การระงับโทสะ
#1
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 10:02 AM
8o|
ของหนูเดี๋ยวค่อยบอกนะคะ
#2
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 10:08 AM
#3
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 10:48 AM
1.ระลึกถึงโทษของการโกรธ โกรธแล้วเราเป็นอย่างไร
2.ระลึกถึงความดีของเขา อย่างน้อยเขาก็เคยทำดีกับเรา
3.ความโกรธคือทำทุกข์ให้ตัวเอง เราโกรธก็ไม่ได้ทำให้เขามาทุกข์กับเรา
4.พิจารณากัมมัสสกตา ถ้าโกรธแล้วเราจะไม่บรรลุตามสิ่งที่ตนเองปราถนา เช่น พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ สาวกโพธิญาณ เป็นต้น
5.พิจารณาถึงพระบุพจริยา พระศาสดาเราแลพระอรหัตสาวกของพระองค์ในกาลก่อน มิทรงโกรธแค้นผู้ใด
6.พิจารณาถึงความเกี่ยวข้องในสังสารวัฏ คนที่เราโกรธอาจจะเคยเป็นญาติมิตรพ่อแม่พี่น้องของเราก็ได้ในชาติก่อน
7.พิจารณาอานิสงส์เมตตา อานิสงส์มีอะไรบ้าง ถ้าเจริญแล้วจะมีอานิสงส์กับผู้เจริญอย่างไร
8.วิธีแยกธาตุ เราโกรธส่วนใดของเขา ผมหรือ ขนหรือ จมูกหรือ แขนหรือ ขาเขาหรือ ตาเขาหรือ ฯลฯ
9.ทำทานสังควิภาค หากยังมิหายโกรธเราต้องให้ทานการให้จะทำให้เราระงับความอาฆาตได้เป็นแน่แท้
การให้ ปราบคนที่ใครๆ ปราบไม่ได้ (ก็ได้) การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จ(ก็ได้)
ด้วยการให้กับการเจรจาไพเราะ (ประกอบกันทำให้)คนทั้งหลายเงยก็มีก้มก็มี เพราะว่าฝ่ายให้
ย่อมเป็นผู้เงย ส่วนฝ่ายก้ม คือ ผู้รับ
**********************************************************
ตอบ ทำทั้ง 9 วิธีที่กล่าวมาครับ แต่ถ้าโกรธรุนแรงจะใช้วิธีแยกธาตุก่อนครับ
**********************************************************
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .
#4
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 11:11 AM
#5 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 11:39 AM
บางครั้งท่องแล้วเอาไม่อยู่ เราก็ท่องชื่อครูไม่ใหญ่ให้กึกก้องในใจว่า"ธัมมชโย"ซึ่งมีความหมายว่า ชนะด้วยธรรมะ แล้วเราจะรู้สึกเย็นกายเย็นใจที่ท่านอยู่ใกล้ๆ
การระงับความโกรธได้ ถือเป็นอภัยทานนะ
ส่วนยาป้องกันความโกรธคือ ศีลบารมี
#6
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 12:29 PM
พิจารณากัมมัสสกตา คือ พิจารณาว่า เราและผู้อื่นที่เราโกรธ จะมีกรรมเป็นของตนต่อไป โดยพิจาณาตัวเองก่อนว่า นี่แนะรักบุญ(ตัวของท่านเอง) เราโกรธเขาแล้ว เราจะทำอะไร กรรมอันมีโทสะเป็นเหตุนั้น มักจะเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียแก่ตัวเธอเองไม่ใช่หรือ เพราะว่าเราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกำเป็นกำเนิด เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัยไป เราทำกรรมใดไว้ เราต้องเป็น ผู้รับผลของกรรมนั้น อนึ่ง กรรมอันนี้จะสามารถยัง พระสัมมาสัมโพธิญาณ(ความปราถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า)ให้สำเร็จแก่เจ้าก็หามิได้ ยังพระปัจเจกโพธิญาณ (ความปราถนาที่จะเป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้า)ก็หาไม่ได้ ยังสาวกภูมิญาณ(ความปราถนาเป็นอรหันตสาวก)ให้สำเร็จกับเจ้าก็หามิได้ ยังสมบัติทั้งหลายมีความเป็นอินทร์ พรหม พระเจ้าจักรพรรดิ และเป็นพระราชาเฉพาะประเทศหนึ่งเป็นต้น หรือสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จแก่เจ้า ก็หาไม่ได้เลย ที่แท้กรรมของการโกรธนั้น ยังเราให้เคลื่อนจากพระพุทธศาสนาแล้ว ยังภาวะแห่งความเข็ญใจ เป็นอาทิ และยังทำให้เราทุกข์ในชั้นวิเศษทั้งหลาย มีทุกข์ในนรก เป็นต้น ครั้นเมื่อ พี่ๆ พิจารณาอย่างนี้แล้ว จึงพิจาณาถึงฝ่ายคนที่เรา
โกรธบ้างว่า แม้เขาโกรธแล้วจะทำอะไร กรรมอันมีโทสะเป็นเหตุ จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมเสียของเขาเองมิใช่หรือ เพราะว่าท่านผู้นั้นก็มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับมรดกของกรรม ฯลฯ เขาจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น และกรรมอันนี้จะได้สามารถ ยังพระสัมมาสัมโพธิญาณของเขาให้สำเร็จก็หาไม่ได้ ยังพระปัจเจกโพธิญาณให้สำเร็จก็หาไม่ได้ ฯลฯ ย่อมยังทุกข์ในรกให้เป็นไปแก่เขา ตัวเขาทำกรรมเช่นนี้ลงไป ก็เท่ากับโปรย (โทษ) ใส่ตัวเองดังบุรุษยืนทวนลมอยู่ หวังจะโปรยฝุ่นใส่ผู้อื่น (ทวนลม) ก็เท่ากับโปรยฝุ่นใส่ตนเอง ฉันนั้น จริงอยู่ ข้อนี้ พระบรมศาสดาก็เคยได้ตรัสไว้ว่า "คนพาลผู้ใดทำร้ายต่อคนผู้อื่นผู้มิได้ประทุษร้ายตน ซึ่งเป็นคนบริสุทธิ์ มิได้มีความคิดชั่ว ผลร้ายก็ย่อมกลับถึงคนพาลผู้นั้นเองดังฝุ่นละเอียดที่คนซัดไปทวนลม ก็ย่อมกลับมาถึงซัดผู้ซัดนั่นเอง"
พิจารณาบุพจริยาของพระศาสดาถ้าความโกรธของพี่ๆยังไม่ระงับอยู่อีก ทีนี้พี่ๆก็ต้องพิจารณาถึงพระคุณส่วนบุพจริยาของพระศาสดา(พิจารณาพระคุณส่วนบุพจริยาไปความโกรธย่อมระงับได้ด้วยความเคารพที่มีต่อพระศาสดา)
คือ สอนตนว่า นี่แนะรักบุญ(ชื่อตัวเอง) พระศาสดาของเรามิเคยตั้งจิตคิดประทุษร้ายใคร แม้ในกาลก่อนแต่สัมโพธิสมัย ที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้ ทรงบำเพ็ยบารมีสี่อสงไขยกับแสนกัป ก็มิได้ทรงยังพระจิตให้คิดประทุษร้ายในบุคคลทั้งหลายผู้เป็นศัตรู มิใช่หรือ เพราะฉะนั้นเราเป็นผู้เคารพต่อศาสดาของเรา ก็ควรที่จะเจริญรอยตามพระศาสดาเช่นกัน คือ ไม่โกรธใคร
พิจารณาวิธีแยกธาตุแต่ถ้ายังไม่หายโกรธ พึงทำวิธีแยกธาตุ ถามว่า ทำอย่างไร ตอบว่า พึงสอนตัวเองด้วยวิธีแยกธาตุอย่างนี้ว่า นี้แน่ะรักบุญ ก็ตัวเจ้าเมื่อโกรธบุคคลนั้น เจ้าโกรธอะไร โกรธผมของเขาหรือ หรือว่าโกรธขนของเขา โกรธเล็บ ฯลฯโกรธมูตร หรือมิฉะนั้น โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม ในโกฏฐาสทั้งหลายมีผมเป็นต้น หรือว่า ท่านโกรธเขาเพราะเขาได้ชื่อนี้ เพราะอาศัยขันธ์ 5 เหล่าใด เพราะอาศัยอายตนะ 12 เหล่าใด เพราะอาศัยธาตุ18เหล่าใด ในธรรมทั้งหลาย มีขันธเป็นต้นเหล่านั้น เจ้าโกรธรูปขันธหรือ หรือว่าโกรธเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ สังขารขันธ วิญญาณขันธ มิฉะนั้นเจ้าโกรธจักขุธาตุหรือ โกรธรูปธาตุหรือ โกรธจักขุวิญญาณธาตุหรือ ฯลฯ ก็เมื่อแยกธาตุอยู่อย่างนี้ ฐานที่ตั้งแห่งความโกรธก็ไม่มี ดุจฐานที่ตั้งแห่งเมล็ดพรรณผักกาด บนปลายเหล็กแหลมไม่มี และฐานที่ตั้งแห่งจิตรกรรมบนอากาศก็ไม่มี ฉันนั้น
วิธีทำทานถ้าแยกธาตุแล้วไม่หายโกรธก็ต้องทำทานสังควิถาค(การให้และแบ่งปัน)เถิด คือพึงให้ของแก่ศัตรูของตน เมื่อทำได้อย่างนั้นความอาฆาตในบุคคลนั้น จะระงับไปในส่วนเดียวเป็นแท้และความโกรธของอีกฝ่ายหนึ่งแม้จะติดตามมาตั้งแต่อดีตชาติ ก็จะระงับไปในทันทีเหมือนกัน การให้ ปราบคนที่ใครๆ ปราบไม่ได้ (ก็ได้) การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้งปวงให้สำเร็จ(ก็ได้) ด้วยการให้กับการเจรจาไพเราะ (ประกอบกันทำให้)คนทั้งหลายเงยก็มีก้มก็มี เพราะว่าฝ่ายให้ ย่อมเป็นผู้เงย ส่วนฝ่ายก้ม คือ ผู้รับ
พูดง่ายๆ ก็คือทำทานนั้นแหละครับ
*************************************************
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .
#7
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 02:10 PM
วิธีทื่สองคือ ต้องทำสมาธิบ่อยๆ เจริญเมตตาจิตให้เข้มข้นเป็นปกติทั้งหลับตาลืมตา มุ่งปรารถนาดีกับทุกคน ปฏิบัติเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าเราท่านทรงมีเมตตาแม้กับเทวทัตที่คิดมุ่งร้ายก็ไม่ถือโทษโกรธเคือง ดังคำของพระพุทธเจ้าที่ว่า ถ้ามีคนมาด่าว่าตถาคต ถ้าตถาคตด่าตอบก็แสดงว่าตถาคตเลวกว่าเขา ด้วยเหตุนี้ตถาคตจึงไม่โกรธไม่ตกเป็นทาสของกิเลสทั้งปวงนั่นเอง
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#8
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 02:56 PM
2. หนีไปกินไอติม (เยอะ ๆ เลย) หายโกรธเป็นปลิดทิ้งเลย (ก็ชอบกินหนะ)
3. เปิด DMC ดูทาง internet ค่ะ ได้ยินเสียงหลวงพ่อแล้วรู้สึกดีขึ้น
ไม่สงวนสิทธิ์ค่ะ
#9
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 03:13 PM
#10
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 05:29 PM
:S
8-)
:lol:
55555
#11
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 07:11 PM
นึกถึงคุณครูไม่ใหญ่ครับ...หายจริงๆ เร็วด้วย และลืมไปเลย ไม่รู้ไปโกรธเขาเรื่องอะไร ผมจึงเอารูปคุณครูไม่ใหญ่ติดไว้ที่บนเพดานรถครับ มองเห็นท่านแล้ว..ใจสบายมากเลยครับ
......
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#12
โพสต์เมื่อ 08 March 2006 - 11:29 PM
#13
โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 04:47 AM
#14 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 07:30 AM
วิธีแผ่เมตตา มีหลายอย่าง วิธีหนึ่งเริ่มด้วยการฝึกนึกถึงผู้ที่เราเคารพรัก เช่น ครูบาอาจารย์ของเรา เป็นต้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกหรือนิมิตของเมตตา สำคัญที่ เราเลือกคนที่เรารักอย่างบริสุทธิ์ ปราศจากความรู้สึกทางกามโดยสิ้นเชิง
เมื่อความรู้สึกอบอุ่นอันนี้ปรากฏชัดเจนแล้ว ให้เพ่งความรู้สึกนั้นอยู่ที่หน้าอก ทำให้ใจเหมือนกับว่ามันเข้าออกตัวเราพร้อมกับลมหายใจที่หน้าอก ต่อไปแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยอาจทำความรู้สึกว่าความอบอุ่น (นิมิตแห่งเมตตา) ที่เรากำลังกำหนดอยู่เข้ามาสู่จิตใจของเราพร้อม
กับลมหายใจเข้า ให้ถือว่า ความสุข ความสงบ คุณงามความดีทั้งหลายกำลังซึมซาบเข้ามาในใจของเรา ขอให้มีความสุข ๆ เถอะ ขอให้เราพ้นจากความทุกข์
ผู้ที่จะเจริญในการพัฒนาจิตของตนต้องหวังดีต่อตัวเอง เมื่อไรเราทำอะไรไม่เหมาะสมต้องให้อภัยตัวเองเราไม่ไช่พระอรหันต์ ความผิดพลาดการหลงอารมณ์จึงเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องรังเกียจตัวเองมาก ไม่ต้องด่า ไม่ต้องว่า เพราะจริง ๆ แล้วเจตนาของเราดี เราไม่ได้ตั้งอกตั้งใจที่จะหลงใหลหรือจะระรานใคร สักแต่ว่าเราลืมตัว สติปัญญาขาดหายไป อวิชชาตัณหาก็เข้าครอบงำจิตธรรมดา
ฉะนั้น ด้วยความหวังดีต่อตัวเอง เราก็ไม่ถือสา เพียงแต่ยอมรับผิดได้บทเรียนจากความเผลอสติแล้วก็ค่อย ๆ แก้ไขในสิ่งที่ควรแก้ไขด้วยความไม่ประมาท
ถ้าเราไมรักตัวเอง ไม่เคารพตัวเองจริง ก็ยากที่จะให้ความเมตตาแก่คนอื่น ผู้ที่เกลียดหรือรังเกียจตัวเองแล้วเก็บกดความรู้สึกนั้นไว้ใต้จิตสำนึก มักจะเที่ยวเพ่งโทษคนอื่นอยู่เรื่อย
พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่ชอบเพ่งโทษคนอื่นอยู่ห่างไกลจากพระนิพพาน ดังนั้น จงแผ่เมตตาให้ตัวเองแล้วแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วไปด้วย
ตอนนี้เพ่งนิมิตคือ ความรู้สึกแห่งความรักอันบริสุทธิ์ที่หน้าอกเหมือนเดิม แต่ทำในใจว่าลมหายใจออกจากหน้าอก และความรักความหวังดีแผ่ออกไปพร้อมกับลม แผ่ไปตามลำดับที่เรากำหนดไว้
เช่น เริ่มนึกถึงคนรอบข้างแล้วขยายไปรวมถึงสัตว์ทั้งหลายในบ้านนี้ ในอำเภอนี้ ในจังหวัดนี้ ในประเทศนี้ ในโลกนี้ หรือแผ่ไปถึงสัตว์ในภพภูมิต่างๆ ในทิศต่างๆ
ในที่สุดจิตจะเปิดกว้างออกไปจนกระทั่งไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ นอกจากเป็นการล้างความพยาบาทออกจากใจแล้ว การแผ่เมตตายังทำให้ใจเกิดปีติ เกิดความอิ่มใจได้ง่าย เหมาะแก่ผู้ที่มีจิตใจแห้งแล้งจืดชืด
ฉะนั้น ขอให้พวกเราพากันเจริญเมตตา ภาวนาให้เป็นที่พึ่งเป็นสรณะภายใน
ธมฺมพิชิตฺ
http://www.dhammathai.org
#15
โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 07:32 AM
วิธีการระงับความโกรธเมื่อได้รับฟังเรื่องกฏแห่งกรรมแล้ว สามารถระงับความโกรธลงไปได้
ทันทีเพราะ ใครติดตามเรื่องกฏแห่งกรรม ต้องเข้าใจว่าโทสะคือมาร ที่มาขัดขวาง
เราไม่ให้สามารถสร้างบารมีได้ ทำให้ใจเราเศร้าหมอง ผลคือใจหมองต้องไปนรก แปลว่าโกรธ
ใครใจเราเศร้าหมองก็ต้องลงนรกเอง เมื่อคิดได้ก็ให้อภัย ใจก็สบายขึ้นเยอะ ใครทำไม่ดีก็ต้อง
ไปรับกรรมเอง ใจเราไม่เศร้าหมองดีที่สุด
ได้ความรู้จาก โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันครับ คุณรักบุญความเห็นที่ 2 แนะนำดีครับ
#16
โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 07:43 AM
หนูจะนึก ว่าที่โกรธนี่ เราเสียผลประโยชน์อะไร
โดยเฉพาะ หากติดนิสัยขี้โกรธ ข้หงุดหงิดข้ามชาติ เราตายแน่ ยิ่งถ้าติดไปรุนแรงหนัก ก็ยิ่งน่ากลัว
พอถึงตอนนั้นก็จะนึก ว่าพระพุทธองค์ยังไม่โกรธใครเลย แล้วทำไมเราจะทำอย่างนั้นไม่ได้
แล้วก็จะคิดต่อไปอีกว่า "ตอนนี้เราโกรธอยู่ ไม่มีสติ รอให้หายก่อนแล้วค่อยทำอะไร"
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#17
โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 02:27 PM
#18
โพสต์เมื่อ 09 March 2006 - 04:20 PM
#19
โพสต์เมื่อ 10 March 2006 - 07:15 AM
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
#20
โพสต์เมื่อ 10 March 2006 - 06:16 PM
#21
โพสต์เมื่อ 11 March 2006 - 05:11 PM
เวลาทำอะไรพลาด อย่าคิดนำไปก่อน เพราะมารจะเข้าแทรกผัง ให้เราคิดได้เป็นเรื่องเป็นราวทันที ยิ่งคิด ยิ่งมีผลเสียแก่ตัวเราเอง ถ้าคิดอย่างนี้แล้วใจจะตก มารจะแทรกผังสำเร็จใส่ทันที ทำให้เรื่องที่ยังไม่มีอะไร กลับกลายเป็นเรื่องร้ายทันที ยิ่งคิดจะยิ่งเสีย ฉะนั้น เมื่อเกิดเรื่อง ให้เราทำใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว (ขุมทรัพย์จากคุณยาย)
#22
โพสต์เมื่อ 14 March 2006 - 12:52 PM
http://topicstock.##...7/Y3467437.html
ไม่ต้องไปคิดมากค่ะ
เขาน่าสงสาร ยังไม่รู้จริง ไม่เข้าใจศาสนา
ก็ปล่อยๆเขาไปเถอะค่ะ
ไว้เราจะไปโปรดเขาชาติอื่นก็ได้
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#23
โพสต์เมื่อ 14 March 2006 - 01:08 PM
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .
#24
โพสต์เมื่อ 14 March 2006 - 09:49 PM
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้
#25 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 14 March 2006 - 10:13 PM
#26
โพสต์เมื่อ 15 March 2006 - 12:12 AM
ส่วนเรื่องอธิษฐานให้เจอใครหรือไม่เจอใคร โดยส่วนตัวแล้วดิฉันจะไม่อธิษฐานอย่างนั้นค่ะ เพราะกลัวว่าถ้าอธิษฐานขอให้เจอใครทุกภพทุกชาติ ถ้าชาติไหนเขาเป็นคนพาลแล้วเราต้องไปเจอเขา เราก็จะแย่ไปด้วย ถ้าอธิษฐานว่าไม่ขอให้เจอใครแล้วเกิดชาติไหนเขาคนนั้นเป็นผู้มีธรรมะสูงที่สามารถเป็นกัลยาณมิตร หรือเป็นครูเราได้เรากลับไม่เจอกับคนๆนั้นไป อย่างนี้ก็น่าเสียดาย แต่โดยปกติจะอธิษฐานว่าขออย่าให้เจอะเจอคนพาล อย่าให้เจอคนที่มีนิสัยไม่ดีแบบที่เรากำลังเจอ แล้วก็อธิษฐานขอให้เจอบัณฑิต แวดล้อมไปด้วยคนดีๆ ค่ะ
#27
โพสต์เมื่อ 15 March 2006 - 03:19 AM
#28 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 24 March 2006 - 05:25 PM
#29
โพสต์เมื่อ 08 April 2006 - 06:44 PM
ก็จะเข้าห้องปิดประตูทำอารมสักพัก แล้วก็ท่อง โกรธหนอๆ แล้วก็ไปสูดอากาศที่เย็นๆสักพักนะค่ะ
#30
โพสต์เมื่อ 29 June 2007 - 01:06 PM