1. ไม่เกิดความเดือดร้อน
[attachmentid=863]
ผู้มีศีลไม่ได้ทำความชั่วแก่ตนเอง และผู้อื่น เมื่อไม่ได้มีความคิดชั่ว ใจก็ไม่ต้องเดือดร้อน
2. มีความปลอดโปร่งใจ
[attachmentid=864]
คือ ผู้มีศีลเมื่อได้คิดถึงศีลที่ตนรักษาไว้ดีแล้ว ก็จะมีความรู้สึกว่าอย่างตนก็ทำได้ เกิดความปลื้ม ปีติ ทำให้มีความปลอดโปร่งใจ ใครจะมาติก็ไม่ได้ เพราะขนาดตัวเองยังหาข้อบกพร่องตนเองยังไม่ได้เลย แปลว่าเราบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ก็เกิดความโปร่งใจขึ้น
3. มีปีติ
[attachmentid=865]
ผู้มีศีล เมื่อนึกถึงการกระทำของตนที่ทำไว้ดีแล้ว ย่อมเกิดความปีติโสมนัส เบิกบาน ว่าอย่างตนก็ทำได้ เพราะยากสำหรับคนอื่นๆ อีกตั้งเยอะแยะในโลกนี้ที่ทำไม่ได้
4. เกิดความสงบใจ
[attachmentid=866]
เมื่อเกิดปีติ ก็ทำให้เกิดความสงบใจ ความฟุ้งซ่านมันก็หมดไป ใจมันจะไม่ค่อยคิดเรื่องอะไร เพราะคิดแต่เรื่องศีล เมื่อทำได้ ในสิ่งที่ยากๆ ปีติจะเข้าไปแทนที่ ก็จะไปเปียดความคิดอื่นๆ ในใจ ให้หลุดออกไปเลย กายก็สงบ ใจก็สงบ
5. เกิดความสุข
[attachmentid=867]
ทำให้เกิดความสุข รู้จักคำว่าความสุข ว่าเป็นอย่างไร ความสบายกาย ความสบายใจก็เกิดขึ้น ความสุขเกิดขึ้นทุกสรรพางค์กาย
6. เป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ
[attachmentid=868]
เมื่อสุขก็ทำให้เกิด เอกคัตตา ใจเป็นสมาธิ พอสงบนั่งเฉยๆ จิตก็รวมเป็นหนึ่ง ใจก็จะหยุดนิ่งได้ เป็นหนึ่งเดียว มีอารมณ์เดียว อยู่ในตำแหน่งที่ปลอดความคิดได้
7. มีความรู้เห็นไปตามความเป็นจริง
[attachmentid=869]
พอใจหยุด ใจก็เคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน ไปสู่กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ไปสู่ความรู้ในระดับลึก ชีวิตในระดับที่ลึกๆ เข้าไปเรื่อยๆ ถ้าไม่หยุดไม่นิ่ง จะดิ่งเข้าไปไม่ได้ แต่ถ้านิ่งความรู้จะต่อเนื่องมาเรื่อยๆ แล้วก็จะได้รู้เห็นอะไรไปตามความเป็นจริง เกิดธรรมจักขุ และญาณทัสสนะ เมื่อเข้าไปถึงดวงธรรม กายภายใน ถึงพระธรรมกายภายใน
8. เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์
[attachmentid=870]
เมื่อเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง ด้วยธรรมจักขุ และญาณทัสสนะ ของพระธรรมกายภายใน วิชชาจะเกิดขึ้น พอวิชชาเกิด ก็จะเห็นถึงการเวียนว่ายตายเกิดของตน แล้วก็จะรู้ว่าทุกๆ คนตกอยู่ภายใต้กฏแห่งกรรม พอเห็นแล้วก็เบื่อหน่าย เห็นว่าชีวิตก็ไม่มีอะไรใหม่ ชีวิตตกอยู่ภายสังสารวัฏ กิเลสบังคับให้สร้างกรรม พอสร้างกรรมด้่วยกายวาจาใจ ก็เกิดวิบากกรรม เกิดความเบื่อหน่าย (นิพพิทา) <- เขียนถูกไหมครับ?
9. คลายความกำหนัด
[attachmentid=871]
เมื่อเบื่อหน่าย ก็คลายความกำหนัด คือความผูกพันธ์ ความยึดมั่นในคน สัตว์ สิ่งของ ภพภูมิต่างๆ จะเบื่อสุดขีด แต่ไม่ใช่เบื่อแบบเซ็งๆ แต่เบื่อแบบมีความสุข คนละอันกับเบื่อแบบเซ็งๆ นิพพิทาจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดธรรมจักขุ และญาณทัสสนะ ให้เห็นถึงการเวียนว่ายตายเกิด คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ เบื่อในการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เศร้าโศก เสียใจ ร่ำพิไร รำพัน เป็นต้น จึงคลา่ยความกำหนัดออก
10. มองเห็นทางหลุดพ้น
[attachmentid=872]
เมื่อเบื่อ คลายความกำหนัด จนกระทั่งได้ 2 วิชชาแล้ว วิชชาที่ 3 ก็เกิดขึ้น คืออาสวักขยญาณ มุ่งเข้าสู่ความหลุดพ้น เป็นไปตามลำดับ ขั้นตอน
นี่คืออานิสงส์สั้นๆ ของผู้ที่ถือศีลอดแบบอริยะ :D