คำสอนพระพุทธเจ้าที่ว่าไม่ให้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
#1
โพสต์เมื่อ 13 December 2009 - 07:52 PM
จึงขอถือโอกาสอธิบายขยายความสักเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างชัดเจนขึ้นน่ะครับ คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า วาจาใด ไม่จริง ไม่สุภาพ ไม่เป็นประโยชน์ และไม่มีเจตนาดีในการพูด ตถาคตจะไม่กล่าววาจานั้น ส่วนวาจาใด จริง สุภาพ ประโยชน์ และมีเจตนาดี(ในการพูด)ด้วย ตถาคตรู้กาล(กาละเทศะ) ที่จะกล่าววาจานั้น
นี่คือ หลักของวาจาสุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงใช้เป็นแนวทางในการเทศน์สอนน่ะครับ หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า การที่พระพุทธองค์จะทรงกล่าววาจาใดออกมา พระพุทธองค์จะทรงดูกาละเทศะที่จะกล่าววาจานั้นๆ ด้วยครับ นั่นคือ พระองค์ทรงดูว่า กลุ่มผู้ฟังเป็นใคร เป็นผู้ยังสร้างบารมีอยู่ เช่น เป็นผู้ครองเรือน หรือ เป็นพระภิกษุผู้ใกล้จะหมดกิเลสแล้ว วาจาที่ใช้ในการเทศน์สอนก็จะต่างกันไป
ในกลุ่มผู้ครองเรือนก็ยังแบ่งเป็น ชาวบ้านธรรมดาๆ ขุนนาง กษัตริย์ ซึ่งการเทศน์สอนของพระพุทธเจ้าก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับผู้ฟังแต่ละระดับด้วยครับ
ทีนี้มาพูดกันเฉพาะผู้สร้างบารมี กับผู้ใกล้จะหมดกิเลสดีกว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าต่อคนสองกลุ่มนี้ก็จะมีส่วนที่ต่างกันอยู่หลายประการ เช่น ถ้าผู้ยังสร้างบารมี พระพุทธองค์จะทรงเทศน์ว่า จงหมั่นสั่งสมบุญไว้เถิดประเสริฐนัก แต่พอเทศน์กับพระภิกษุผู้ใกล้จะหมดกิเลส กลับทรงสอนว่า จงปฏิบัติตัวให้เป็นผู้ไม่มีบุญและบาป เป็นต้น
เอ๊ะ แล้วมันไม่ขัดแย้งกันหรือ คำตอบคือ ไม่ครับ อุปมาให้เข้าใจได้ ดั่งคนแล่นเรือเข้าหาฝั่ง หากเรายังแล่นเรืออยู่กลางทะเล เราจะได้ยินอาจารย์แล่นเรือสอนว่า จงรักษาเรือยิ่งชีวิต เพื่อใช้มุ่งหน้าสู่ฝั่ง
แต่พอเราแล่นเรือใกล้จะถึงฝั่ง เราจะยินคำสอนอีกแบบ คือ จงรีบทิ้งเรือ แล้วรีบวิ่งเข้าสู่ฝั่ง
เป็นไงพอเข้าใจหรือยังครับ จังหวะและเวลาเป็นสิ่งสำคัญในคำสอนแต่ละท่อน หากยังสร้างบารมีอยู่ก็จงรีบสั่งสมบุญ แต่หากบารมีใกล้จะแก่รอบ(เต็มเปี่ยม) ก็ควรละทั้งบุญและบาปมุ่งสู่ฝั่งพระนิพพานนั่นเอง
พระพุทธเจ้าท่านเข้าใจตรงนี้ดี เพราะท่านเห็นกำลังบุญบารมีของแต่ละคน ท่านจึงสอนได้ตรงกับจังหวะและเวลาของคนนั้นๆ ส่วนผู้ที่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ หรือ ผู้ที่ได้อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้าที่นักเรียนอนุบาลท่านอื่นๆ นำมาโพส ก็ให้พิจารณาให้ถ่องแท้ว่า คำสอนท่อนนี้ พระพุทธเจ้ากำลังเทศน์สอนกับผู้มีบารมีระดับไหนอยู่น่ะครับ
อารัมภบทมานาน ก็เข้าเรืองเลยนะครับ(แหะ แหะ) เกี่ยวกับเรื่องคลุกคลีหรือไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะนั้น ก็ทำนองเดียวกับคำสอนเรื่องการแล่นเรือเข้าหาฝั่งในแต่ละจังหวะเวลานั้นเอง
หากหมู่คณะใดยังคงอยู่ในระหว่าง การสร้างบุญสร้างบารมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่ร่วมกันในหมู่คณะอย่างมีคุณธรรม เพื่อจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข นั่นคือ สังคหวัตถุ 4 ทาน(การให้) ปิยวาจา(พูดจาดีๆ) อัตถจริยา(ร่วมแรงร่วมใจ) สมานัตตา(เสมอต้นเสมอปลายต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง)
แต่หากผู้ใดที่สร้างบารมีจนใกล้จะถึงเป้าหมาย คือ พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนให้เว้นการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เพื่อจะได้ปฏิบัติธรรมจนหมดกิเลสเข้าพระนิพพานโดยเร็ว ตามเป้าหมายที่ผู้นั้นตั้งใจไว้เองแต่เดิมนั่นเองครับ
อ้าวแล้วพวกเราล่ะ ควรทำอย่างไร อ๋อ ก็ถ้านักเรียนคนใดมีเป้าหมายอยากจะหมดกิเลสโดยเร็วพลัน ก็ให้ทำตามคำสอนนี้ครับ คือ บวชเป็นพระ แล้วปลีกวิเวกปฏิบัติธรรมตามลำพัง เพื่อมุ่งหมดกิเลส
ซึ่งเปรียบเสมือน คนแล่นเรือ ที่อยากแล่นเข้าสู่ฝั่งโดยไว ก็ให้ปลีกเรือจากหมู่คณะ(ที่อาจจะยังชักช้าอยู่) แล้วรีบรุดแล่นเรือเข้าสู่ฝั่งตามลำพังไปเลย
แต่ถ้านักเรียนท่านใดมีเป้าหมายจะติดตามไปสร้างบารมีร่วมกับหลวงพ่อและหมู่คณะเพื่อมุ่งไปสู่ที่สุดแห่งธรรม(สรรพสัตว์บรรลุธรรมหมดจักรวาล) ก็ให้คลุกคลีด้วยหมู่คณะอย่างมีคุณธรรม คือ สังควัตถุ 4 ค้ำจุนจิตใจ จะได้พ้นภัยจากการกระทบกระทั่งกันในหมู่คณะนั่นเองครับ
ซึ่งเปรียบเสมือน การแล่นเรือเป็นหมู่คณะคอยไปตามเก็บตกผู้ที่กำลังลอยคอในทะเลทุกข์ เพื่อจะไปสู่ฝั่งด้วยกันทั้งหมด ก็จะต้องรอๆกัน เพื่อให้หมู่คณะไปหาผู้ที่ยังแย่อยู่ แล้วจะได้ไปพร้อมๆ กันไงล่ะครับ
#2
โพสต์เมื่อ 13 December 2009 - 08:04 PM
#3
โพสต์เมื่อ 13 December 2009 - 09:31 PM
อ่านแล้วน้ำตาจะไหล
" ปราบมาร "
#4
โพสต์เมื่อ 13 December 2009 - 09:50 PM
สาธุ สาธุ สาธุ..ครับ ท่านหัดฝัน
เวปบอร์ทั้งไทย และเทศ มีที่ DMC เวบบอร์ดนี่แหละที่ขัดแย้งกันน้อยที่สุด ครับ เพราะเรามีครูบาอาจารย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ มีวัดที่ศักดิ์สิทธิ์
และมวลสมาชิกเราก็จะไม่ขัดแย้งกัน ว่าไงว่าตามกัน ดังธรรมะ ที่ท่านหัดฝันได้กล่าวมาข้างต้น
แต่นั่นก็คือ อุดมคติ ในทางปฎิบัติก็จะต้องพบกับความขัดแย้งกัน แม้จะไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
อ่านกระทู้แล้วก็อาจขัดแย้ง ขุ่น ก็อาจมี บุคคลหรือคู่ขัดแย้ง คือผู้ตั้งกระทู้ และผู้ตอบกระทู้
ประเด็นปัญหากระทู้ต่างๆ ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งและลุกลามไปเป็นความรุนแรงได้ เคยมีมาแล้วจ้ะ เป็นกลุ่มใหญ่ทีเดียว
หลวงพี่หลายรูปท่านเหนื่อยทีเดียว
เพราะอะไรครับ.....
ก็เพราะผู้คนที่เกี่ยวข้องก็ต่างยืนกรานในจุดยืนของตน ผมเคยไปนั่งฟังมาแล้วที่สภาฯ
ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องความขัดแย้งที่ระคนด้วยหมู่ในเวปบอร์ด ก็ต่างยึดมั่นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ประการนี้คือ
1.ตัณหา คือความยึดมั่นในผลประโยชน์ ไม่อยากสูญเสียผลประโยชน์
เช่น ต้องการทำอย่างที่ตนคิด ต้องการหาแนวร่วม และอีกหลายประเด็นไม่อาจเอ่ยได้จ้ะ
2.มานะ คือความถือตน ยึดถือในศักดิ์ศรี และอยากมีอำนาจ เช่น ต้องการให้หน่วยงานของตนมีอำนาจและเจ้าหน้าที่เหมือนเดิม
รวมไปถึง ไม่ยินยอมเพราะกลัวเสียหน้า
3..ทิฏฐิ คือความยึดมั่นในความเชื่อของตน เชื่อมั่นว่าความคิดของตนถูกต้อง เช่น เห็นว่าวิธีการของตนเท่านั้นถึงจะแก้ปัญหาได้ มองว่าความคิดของคนอื่นผิดหมด
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าปปัญจะ ๓ คือกิเลส ๓ ประการที่ทำให้เนิ่นช้า
เป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งยังทำให้ปัญหาค้างคาเนิ่นนานออกไป
เนื่องจากเป็นตัวการขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริง หรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกต้องได้
โดยเหตุที่ประเด็นปัญหาและข้อเรียกร้องส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางวัตถุอำนาจหรือศักดิ์ศรี
ความเชื่อ ทั้ง ๓ ประการ ในสัดส่วนที่มากบ้างน้อยบ้างดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
ดังนั้นความติดยึดของบุคคลหรือคู่กรณีในความขัดแย้งจึงมิได้มีแค่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างใดอย่างหนึ่ง
หากมีกิเลสทั้ง ๓ ประการผสมผสานกันมากบ้างน้อยบ้างตามลักษณะของประเด็นปัญหาหรือข้อเรียกร้อง ซึ่งก็มักจะไม่ได้อย่างคิดทั้งสองฝ่าย
นอกจากความติดยึดในสิ่งที่ตนมีหรืออยากมีอันได้แก่ตัณหา มานะ ทิฏฐิ แล้ว
สิ่งที่ต้องคำนึงในการทำความเข้าใจกับกรณีขัดแย้ง ที่เกิดจากการระคนด้วยหมู่คณะ คือทัศนคติ
ในระหว่างคู่ขัดแย้ง อันได้แก่อคติที่มีต่อกัน ซึ่งทำให้ความขัดแย้งลุกลามได้ง่ายมากครับ ในสังคมไซเบอร์ หรือ สังคมทั่วไป
อคติดังกล่าวได้แก่ โทสาคติ อคติเนื่องจากความเกลียดชัง ภยาคติ อคติเนื่องจากความกลัว
โมหาคติ อคติเนื่องจากความหลงหรือความไม่รู้ และ ฉันทาคติ คือพวกฉัน
อคติ ๒ ประการแรกจะมีอยู่มากในความขัดแย้งทั่วไป
ทั้งนี้โดยมีความหลงหรือความไม่รู้เป็นตัวปรุงแต่งหนุนเสริมให้อคติ ๒ ประการดำรงอยู่หรือเพิ่มพูนมากขึ้น
เช่น การไม่รู้จักกัน แค่เคยรู้ชื่อกันในเวปบอร์ด หรือการได้ยินคำร่ำลืออย่างผิด ๆ
ก็ทำให้ต่างฝ่ายต่างวาดภาพอีกฝ่ายไปตาม จริตตนเอง
ฉันทาคติ คือความลำเอียงเพราะชอบ ก็มีอิทธิพลต่อความขัดแย้งด้วยเช่นกัน
แม้จะไม่ได้มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีโดยตรง แต่ก็มีผลต่อผู้คนที่สนับสนุนคู่กรณีแต่ละฝ่าย
บ่อยครั้งการให้ความสนับสนุนคู่กรณีแต่ละฝ่ายมิได้เกิดจากความเข้าใจในปัญหาหรือเกิดจากวิจารณญาณ แต่เกิดจากความชอบพอกันเป็นส่วนตัว หรือชอบที่มีความเชื่อคล้ายกัน มีอาชีพเหมือนกัน พูดง่าย ๆ คือเป็น “พวก”เดียวกัน อันนี้ก็เคยมีที่คนนอกสังคม DMC เข้ามาแล้วเตลิดไปเลยก็มี
ทั้งอคติ ๔ ประการ และความติดยึด ๓ ประการนี้ หากจะสรุปรวมสั้น ๆ
ก็คือสิ่งที่พุทธศาสนาเรียกว่าอกุศลมูลนั่นเอง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานในความขัดแย้งทุกชนิด
จะเห็นได้ว่ากรณีขัดแย้งนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของเหตุผลล้วนๆ
หรือเป็นเรื่องถูกเรื่องผิดเท่านั้น หากยังมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ในการวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจกับความขัดแย้งต่าง ๆ
เราจึงไม่อาจละเว้นการทำความเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ดังกล่าวในตัวคู่ขัดแย้งได้
กระผมจึงขอกราบเรียนเพิ่มเติม ท่าน จขกท. แต่เพียงเท่านี้
ด้วยความเคารพในธรรม ครับ
ขอให้ทุกท่านมีธรรมะที่สว่างไสว นะครับ
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม
#5
โพสต์เมื่อ 14 December 2009 - 01:25 AM
พิจารณาตัวเอง :
คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร
ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร
.....คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น
เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง
[ คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน : หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ]
#6
โพสต์เมื่อ 14 December 2009 - 02:16 AM
#7
โพสต์เมื่อ 14 December 2009 - 11:54 AM
สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ
ลูกพระธัมฯ หลานหลวงปู่ หลานคุณยาย
#8
โพสต์เมื่อ 14 December 2009 - 12:26 PM
ทำไมถึงคิดว่ามีผลดี ก็เนื่องมาจาก ผมเคยย้อนนึกถึงตัวเองสมัยตอนเพิ่งเริ่มมาศึกษาพระพุทธศาสนาตามตำรับตำราต่างๆ ใหม่ๆ พร้อมๆ กับมาสร้างบารมีกับหมู่คณะควบคู่ไปด้วย หลายๆ ครั้งที่คนใหม่อย่างผม(ในตอนนั้น) เกิดความสับสนในชีวิตอย่างมาก เพราะทั้งๆ ที่ก็ช่วยงานอาสาสมัครรับบุญในวัดมากมาย ทำแล้วก็ล้วนปีติใจ แต่พอไปอ่านในข้อเขียนบางเนื้อหา บอกว่า เป็นแนวทางที่ผิด พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ทุ่มเทในบุญเป็นหมู่คณะใหญ่ขนาดนี้ ทรงสอนให้ละทั้งบุญและบาป มุ่งสู่ความหลุดพ้นต่างหาก แนวทางนี้เป็นอีกนิกายแล้ว ไม่ใช่เถรวาท
ตอนนั้น ผมซึ่งเป็นคนใหม่ ศึกษาพระพุทธศาสนาได้ไม่นาน รู้สึกเกิดความสับสนในชีวิตมาก เพราะในเนื้อหาข้อเขียนนั้นๆ ก็อ้างคำสอนของพระพุทธเจ้าท่อนๆ นั้นมายืนยันด้วย ครั้นจะไปศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งหมดให้จบในเวลาอันสั้น ก็ทำไม่ได้ เพราะสติปัญญายังไม่ถึงขั้นนั้นน่ะครับ
จนกระทั่งเมื่อเวลาผ่านๆไป ผมได้มีโอกาสศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าเพิ่มมากขึ้น ได้บำเพ็ญบารมีเพิ่มพูนขึ้น ในที่สุดก็เลยเข้าใจถึงจังหวะเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์สอนธรรมะให้แต่ละเรื่องน่ะครับ ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเช่นกัน
นึกถึงตัวเอง เมื่อครั้นยังใหม่ แล้วสับสนในชีวิตเวลาอ่านคำสอนในส่วนที่ต่างไปจากแนวปฏิบัติปัจจุบัน(ในตอนนั้น) เกิดเลยคิดว่า ไม่อยากเห็นนักเรียนใหม่ของหมู่คณะเรา ต้องประสบภาวะอย่างที่ผมเคยประสบมาในอดีต เลยโพสกระทู้นี้ขึ้นมาถ่ายทอดให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจน่ะครับ
ส่วนถ้าหากถูกมองว่า เป็นการเสนอแนวคิดที่ขัดแย้ง อาจบานปลายไปถึงขั้นทะเลาะกัน ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ครั้งต่อๆไป จากพยายามอธิบายรายละเอียดมากว่านี้ครับ
#9
โพสต์เมื่อ 14 December 2009 - 12:54 PM
#10
โพสต์เมื่อ 14 December 2009 - 09:33 PM
#11
โพสต์เมื่อ 15 December 2009 - 02:44 PM
ขอสาธุในคำที่กล่าวดีแล้วของเจ้าของกระทู้และเพื่อน นรอ ทุกท่านด้วยนะครับ
#12
โพสต์เมื่อ 15 December 2009 - 10:54 PM
หลวงพ่อเคยให้โอวาทไว้(ประมาณ)ว่า "แสวงจุดร่วม สมานจุดต่าง" และให้ จับดี เพราะฉะนั้นถ้าเจอที่เสียๆ ก็อย่าไปจับ ...เท่านี้ก็สิ้นเรื่อง
ปล. อยากให้เว็บนี้เป็นเว็บสีขาวอย่างแท้จริง ไม่มีคำพูดหยาบคาย หรือด่าทอค่ะ หรือกล่าวหาว่าร้าย
ปล2. ดูวัตถุประสงค์ของเว็บบอร์ด http://www.dmc.tv/fo...showtopic=20419
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#13
โพสต์เมื่อ 17 December 2009 - 01:21 AM