ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 2 คะแนน

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 16 March 2007 - 12:13 PM

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร



ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟัง และพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ

การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร?

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ - สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ ) - สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน ) - สัมมาวาจา วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ) - สัมมากัมมันโต การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ ) - สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )
- สัมมาวายาโม
ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ) - สัมมาสะติ การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ ) - สัมมาสะมาธิ ฯ การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์ และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์ สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์ และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ

( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ

1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง

2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ

3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ

ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจ*งไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล

ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล

ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้"

เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ

เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ

ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว) เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ


โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#2 chaisandee

chaisandee
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 07:20 PM

สาธุ ชอบบทนี้มากครับ ใครต้องการบทสวด แบบบาลีและไทย เชิญโหลดได้นะครับ ฟังแล้วรู้สึกเพลินดี


#3 chaisandee

chaisandee
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 07:25 PM

สาธุ ชอบบทนี้มากครับ ใครต้องการบทสวด แบบบาลีและไทย เชิญโหลดได้นะครับ ฟังแล้วรู้สึกเพลินดี
( เมื่อครู่ลืมแนบไฟล์ )

แนบไฟล์  thammajak.wma   1.17MB   727 ดาวน์โหลด

#4 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 21 March 2007 - 12:31 PM

Thank you very much ka K. chaisandee

Anumothana Sathu Ka.

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#5 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 14 April 2007 - 11:38 PM

สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#6 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 May 2007 - 03:31 PM

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

#7 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 11 May 2007 - 01:54 PM

อยากได้บทสวดภาษาบาลีน่ะครับ หาโหลดได้ที่ไหนบ้างรบกวนช่วยบอกผมหน่อยนะครับ หากเป็นของวัดพระธรรมกายจะดีมากๆเลยครับ
ที่เน้นของวัดพระธรรมกายเพราะชอบน่ะครับ เพราะเคยได้ฟังจากเทปธรรมะของหลวงพ่อทัตตะที่ท่านเทศนาเอาไว้แล้วรู้สึกเข้าถึงดีกว่าน่ะครับ แต่เทปของผมเก่ามากยืดหมดแล้ว หาซื้อCDก็ไม่มีทำออกมา หากท่านใดมีให้โหลดรบกวนขอความอนุเคราะห์ด้วยนะครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#8 เทพ ดำเนินฯ

เทพ ดำเนินฯ
  • Members
  • 65 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 June 2007 - 02:16 PM

สาธุ ๆ ๆ

#9 ninkjang

ninkjang
  • Members
  • 11 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2007 - 11:59 AM

สาธุ ชอบมากเลยค่ะ

#10 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 August 2007 - 01:12 PM

ขออนุโมทนาบุญนะครับ...สาธุ


#11 usr18379

usr18379
  • Members
  • 6 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 August 2007 - 08:43 PM

สาธุ อนุโมธนาบุญด้วยนะคะ

#12 Poti

Poti
  • Members
  • 254 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 August 2007 - 07:04 PM

สาธุ เพิ่งได้อ่านคำแปล

#13 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 October 2007 - 02:45 PM

สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ