โครงร่าง รายงาน วัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕
คำนำ
สาเหตุที่ข้าพเจ้าเลือก วัด เป็นกรณีศึกษาเพราะเหตุว่า วัด เป็นสัญลักษณ์คู่วิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่บรรพกาล
คนทุกชนชั้นตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ ขุนนาง ผู้ดี ไพร่ พ่อค้าวานิช ล้วนมีชีวิตที่เคยเกี่ยวข้องกับวัดทั้งนั้น
วัด จึงเป็นแหล่งชุมชนหลักคู่คนไทยตลอดมานับพันปี เพราะวัดเป็นที่ชุมนุมของชนทุกเพศวัย ตั้งแต่ทารก เด็ก หนุ่มสาว ผู้เฒ่าคนชรา จนถึงคนตาย การเล่าเรียนศึกษา งานบวช งานแต่ง งานศพ กิจกรรมรวมคนจนถึง งานสังสรรค์ก็เกี่ยวข้องกับ วัด
ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่สง่างาม ประณีตศิลป์ ก็เริ่มรังสรรค์มาจาก วัด
วัด จึงเกี่ยวข้องใกล้ชิดคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย
คนไทยอยู่เย็นเป็นสุข มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็เพราะถูกหล่อหลอมมาจาก วัด
สังคมไทยจึงสงบร่มเย็น ฝ่ามรสุมการสงคราม การเมือง รักษาเอกราชมาได้ยาวนานมาถึงทุกวันนี้
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัด มีข้อมูลมากมายให้ศึกษา ทั้งในด้าน จิตวิทยา การเมือง การปกครอง ศิลปะ การศึกษา วรรณกรรม มนุษย์สัมพันธ์ การแพทย์ จนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 25 โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง สังคม การสื่อสาร อารายธรรมตะวันตกไหลบ่าถาถมสู่ชาวตะวันออก
นับแต่นั้นมา การถ่ายทอดความคิดของชาวตะวันออกก็ปรับตัว และวิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปตามความแปรผันของกระแสโลกาภิวัฒน์
วัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสังคมจึงได้รับผลกระทบตามไปด้วย
แต่น่าเสียดายมีบุคลากรที่มุ่งพัฒนาวิทยาการทางโลกมีมากมาย ทั้งนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักบริหาร นักการทหาร นักปกครอง-บ้านเมืองสังคม
ในขณะที่บุคลลากรที่มุ่งพัฒนาจิตใจและศีลธรรมคือ ภิกษุ สามเณร ไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรที่ขยายเพิ่มขึ้น อีกทั้งการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ก็มุ่งเน้นการพัฒนาโลกมากกว่าการพัฒนาจิตใจของคนในประเทศ
ดังนั้น วัดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จึงถูกละเลยจนกลายเป็นส่วนเกินของสังคม
วัด ส่วนใหญ่จึงไม่มีบทบาทมากมายต่อวิถีชีวิตของคนไทยเหมือนในอดีต คนไทยจึงไปวัดน้อยลง
แต่มีอยู่วัดหนึ่งที่เคยเป็นข่าวครึกโครมใหญ่โต ถูกสื่อมวลชนทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ลงข่าวโจมตีอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องกว่า 2 ปีกลับมีคนไปวัดมากขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
วัดๆนี้ คือ วัดพระธรรมกาย
ปัจจุบันวัดพระธรรมกาย มีบทบาทสำคัญเป็นที่สนใจ เป็นที่ยอมรับทั้งในสังฆมณฑล สังคมไทยและในระดับนานาชาติเพราะความเป็นอยู่และกิจกรรมของวัดๆนี้ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งในด้าน
- ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาปริยัติธรรมของฝ่ายสงฆ์
- สถาบันครอบครัว มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในครอบครัว
- วงการศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับนักเรียน ครูอาจารย์ นักการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงอุดมศึกษา
- เศรษฐกิจ คือ มีจำนวนคนมาก มีงานก่อสร้างศาสนสถานขนาดใหญ่ จึงมีค่าใช้จ่ายมากมาย ทั้งค่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ข้าวของเครื่องใช้ วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์สำนักงาน ยานพาหนะ น้ำมันเชื้อเพลิง กระแสไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าสื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ จนถึงระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนนทางหลวง ของภาครัฐที่มารองรับ
ด้านเอกชน มีหมู่บ้านจัดสรรมากมายรายรอบ โรงเรียน อาคารพาณิชย์ ตลาดสดขนาดใหญ่ (ตลาดไท ) ฯล
- การฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันดีงาม เช่น การยิ้ม การไหว้ กิริยาอ่อนน้อม สัมมาคารวะ เคารพตามอาวุโส ฯล
- การแลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศ คือ พระพม่า พระจีน พระธิเบต พระญวน พระลังกา พระเกาหลีมาประชุมสัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้และศึกษาวัฒนธรรม
ฯลฯ
“ วัดยุคใหม่ ในพุทธศตวรรษที่ 25 ”
ความเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมือง การปกครอง การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่เพียงแต่ส่งผลให้สภาพสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเท่านั้น ยังส่งผลให้วัดที่เปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรม ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนศีลธรรมให้ทันยุคสมัยไปด้วย
วัดพระธรรมกายเป็นวัดหนึ่งในอีกหลายหมื่นวัดที่ปรับตัว เป็นวัดที่มีการปรับตัวขนานใหญ่จนเป็นที่รู้จักของประชาชนคนไทยมากขึ้นและเป็นที่สนใจจากบรรดาผู้นำทางศาสนาทั่วโลก ทั้งในด้านชื่นชมจนเลอเลิศและด้านสงสัยไม่ไว้วางใจว่า ดีจริงๆ หรือดีแตก
ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่แท้จริง ทั้งแท้ทั้งจริง ( fact) ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่มีทั้งเท็จและจริง
เมื่อกล่าวถึง “ วัดพระธรรมกาย ” เบื้องต้นควรทราบถึงการกำเนิดวัดและประวัติย่อของผู้บุกเบิกสร้างวัดกันก่อน เพื่อเห็นภาพรวมของวัดพระธรรมกาย ซึ่งข้าพเจ้าจะวิเคราะห์สิ่งที่น่าสนใจเป็นช่วงๆ
คุณยายอาจารย์ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาฐานะดี ณ บ้านริมฝั่งแม่น้ำนครไชยศรี จังหวัด นครปฐม
ในยามเช้าของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2452 ท่านไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ด้วยในสมัยนั้นลูกสาวชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมเรียนหนังสือ เพราะถือกันว่าโตเป็นสาวก็ออกเหย้าออกเรือน แต่งงานไปอยู่บ้านสามี เป็นแม่บ้านให้สามีเลี้ยงดู
ชีวิตท่านผันแปรเมื่ออายุราว 13 ปี พ่อของท่านเสียชีวิตลง โดยที่ท่านไม่ทันขอขมาพ่อ ตามประเพณีนิยม จากนั้นมาท่านปรารถนาจะตามไปขอขมาพ่อให้ได้ ไม่ว่าพ่อตายแล้วจะไปอยู่ที่ใด
เมื่ออายุ 26 ปีได้ข่าวจากญาติที่ไปทำงานในบางกอกว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำฯสอนนั่งสมาธิให้ไปนรกสวรรค์ได้ ท่านจึงลาแม่และพี่สาวไปบางกอกเพื่อทำตามความใฝ่ฝันที่ค้างใจมานานนั่นคือ ตามหาพ่อ โดยยอมเป็นคนรับใช้ในบ้านเศรษฐีที่เป็นอุปัฏฐากของวัดปากน้ำฯ
วิเคราะห์ : ตรงนี้น่าสนใจมาก เพราะ
1. ท่านเป็นสตรี อยู่บ้านนอกมา 26 ปี ไม่เคยจากครอบครัวมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่รู้กำหนดว่าต้องใช้เวลากี่เดือนกี่ปี จึงจะนั่งสมาธิไปนรกสวรรค์ตามหาพ่อที่ตายไปแล้วได้
แสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง
- มีจิตใจเด็ดเดี่ยว เข้มแข็งมาก เป็นคนกล้าตัดสินใจ รู้จักตัดใจไม่อาลัยอาวรณ์
- มีความมั่นใจในตนเองสูง มั่นใจว่า ตนเองไม่ไปตายดาบหน้า แต่จะไปโตดาบหน้า
- มีความเป็นตัวของตัวเองสูง กล้าที่จะเลือกเส้นทางชีวิตให้ตนเอง กล้าลิขิตชีวิตด้วยตนเอง
นับว่าเป็น Life Designer ที่ควรยกย่อง
2. ท่านเป็นชาวนาฐานะดี แต่ไฉนต้องยอมถึงขนาด เป็นคนรับใช้ผู้อื่นด้วย ถ้าเป็นเราล่ะ จะยอมหรือ ?
ที่ต้องไปคอยรับใช้ใครก็ไม่รู้
แสดงว่า ท่านมีอุดมการณ์มั่นคง ยอมทุกอย่างเพื่อเป้าหมายสำเร็จสมปรารถนา แล้วที่สำคัญ
3. โอกาสจะได้เรียนธรรมะจะมีหรือไม่ เพราะธรรมดาเจ้าของบ้าน มักชอบใช้งานลูกจ้างให้มากที่สุด ยอมให้มีเวลาว่างน้อยที่สุด แม้ทำงานดูแลบ้านเสร็จ ก็ไม่แน่ว่าจะเปิดโอกาสให้ลูกจ้างไปเรียนธรรมะกับตน
แสดงว่า ท่านต้องเป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ อดทน รู้จักยอมคน เอาใจผู้อื่นสารพัด เพื่อให้งานสำเร็จ
ด้วยความเป็นคน ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ทำงานได้ดีเป็นที่พอใจ จนเจ้าของบ้านเอ็นดู ไว้วางใจได้เรียนธรรมะพร้อม
เจ้าของบ้านในที่สุด
ด้วยความขยันเหนื่อยทั้งทำงานดูแลบ้านอย่างดี หมั่นเพียรฝึกฝนนั่งสมาธิเจริญภาวนาจนบรรลุธรรม ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ไปตามหาพ่อในปรโลก ความใฝ่ฝันท่านสมปรารถนา
ราวปีพ.ศ. 2480 ท่านบวชเป็นแม่ชี อยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ มีหน้าที่หลักคือ นั่งสมาธิเจริญภาวนา จวบจนหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ มรณภาพลงเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
ปีพ.ศ. 2506 ท่านพบกับ คุณ ไชยบูลย์ สุทธิผล ( ปัจจุบัน คือ พระราชภาวนาวิสุทธิ / ธัมมชโย ภิกขุ )
มาขอเรียนธรรมะและได้ผลการปฏิบัติธรรมดีมาก ซึ่งต่อมาคุณไชยบูลย์ ก็ชวนเพื่อนๆและรุ่นพี่รุ่นน้องที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาเรียนธรรมะกับคุณยายอาจารย์ ที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ซึ่งอยู่ในเขตวัดปากน้ำฯไม่นานนักจำนวนคนมาเรียนธรรมะก็เต็มบ้าน
พ.ศ.2512 คุณ ไชยบูลย์ สุทธิผล สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับ ฉายาว่า “ ธัมมชโย ” ต่อมาเป็นเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย
จากนั้นไม่นานนักสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่เรียกกันว่า “ บ้านธรรมประสิทธิ์ ” ไม่พอการรองรับผู้มาปฏิบัติธรรมที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงรวบรวมศิษย์หาที่ดินผืนใหม่ ซึ่งได้รับบริจาคจากเศรษฐีใจบุญ คือ คุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี เป็นที่นาขนาด 196 ไร่ อยู่ที่ ตำบลคลองสาม อำเภอ คลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี
เมื่อวันมาฆะบูชา วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 เริ่มบุกเบิกก่อสร้างเป็น “ ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
“ วัดพระธรรมกาย ” จนถึงปัจจุบันนี้
วิเคราะห์
1. การนั่งสมาธิเจริญภาวนาให้บรรลุธรรม ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ถ้าง่ายก็คงมีคนบรรลุธรรมเต็ม บ้านเต็มเมืองแล้ว คนส่วนมากมักเข้าใจและพูดกันว่า
“ การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน เป็นเรื่องของนักบวช ชาวบ้านอย่างเราๆมีกิเลสหนา ทำไปไม่ได้อะไร ”
บ้างก็ว่า “ต้องทำมาหากิน ไม่มีเวลาศึกษาธรรมะหรอก ”
แต่แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ทำได้ทั้งที่เป็นฆราวาส และยังอยู่ในฐานะคนรับใช้ ทำงานบ้านสารพัด
แสดงว่า
- การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ใครๆก็ทำได้ ไม่ได้สงวนสิทธิ์ให้เฉพาะนักบวช ทุกคนสามารถทำได้ เพราะ
ไม่ได้จำกัด หญิง/ชาย รวย/จน อ้วน/ผอม ผิวดำ/ขาว สวย/ขี้เหร่ ลูกจ้าง/นายจ้าง
ไม่จำกัดเชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา ภาษา เพราะเราใช้ใจ ใครมีใจก็ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานได้
คนตาบอด หูหนวกเป็นใบ้ ก็ฝึกสมาธิได้
- ทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ 1 วัน มี 24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับการใช้เวลา การจัดสรรเวลา ของแต่ละคนมากกว่า
- การปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน วิปัสสนา ให้เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เป็น อกาลิโก ไม่จำกัดกาลสมัย
ในสมัยพุทธกาลหรือพุทธศตวรรษที่ 25 ใครทำถูกดี ถึงดี พอดี ก็ได้ดี แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง เป็นพยานได้
2. คนที่มีทั้งชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ ฐานะร่ำรวย มียศฐาบรรดาศักดิ์ ไม่แน่ว่าจะได้การยอมรับนับถือ เคารพ เลื่อมใส จากผู้อื่นด้วยความจริงใจ เพราะแม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ไม่มีสิ่งเหล่านี้ ท่านไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออกเขียนก็ไม่ได้ แต่มีลูกศิษย์ จำนวนมากมายที่เรียนสูงๆ จบปริญญา มีชาติตระกูล ฐานะร่ำรวย
นั่นแสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง
- เป็นผู้ทรงศีล มีศีลาจารวัตรน่าเลื่อมใส ใครเห็นอยากเข้าใกล้ อยากสนทนาด้วย
- เป็นผู้ทรงธรรม รู้ธรรมจริง จึงสามารถตอบคำถามธรรมะต่างๆ จากทุกคนได้ แม้ท่านจะไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลยก็ตาม
3. น่าแปลกไหมล่ะที่บุคคลอยู่แต่ในวัดปากน้ำฯ ไม่รู้หนังสือ ไม่เคยออกไปท่องโลก แต่กลับรู้จักโลกทั้งโลก
รู้จักทุกศาสตร์ เช่น
- การดูคนเป็น ไม่ต้องเรียนการดูโหงวเฮ้ง ตำรานรลักลัษณ์ แต่ดูที่ใจด้วยใจใส รู้หมดใครคิดอะไร ยังไง
- รู้จักใช้คน ทั้งนักเรียน ครู นักบริหาร นักขาย ตาสี ยายสา แม่ครัว ทหาร ตำรวจ คนจนถึงคนรวย
- เป็นนักบริหารงาน เวลา ทรัพยากร
- รู้จักปกครองใจคน ตั้งแต่นักเรียน ครู นักบริหาร นักขาย ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี แม่ครัว ทหาร ตำรวจ คุณหญิงคุณนาย
- เป็นครูสอนคนให้เป็นคนดี ซึ่งยากกว่าการสอน วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
แสดงว่า แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง เป็นบุคคลอัจฉริยะ ด้วยพุทธวิธี คือ
อะไรไม่รู้ไม่เป็นไร รู้อย่างเดียวก็รู้ทั้งหมด นั่นคือ รู้แจ้งธรรมะ
ตัวแปรต้น independent variable 1
กลุ่มคนราว 10 คน ที่รักการเจริญสมาธิภาวนา มีผลการปฏิบัติธรรมที่มีบรมสุขจากการเข้าถึงพระธรรมกาย
มีอุดมการณ์ชัดเจนแน่วแน่ที่จะสร้างวัดด้วยการทุ่มเทชีวิตจิตใจ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ
1. สร้างวัด ให้เป็นวัดที่ดีที่สุด สะอาด สงบ ร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
2. สร้างพระ ให้เป็นพระแท้ มีศีลาจารวัตรงดงาม สมบูรณ์ทั้งปริยัติ ปฏิบัติธรรม ปฏิเวท เทศนา เข้าถึงวิชชาธรรมกาย
3. สร้างคนมาวัด ให้เป็นคนดีที่โลกต้องการ รับผิดชอบตัวเองและสังคม
นำโดย แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง อายุ 60 ปี ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่เข้าถึงธรรมของพระพุทธเจ้า
นาย ไชยบูลย์ สุทธิผล อายุ 24 ปี นิสิต ม.เกษตรศาสตร์ ปัจจุบัน คือ พระราชภาวนาวิสุทธ์ ( ธัมมชโย ภิกขุ )
นาย เผด็จ ผ่องสวัสดิ์ อายุ 28 ปี ศิษย์เก่าม.เกษตรศาสตร์ปัจจุบัน คือ พระภาวนาวิริยะคุณ ( ทัตตชีโว ภิกขุ )
ครู ถวิล วัติรางกูล (บุญทรง) ต่อมาบวชเป็นแม่ชี วายชนม์แล้วเมื่อปลายปีพ.ศ. 2543
และนิสิตกลุ่มเล็กๆ
ตัวแปรตาม dependent variable 1
คือ สร้างความเลื่อมใสศรัทธา สามารถรวมคนใจบุญ ทั้งคนหนุ่มสาว นิสิต เศรษฐีใจบุญ มาร่วมสร้างวัด ในอุดมคติได้สำเร็จ
แม้อุปสรรคใหญ่คือ เงินทุน ซึ่งเริ่มต้นรวมเงินได้เพียง 3,200 บาทเท่านั้น
แต่ด้วยทัศนคติที่ว่า “ อุปสรรค มีไว้ให้ข้าม ไม่ได้มีไว้ให้ท้อ ” และการให้แง่คิดมุมที่ควรมองจาก แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ผู้ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ทางธรรม เมื่อคุณเผด็จถามแม่ชี จันทร์ ว่า
“ เรามีเงินทุนแค่นี้ จะสร้างวัดให้สำเร็จได้อย่างไร ? ”
“ คุณเด็จ ถ้าเราจะสร้างคนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม คนที่ยอมเสียสละ อุทิศชีวิตให้พระพุทธศาสนาขึ้นมาในโลกสักคนหนึ่ง
ต้องใช้เงินเท่าไร ”
“ หมดเงินไป 100 ล้าน ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้มาสักคน ”
“ ก็ตอนนี้ ยายมีคนดีอย่างพวกคุณมานั่งอยู่ตรงหน้านี้แล้วตั้ง 11 คน แสดงว่า ยายมีเงินทุนอยู่แล้วไม่น้อยกว่า 1,000 ล้าน
เท่านี้ยังไม่พอสร้างวัดอีกหรือ ? ”
หรืออีกครั้งเมื่อมีผู้ถามแม่ชี จันทร์ ทำนองว่า การสร้างต้องใช้เงินจำนวนมาก เราจะสร้างวัดได้หรือ ?
ท่านไม่ตอบทันที แต่ถามกลับว่า
“ ถ้าให้เงินคุณ 100 ล้านแล้วให้คุณสละชีวิต คุณเอาไหม ”
“ ไม่เอา ”
“ แต่พวกคุณตั้งใจสละชีวิตแล้วเพื่อพระพุทธศาสนา งั้นยายก็มีเงินทุนเป็น 1,000 ล้านแล้ว ”
ซึ่งคนกลุ่มนี้ต่อมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างวัดพระธรรมกาย เผยแผ่พระพุทธศาสนา
และยังเป็น independent variable คือ เป็นต้นแบบให้ผู้อื่นดำเนินรอยตาม อีกเรือนแสน
ตัวแปรต้น independent variable 2
เพราะวัตถุประสงค์ การสร้างวัดให้วัดที่ดีที่สุด ทำให้เกิด
ตัวแปรตาม dependent variable 2 คือ
หลักการสร้างวัด ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ใช้หมวดธรรม ปฏิรูปเทส ๔ คือ
1. อาวาสเป็นที่สบาย คือ สถานที่ไม่ใกล้กรุงเทพฯ ไปมาสะดวก / ขนาดพื้นที่มากกว่า 50 ไร่ /
อาคารใช้งานตั้งแต่ อุโบสถ ศาลาฟังธรรม กุฎิที่พัก รูปทรงเรียบง่าย เน้นมั่นคงแข็งแรง ดูแลรักษาง่าย
2. อาหารเป็นที่สบาย คือ อาหารมีคุณภาพ มีคุณค่าสารอาหารครบ สะอาด ปริมาณเพียงพอ
ผลิตได้เร็ว แจกจ่ายได้เร็ว (งานที่มีสาธุชนจำนวนมาก)
3. บุคลคลเป็นที่สบาย คือ ภิกษุ สามเณร เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร เคร่งครัดในศีล กิริยาอ่อนน้อม
มารยาทงดงามตามแบบพุทธศาสนิกชนที่ดี มากด้วยความเคารพ 6 กตัญญูกตเวที มีวินัย
เป็นนักต้อนรับ ปฏิสันถาร ยิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งดวงพักตร์ ดวงเนตร มีปิยะวาจา ฯล
4. ธรรมะเป็นที่สบาย คือ เลือกหมวดธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนาให้เหมาะกับผู้ฟัง
ปรับปรุงวิธีการเทศน์การสอน โดยใช้ภาษาพูด คำอุปมา อุปมัย ของธรรมะให้ผู้ฟังเข้าใจตามได้ง่าย มีกำลังใจทำความดี สามารถนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
มีสื่อธรรมะประกอบการเผยแผ่ให้ทันยุคสมัย ตั้งแต่หนังสือ ภาพวาด อุปกรณ์ฉายแผ่นใสในยุคต้น
จนสู่การใช้ multimedia : /vdo/slide multivision/vcd/mp3/internet/sattlelite
ในปัจจุบัน
และ dependent variable 2 ยังเป็น independent variable 3 ส่งผลให้เกิด
dependent variable 3 ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
ขนาดพื้นที่ ปีพ.ศ. 2513 ปีพ.ศ.2530 - ปัจจุบัน
196 ไร่ > 2,500 ไร่
วิเคราะห์ independent variable : สาเหตุการขยายพื้นที่ จาก 196 ไร่ คือ
- สถานที่เดิมคับแคบเมื่อมีสาธุชนมาร่วมงานบุญใหญ่
- พื้นที่รอบวัดเริ่มมีหมู่บ้านจัดสรรมากขึ้น เริ่มมีเสียงงานมหรสพเข้ามารบกวนการปฏิบัติธรรม
จึงควรซื้อที่ดิน ปลูกสวนป่ากันเขตลดเสียงรบกวน และให้สิ่งแวดล้อมเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
- แนวโน้มคนมาวัดปฏิบัติธรรมจะเพิ่มมากขึ้น
วิเคราะห์ dependent variable :
การขยายพื้นที่วัดทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านสนับสนุนและต่อต้าน
ฝ่ายต่อต้าน คือ
1. ผู้เช่านาเกือบ 100 ครอบครัว ที่ต้องย้ายถิ่น
การแก้ไขของทางวัด คือ
- จ่ายค่าสินไหมทดแทนราคาสูง รายละเกือบ 400,000 บาท มีเพียง 5-10 รายเท่านั้นที่แย้งว่าน้อยไป
ชาวนาส่วนมากนำเงินค่าสินไหมทดแทน มาชำระหนี้สินที่เกิดจากการทำนา
บางส่วนมีเงินไปซื้อที่ดินบริเวณคลอง 2 และเป็นพนักงานของวัด
- รับชาวนามาเป็นพนักงานวัด เช่น ดูแลต้นไม้ สวนเพาะพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ ครัว ช่างก่อสร้าง ฯล
2. นักเคลื่อนไหว (mob) ที่อาสามาพิทักษ์ผลประโยชน์ให้ชาวนา
3. นักธุรกิจจัดสรรที่ดิน สร้างหมู่บ้านจัดสรร
2.และ 3. แก้ไขโดยกระบวนการยุติธรรม ซึ่งศาลตัดสินให้ชาวนาต้องย้ายออกและดำเนินคดีกับแกนนำ
ที่ก่อความวุ่นวาย ซึ่งต่อมาทางวัดก็ถอนแจ้งความด้วยความเมตตาธรรม และยังชวนอาสาสมัครของวัดมาช่วยรื้อถอนและขนย้ายบ้านให้ด้วย เช่น นิสิตที่เคยอบรมธรรมทายาท
4. สื่อมวลชน ที่หวังเพียงขายข่าวได้
ฝ่ายสนับสนุน คือ ผู้ใจบุญที่อยากสร้างสถานที่ปฏิบัติให้สัปปายะ(เป็นที่สบาย) คือเจ้าของที่ดินและสาธุชน
จำนวนภิกษุสามเณร/จนท.วัด ปีพ.ศ.2532 2537 2542 2545
ภิกษุ สามเณร 300 500 800 1,300
เจ้าหน้าที่ 250 350 450 700
อาสาสมัครประจำ 500 1,000 2,000 3,000
อาสาสมัครงานสำคัญ 3,000 6,000 12,000 20,000
จำนวนคนมาวัด
วันอาทิตย์ธรรมดา (คน) 1,500 3,000 6,000 10,000
วันอาทิตย์ต้นเดือน (คน) 5,000 9,000 15,000 25,000
งานสำคัญทางพุทธศาสนา 60,000 80,000 150,000 300,000
วิเคราะห์ dependent variable :
จากจำนวนคนที่มาวัดมาขึ้นย่อมส่งผลให้ทางวัดมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งค่าอาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ค่าก่อสร้างศาสนสถาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง แม้ไม่ได้รับการสนับสนุนเงินจากทางรัฐบาล
นั่นคือ มีเงินสะพัดไหลเวียนในภาคธุรกิจ ทั้งภาคเกษตรกร อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม เป็นต้น
รถบัส รับส่งสาธุชนตามจุดต่างๆ 50 แห่งในกรุงเทพฯและปริมณฑล / รถยนต์ส่วนบุคคล (คัน)
วันอาทิตย์ธรรมดา 25/200 50/600 60/1,000 90/1,200
วันอาทิตย์ต้นเดือน 50/400 70/800 100/1,300 120/2,000
งานสำคัญทางพุทธศาสนา 300/2,000 450/4,000 1,200/6,000 2,000/9,000
หมายเหตุ : ตัวเลขข้อมูลที่ปรากฏ เป็นตัวเลขโดยประมาณที่ข้าพเจ้าประเมินจากที่ข้าพเจ้าประสบมา
แต่เนื่องจากข้าพเจ้ารู้จักวัดพระธรรมกายเมื่อปี พ.ศ. 2531 ดังนั้นตัวเลขข้อมูลก่อนหน้านี้จะเว้นไว้
วิเคราะห์ dependent variable :
ทางวัดอำนวยความสะดวกให้สาธุชนที่มาวัด โดยจัดรถบัสรับส่ง ตามจุดต่างๆ ราว 50 จุด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมาก
ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมถึงชาวต่างจังหวัดที่มาวัดทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนและวันสำคัญทางพุทธศาสนา
ดังนั้นจึงมีผลต่อธุรกิจเดินรถ มีงานมีรายได้เพิ่มขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
• สภาพชุมชน
จากเดิม บริเวณ 25 ตารางกิโลเมตร ข้างสถานีตำรวจภูธร อำคลองหลวง จ.ปทุมธานี
เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือ ทุ่งนาฟ้าโล่งและสวนส้ม
มีถนนลาดยางมะตอยเพียง 2 เลน มีบ้านประชาชนอยู่ไม่หนาแน่น
แต่ 15 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงจนผิดตา คือ
* มีถนนทางหลวงถนนคอนกรีต 6 เลน * ถนนวงแหวนรอบนอกที่คลอง 4
* มีหมู่บ้านจัดสรร อาคารพาณิชย์มากมาย * ตลาดสดขนาดใหญ่ คือ ตลาดไท
* มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต * หอพักนักศึกษา
* สนามกีฬาระดับชาติ ที่รองรับ เอเชี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 13 ปีพ.ศ.2543
* โรงพยาบาลขนาดใหญ่ รพ.ธรรมศาสตร์ คลองหลวง * ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง
* ร้านอาหารกลางคืน ฯลฯ
• ประชาชนเพิ่มขึ้น
มีประชาชนในหลายจังหวัดจากทุกภาคของประเทศหลั่งไหลเข้ามาอาศัยทำมาหากิน เช่น
* พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม * แม่ค้าผัก ผลไม้
* ช่างฝีมือต่างๆ * คนงานรับจ้าง
* รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง * ร้านอาหาร
• อาชีพชาวบ้าน
จากทำนาข้าว ทำสวนส้ม ก็เปลี่ยนมาเป็น
* รับราชการ พนักงานบริษัท พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม
เพราะคนรุ่นเก่าเลิกทำนาทำสวน เด็กรุ่นใหม่ก็นิยมทำงานในเมือง
* ร้านขายอาหาร และร้านสะดวกซื้อ รองรับการกินการใช้ของคนที่เพิ่มมากขึ้น
* ขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง
* เป็นพนักงานวัดพระธรรมกาย เช่น งานครัว งานก่อสร้าง จัดสวนดูแลต้นไม้
พนักงานธุรการ แม่บ้านดูแลความสะอาดอาคารสำนักงาน เป็นต้น
สื่อธรรมะที่ใช้เผยแผ่
2512-2542 หนังสือ-สิ่งพิมพ์/เทป/vdo/slide multivision
2543-2545 หนังสือ-สิ่งพิมพ์/เทป/vdo/slide multivision / vcd
2546 หนังสือ-สิ่งพิมพ์/เทป/vdo/slide multivision
vcd/mp3/internet/sattlelite
วิเคราะห์ dependent variable :
ทางวัดผลิตสื่อธรรมะปีละจำนวนมากตามจำนวนสาธุชนที่เพิ่มมากขึ้น
จึงส่งผลให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์และmultimedia อุปกรณ์อิเลคทรอนิค มีงานมีรายได้เพิ่มขึ้น
ต่อไปนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่เป็นรูปธรรมของวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย
เพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจกรรมและโครงการงานกุศล และเห็นทรรศนะคติที่มั่นคงของวัดพระธรรมกาย
กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนศีลธรรมของวัดพระธรรมกาย
1. งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
1.1 โครงการสอนธรรมะในวันอาทิตย์ละวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
สถิติข้อมูล พ.ศ. 2533 – พ.ย. 2541
- พ.ศ. 2533 จำนวน 232,295 คน
- พ.ศ. 2534 จำนวน 155,245 คน
- พ.ศ. 2535 จำนวน 164,251 คน
- พ.ศ. 2536 จำนวน 137,487 คน
- พ.ศ. 2537 จำนวน 231,703 คน
- พ.ศ. 2538 จำนวน 215,472 คน
- พ.ศ. 2539 จำนวน 424,594 คน
- พ.ศ. 2540 จำนวน 469,022 คน
- พ.ศ. 2541 จำนวน 756,362 คน
วิเคราะห์ dependent variable :
หมวดธรรมะที่นำมาแสดง เช่น
พุทธคุณ ๓ : บริสุทธิคุณ คือ ไม่แสบ (รักษาศีล) ปัญญาธิคุณ คือ ไม่โง่ กรุณาธิคุณ คือ ไม่แล้งน้ำใจ
เพื่อเป็นคนดีที่โลกต้องการ
ฆราวาสธรรม ๔ : สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เพื่อดำรงชีวิตคฤหัสห์ให้อยู่ดี มีสุข
คารวะ ๖ : เคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในการศึกษา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท
วุฒิธรรม ๔ : หาครูดีให้เจอ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หมั่นไปรับใช้ท่าน ทำดีตามท่าน
มงคลชีวิต : เป็นแนวทางดำเนินชีวติของมนุษย์ให้มีทุกข์น้อย มีสุขมาก ตั้งแต่โลกียสุขถึงโลกุตตระสุข คือนิพพาน
ฯลฯ
ส่งผลให้จำนวนคนสนใจการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมมีผลทางสังคม คือ
- จำนวนคนเสพสิ่งเสพติดน้อยลง เกี่ยวข้องกับอบายมุขน้อยลง การสูญเสียทรัพย์สิน อวัยวะและชีวิต
จากอุบัติเหตุและการเบียดเบียนกันย่อมน้อยลง
- ค่ารักษาพยาบาลก็น้อยลงด้วย อีกทั้งยังได้
- ทรัพยากรบุคคลของสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีประสิทธิภาพ
1.2 โครงการอบรมธรรมทายาท บรรพชาและอุปสมบทหมู่ ( พ.ศ.2515-2541)
ระยะเวลา 30 – 60 วัน
ยุวธรรมทายาท /มัชฌิมธรรมทายาท / นักเรียนตำรวจ เตรียมทหาร / อุดมศึกษา = 16,932 คน
หากรวมถึง พ.ศ. 2546 รวมมากกว่า 20,000 คน
วิเคราะห์ dependent variable :
จำนวนคนสนใจการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมมีผลทางสังคม คือ
- จำนวนคนเสพสิ่งเสพติดน้อยลง เกี่ยวข้องกับอบายมุขน้อยลง การสูญเสียทรัพย์สิน อวัยวะและชีวิต
จากอุบัติเหตุและการเบียดเบียนกันย่อมน้อยลง
- ค่ารักษาพยาบาลก็น้อยลงด้วย อีกทั้งยังได้ทรัพยากรบุคคลของสังคมมีคุณภาพ
1.3 โครงการอบรมธรรมทายาทหญิง ( พ.ศ.2529-2541)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา นาน 30 วัน = 2,391 คน
หากรวมถึง พ.ศ. 2546 รวมมากกว่า 5,000 คน
วิเคราะห์ dependent variable : …………….
จำนวนสตรีที่สนใจการประพฤติปฏิบัติธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมมีผลทางสังคม คือ
จำนวนสตรีที่เข้าวัดมากขึ้น ส่งผลให้เงินบริจาคเข้าวัดมากขึ้น มีเสบียงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
เป็นการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง
1.4 โครงการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมแก่เยาวชน ( พ.ศ.2515-2541)
ระดับตั้งแต่ประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา ระยะเวลาอบรม 3-7 วัน = 115,694 คน
หากรวมถึง พ.ศ. 2546 รวมมากกว่า 130,000 คน
วิเคราะห์ dependent variable : ………………
1.5 โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า 20 ครั้ง ( พ.ศ.2525-2546)
ระดับตั้งแต่ประถมศึกษา ถึงอุดมศึกษา โดยใช้หนังสือ มงคลชีวิต 38 = 11,080,455 คน
วิเคราะห์ dependent variable : ………………..
1.6 โครงการอบรมข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน ( พ.ศ.2522-2541)
ข้าราชตำรวจ ครู กทม. กรมโยธาธิการ กรมป่าไม้ กรมชลประทาน ทหาร ตำรวจ
พนักงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน ระยะเวลา 3 – 14 วัน = 27,882 คน
วิเคราะห์ dependent variable : ……………….
1.7 โครงการปฏิบัติธรรมนอกวัด ( พ.ศ.2525-2546)
ระยะเวลา 7 – 14 วัน > 400 รุ่น > 33,000 คน
วิเคราะห์ dependent variable : ………………
1.8 โครงการบรรพชาสามเณรแก้ว 13,842 รูป ในวาระ 70 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วันที่ 6 – 15 กุมภาพันธ์ 2541
วิเคราะห์ dependent variable : ……………….
1.9 โครงการบวชอุบาสกแก้ว > 60,000 คน วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2542
ทั้งในและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน
วิเคราะห์ dependent variable : ……………………
1.10 โครงการบวชอุบาสิกาแก้ว 100,000 คน วันที่ 8 – 12 สิงหาคม 2541
ทั้งในและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน
เยอรมัน ออสเตรเลีย
วิเคราะห์ dependent variable : …………………
1.11 โครงการกัลยาณมิตรนำธรรมะสู่ประชาชนในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด พ.ศ. 2530-2546
ราวปี พ.ศ. 2530-2541 เปิดศูนย์กัลยาณมิตร เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมทั่วไทย > 200 ศูนย์
พ.ศ. 2542-2545 เปิดบ้านกัลยาณมิตรทั่วไทย ~ 20,000 แห่ง
พ.ศ. 2542-2545 เปิดบ้านกัลยาณมิตรในชุมชนคนไทยในต่างประเทศ ~ 1,000 แห่ง
วิเคราะห์ dependent variable : ……………………..
พ.ศ. 2544 เปิดwebsite ธรรมะหลายweb เช่น
www.pariyat.com www.bdvision.net www.ibscenter.net www.dhammakaya.co.th www.kalyanamitra.org www.dmky.com www.tawandhamma.go.to www.dhamma.net
วิเคราะห์ dependent variable : …………….
พ.ศ. 2545 เปิดโรงเรียนฝันในฝันวิทยา ถ่ายทอดเสียงทางโทรศัพท์และinternet
www.diu.org/dimc > 6,000 แห่ง
วิเคราะห์ dependent variable : ………………
พ.ศ. 2546 เปิดโรงเรียนฝันในฝันวิทยา ถ่ายทอดเสียงทางโทรศัพท์ , internet
www.diu.org/dimc และจานดาวเทียม > 80,000 แห่ง
วิเคราะห์ dependent variable : …………….
1.12 โครงการอบรมเยาวชนสร้างสรรค์ อายุ 3-12 ปี ช่วงปิดภาคเรียน
ฝึกมารยาท ฝึกระเบียบวินัย ฝึกความเคารพ ฝึกความอดทน เรียนรู้วัฒนธรรมไทย ศิลปะ
การทำงานเป็นทีม สวดมนต์ นั่งสมาธิ
วิเคราะห์ dependent variable : ……………………
1.13 โครงการอาสาสมัครเพื่องานพระพุทธศาสนา อายุ 12–22 ปี ช่วงวันหยุดและช่วงปิดภาคเรียน
ฝึกการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่ไปมัวเมาสิ่งเสพติด การพนัน โดยมารวมกันใช้แรงกาย
สติปัญญา ช่วยงานพระพุทธศาสนา ฝึกมารยาท ฝึกระเบียบวินัย ฝึกความเคารพ ฝึกความอดทน
เรียนรู้วัฒนธรรมไทย ศิลปะการทำงานเป็นทีม สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฯล
วิเคราะห์ dependent variable : ………………..
1.14. โครงการเทเหล้าเผาบุหรี่ เริ่มราว มิถุนายน 2546 มากกว่า 500 ครั้ง
ทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น หลายมลรัฐ ในสหรัฐอเมริกา เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส
ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย
ณ สถาบันการศึกษา ร้านค้าสุรา บ้านกัลยาณมิตร ศูนย์ปฏิบัติธรรม วัด ค่ายทหารห้าง สรรพสินค้า โรงแรม สำนักงานเขตต่างในกทม.
โดยมีการจัดขบวนรณรงค์ เลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติดทุกชนิด ร่วมด้วยคณะสงฆ์ ครูอาจารย์ นักการเมือง นักธุรกิจ สมาชิกวุฒิสภา ชาวต่างชาติ สื่อมวลชน โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
โดยอนุรักษ์ประเพณีดีงามของไทย ด้วยการแปลเพลง เทเหล้าเผาบุหรี่ เป็นภาษาท้องถิ่น ประกอบการละเล่นของไทย เช่น ภาษากะเหรี่ยง ภาษาใต้-หนังตะลุง หมอลำ ละครชาตรี เพลงอีแซว เพลงโคราช เพลง-ดนตรีไทยเดิม ฯล
วิเคราะห์ dependent variable :
จัดพิธีทุกครั้งมีภิกษุสงฆ์ร่วมพิธีด้วย
ถ้าจัดตามบ้านกัลยาณมิตร ผู้ร่วมงาน ~ 5-30 คน เทสุรา ~ 5-10 ล
วัด ในพุทธศตววรษที่ ๒๕
เริ่มโดย Dd2683, Jan 04 2006 01:01 AM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 01:01 AM
#2
โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 03:31 AM
สาธุ...เรื่องมันยาววววววววววววววววววววววววมากกกกกกกกกกกกกกครับบบบบบบบบบ
แต่จุใจพระเดชพระคุณดีครับ....วันนี้พักก่อนอ่านต่อไม่ไหวครับ 5555
แต่จุใจพระเดชพระคุณดีครับ....วันนี้พักก่อนอ่านต่อไม่ไหวครับ 5555
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#3 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 11:45 AM
เรียบเรียงเนื้อหาได้ดีมาก
#4
โพสต์เมื่อ 04 January 2006 - 03:14 PM
สาธุ ไม่สู้ ไม่หนี ทำดีเรื่อยๆ ไป คำนี้ยังคงใช้แก้ปัญหาได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกสถานการณ์
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#5
โพสต์เมื่อ 05 January 2006 - 04:23 PM
ขอเพิ่มข้อความที่ขาดไป 1 ย่อหน้าครับ
เมื่อกล่าวถึง “ วัดพระธรรมกาย ” เบื้องต้นควรทราบถึงการกำเนิดวัดและประวัติย่อของผู้บุกเบิกสร้างวัดกันก่อน เพื่อเห็นภาพรวมของวัดพระธรรมกาย ซึ่งข้าพเจ้าจะวิเคราะห์สิ่งที่น่าสนใจเป็นช่วงๆ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ คือจุดเริ่มต้นของวัดพระธรรมกาย โดยเริ่มจาก แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ซึ่งเหล่าศิษย์เรียกท่านว่า “ คุณยายอาจารย์ / คุณยาย ” ผู้เป็นลูกศิษย์ของพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ บวชเป็นแม่ชี ราวปีพ.ศ. 2480 หลังจากดั้นด้นหาครูสอนสมาธิภาวนามานานหลายปี ตามประวัติที่บันทึกไว้ว่า
.......คุณยายอาจารย์ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาฐานะดี ณ บ้านริมฝั่งแม่น้ำนครไชยศรี จังหวัด นครปฐม
ในยามเช้าของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2452 ............
เมื่อกล่าวถึง “ วัดพระธรรมกาย ” เบื้องต้นควรทราบถึงการกำเนิดวัดและประวัติย่อของผู้บุกเบิกสร้างวัดกันก่อน เพื่อเห็นภาพรวมของวัดพระธรรมกาย ซึ่งข้าพเจ้าจะวิเคราะห์สิ่งที่น่าสนใจเป็นช่วงๆ
วัดปากน้ำภาษีเจริญ คือจุดเริ่มต้นของวัดพระธรรมกาย โดยเริ่มจาก แม่ชี จันทร์ ขนนกยูง ซึ่งเหล่าศิษย์เรียกท่านว่า “ คุณยายอาจารย์ / คุณยาย ” ผู้เป็นลูกศิษย์ของพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ บวชเป็นแม่ชี ราวปีพ.ศ. 2480 หลังจากดั้นด้นหาครูสอนสมาธิภาวนามานานหลายปี ตามประวัติที่บันทึกไว้ว่า
.......คุณยายอาจารย์ ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาฐานะดี ณ บ้านริมฝั่งแม่น้ำนครไชยศรี จังหวัด นครปฐม
ในยามเช้าของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2452 ............
#6
โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 10:59 PM
สุดยอด ยาวดี อ่านแล้วรู้สึกดีมาก ที่เราเกิดมาอยู่ในสายธรรมกับ หลวงปู่ หลวงพ่อ และคุณยาย สาธุๆๆๆ ขอยืมข้อความทั้งพิมพ์เก็บไว้เผยแผ่ต่อ ให้เขาอ่านโดยไม่ต้องอธิบายเลย
#7 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 06 January 2006 - 11:04 PM
อนุโมทนาบุญ กับท่าน dangdee ด้วยนะครับ ท่านเรียบเรียงนำเสนอได้ดีมาก ผมขออนุญาติ นำไปเผยแพร่ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ และนักเรียนที่ผมสอน ที่ยังไม่เข้ใจวัด้วยนะครับ
ธรรมทายาทเข้าพรรษา รุ่น 18
ธรรมทายาทเข้าพรรษา รุ่น 18
#8
โพสต์เมื่อ 16 April 2007 - 12:08 PM
ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
#9
โพสต์เมื่อ 28 April 2007 - 09:27 AM
ขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#10 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 26 March 2011 - 06:01 PM
วัดนี้เป็นวัดที่ดีสอนให้คนเป็นคนดีโดยไม่หวังผลตอบแทนแต่ขอให้เป็นคนดีไม่เชื่อลองเข้าไปสัมผัสดูคราฟ