ทำอย่างไรให้ปลื้มเมื่อทำบุญ
#1
โพสต์เมื่อ 14 November 2006 - 08:38 PM
#2
โพสต์เมื่อ 14 November 2006 - 09:24 PM
cos one day if u are far away from Wat u would missess all those boons and miss lungpo. this one is called too close but forget na ka.
#3
โพสต์เมื่อ 14 November 2006 - 09:30 PM
ตามทัศนะส่วนตัว ผมสันนิษฐานไว้ 4 มุมมองนะครับ
1 ) นักสร้างบารมี ที่ยังไม่เข้าถึงสภาวธรรมอันประณีต
ยังไม่เห็นดวงบุญ ที่ตนเองกระทำด้วย กาย วาจา ใจ
ยังไม่เห็นดวงบุญ ที่ตนเองกระทำ ในช่วง ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำแล้ว
เพราะ ยังไม่มีธรรมจักษุ เห็นผลแห่งบุญ ที่เกิดในเทวโลก
ทำบุญอย่างนั้น จะได้ทิพยสมบัติ เช่น ทิพยอาภรณ์ แหวนและีประติมากรรมสวรรค์ ที่อลังการ
เพราะ ยังไม่มีธรรมจักษุ เห็นผลแห่งบุญ ที่จะส่งผลในภพชาติต่อๆไป จนบรรลุมรรค ผล นิพพาน
และก่อนทำบุญ ใจยังไม่นิ่ง ไม่ใสเท่าที่ควร
เมื่อเป็นดังนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ แม้ทำบุญบ่อยๆ ก็ไม่ปลื้มใจเท่าที่ควร
2 ) การทำในสิ่งที่ซ้ำๆ กันเป็นปกติ จึงไม่เกิดความรู้สึกพิเศษใดๆ
ข้อนี้อุปมา เหมือน ราชา มหากษัตริย์ หรือ คหบดี มหาเศรษฐี
ที่ได้รับการ บำรุงบำเรอด้วย
- อาหารที่จัดแต่งประณีต มีรสเลิศ ทุกมื้อจนเป็นเรื่องธรรมดา
- อาภรณ์เครื่องนุ่งห่ม ที่มีเนื้อละเอียด แบบทันสมัย ใช้ตราสินค้า ที่หรูหรา
- ที่อยู่อาศัย เหมือนอยู่ในปราสาท คฤหาสน์ ราชวัง โรงแรม หรือ ฮาเร็ม ระดับ 5 ดาว
- ได้ชมการแสดง และฟังดนตรี ชั้นเลิศเป็นประจำ
- ใช้ยานพาหนะ ยนตรกรรมชั้นเลิศ
อะไรที่เป็นครั้งแรก ย่อมพิเศษเสมอ ครั้งต่อมา ก็มักคุ้นเคย ไม่รู้สึกพิเศษเท่าครั้งแรก
เช่น ครั้งแรกที่มางานมาฆะบูชา ย่อมตื่นเต้น ตื่นตา ปลื้มใจมากเป็นพิเศษ
เมื่อมาหลายครั้ง ก็เพียงรู้สึกยินดี แม้ความตื่นเต้นและปลื้มใจก็ไม่เท่า ครั้งแรก
เมื่อเป็นดังนี้ ก็เป็นธรรมดาที่ แม้ทำบุญบ่อยๆ ก็ไม่ปลื้มใจเท่าที่ควร
3 ) สำหรับผู้เจนโลก เจนธรรม มีการพัฒนาจิตใจสูงมากขึ้น
แม้ประสบเรื่อง น่ายินดี หรือ
เรื่องน่ายินร้าย หนักหนาสาหัสเพียงใด
ก็มองเห็นเป็นเรื่อง ปกติ เป็นเรื่องธรรมดาในโลก
สภาพจิต มีความเป็น อุเบกขาธรรมสูง
ถ้าเป็นเพราะสาเหตุนี้ ผมว่า ดีมากนะครับ
เพราะใจเราจะเป็น กลาง ไม่ยินดี ยินร้าย อะไรง่ายๆ
แต่ไม่ใช่ประเภท ไร้ความรู้สึก ไร้อารมณ์ แบบพวกหลุดโลก นะครับ
อารมณ์เฉย ๆ ไม่ยินดี ยินร้าย ใจเป็นกลาง ๆ
ผมว่าอารมณ์แบบนี้ เอื้อเฟื้อ สนับสนุน การปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้าได้มาก
ทำให้ใจปล่อยวางเรื่องภายนอก ใจเข้าสู่กลางโลกภายใน ได้ดี ครับ
4 ) เฉพาะนักสร้างบารมี ที่เข้าถึงสภาวธรรมอันประณีตแล้ว
ถ้าเป็นดังนี้ ก็เป็นธรรมดา ที่แม้ทำบุญ( ทาน ) บ่อยๆ ก็ไม่ปลื้มใจเท่าที่ควร
เพราะการทำบุญกิริยาต่างๆ คือ ได้บำเพ็ญทาน รักษาศีล มากแค่ไหน
ก็ไม่ม่วนอก ม่วนใจ
เท่าความสุขอันละเอียด ประณีตที่เกิดจาก
ใจหยุดในหยุด
นิ่งในนิ่ง
ดิ่งเข้ากลางของกลาง หรอกครับ
สำหรับผู้เข้าถึงสภาวธรรมอันประณีต มีอะไร ได้อะไร เป็นอะไร
ก็ไม่สุขใจ เท่าการนำใจ มาแตะแผ่วๆ อย่างสบาย ๆที่ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ได้หยุดใจเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
ผู้รู้แจ้งภายใน
ความรู้แจ้งภายใน
และความสุขแท้จริงที่มีอยู่ภายใน หรอกครับ
ผมว่าแบบนี้ ประเสริฐ เลอเลิศที่นักสร้างบารมีทุกคน ควรแสวงหาให้มีในตน
***** ต้องฟังความรู้และทัศนะของท่านอื่นๆ ต่อหล่ะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 14 November 2006 - 11:40 PM
#5
โพสต์เมื่อ 15 November 2006 - 08:45 AM
พูดง่ายๆ ก็คือ อยากจะ alert กับเขาบ้าง....
ไม่เป็นไรหรอกค่ะ อารมณ์ของจิตมีหลากหลายอารมณ์ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็นธรรมชาติ เราบังคับไม่ได้...เฝ้าดูเฝ้าตาม มีสติก็พอค่ะ
บางทีคุณ justmin อาจทำบุญบ่อยจนคุ้นเคยไปเองจริงๆน่ะค่ะ
บางทีน้อมเศียรเกล้าก็สงสัยเหมือนกัน ว่า เอ..ทำไมเดี๋ยวนี้เฉยๆ ไม่ค่อย ตื่นเต้นเลย
#6
โพสต์เมื่อ 15 November 2006 - 09:42 AM
ครั้งหนึ่ง พระบรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นกษัตริย์ นามว่า พระเจ้าสีวราช พระองค์สร้างโรงทาน 6 แห่ง บริจาคทรัพย์เป็นทานจำนวนมหาศาลทุกวันต่อเนื่องกันจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปีเป็นหลายสิบปี
วันหนึ่ง พระองค์ทรงยืนบนปราสาท ทรงมองดูทานที่ลูกน้องพระองค์กำลังแจกคนทั่วไป ทั้ง 6 ทิศอยู่ ทรงคิดว่า เราบริจาคทรัพย์มากมายมหาศาลก็จริง แต่ทานเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เราอิ่มใจเลย (ไม่ปีติเลย) มีทานที่ยิ่งกว่านี้มั้ยน้า ถ้ามีใครมาขอดวงตาทั้ง 2 ของเราเป็นทาน เรายินดียกให้ทันที
เอาสิ ร้อนไปจนที่นั่งพระอินทร์ ร้อนขึ้นมาทันที พระอินทร์จึงแปลงตัวมาเป็นพราหมณ์ตาบอด มาขอดวงตา 1 ข้าง พระเจ้าสีวราช ยกทรงให้ทั้ง 2 ข้างเลย โดยให้หมอทายาให้ดวงตาหลุดออกมาเอง พระองค์เจ็บปวดทรมาณมาก แต่ปลื้มปิติและประทับใจสุดๆ ในบุญนี้มากๆ
เจ้าของกระทู้กำลังเริ่มมีใจเฉกเช่น พระบรมโพธิสัตว์แล้วล่ะครับ แต่ยังไม่ต้องทำถึงขนาดพระโพธิสัตว์หรอก แค่ลองเปลี่ยนเป็นให้ทานเพิ่มขึ้นดู เคยให้เท่าที่ ธรรมดา ไม่ปีติ ก็ให้เพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก ถ้ายัง ก็ให้ยิ่งขึ้นไปอีก เดี๋ยวก็ปีติครับ
#7
โพสต์เมื่อ 15 November 2006 - 05:42 PM
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต้ อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดยกโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ
#8
โพสต์เมื่อ 15 November 2006 - 07:54 PM
เลยมีกัลฯมาแนะนำน่ะครับว่าให้ทำให้เต็มที่ยิ่งๆ ขึ้น ให้ทำสิ่งที่ทำได้ยากกว่าที่ทำอยู่ ฯลฯ มันก็จะปลื้มขึ้นเอง ผมเลยลองทำดู ก็เป็นจริงอย่างที่กัลฯ ท่านแนะนำไว้น่ะครับ
#9
โพสต์เมื่อ 15 November 2006 - 08:28 PM
#10
โพสต์เมื่อ 15 November 2006 - 10:30 PM
คราวนี้เป็นมุมมอง ที่ตรงกับชื่อกระทู้ ที่ว่า
ทำอย่างไร ให้ ปลื้ม เมื่อ ทำบุญ
วิธี หรือ กุศโลบาย ทำให้ปลื้มใจ เมื่อ ทำบุญ
นั้นก็มีหลายวิธี ตามที่หลายท่านแนะนำไว้ เช่น
สําเร็จแล้วจะปลื้มสุดๆๆๆๆ
นักเรียนอนุบาล lee072d
ถ้ายัง ก็ให้ยิ่งขึ้นไปอีก เดี๋ยวก็ปีติครับ
นักเรียนอนุบาล หัดฝัน
นักเรียนอนุบาล ฝันที่เป็นจริง
ผมเลยลองทำดู ก็เป็นจริงอย่างที่กัลฯ ท่านแนะนำไว้น่ะครับ
นักเรียนอนุบาล เราคือใคร
นักเรียนอนุบาล SoperNora
ผมขอเติมอีกนิดครับ
เสนอ วิธีและกุศโลบาย ทำให้ปลื้มใจ
ก่อนทำบุญ
1 ) ใช้สติ ปัญญาของตน ไตร่ตรอง พิจารณาถึง โทษและภัย
1.1 โทษและภัยในวัฎฏะสงสาร เพื่อมองภาพรวมของวงจรชีวิตในสังสารวัฏ เรื่อยลงมาถึง
1.2 โทษและอันตราย ในความประมาทในชีวิต ในวัย ในความไม่มีโรค เป็นต้น
1.3 ................
2 ) ใช้สติ ปัญญาของตน ไตร่ตรอง พิจารณาถึง ความมีบุญวาสนาของตน
ที่มีความพร้อมในการทำความดี สั่งสมบุญกุศล เช่น
- ได้เกิดเป็นมนุษย์ + ร่างกายไม่พิกลพิการ
- ได้เกิดในยุคสมัยที่พระพุทธศาสนา ยังดำรงอยู่
- ตนเองก็เป็นสัมมาทิฎฐิบุคคล ( ในระดับหนึ่ง ) ไม่มีทิฎฐิวิบัติ
- มีศรัทธา เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ในการ บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
พูดแบบชาวบ้าน คือ เราเองก็ใฝ่ดี รักการทำความดี ใฝ่พัฒนาจิตใจให้ใส ให้สูง
- ไทยธรรม หรือ วัตถุทาน อามิสทาน เราก็มีอยู่
- ปฏิคาหก คือ ผู้รับที่ทรงศีล ทรงธรรม ก็มีอยู่
- เพื่อนนักสร้างบารมีก็มีอยู่มากมาย ทั้งเชียร์ ทั้งชื่นชม
- การสั่งสมหลายครั้ง ต้องใช้ทั้งขันติ ความเพียร บากบั่น อาบเหงื่อต่างน้ำ
กว่าจะรวมทรัพย์ได้ กว่าจะมาถึงวัด
- และอะไรอีกหลายอย่าง ที่เราฝ่าฟันมา เพื่อทำคุณความดี สั่งสมบุญบารมี
ซึ่งความพร้อมและการฝ่าฟัน ความทุ่มเทเหล่านี้
สัตว์นรก เปรต อสูรกาย สัตว์ติรัจฉานไม่มีเหมือนเรา
แม้แต่ ทวยเทพเทวดา ก็ยังไม่มีความพร้อมและโอกาสแบบนี้เหมือนเรา
และที่สำคัญ นาน ๆครูุบาอาจารย์และเราจะได้เกิดมารวมกัน สร้างบารมี แบบนี้สักที
ไม่ใช่สิ่งที่เกิดง่ายๆ ไม่ใช่เรื่องสาธารณะ
แล้วทำไม เราไม่ดีใจ ที่ได้สั่งสมบุญ ล่ะครับ ?
3 ) จัดเตรียมไทยธรรม วัตถุทาน อามิสทาน ให้สะอาด ประณีต ตาเห็นแล้วก็แจ่มตา ยังใจแช่มชื่น เบิกบาน
4 ) เตรียมความพร้อมของร่างกาย ให้ดี ตั้งแต่
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พร้อมจะสั่งสมบุญ
เพราะกายที่แข็งแรงเป็นฐานทัพให้ใจ ไม่กังวล มุ่งสู่ความละเอียดภายในได้ปลอดโปร่ง
- เสื้อผ้าอาภรณ์ , ดูดี ที่สะอาด ก็ทำให้มั่นใจในตนเอง เหมาะสมกาละ เทศะ
เป็นการให้เกียรติในบุญสถาน กิจกรรมงานกุศล
เป็นการทำให้ตนเองเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดี ดูแล้วสบายตา เห็นแล้วสบายใจ
ฉะนั้นคนไทยสมัยก่อน จึงแต่งตัวสวยงาม ดุจเทพบุตร เทพธิดา ไปเข้าวัดทำทาน รักษาศีล ฟังธรรม
5 ) เตรียมดวงพักตร์ ให้ประดับด้วยรอยยิ้ม สีหน้าแช่มชื่น ต้อนรับคนรอบข้าง
6 ) เตรียมดวงเนตร เป็นมิตรกับคนรอบข้าง
7 ) เตรียมดวงหทัย ให้เกลี้ยง จากภาระเครื่องกังวลใจ หรือ สิ่งที่เป็นข้าศึกต่อการกุศล
คือ เตรียมใจให้ใส เปิดใจ ให้พร้อมที่จะ รองรับสายธารแห่งบุญ และ สายธารแห่งธรรมภายใน
8 ) ดีที่สุด คือ เราต้องเห็นดวงบุญ เอาใจอยู่ใน(ดวง)บุญ
แบบนี้ ปลื้ม ใจแน่นอน ครับ
ถ้าเราเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ก่อนสั่งสมบุญ
แบบที่ยกตัวอย่างมานี้
เชื่อว่า การทำบุญ สั่งสมบุญ ครั้งต่อ ๆไป
มีโอกาสมาก ที่นักสร้างบารมีทุกท่านจะ รู้สึก ปลื้ม ในบุญญาบารมี
ที่ร่วมสร้างกับหมู่คณะของพระเดชพระคุณ หลวงปู่ หลวงพ่อ คุณยาย.
เชิญนำไปพิจารณา เลือกและปรับใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน ตามสะดวกครับ
****
พุทธภาษิต
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กิยรา
กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย . . . ฯ ๑๑๘ ฯ
ถ้าหากคนเราจะทำความดีไซร้
ก็ควรทำบ่อย ๆ
ควรพอใจในการทำความดีนั้น
เพราะการสะสมความดีนำสุขมาให้
Should a man perform merit,
Let him do it again and again,
And turn his mind to delight therein;
Blissful is the pilling-up of merit.
บุญ เป็น ชื่อของความสุข
บุญเป็นเพื่อนแท้ของเรา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เมื่อทำถูกทักขิเณยบุคคล เนื้อนาบุญอันเลิศ คือ ภิกษุูสงฆ์
และผู้มีความสะอาด บริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ มากๆ รวมถึง ฌานลาภีบุคคล
อานิสงส์แห่งทาน ย่อมไพบูลย์
แม้ว่าวันนี้ เราอาจยังไม่ค่อย ปลื้ม ในบุึญที่หมั่นสั่งสม จนเป็นปกติ
แต่ ภาพชีวิตที่เราี่หมั่นสั่งสมบุญ ต่อเนื่องมาจักเป็นเพื่อนแท้ ติดตามเราไปปรโลก
เมื่อเราใกล้ละสังขาร ย่อมมาปรากฎทบทวนเป็น กุศลนิมิตร
ให้เรามีความแช่มชื่น เบิกบาน ใจใส สว่าง
ไม่หวาดหวั่นใน มัจจุภัย
และได้ ปลื้มบุญ อย่างแท้จริง
#11
โพสต์เมื่อ 16 November 2006 - 08:05 AM
#12
โพสต์เมื่อ 16 November 2006 - 07:18 PM
#13
โพสต์เมื่อ 17 November 2006 - 12:24 AM
เหตุ มันน่าจะมีที่มา ถ้าให้ด้วยความปลื้มมันก็น่าจะปลื้ม
ตามหลักวิชาต้องตรึกระลึกถึงบุญทั้ง ก่อนทำ หลังทำ และกำลังทำ คุณวางใจแบบไหน
ตัดความตระหนี่ มีความศัทรา รู้จักอนิสงฆ์ของการทำทานครบหรือไม่
เอาง่ายๆ ทำทานจะทำให้รวย รักศีลจะทำให้สวย เจริญสมาธิจะทำให้ฉลาด
เห็นอธิฐานกันประจำ ว่าให้ สวย รวย ฉลาด บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า สามอย่างมาได้อย่างไร
ดังนั้นเมื่อคุณทำทาน คุณได้รักษาศีล เจริญสมาธิครบหรือไม่
เพราะลำพังทำทานทำบุญแล้วหวังบุญสำเร็จผลทันตา มันเข้าข่ายกิเลศบังตาหรือป่าว
แต่หากเจริญสมาธิ รักษาศีล แล้วมีศรัทราในการบริจาคทาน ทำบุญ อนิสงค์เรื่องปลื้มในบุญก็คงไม่ห่างเราไปไหน
เลือกเอา ใจใสๆ
#14
โพสต์เมื่อ 17 November 2006 - 10:36 AM
- เลยอธิษฐานขอให้ปลื้มในบุญทุกบุญ ขอให้บุญไม่หกไม่หล่น
- คิดว่ากว่าเขาจะทำบุญได้มากก็ต้องใช้เวลาตัดสินใจกันน่าดู กว่าจะสละได้ ทำให้เรารู้สึกปลื้มในบุญที่เขาทำ
- คิดว่าเราก็ไม่ธรรมดา กล้าที่จะทุ่มเททำบุญมาก แทนที่จะเอาเงินไปซื้อรถ หรือบ้านใหม่ ทำให้รู้สึกภูมิใจในตัวเอง
- คืดถึงประโยชน์ที่ได้รับ ว่าเราได้สร้างสถานที่รองรับผู้เข้าถึงธรรม ผู้คนที่กำลังมาทำความดีทุกวันนับไม่ถ้วน นับเป็นพันปี เราก็มีส่วนในบุญนั้นด้วย เป็นบุญต่อบุญ สมบัติต่อสมบัติ เรานี่มีบุญมากจริงๆจึงทำอย่างนี้ได้
- ภูมิใจในความสามารถของหลวงพ่อ ในศีลาจารวัตร ในปณิธานของหลวงพ่อว่าไม่ธรรมดา ยิ่งใหญ่จริงๆ เกินกว่าใครๆ ก็ปลื้มใจได้
#15
โพสต์เมื่อ 17 November 2006 - 08:26 PM
มีเพื่อนอีกคนหนึ่งบอกว่า ถ้าทำบุญใหญ่แล้วไม่ปลิ้ม อาจเป็นเพราะขาดการฟังธรรม ตัวเองก็ชอบฟังธรรมเพราะฟังแล้วรู้สึกใจนิ่งและสงบดีมาก ๆ
ตามที่คุณเกริก 2528 คิด ตัวเองก็คิดค่ะ
ตามที่คุณ peter10 บอกว่าแปลก..ตัวเองก็คิดว่าแปลกค่ะ หลักวิชาก็รู้น่ะ ก่อนทำ ระหว่างทำ หลังทำ
แต่ถ้าถามถึงความทุ่มเทกำลังกาย ความศรัทธา ความละเอียด ความใส ใจเราอาจไม่มากพอ
#16
โพสต์เมื่อ 17 November 2006 - 10:57 PM
พระอุทิศกายใจทำไมหนอ
เพียงลำพังพระเองก็สุขพอ
ใยต้องรอผองเราเข้าถึงธรรม
สุนทรพ่อ
I Love You หลายเด้อ
#17
โพสต์เมื่อ 19 November 2006 - 09:50 AM
#18
โพสต์เมื่อ 16 September 2008 - 10:09 AM
ยิ่งมีกำลังใจยิ่งขึ้นไปอีก ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านนะคะ
เหมือนดอกบัวทะยานตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ เปิดกลีบรับแสงตะวันธรรม
น้อมนำสู่วิถีอันดีงาม