ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปรึกษาเรื่องภาษีและการค้ำประกันเงินกู้


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 11 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 พรฤทธิ์

พรฤทธิ์
  • Members
  • 85 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อ.เมือง จ.ขอนแก่น

โพสต์เมื่อ 14 March 2007 - 01:03 PM

มีเรื่องรบกวนจิตใจขณะนี้อยู่ 2 เรื่อง รบกวนทุกท่านให้คำชี้แนะด้วยนะคะ

เรื่องที่ 1 ดิฉันทำบัญชีรายได้ล่วงเวลา (OT) ของเพื่อนร่วมงานทุก ๆคน อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมาเพื่อเสนองานการเงินของสำนักงาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสียภาษี แต่หัวหน้าไม่พอใจเพราะท่านต้องเสียภาษีมาก คิดเป็นเงินเรือนแสนเลยล่ะค่ะ หัวหน้าบ่นว่าทีหลังจะทำเรื่องการเงินต้องปรึกษาก่อน เสียภาษีตั้ง 3แสน นอนไม่หลับเลย ดิฉันได้แต่นิ่งอึ้ง รู้สึกเสียใจทึ่เป็นต้นเหตุให้หัวหน้าทุกข์ใจค่ะ ดิฉันควรพูดกับหัวหน้ายังไงดี และต่อไปควรจัดการเรื่องบัญชีของเพื่อนร่วมงานยังไงให้ถูกต้องและถูกใจ

เรื่องที่ 2 มีเพื่อนร่วมงานขอร้องให้ช่วยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้สหกรณ์ให้ แต่ไม่ชัดเจนว่าเขาจะใช้จ่ายเรื่องอะไร และเพื่อนร่วมงานคนนี้หนี้สินอีรุงตุงนัง ชอบซื้อของเงินผ่อนเรื่อยๆ ดิฉันอยากปฏิเสธค่ะ แต่ถ้าเผื่อเขาเดือดร้อนจริงๆ ดิฉันจะบาปมั้ย ควรจะทำยังไงดีคะ
ขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำค่ะ

#2 middleway

middleway
  • Members
  • 114 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 March 2007 - 03:26 PM

ขอตอบเรื่องที่ 2 ก่อนะคะ
ไม่ควรค้ำประกันใครที่ไม่ใช่ พ่อ แม่ พี่ น้อง ของเราค่ะ ,ลองไปทบทวนอ่านคำสอนของพ่อ ที่สอนนางวิสาขาในวันแต่งงานดูซิค่ะ ยิ่งเรารู้ประวัติไม่ค่อยดีอยู่แล้วด้วย ไม่ถือว่าบาปหรอกค่ะ แต่คุณจะปฏิเสธอย่างไรให้นุ่มนวล อันนี้คิดหนักหน่อย

ส่วนเรื่องที่ 1 ไม่ค่อยมีความรู้ค่ะ แต่เราพอที่จะหาส่วนลดหย่อนได้บ้างมั้ยคะ (เสียภาษี สามแสน แสดงว่ารายได้เยอะมากๆเลยนะเนี่ย)

#3 lee072d

lee072d
  • Members
  • 265 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 March 2007 - 05:34 PM

ถ้าหากอยู่ห่างๆ หัวหน้า และเพื่อนร่วมงานได้ก็จะดีครับ สาธุ

#4 ประคองบุญ

ประคองบุญ
  • Members
  • 210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 March 2007 - 08:13 PM

ใจอ่อน แล้วจะอ่อนใจ
เสียเพื่อน อย่างเดียว ดีกว่า เสียเพื่อนและเสียเงินค่ะ

#5 arraya

arraya
  • Members
  • 298 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 March 2007 - 09:14 AM

ข้อ 1 ถ้าเราคิดเงินให้แบบไม่ตรงไปตรงมา เราก็ผิดศีลมุสาสิคะ ถ้ามีรายได้ขนาดต้องเสียภาษีมากๆ ก็ควรมีความรู้ในการหาทางลดหย่อนภาษีให้ตนเอง อย่างมาบริจาคเพื่อการกุศลก็ลดภาษีได้ค่ะ

ข้อ 2 ถ้าเป็นดิฉันจะไม่ค้ำให้เด็ดขาด เพราะแนวโน้มสูงว่าเงินที่ดิฉันควรได้มาทำบุญต้องกลายสภาพเป็นเงินใช้หนี้ แต่ถ้าให้เงินช่วยเหลือ( ตามสมควร แบบไม่ต้องหวังได้คืน ) ก็ช่วยได้เป็นครั้งๆ ที่สำคัญกว่าควรให้เขาเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นยังไง ซื้อของเงินผ่อนเรื่อยๆ อันตรายมากๆ

#6 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 March 2007 - 07:26 PM

QUOTE
เรื่องที่ 1 ดิฉันทำบัญชีรายได้ล่วงเวลา (OT) ของเพื่อนร่วมงานทุก ๆคน อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมาเพื่อเสนองานการเงินของสำนักงาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสียภาษี แต่หัวหน้าไม่พอใจเพราะท่านต้องเสียภาษีมาก คิดเป็นเงินเรือนแสนเลยล่ะค่ะ หัวหน้าบ่นว่าทีหลังจะทำเรื่องการเงินต้องปรึกษาก่อน เสียภาษีตั้ง 3แสน นอนไม่หลับเลย ดิฉันได้แต่นิ่งอึ้ง รู้สึกเสียใจทึ่เป็นต้นเหตุให้หัวหน้าทุกข์ใจค่ะ ดิฉันควรพูดกับหัวหน้ายังไงดี และต่อไปควรจัดการเรื่องบัญชีของเพื่อนร่วมงานยังไงให้ถูกต้องและถูกใจ
- ทำใจใสใสแล้วกล่าวขออภัยเพื่อลดแรงกดดันทั้งเราและหัวหน้า คราวหน้าจะปรึกษาก่อนทำเอกสาร
- ควรศึกษาสิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมให้องค์กร เช่น บริจาคทรัพย์เพื่อ..., สวัสดิการองค์กร
QUOTE
เรื่องที่ 2 มีเพื่อนร่วมงานขอร้องให้ช่วยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้สหกรณ์ให้ แต่ไม่ชัดเจนว่าเขาจะใช้จ่ายเรื่องอะไร และเพื่อนร่วมงานคนนี้หนี้สินอีรุงตุงนัง ชอบซื้อของเงินผ่อนเรื่อยๆ ดิฉันอยากปฏิเสธค่ะ แต่ถ้าเผื่อเขาเดือดร้อนจริงๆ ดิฉันจะบาปมั้ย ควรจะทำยังไงดีคะ
- เมื่อชั่งน้ำหนักแล้ว ถ้าไปค้ำประกันบุคคลที่มีคุณสมบัตินี้ ผลเสียความเดือดร้อนต่อตัวเราในระยะยาวมีมาก เมื่อเทียบกับผลดี
- ทำใจใสใส ปฏิเสธอย่างสุภาพนิ่มนวล
- จะบาปหรือไม่ขึ้นกับมโน วจี และกายกรรมของเรา หากเราสำรวมในทวารทั้งสามแล้วย่อมพ้นภัย

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#7 พรฤทธิ์

พรฤทธิ์
  • Members
  • 85 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อ.เมือง จ.ขอนแก่น

โพสต์เมื่อ 16 March 2007 - 09:17 AM

ขอบพระคุณสำหรับทุกคำแนะนำนะคะ ตอนนี้ปัญหาก็เริ่มคลี่คลายแล้ว คือ
1.หัวหน้าเข้าใจ และยินดีชำระภาษีตามหน้าที่พลเมืองดีต่อไป
2.ยังไม่ได้ให้คำตอบเขาหรอกค่ะ แต่ดิฉันจะปฏิเสธ พร้อมกับเสนอตัวช่วยเหลือเรื่องอื่นก็แล้วกัน

#8 Nu

Nu
  • Members
  • 224 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 March 2007 - 03:50 PM

จากประสบการณ์โดยตรง (ของคุณพ่อ) ที่เคยค้ำประกันเงินกู้ต่าง ๆ ให้เพื่อนค่ะ

1) ห้าม ขอย้ำ ห้าม โดยเด็ดขาด ห้ามไม่ให้ค้ำประกันเงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่ใช่ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ๆ หรือคนในครอบครัวของตนเอง เด็ดขาดค่ะ ไม่่ว่าจะใครก็ตาม จะเป็นเพื่อนสนิทกันมากีี่ปีก้อตาม ต่อให้เพื่อนอมพระมาพูด หรือต่อให้เพื่อนบอกว่าเข้าวัดมากี่ปีแล้ว ถือศีลมากีปีแล้วก้อตาม ถ้ายังอยากจะคบกันเป็นเพื่อนอยู่ และถ้ายังอยากจะมีครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวกันอยู่

2) ถ้าจะ ให้ ก็ ให้ไปเลย ถือว่าช่วยเพื่อน แต่ถ้าจะให้ยืมบอกเลยว่าอย่า เพราะคงจะไม่ได้คืน ทวงก็ไม่ได้ ต่อให้ทำสัญญาเงินกู้ก้อเถอะ น้อยนักที่จะได้คืน

#9 บารมีธรรม

บารมีธรรม
  • Members
  • 212 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 02:49 PM

QUOTE
เรื่องที่ 1 ดิฉันทำบัญชีรายได้ล่วงเวลา (OT) ของเพื่อนร่วมงานทุก ๆคน อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมาเพื่อเสนองานการเงินของสำนักงาน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสียภาษี แต่หัวหน้าไม่พอใจเพราะท่านต้องเสียภาษีมาก คิดเป็นเงินเรือนแสนเลยล่ะค่ะ หัวหน้าบ่นว่าทีหลังจะทำเรื่องการเงินต้องปรึกษาก่อน เสียภาษีตั้ง 3แสน นอนไม่หลับเลย ดิฉันได้แต่นิ่งอึ้ง รู้สึกเสียใจทึ่เป็นต้นเหตุให้หัวหน้าทุกข์ใจค่ะ ดิฉันควรพูดกับหัวหน้ายังไงดี และต่อไปควรจัดการเรื่องบัญชีของเพื่อนร่วมงานยังไงให้ถูกต้องและถูกใจ

-คุณทำถูกต้องแล้วครับ การบริหารรายได้ผู้มีเงินได้ต้องไปทำเอง

QUOTE
เรื่องที่ 2 มีเพื่อนร่วมงานขอร้องให้ช่วยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้สหกรณ์ให้ แต่ไม่ชัดเจนว่าเขาจะใช้จ่ายเรื่องอะไร และเพื่อนร่วมงานคนนี้หนี้สินอีรุงตุงนัง ชอบซื้อของเงินผ่อนเรื่อยๆ ดิฉันอยากปฏิเสธค่ะ แต่ถ้าเผื่อเขาเดือดร้อนจริงๆ ดิฉันจะบาปมั้ย ควรจะทำยังไงดีคะ

-ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่องการค้ำประกันการกู้ยืมเงินก่อนนะครับ
1)ผู้ค้ำประกันเงินกู้ไม่ได้ใช้เงินที่กู้นั้น
2)หากผู้กู้ใช้เงินกู้ตามสัญญาด้วยดี ปัญาหาใดๆ ก็ไม่เกิดแก่ผู้ค้ำประกันครับ
3)หากผู้กู้ผิดสัญญาจนต้องฟ้องร้อง เจ้าหนี้จะฟ้องทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
4)เมื่อฟ้องหากผู้กู้ไม่สามารถจะชำระเงินกู้ได้ ผู้ค้ำประกันก็ต้องจ่ายเงินนั้นแทน
5)เมื่อโดนฟ้อง เครดิตเสียทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกันครับ

-เมื่อทราบผลของการค้ำประกันเงินกู้แล้วก็ควรระมัดระวังไว้บ้างครับ
1)แต่ก็ไม่ใช่จะไม่ค้ำให้ใครเลยนะครับ เพราะเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก
2)การช่วยคนที่ลำบากให้สามารถผ่านช่วงเวลานั้นมาได้ถ้าเขาเป็นคนดี เขาก็จะนึกถึงเราเสมอๆ ครับ
3)ถ้าหากคุณประเมินแล้วว่าการกู้ครั้งนี้ คุณต้องจ่ายแทนแน่ๆ และไม่เสียใจคุณก็เป็นผู้ค้ำประกันให้
4)แต่ถ้าไม่ใช่ คุณก็ต้องรีบบอกปฏิเสธโดยเร็วเพื่อเขาจะได้หาคนอื่นต่อไปครับ






#10 พรฤทธิ์

พรฤทธิ์
  • Members
  • 85 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อ.เมือง จ.ขอนแก่น

โพสต์เมื่อ 21 March 2007 - 10:05 AM

ขอบพระคุณทุก ๆคำแนะนำของทุกท่านค่ะ ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ จริง ๆอยากค้ำประกันเงินกู้ให้เพื่อนเหมือนกัน แต่ทราบข้อมูลเพิ่มเติมจากคนสนิทของเพื่อนว่าเขาใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและมักจะลงเอยด้วยการกู้เงินประจำ จนมีหนี้สินทั้งที่สหกรณ์และธนาคาร ดิฉันจึงตัดสินใจไม่ค้ำประกันให้ อยากให้เพื่อนเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายน่ะค่ะ ไม่รู้จะได้ผลขนาดไหน

#11 usr21418

usr21418
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 December 2007 - 04:54 PM

ตอบเรื่องที่ ๑

หากกิจการของท่านเป็นประเภทนิติบุคคล เรามีทางออกให้โดยการนำภาษีที่ต้องเสียมาบริหารให้เป็นรายได้ โดยทำบิลล์ค่าใช้จ่ายผ่านโครงการของเรา ที่เรียกว่า Taxation Planing คุณสามารถนำใบเสร็จมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้เต็มจำนวน เช่น ภาษีที่ต้องเสีย ๓๐๐,๐๐๐ บาท เรานำเงินถาษีดังกล่าวฝากไว้กับ BANK ASSURANCE ผ่านโครงการของเรา หรือเราเลือกโปรดักส์ที่มีเงินทุกๆ ๖ เดือน หรือคืนทุกๆ ปี เงินที่ BANK ASSURANCE คืนให้บริษัทคุณ และบริษัทสามารถนำไปชำระภาษีเงินได้ให้แก่พนักงาน

การบริหารภาษีผ่านโครงการของเรา บริษัทของคุณไม่ต้องแต่งบัญชี ไม่ต้องใช้บิลลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกสุ่มตรวจ ทุกอย่างอยู่ภายใต้ของกฎหมายประมวลรัฐฏากรทุกประการ


หากสนใจโทรไปคุยกับเรา
สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมนักกฏหมายปกครอง
โทร ๐๘๕ ๙๔๘๗๘๘๘ หรือ ๐๘๖-๗๐๑๖๙๙๙


#12 **กานต์**

**กานต์**
  • Guests

โพสต์เมื่อ 17 June 2011 - 12:19 PM

ขอถามผู้รู้หน่อยนะครับ
ผมไปกู้ธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งมา ที่ต้องกู้กัน3คนและต้องค้ำประกันให้กันในกลุ่ม
ต่อมามีคนนึงขาดส่งเงินกู้ไปและธนาคารได้มีหนังสือแจ้งมาว่าจะดำเนินการฟ้องผู้ค้ำประกันทั้งสองคน
เพราะไม่สามารถติดต่อคนที่ไม่จ่ายเงินกู้ได้ แต่ต่อมาเราสามารถหาตัวคนที่ขาดส่งเงินกู้และเจ้าหน้าที่ธนาคาร
ก็ได้มาเจรจากับคนที่ขาดส่งเงินด้วย ทีนี้เจ้าหน้าที่ธนาคารบอกว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ของคนที่ขาดส่งเงินใหม่อีกครั้ง
เพื่อที่จะไม่ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีแต่มีข้อแม้คืออีกสองคนที่เหลือต้องเซ็นต์ค้ำประกันให้อีกครั้ง ขอถามเลยนะครับว่า
ในเมื่อธนาคารก็หาตัวคนขาดส่งเงินกู้เจอแล้วจำเป็นด้วยหรือที่จะมาบังคับให้เราไปเซ็นต์ค้ำใหม่อีกครั้งเพราะเค้าอ้างว่าถ้าเราไม่เซ็นต์ค้ำให้อีกครั้งเค้าก็จะต้องยื่นเรื่องฟ้อง ในเมื่อเราก็ช่วยหาตัวคนขาดส่งเงินเจอแล้วมันก็น่าจะไม่ต้องเกี่ยวกับเราแล้วไม่ใช่เหรอครับ
รบกวนผู้รู้ทั้งหลายตอบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ