ที่ไปของต่างศาสนาเป็นอย่างไร
#1
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:28 AM
#2
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:51 AM
หากเขาทำชั่ว เขาย่อมไปบังเกิดในจตุราบายภูมิทั้ง ๔ อันมีกำเนิดแห่งสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต และอสุรกาย
หากเขาทำดี เขาย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในอภิสัมปรายภพ
หากเขาไม่ก่อบาป หรือสร้างกรรมดีอันใดไว้เลย เขาย่อมวนเวียนอยู่ในโลกนี้
หากเขาสิ้นกิเลสอาสวะทั้งปวงอย่างหมดจด เขาย่อมมีนิพพานเป็นที่สุด
จริงอยู่ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด เขาไม่ผิดดอก แต่กฎเหล็กเฉกเช่นกฎแห่งกรรมมันปรับคดีโทษหมดเลยถ้าทำผิด ไม่ว่าคุณจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กทารกที่ไร้เดียงสา => มันน่ารื้อวัฏฏะไหมครับ?
#3
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:55 AM
#4
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 07:27 AM
คำถามนี้ต้องย้อนมาถึงความจริงที่ว่า นี่เป็นศาสนาเดียวที่แท้จริง ที่เป็นทางให้ถึงพระนิพพานอันเป็นอมตะ ศาสนาอื่นไม่มี ดังนั้น นรก สวรรค์ จึงเป็น สากล ทั้งนี้ไม่มีพูดไว้ในพระไตรปิฎก แต่สันนิษฐานได้จากข้อดความบางตอนที่บ่งว่าคนในศาสนาอื่นก็เป็นเทวดาได้
เล่ม ๑๑ หน้า ๑๗๔ ท้าวเวสสุวัณกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมากพวกยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อผู้มีพระภาคเลย พวกยักษ์(ความจริงเขียนว่า ยักข์) เป็นเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ ท่านผู้รู้กล่าวว่า เทวดาเหล่านี้เวลาปฏิบัติหน้าที่จะแต่งสีแดงทำรูปเหมือนยักษ์ แต่เวลาไปเข้าพิธีทางการอะไรก็ทำรูปเป็นเทวดา สวยงาม
เล่ม ๑๕ หน้า ๙๔ กล่าวถึง เทพบุตรผู้เป็นสาวกเดียรถีย์ต่างๆ
การที่เทวดาบริวารท้าวเวสสุวัณไม่เลื่อมใสพระพุทธเจ้า ย่อมแสดงว่าท่านเหล่านั้นมิได้นับถือศาสนาพุทธ ด้วยเหตุนี้ จึงพอจะสรุปได้ว่าสวรรค์ นรก เป็นของสากล แต่ก็ต้องขอติงว่า คนในศาสนาอื่นก็คงเป็นได้แค่เทวดาชั้นไม่สูงนัก ยกเว้นพวกเล่นทางฌาณ ไม่ว่าศาสนาใดก็ไปเป็นพรหมได้(ถ้าตายโดยเข้าฌาณตาย) แต่จะไม่มีผู้ใดเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นอมตสุขได้เลย
#5
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 08:51 AM
บางคนเห็นว่าศาสนาพุทธ นรกน่ากลัว
แล้วตัวเองก็ชอบทำผิดศีลบ่อยๆ
เลยเปลี่ยนศาสนา เพื่อจะได้ไปสวรรค์ได้ ไม่ต้องรักษาศีล
นั่นก็แปลก
ต้องจำไว้ว่าทุกอย่างเป็นสากลหมด ทุกคนเข้าถึงได้หมด ทั้งนรกสวรรค์
และด้วยวิธีเดียวกันหมด คือทำบุญ และทำบาป
ไม่มีใครว่าเขาผิดหรอก แต่ถ้าเขาไปที่ๆเห็นได้ชัดว่าศาสนาไหนถูก เขาจะรู้สึกผิดเอง
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#6
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 10:33 AM
เคยจำได้ว่า อุบาสิกา ถวิล วัติรางกูล เคยเล่าไห้ฟังว่า บนสวรรค์ นั้นกว้างใหญ่มาก มีที่อยู่หลากหลาย เผ่าพันธุ์ชนชาติไหนๆ ก็จะอยู่รวมกันเป็นพวกๆ แบ่งปตามวัฒนธรรมและประเพณี ของตนเองเมื่อตอนเป็นมุษย์ อย่างฝรั่งที่ทำแต่ความดี พอตายไปเป็นเทวดา ก็จะไปอยู่กับพวกฝรั่งด้วยกัน ที่มีอะไรๆคล้ายๆกัน มีเครื่องประดับเครื่องแต่งกายไปทำนองเดียวกันกับวัฒนธรรมของเค้า แต่ปราณีตกว่าเยอะ
จีนก็ไปจีน อาหรับก็ไปอาหรับ แต่งตัวกันหลากสไตน์ วัฒณธรรมตอนเป็นมนุษอย่างไร ก็ไปอยู่ อย่างนั้น ตามบุญและกรรมของตน แต่อยู่ในสวรรค์เดียวกันหมดครับ แต่ทิฏฐิ อานุภาพ และ บุญ ย่อมเปลี่ยนแปลงได้ ตามกำลังบุญของตนครับ
#7
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:05 PM
เขาก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า
มาได้อย่างไร
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้
#8
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:06 PM
กฏแห่งกรรมก็เช่นเดียวกัน ไม่รู้ไม่ได้ แล้วเมื่อไร ใคร จะไปรื้อ วัฏฏะ
บอกหน๋อยได้ไหม
#9
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:13 PM
แต่มันก็ต้องมีคุก เพราะมันเป็นที่ลงโทษคนทำผิด
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#10
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:30 PM
บอกหน๋อยได้ไหม
ยกสองมือ
ที่สุดแห่งธรรม ฉันรักเธอ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#11
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 02:45 PM
แต่มันไม่เหมือนต้นไม้ ด้วยสิ เหอๆ
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#12
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 05:18 PM
หรืออุปมา เหมือนผู้ใหญ่กินผลไม้มีพิษ โดยไม่รู้ว่า มันมีพิษ ผู้ใหญ่ก็ย่อมได้รับพิษนั้น แม้เขาจะปฏิเสธว่า ไม่ยุติธรรม ผมไม่รู้ว่าผลไม้มีพิษนี้ ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด พิษห้ามกำเริบใส่ผม แม้เขาจะพูดเช่นนี้ตลอดชีวิต พิษนั้นก็หาได้เชื่อฟังเขาไม่ ยังคงกำเริบใส่เขาอยู่นั่นเอง เพราะได้กินผลไม้พิษเข้าไปแล้ว
เช่นเดียวกับคนทำบาป จะไปอ้างว่า ผมไม่รู้นี่ว่าบาป ความเชื่อเดิมผมไม่ได้สอนแบบนี้นี่ ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด ดังนั้น บาปย่อมไม่มีแก่ผมผู้ไม่รู้ แม้เขาจะพูดเช่นนี้ตลอดชีวิต บาปนั้นก็หาได้เชื่อฟังเขาไม่ ยังคงกำเริบใส่เขาอยู่นั่นเอง เพราะเขาได้ทำบาปเข้าให้แล้ว
เข้าใจมั้ยคร้าบ
#13
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 05:56 PM
ตอบ พุทธศาสตร์เป็นหลักสากลประหนึ่งดวงตะวัน-ดวงจันทร์ ที่มนุษย์ทั้งโลกใช้ร่วมกัน
ถาม หากเป็นจริง เค้าจะผิดหรือไม่ที่ไม่รู้
ตอบ ไม่ผิดที่ไม่รู้เพราะอวิชชาเหมือนเมฆที่บังใจไว้ โยนิโสมนสิการและความเป็นกัลยาณมิตร จะช่วยให้ม่านบังตาบังใจเหล่านั้นจางหายไป
#14
โพสต์เมื่อ 04 April 2006 - 10:44 PM
ไม่ว่าจะหนีไปที่ไหนในโลก คุณยังเจอพระอาทิตย์ ดวงเดียวกัน ภพภูมิก็เช่นเดียวกัน
#15
โพสต์เมื่อ 05 April 2006 - 11:28 AM
กฎหมายระบุไว้ว่าคนที่ทำความผิดจะมาอ้างว่าตัวเองไม่รู้กฎหมายไม่ได้
ชัดเจนครับว่ากฎมันมีอยู่ การอ้างว่าไม่รู้ถือว่าไม่ผิดนี้เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นครับ
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#16
โพสต์เมื่อ 05 April 2006 - 11:44 AM
#17
โพสต์เมื่อ 05 April 2006 - 12:59 PM
จากโพสต์ในความเห็นที่ 2 นั้น เมื่อผมได้อ่านความเห็นของพี่หัดฝันกับพี่ภาโณตม์แล้ว ขอเสริมว่า การที่ผมบอกว่า "เขาไม่ผิดดอก" ในที่นี้ หมายถึง ไม่ผิดไปจากกระแส หรือระบอบการปกครองทางสังคมที่หล่อหลอมให้เขามีความคิดเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริง หากการกระทำอันนั้นของเขาเข้าข่ายกับสิ่งที่ผิดต่อศีลธรรมแล้ว (ของที่ควร (ตามกระแสสังคมและความนิยมประพฤติของคนในยุคนั้น) แต่เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมและกฎแห่งกรรมแล้วเข้ากับของที่ไม่ควร) แม้ผู้นั้นจะมีข้ออ้างด้วยเหตุผลที่สวยหรูเพียงใดก็ตาม ถึงอย่างไรเสียก็ยังผิดกฎแห่งกรรมอยู่ดีนั่นแหละครับ เพราะฉะนั้น ระหว่างคำว่า "ดี/ชั่ว" กับ "ถูก/ผิด" สำหรับหลักในการพิจารณาตามกฎแห่งกรรมแล้ว ต้องเอาคำว่า "ดี/ชั่ว" มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินแต่เพียงเท่านั้นครับ เพราะคำว่า "ถูก/ผิด" นั้น จริงอยู่อาจจะถูกกฎหมายบ้านเมืองในสังคมหนึ่งๆ ดังเช่น บางประเทศในแถบตะวันตกที่อนุญาตให้มีการทำแท้งเสรีอย่างถูกกฎหมาย ถามว่ากรณีนี้ผิดกฎหมายบ้านเมือง (ของเขา) ไหม? => "ไม่ผิด (ถูกกฎหมาย)" แต่หากจะย้อนถามว่า แล้วมันผิดกฎแห่งกรรมไหมเนี่ย? => "ผิดเต็มๆ เลยครับ" ดังได้ยกตัวอย่างมานี้จะเห็นว่า ในบางครั้งคำว่า "ถูก/ผิด" นั้น ยังเป็นคำที่มีความพร่องในตัวของมันเองอยู่นะครับ