คุณและโทษของกาม???
#1
โพสต์เมื่อ 28 December 2005 - 08:14 PM
ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อะไรเล่าเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไร
เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย คือ อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ
*****************************************
#2
โพสต์เมื่อ 28 December 2005 - 09:04 PM
เอ๊า ผู้รู้ตอบหน่อย...
"ว่าแต่ Xmen จ๋า ที่ถามเนี่ยะ แบบว่า อยากรู้ หรือ ลองภูมิ หนูๆ จ๊ะ ;-)
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "
#3
โพสต์เมื่อ 28 December 2005 - 10:50 PM
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#4
โพสต์เมื่อ 29 December 2005 - 03:17 AM
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบดั่งหลุมถ่านเพลิง มีความทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ดุจบุรุษผู้มีกำลังมาก ช่วยกันฉุดจับโยนลงไปในหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรงนั้น
กามเปรียบเหมือนกระดูกโคที่เปื้อนเลือด แม้สุนัขนั้นจะพึงแทะสักเพียงใด ก็ไม่อาจทำให้ หายหิว หายเพลียได้ (ที่เป็นเช่นนั้น เพราะมันอร่อยน้ำลายของตัวมันเองต่างหาก) หากแต่ได้รับความเหน็ดเหนื่อยคับแค้น
กามเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่นกแร้ง เหยี่ยว นกตะกรุม โผเข้ารุมจิกยื้อแย่ง ตัวใดที่คาบชิ้นเนื้อไว้ไม่ยอมปล่อย ย่อมถูกตัวอื่นรุมจิกรุมทึ้ง ได้รับอันตรายหรือทุกข์หนักปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ
กามเปรียบเหมือนคบเพลิงที่ทำด้วยหญ้าที่มีไฟลุกโพลง เมื่อถือเดินทวนลม เปลวไฟอันลุกโชนนั้น ย่อมไหม้เอามือ เอาแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง หากผู้ถือไม่ยอมทิ้งคบเพลิงนั้นเสีย ย่อมได้รับทุกข์ถึงตายหรือปางตาย
กามเปรียบเหมือนความฝันเห็นสวนอันน่ารื่นรมย์ ตื่นขึ้นมาแล้วกลับไม่พบสิ่งใดเลย จึงต้องเป็นทุกข์ด้วยความเสียใจ
กามเปรียบเหมือนสิ่งของที่ยืมผู้อื่นเขามา แม้จะเป็นแก้วมณีมากค่าเพียงใด ครั้นถึงเวลา ย่อมถูกเอาคืนไป
กามเปรียบเหมือนการปีนป่ายต้นไม้ ขึ้นไปเก็บผลไม้อันมีโอชารส หากเมื่อใดที่มีบุรุษอื่นมาโค่นต้นไม้นั้นลง ถ้าไม่รีบลงจากต้นไม้นั้นโดยเร็ว ย่อมได้รับอันตรายอย่างแน่นอน
กามเปรียบดั่งคมหอก คมดาบ ที่คอยสับแล่ขันธสันดาน
กามเปรียบดั่งหอกและหลาวใหญ่ ที่เสียบร้อยรัดให้ดิ้นรนอยู่ในกองทุกข์
กามเปรียบดั่งศีรษะอสรพิษ อันน่าครั่นคร้ามสะดุ้งกลัว
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมเห็นว่า "เบญจกามคุณ" เป็นของที่นำมาซึ่งความทุกข์ ความอาลัยเสียดาย สะอื้นไห้ เต็มไปด้วยทุกข์ภัย เป็นของปุถุชนผู้หนา ผู้ครองเรือน มิใช่กิจของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
ผู้มีปัญญาทั้หลาย เมื่อเห็นโทษภัยดังนี้แล้ว จิตนั้นย่อมเกิดความสังเวชสลดใจ จิตนั้นย่อมเกิดความแน่วแน่มั่นคง เห็นคุณของการประพฤติพรหมจรรย์ อันเป็นเพศภาวะที่หลุดออกจากกาม พ้นออกจากกาม และพรากออกจากกาม ทั้งที่เป็นของมนุษย์และในที่อันทิพย์
#5
โพสต์เมื่อ 29 December 2005 - 10:47 AM
ของเราชอบตอบแบบย่อๆนะ
อะไรเป็นคุณ............ธรรมะ
อะไรเป็นโทษ...........กิเลส
อะไรเป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย.........ขออ้างอิงคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ
"เลิกอยาก ลาหยอก หลุดออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเร็วไว"
ขันธ์สามในที่นี้ หมายถึง ไตรสิกขา(ศีล สมาธิ และ ปัญญา)
#6
โพสต์เมื่อ 29 December 2005 - 01:28 PM
วันนี้เลยได้ความรู้แบบลึก และแบบย่อ ไปพร้อมๆ กันเลย
อนุโมทนาบุญกับ บุญแสดงธรรม ด้วยนะคะ สาธุ
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "
#7
โพสต์เมื่อ 29 December 2005 - 06:56 PM
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน
#8
โพสต์เมื่อ 30 December 2005 - 03:09 PM
[๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยฆานะ ... รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ
เหล่านี้แล ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกาม
ทั้งหลาย.
[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยันประกอบศิลปใด คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการ
คำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วย
การยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว
ต้องตรากตรำต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลืบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน
ต้องตายด้วยความหิวระหาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์
ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม
ทั้งหลายทั้งนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะ
เหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า
ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็น
โทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว
บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลายก็วิวาทกันกับพวกพระราชา แม้
พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดี
ก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับ
บุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่ชายก็วิวาทกับ
น้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ
แก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้นๆ ทำร้ายซึ่งกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท้อนไม้
บ้าง ด้วยศาตราบ้าง ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้
ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ
เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะ
กันทั้ง ๒ ข้าง เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลาย
ถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรแทงเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบตัด
ศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้
ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ
เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น
ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์
ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม
ทั้งหลายทั้งนั้น.
ที่มา: พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย?
[๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในกามทั้งหลาย การละฉันทราคะในกามทั้งหลายใด นี้เป็นการถ่าย
ถอนของกามทั้งหลาย.
[๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของกาม
ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของกามทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้กามทั้ง
หลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้กามทั้งหลาย
ได้ ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ชัดคุณของกามทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของกามทั้งหลาย โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอน
กามทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแหละหนอ
จักรอบรู้กามทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้
กามทั้งหลายได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
ที่มา: พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (โปรดติดตามตอนต่อไป)
#9
โพสต์เมื่อ 31 December 2005 - 01:25 AM
[๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของรูปทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เหมือนอย่างว่า นางสาวเผ่ากษัตริย์ เผ่าพราหมณ์ หรือเผ่าคฤหบดีมีอายุระบุได้ว่า ๑๕ ปี หรือ
๑๖ ปี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ไม่ผอมเกินไป ไม่อ้วนเกินไป ไม่ดำเกินไป ไม่ขาวเกินไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นนางคนนั้น งดงามเปล่งปลั่งเป็นอย่างยิ่ง ใช่หรือไม่เล่า? พวกภิกษุ
พากันกราบทูลว่าเป็นเช่นนั้นพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสุข
ความโสมนัสอันใดแล ที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความงามเปล่งปลั่ง นี้เป็นคุณของรูปทั้งหลาย.
[๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของรูปทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละในโลกนี้ โดยสมัยอื่น มีอายุ ๘๐-๙๐ หรือ ๑๐๐ ปี โดยกำเนิด
เป็นยายแก่ มีซี่โครงคดดังกลอนเรือนร่างขดงอ ถือไม้เท้ากระงกกระเงิ่น เดินสั่นระทวย
กระสับกระส่าย ผ่านวัยเยาว์ไปแล้วมีฟันหลุด ผมหงอก ผมโกร๋น ศีรษะล้าน เนื้อเหี่ยว มีตัว
ตกกระ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มี
ในครั้งก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละมีอาพาธ มีทุกข์
เจ็บหนัก นอนจมมูตรคูถของตน ต้องให้คนอื่นพยุงลุก ต้องให้คนอื่นคอยประคอง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพ
ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายได้ ๑ วันก็ดี ตายได้ ๒ วันก็ดี ตายได้ ๓ วันก็ดี เป็นซากศพขึ้นพอง
ก็ดี มีสีเขียวก็ดี เกิดหนอนชอนไชก็ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร
ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้ง
ไว้ในป่าช้า ฝูงการุมกันจิกกินบ้าง ฝูงแร้งรุมกันจิกกินบ้าง ฝูงนกเค้ารุมกันจิกกินบ้าง ฝูงสุนัขรุม
กันกัดกินบ้าง ฝูงสุนัขจิ้งจอกรุมกันกัดกินบ้าง ฝูงปาณกชาติต่างๆ รุมกันกัดกินบ้าง ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนนั้นหายไปแล้ว
โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวคนนั้นแหละเป็นซากศพถูกทิ้งไว้
ในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อและเลือดติดอยู่ มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูก ปราศจาก
เนื้อเปื้อนเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ มีแต่โครงกระดูกปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นยึดอยู่ ฯลฯ
เป็นแต่กระดูก ปราศจากเอ็นยึด กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือ กระดูกมือทางหนึ่ง
กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขาทางหนึ่ง กระดูกสะเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลัง
ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกทางหนึ่ง กระดูกแขนทางหนึ่ง กระดูกไหล่ทาง
หนึ่ง กระดูกคอทางหนึ่ง กระดูกคางทางหนึ่ง กระดูกฟันทางหนึ่ง หัวกระโหลกทางหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่งที่มีในก่อนนั้น
หายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลพึงเห็นนางสาวนั้นแหละ เป็นซากศพถูก
ทิ้งไว้ในป่าช้า เหลือแต่กระดูกสีขาว เปรียบเทียบได้กับสีสังข์ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกตกค้างแรมปี
เรียงรายเป็นหย่อมๆ ฯลฯ เหลือแต่กระดูกผุแหลกยุ่ย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ
ข้อนั้นอย่างไร ความงดงาม ความเปล่งปลั่ง ที่มีในก่อนหายไปแล้ว โทษปรากฏแล้วมิใช่หรือ?
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ ก็เป็นโทษของรูปทั้งหลาย.
ที่มา: พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (โปรดติดตามตอนต่อไป)
#10
โพสต์เมื่อ 01 January 2006 - 10:49 PM
#11
โพสต์เมื่อ 02 January 2006 - 09:55 PM
อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย?
**************************************
[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย การกำจัดฉันทราคะในรูปทั้งหลาย การละฉันทราคะในรูปทั้งหลาย นั้นใด นี้เป็นการ
ถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย.
กำหนดรู้รูป
[๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของรูป
ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือ จักรอบรู้รูปทั้งหลาย
ด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่น เพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้ ข้อนี้
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าหนึ่ง รู้ชัดคุณของรูป
ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของรูปทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ และการถ่ายถอนของรูปทั้งหลาย
โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวนี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้รูป
ทั้งหลายด้วยตนเองได้ หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้วจักรอบรู้รูปทั้งหลายได้
ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
ก็อะไรเล่า เป็นคุณ-โทษของเวทนาทั้งหลาย?
**************************************
[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นคุณของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ย่อมไม่
คิดเพื่อจะทำลายผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายทั้งสองฝ่าย ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มี
ความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคุณของเวทนาทั้งหลายว่า มีความ
ไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
ในสมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ ในสมัยนั้น
ย่อมเสวยเวทนา อันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณของเวทนา
ทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุข
ด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ในสมัยใด ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลาย
ตน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ในสมัยใด
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมไม่คิดเพื่อจะทำลายตน ฯลฯ ในสมัยนั้น ย่อมเสวย
เวทนาอันไม่มีความเบียดเบียนเลยทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคุณแห่งเวทนาทั้งหลายว่า
มีความไม่เบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง
[๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของเวทนาทั้งหลาย? ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดานี้เป็น โทษของเวทนาทั้งหลาย.
[๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นการถ่ายถอนของเวทนา? ทั้งหลาย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย การกำจัด การละฉันทราคะ ของเวทนาทั้งหลายเสียได้ นี้เป็นการถ่ายถอนของเวทนา
ทั้งหลาย.
กำหนดรู้เวทนา
[๒๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดคุณของเวทนา
ทั้งหลาย โดยเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นโทษและการถ่ายถอนของเวทนา
ทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ ตามความเป็นจริง พวกนั้นน่ะหรือจัก
รอบรู้เวทนาทั้งหลายด้วยตนเอง หรือว่าจักชักจูงผู้อื่นเพื่อเป็นอย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว จักรอบรู้เวทนา
ทั้งหลายได้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง รู้ชัดคุณของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นคุณ โทษของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นโทษ
และการถ่ายถอนของเวทนาทั้งหลาย โดยความเป็นการถ่ายถอน อย่างที่กล่าวมานี้ ตามความเป็น
จริง พวกนั้นแหละหนอ จักรอบรู้เวทนาทั้งหลาย ด้วยตนเองได้หรือจักชักจูงผู้อื่นเพื่อความเป็น
อย่างที่ผู้ปฏิบัติแล้ว จักรอบรู้เวทนาทั้งหลายก็ได้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาทุกขักขันธสูตร ที่ ๓
เวพสำหรับผู้ที่ต้องการรู้คุณและโทษของกาม???
http://www.geocities.com/pic_asupa/
#12
โพสต์เมื่อ 30 June 2015 - 02:52 PM
#13
โพสต์เมื่อ 30 June 2015 - 03:33 PM