถึงสภาวะธรรมนั้น ๆ เองครับ

จึงจะเข้าใจถึงการเข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
กายธรรมโสดา หยาบ-ละเอียด
กายธรรมสกิทาคามี หยาบ-ละเอียด
กายธรรมอนาคามี หยาบ-ละเอียด
กายธรรมอรหัต หยาบ-ละเอียด

ส่วน มรรค ๘ ที่บอกมานั้น คือ มรรค มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐเป็นเบื้องต้น เรื่อยไปถึง สัมมาสมาธิ ครับ

มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า
อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ
เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ

๑. สัมมาทิฏฐิ
(เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ
รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
— Right View; Right Understanding)

๒. สัมมาสังกัปปะ
(ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป
— Right Thought

๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔
— Right Speech)

๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓
— Right Action)

๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
— Right Livelihood)

๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Right Effort)

๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Right Mindfulness)

๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration)

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ
ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา

มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์
ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ
กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ที่สุด ๒

D.II.321; M.I.61; M,III.251; Vbh.235.
ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๘; ม.มู.๑๒/๑๔๙/๑๒๓; ม.อุ.๑๔/๗๐๔/๔๕๓; อภิ.วิ.๓๕/๕๖๙/๓๐๗.

2. มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น,
ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรม คู่กับผล
มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑

#3 niwat

niwat
  • Members
  • 1420 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 09 June 2008 - 08:41 AM

สาธุ กับคำตอบของพี่ Dd2683 ครับ smile.gif

นำกระทู้ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน มาให้ศึกษาเพิ่มเติมครับ smile.gif
"โลกุตรธรรมเก้า"
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=4467


#4 sun

sun
  • Members
  • 23 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 09 June 2008 - 08:53 AM

ดีจังครับ

#5 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2008 - 11:27 AM

สาธุ

#6 เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี

เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี
  • Members
  • 938 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2008 - 12:50 PM

สาธุ.. สาธุ.. สาธุ.. happy.gif
ชีวิตคือการเข้ากลาง..
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..

#7 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2008 - 02:49 PM

โลกุตรธรรม คือ
โลก=โลก
อุตร,อุดร=เหนือ
ธรรม=ธรรม,ความจริง
โลกุตรธรรม คือ ธรรมอันอยู่เหนือโลก 9ประการ ,สภาวะพ้นโลกหรือสภาวะเหนือโลก(พระอริยะบุคคล8นิพพาน1)



#8 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 09 June 2008 - 02:54 PM

สาธุๆๆ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#9 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 June 2008 - 08:36 PM

อนุโมทนาบุญค่ะ กระจ่างดีจัง นี่แค่ผ่านมา หรอคะ happy.gif

#10 kasaporn

kasaporn
  • Members
  • 870 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 June 2008 - 12:30 AM

ชัดเจนมากค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ เข้าใจแล้ว

#11 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 12:48 AM

อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

#12 ลีดเดอร์

ลีดเดอร์
  • Members
  • 416 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 11:06 AM

แต่ละคนมีภูมิรู้ภูมิธรรมจริงๆ เลยค่ะ น่ายินดีมากๆ ทุกคนเก่งมาก ๆค่ะ เพราะเคยอ่านจากตำรับตำรามาเขาก็ตอบกันแบบนี้แหล่ะ น่าภูมิใจจริงๆเลย

#13 คนดี

คนดี
  • Members
  • 14 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 June 2008 - 03:12 PM

เพิ่งรู้เหมือนกันว่าโลกุตระธรรม มี 9 ประการ เพราะเท่าที่เรียนมามีแค่ 8 ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความกระจ่าง สาธุค่ะ

#14 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 June 2008 - 07:33 PM

แวะมาเพิ่มเติมข้อมูล ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกันครับ

มรรค ๔
(ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด - the path)

๑. โสดาปัตติมรรค
(มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน
เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส
- the path of stream-entry)

๒. สกทาคามิมรรค
(มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น
กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
- the path of once-returning)

๓. อนาคามิมรรค
(มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕
- the path of non-returning)

๔. อรหัตตมรรค
(มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐
- the path of Arahantship).

ดู (๓๑๗) สังโยชน์ ๑๐.

Vbh.335. อภิ.วิ.๓๕/๘๓๗/๔๕๓.

****
ผล ๔
(ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ - fruition)

๑. โสดาปัตติผล
(ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย - fruition of stream-entry)

๒. สกทาคามิผล
(ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย - fruition of once-returning)

๓. อนาคามิผล
(ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย - fruition of non-returning)

๔. อรหัตตผล
(ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย - fruition of Arahantship)

ผล ๔ นี้ บางทีเรียกว่า สามัญญผล
(ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม
- fruits of a monk's life; fruits of the monkhood)

D.III.227; Vbh.335. ที.ปา.๑๑/๒๔๒/๒๔๐; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๗/๔๕๓.

*****
อริยบุคคล ๘
แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) ๔, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) ๔.

๑. โสดาบัน
(ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
— one who has entered the stream; one established in the Fruition of Stream-Entry;
Stream-Enterer)


๒. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล
(พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
— one who has worked for the realization of the Fruition of Stream-Entry;
one established in the Path of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry
)

๓. สกทาคามี
(ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
— one who is a Once-Returner; one established in the Fruition of Once-Returning)

๔. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล
(พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
— one who has worked for the realization of the Fruition of Once-Returning;
one established in the Path of Once-Returning
)

อนาคามี
(ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
— one who is a Non-Returner; one established in the Fruition of Non-Returning)

๖. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล
(พระตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
— one who has worked for the realization of the Fruition of Non-Returning;
one established in the Path of Non-Returning)


๗. อรหันต์
(ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
— one who is an Arahant; one established in the Fruition of Arahantship)

๘. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
(พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
— one who has worked for the realization of the Fruition of Arahantship;
one established in the Path of Arahantship


ดู (๑๖๓-๔) มรรค ๔ ผล ๔ ด้วย.

D.III.255; A.IV. 291; Pug 73. ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๖๗; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๔๙/๓๐๑; อภิ.ปุ.๓๖/๑๕๐/๒๓๓.

****
โสดาบัน
(ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ผู้แรกถึงกระแสอันนำไปสู่พระนิพพาน แน่ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า
— Stream-Enterer)

๑. เอกพีชี
(ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว คือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต
— the Single-Seed)

๒. โกลังโกละ
(ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพ ก็จักบรรลุอรหัต
— the Clan-to-Clan)

๓. สัตตักขัตตุงปรมะ
(ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต
— the Seven-Times-at-Most)

A.I.233: IV.380; V.120; Pug.3,16,74 องฺ.ติก.๒๐/๕๒๘/๓๐๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔; องฺ.ทสก.๒๔/๖๔/๑๒๙/; อภิ.ปุ.๓๖/๔๗-๙/๑๔๗.

****
สกทาคามี
(ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว
— Once-Returner)

พระสกทาคามีนี้ ในบาลีมิได้แยกประเภทไว้
แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังแยกประเภทไว้หลายอย่าง เช่น
ในคัมภีร์ ปรมัตถโชติกา แยกไว้เป็น ๓ ประเภท คือ
ผู้ได้บรรลุผลนั้น ในกามภพ ๑ ในรูปภพ ๑ ในอรูปภพ ๑

ในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา จำแนกไว้ ๕ ประเภท คือ

ผู้บรรลุในโลกนี้แล้วปรินิพพานในโลกนี้เอง ๑
ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในเทวโลก ๑
ผู้บรรลุในเทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้นเอง ๑
ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว เกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน ๑
ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในเทวโลกหมดอายุแล้ว กลับมาเกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน ๑

และอธิบายต่อท้ายว่า พระสกทาคามีที่กล่าวถึงในบาลีหมายเอาประเภทที่ ๕ อย่างเดียว
นอกจากนี้ ที่ท่านแบ่งออกเป็น ๔ บ้าง ๑๒ บ้าง ก็มี แต่จะไม่กล่าวไว้ในที่นี้

KhA.182. ขุทฺทก.อ.๑๙๙; วิสุทฺธิ. ฏีกา ๓/๖๕๕.

****
อนาคามี
(ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก — Non-Returner)

๑. อันตราปรินิพพาย
(ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว
อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพานโดยกิเลสปรินิพพาน
— one who attains Parinibbana within the first half life-span)

๒. อุปหัจจปรินิพพายี
(ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน
— one who attains Parinibbana after the first half life-span)

๓. อสังขารปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
— one who attains Parinibbana without exertion)

๔. สสังขารปรินิพพายี
(ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก
— one who attains Parinibbana with exertion)

๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี
(ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อนต่อขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพาน
— one who goes upstream bound for the highest realm;
up-streamer bound for the Not-Junior Gods)


A.I. 233; IV. 14,70,380; V. 120; Pug.16 องฺ.ติก.๒๐/๕๒๘/๓๐๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔; องฺ.ทสก.๒๔/๖๔/๑๒๙; อภิ.ปุ.๓๖/๕๒-๖/๑๔๘.

****
อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐ (an Arahant; arahant; Worthy One)

๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน — bare-insight-worker)

๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓ — one with the Threefold Knowledge)

๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖ — one with the Sixfold Superknowledge)

๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา — one having att...the Analytic Insights)

พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้
ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ

แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง
ที่เป็น ๕ คือ

๑. ปัญญาวิมุต
(ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา
— one liberated by wisdom)

๒. อุภโตภาควิมุต
(ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ
— one liberated in both ways)

๓. เตวิชชะ
(ผู้ได้วิชชา ๓
— one possessing the Threefold Knowledge)

๔. ฉฬภิญญะ
(ผู้ได้อภิญญา ๖
— one possessing the Sixfold Superknowledge)

๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ
(ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔
— one having gained the Four Analytic Insights)

ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น
พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท)
พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี

ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ
การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต

พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕
จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔ จึงรวมเป็น ๖๐
ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ
ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่

ดู (๖๑) อรหันต์ ๒; (๑๐๕) วิชชา ๓; (๑๕๔) ปฏิสัมภิทา ๔; (๒๖๐) อภิญญา ๖.
Vism. 710. วิสุทธิ.๓/๓๗๓; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๖๕๗.


#15 มธุรดา

มธุรดา
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 June 2008 - 12:25 PM

อนุโมทนา สาธุ กับ ธรรมทาน ทั้งหลาย

#16 ลักขณา

ลักขณา
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 December 2014 - 08:50 AM

สาธุ สาธุ สาธุ ละเอียด ลึกซึ้ง ครอบครัมชัดเจนทำให้เข้าใจกระจ่างแจ้ง ขอบพระคุมากที่สุดค่ะ

#17 looktanloikaew

looktanloikaew
  • Members
  • 139 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok

โพสต์เมื่อ 09 December 2014 - 12:06 PM

ขออนุโมทนา สาธุค่ะ