มีเพือนสงสัยเรื่องบุญ
#1
โพสต์เมื่อ 03 September 2010 - 10:55 PM
#2
โพสต์เมื่อ 03 September 2010 - 11:08 PM
เห็นว่าจะทำให้เห็นภาพของความสัมพันธ์ระหว่างการทำบุญทั้งสามแบบได้ดี (ทาน ศีล ภาวนา)
--------------------------------------------------------------------------------------
การให้ทาน จะส่งผล ให้เราได้ทรัพย์สมบัติ คือ เป็นคนรวย
การรักษาศีล จะส่งผล ให้เราได้รูปสมบัติ สุขภาพสมบัติ และวัยสมบัติ คือ ร่างกายสมส่วนไม่พิการ สุขภาพแข็งแรง อายุยืน
การเจริญภาวนา จะส่งผล ให้เรามีสติปัญญามาก จนสามารถหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์พ้นทุกข์ทั้งปวงได้
ทำไม การรักษาศีล จึงได้บุญมากกว่า การทำทาน นั่นเป็นเพราะ อวัยวะ,สุขภาพ,อายุ กับ ทรัพย์ อะไรสำคัญกว่าล่ะครับ รวยแต่พิการ เหมือน ชายน้อย เรื่อง พจมาน เอามั้ยครับ หรือ รวยแต่ป่วยเรื้อรัง เอามั้ย หรือ รวยแต่อายุสั้น ถูกล๊อตเตอรี่วันนี้ พรุ่งนี้ตายล่ะเอามั้ย ดังนั้น ศีลจึงได้บุญมากกว่า ทาน เพราะเหตุนี้
ทำไมเจริญภาวนา จึงได้บุญมากกว่าทั้งหมด ก็เพราะทำให้พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ไงครับ ถ้ารวยแต่โง่ หรือ หล่อแต่โง่ เอามั้ย ย่อมไม่มีใครเอา เพราะปัญญาเท่านั้น ที่จะนำพาเราพ้นทุกข์ได้จริง แต่ต้องเป็นปัญญาที่ผ่านการฝึกสมาธินะครับ ไม่ใช่ปัญญาที่นึกๆ คิดๆ ธรรมดาๆ
เงื่อนงำ มันอยู่ตรงนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่า รักษาศีลแล้ว ได้เงินทองมากกว่า ให้ทาน แต่ได้อวัยวะความแข็งแรงอายุยืน ดีกว่า ทรัพย์จากการให้ทาน น่ะครับ ดังนั้น คนแต่งบทความจึงควรสรุปข้อมูลปิดท้ายว่า แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็ต้องทำทั้ง 3 อย่าง เพราะ ถ้าฉลาด สวย หล่อ แต่ยากจน มันก็เอาเรื่องเหมือนกันใช่มั้ยครับ
(คัดลอกจากคำตอบของพี่หัดฝัน)
------------------------------------------------------------------------------------
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#3
โพสต์เมื่อ 03 September 2010 - 11:12 PM
ขอฝากข้อคิดให้พิจารณา สักนิดนะครับ
ได้
แต่
ชีวิต ที่ยังต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในระหว่างเดินทางผจญภัยในสังสารวัฎฎ์
จะมีอุปสรรค เยอะนะครับ
โดยย่อ คือ
ทาน ส่งผลให้รวย ทรัพย์
ศีล ส่งผล ให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สวย งาม โรค ไข้ อาพาธ มีน้อย
ภาวนา สมาธิ ส่งผลให้ฉลาด มีปัญญา
ถ้าคุณ เกิดมามีร่างกายไม่สมประกอบ เพราะไม่ตั้งใจรักษาศีล ๕ ให้ดี มีโรคเยอะ เพราะเคยเบียดเบียดสรรพสัตว์ ( ทุศีล )
อยู่ในครอบครัวที่ยากจน ขัดสน กิน อยู่ไม่่สะดวกสบาย ( ทานบารมีหย่อน )
แต่ มีความฉลาดเยอะ (ภาวนา สมาธิไว้มาก)
ซึ่งก็ไม่แน่ว่า จะใช้ความฉลาด ไปในทางกุศล หรือ อกุศล
ถ้าความยากจน บีบคั้นมาก ๆ แล้วเลือกใช้ความฉลาดไปในทางเอาเปรียบ เบียดเบียนคนอื่น ก็ก่อเวรอีกเยอะ สร้างอกุศลกรรมบทอีกเยอะ
ถ้าชอบ หรือยอมรับความไม่สมบูรณ์ ความเสี่ยง ตรงนี้ได้
คู่ครอง ครอบครัว คนรอบตัวคุณ ยอมรับความไม่สมบูรณื ความเสี่ยง ตรงนี้ได้
ก็ทำตามอัธยาศัยเถิดครับ
มีตัวอย่างบุคคลในอดีตมากมาย ที่ปรากฎในหลาย ๆพระสูตร
ที่กว่าจะหลุดพ้นจากภพ ๓ กว่าจะบรรลุมรรค ผล นิพพาน
ชีวิตรันทดก็เยอะ ชีวิตที่ราบรื่นก็เยอะ
พระอรหันต์ บางรูป ทานบารมีหย่อน อาหารมื้อสุดท้ายก่อนดับขันธ์ ก็ยังต้องอาศัย พระสารีบุตร ยืนอุ้มบาตรให้
เพราะไม่งั้น ภัตตาหาร อันตรธาน เพราะวิบากบาปยังรังแก
หรือ ท่าน พาหิยะ แม้จะบรรลุอรหัตผลแล้ว ไม่มีผ้า มาขอบวช ท่านไม่ได้โอกาส ครองผ้ากาสาวพัตร์ ชุดสุดท้ายในสังสารวัฎฎ์
ดังนั้น สมควรทำดีให้ครบ ทั้ง ทาน ศีล ภาวนา ครับ
มงคลชีวิต ๓๘
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=9099
#4
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 12:15 AM
..เพื่อไปถึงจุดที่สูงขึ้นไป สะอาดกาย วาจา และใจ และไปให้ถึงความสว่างอันเป็นประตูแห่งความหลุดพ้นนั่นเอง
#5
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 02:00 AM
ทำทานทำให้มีเสบียง รักษาศีลทำให้ได้กายมนุษย์ นั่งสมาธิทำให้หลุดพ้น
ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม
http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html
หนังสือเรียนธรรมะ DOU http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html
GL 101 จักรวาลวิทยา http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์ http://book.dou.us/gl305.html
#6
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 12:36 PM
#7
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 12:46 PM
1. ตัวอย่างของผู้ที่เด่นเรื่องภาวนา แต่พร่องเรื่องศีล
- พระอรหันต์ที่บรรลุธรรมในปากเสือ คือ บรรลุธรรมแล้วถูกเสือกิน แสดงว่า ชาติในอดีต เคยไปฆ่าสัตว์ไว้
- พระที่คิดจะฆ่าตัวตาย ก่อนตายบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แสดงว่า ชาติในอดีต เคยฆ่าตัวตาย
- พระที่ถูกเขาว่าแล้วน้อยใจจะไปฆ่าตัวตาย แต่ก่อนจะลงมือ พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดเลยบรรลุธรรม แสดงว่า ชาติในอดีต เคยพูดให้คนน้อยใจจนคิดฆ่าตัวตาย
- พระที่ตัวเตี้ยแคระ แต่ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรม แสดงว่า ชาติในอดีต เคยสร้างเหตุให้ตัวเตี้ยแคระ
ท่านเหล่านี้ ชาติในอดีต ล้วนทำภาวนามาดีทั้งสิ้น จึงสามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินี้ แต่หย่อนเรื่องศีล ก่อนบรรลุธรรมเลยมีเหตุข้างต้น
2. ตัวอย่างของผู้เด่นเรื่องภาวนา และศีล แต่หย่อนเรื่องทาน
- พระที่ยากจนแล้วมาบวช พอฉันอิ่มนอนหลับก็อยากสึก แต่ก็จะคิดทบทวนว่า สึกไปก็ต้องไปลำบากยากจนอีก สอนตัวเองเรื่อยๆ จนบรรลุธรรม
- พระที่อดอยากจนกระทั่งบรรลุธรรมก็ยังอดอยาก ได้กินอิ่มตอนมื้อสุดท้าย
3. ตัวอย่างของผู้เด่นเรื่องทาน และศีล แต่ขาดภาวนา
- สามีภรรยาในอดีตที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าบวชในวัยหนุ่มสาว หรือ กลางคนจะได้บรรลุธรรม หรือ ถ้าตั้งใจทำงานจะได้เป็นเศรษฐีอันดับต้นๆ แต่กลับหลงระเริงไปกับอบายมุข จนแก่ชรา หมดเนื้อหมดตัวต้องกลายเป็นขอทาน ทั้งนี้เพราะหย่อนปัญญาบารมี (ภาวนา)
- เราๆ ท่านๆ ทั้งหลาย ที่ยังไม่บรรลุธรรมกันไงล่ะครับ ต้องทนทุกข์ในวัฏฏะกันไปอีกยาวนาน แม้จะมีทรัพย์ และอวัยะวะครบถ้วนก็ตาม (ปล.ขออภัยสำหรับผู้บรรลุธรรมแล้ว แต่ตั้งเป้าหมายที่สุดแห่งธรรมนะครับ เพราะท่านเหล่านี้ไม่นับในตัวอย่างข้อนี้)
#8
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 02:11 PM
พอดี เป็นน้องใหม่นะคะ เพิ่งเริ่มสร้างบารมี แต่ก็อยากทำบุญได้เยอะ ๆ
เคยคิดเหมือนคุณ ตำราวจรักบุญ แต่ตอนนี้เริ่มเข้าใจแล้วคะ
ว่าคำว่าเต็มที่เต็มกำลังของแต่ละคน ไม่เท่ากันเนาะ...
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและกำลังใจดี ๆ ที่ทุกท่านมีให้แก่กัน
ซึ่งตัวดิฉันเองที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วยแต่ก็ได้รับผลบุญจากคำแนะนำดี ๆ นั้นด้วย
ขอบคุณหลายเด้อ... สาธุคะ
#9
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 03:52 PM
ทำทาน-> มีกินมีใช้
ทำแต่สมาธิจะมีกินมีใช้ไหม คิดเอา ขนาดว่าทำแต่ข้าว แต่ไม่เคยถวายน้ำ ในวิมานยังหาน้ำกินไม่ได้เลย
#10
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 05:42 PM
อย่างที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ แรกเริ่มต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างเป็น "เข็มทิศ-นำทาง" ได้แก่...
1. การให้ทาน เพื่อให้ตัวเราละซึ่งกิเลสอาสวะ ลดความเห็นแก่ตัวลง
เปรียบเป็นแสงสว่างแก่ดวงตาให้มนุษย์เห็นธรรมะก่อนในเบื้องต้น..แล้วถึงจะไปที่ข้อ 2
2. การรักษาศีล คือ การสำรวมในกาย วาจา ใจให้เรียบร้อยเป็นปกติในการปฏิบัติธรรม
คือ "นิ่งหยุดที่ศูนย์กลางกลายฐานที่ 7" เมื่อหยุดแล้วซึ่งการมุ่งร้ายพยาบาทต่อกัน..ข้อที่ 3 ก็จะตามมา
3. การเจริญภาวนา คือ การพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้ง จัดว่าเป็นแก่นแท้และเป็นการสร้างบุญบารมีสูงสุด
ถ้าเราทำทานอย่างเดียว ไม่สวดมนต์ และไม่ปฏิบัติธรรม เหมือนเรามีแต่ "บุญหยาบ"
การนั่งธรรมะก็ไม่เกิดสติและปัญญา ซึ่งเป็น "เข็มทิศ" คอยนำทาง ซึ่งเป็นหนทางสู่นิพพานก็เป็นไปได้ยาก
#11
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 08:31 PM
บุญในการทำสมาธิมีอานิสงส์มากสุดหรือ ?
คิดว่าใช่ถ้าทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า "ใจหยุด หยุดใจได้เข้าถึงพระธรรมกาย"
แต่หากทำสมาธิในขั้นที่ยังฝึกฝนตนเองให้ใจหยุดแต่ยังหยุดไม่ได้ก็ได้บุญแต่อย่าหวัง
อานิสงส์หรือผลมากมายนักเพราะถ้าเปรียบไปมะม่วงยังดิบมีรสเปรี้ยว ต้องสุกก่อนถึง
จะได้รสหวาน
การทำบุญจะได้บุญมากบุญน้อยหรือมีอานิสงส์มากอานิสงส์น้อยมีตัวแปรที่สำคัญยิ่ง
คือศีล บุญจะทับทวีคูณหรือลดน้อยถอยลงได้มากมายก็เพราะศีล เปรียบเหมือนภาชนะ
ทีรองรับบุญเป็นขันใบเล็ก ๆ หรือเป็นชะลอมใบใหญ่ไปตักตวงบุญที่เปรียบบุญเหมือนน้ำ
ศีลเหมือนยาชันอุดรูรั่ว น้ำถึงจะอยู่ในชะลอมได้ ทานที่ทำลงไปถ้าเปรียบเหมือนปลูกต้น
มะม่วงและหวังว่าจะได้ผลมะม่วงหวาน ก็ต้องผ่านขั้นตอนไปตามลำดับเลือกพันธุ์ให้ถูก
ถ้าเปรียบเป็นหวังบุญก็ต้องเริ่มแต่เลือกพันธุ์เช่นกัน เลือกสัมมาทิฏฐิ (เดินตามมรรคแปด)
เมื่อได้พันธุ์ดีแล้วก็ต้องปลูกดูแลบำรุงรักษาให้เจริญเติบโต ก็เหมือนการทำทาน รักษาศีล
ทานก็เหมือนปุ๋ย เหมือนอาหารต้นไม้ ศีลก็เหมือนการรักษาไว้ให้ได้คุณภาพดี ป้องกันสิ่งไม่ดี
เช่นปลวก น้ำเน่า ปุ๋ยปลอม ฯลฯ เพราะทุกอย่างย่อมมีผลกระทบต้นมะม่วงและผลมะม่วง(สมาธิ)
แน่นอน เลี้ยงดูแลดีก็จะให้ผลดีเมื่อถึงเวลาจะออกดอกออกผลตามคาดหวัง จะเห็นได้ว่าอยู่
ที่การประกอบเหตุดีก่อนถูกต้อง อาศัยเวลาถึงเวลาออกผลก็ได้ผลดีเหมือนกับการทำทาน
รักษาศีล และเจริญภาวนานั่นเองต้องอาศัยกันและกันเหมือนปลูกมะม่วงจะได้ผลมะม่วงนั่นเอง
ธรรมะก็เช่นกันเมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้วจะแยกพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
ออกจากกันไม่ได้ อยู่ด้วยกันแต่ทำหน้าที่ต่างกัน เฉกเช่นเดียวกัน ทาน ศีล ภาวนา ต้องทำไป
ด้วยกัน เหมือนมีบันไดขั้นที่๑ จึงจะมีขั้นสุดท้ายหรือมีมงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล ไปถึงขั้นสุดท้าย
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม (หมดกิเลส)
................................
ถ้าเราคิดว่าสมาธิสุดยอดบุญแล้วไม่ทำอย่างอื่น ระวังจะกลายเป็นหินทับหญ้า(กิเลสมันซ่อนอยู่
ถูกกดทับอยู่ รอโอกาสงอกงามเมื่อยกหินออก) เพราะทานเป็นการให้เพื่อขจัดความตระหนี่
(โลภะ), ศีล เป็นการรักษาคุณภาพความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ สิ่งแวดล้อม(โทษะ), และภาวนา
เป็นการทำให้เกิดปัญญาทางธรรมไม่หลง(โมหะ) แต่หากไม่ยึดหลักมรรคแปดในการปฏิบัติ
ก็เหมือนจะเอาผลมะม่วงหวานแต่ไม่ทำการเพาะปลูกให้ถูกหลัก ต้นมะม่วงจะออกผลได้อย่างไร
ก็อยู่ที่ใจของเราออกแบบชีวิตตัวเอง
#12
โพสต์เมื่อ 04 September 2010 - 08:50 PM
ทานทำให้ รวย รวยแล้วสร้างบารมีได้ง่าย ถ้าไม่เชื่อลองไปจนดูซิ!
ศีล ทำให้สวย(หล่อ) ทำให้ได้กายมนุษย์(การมาเกิดได้กายมนุษย์เป็นของยาก) กายเดียวที่จะได้ลักษณะมหาบุรุษเข้าถึงธรรม
ได้ง่าย กายนี้สร้างทานบารมีได้ด้วยตัวเอง (เริ่มที่บารมี ๑๐ ทัศ เดินตามรอยบาทพระศาสดา)
ภาวนา ทำให้ฉลาด รู้และเข้าใจวิชชาชีวิต เดินไปสู่ความหลุดพ้นทุกข์ เห็นอริยสัจสี่
#13
โพสต์เมื่อ 05 September 2010 - 02:40 AM
ต้องขอร่วมอนุโมทนาบุญกับ จขกท ในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรด้วยนะครับ สาธุ
#14
โพสต์เมื่อ 05 September 2010 - 08:42 PM
#15
โพสต์เมื่อ 05 September 2010 - 11:12 PM
ลองดูแ้ล้วกัน
ทานศีล ไม่ได้ทำให้ล่วงพ้นจากวัฏฏสงสาร
แต่เป็นตัวเสริมให้การสร้างบารมีง่ายขึ้น
(สืบค้นได้จากพระไตรปิฎก หรือ ธรรมะเพื่อประชาชน ได้
ล้วนแต่แจ้งว่า มีผลทำให้ได้ มนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ
เพื่ออำนวยให้ได้นิพพานสมบัติในอนาคตหลังจากนั้นอย่างไร)
มีลำดับของการให้ผลของบุญที่ต่างกันของ ทาน ศีล ภาวนา
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือชื่อว่า " วิธีสร้างบุญบาีรมี"
เข้าใจว่าพระองค์ได้รวบรวมมาจากเนื้อหาที่แทรกในส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก
เป็นหนังสือที่แจกจ่ายเป็นธรรมทานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย
เคยโพสไว้ที่ ธรรมกถึก เมื่อสัก 3 ปีก่อน
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=12717
(ดาวน์โหลดไปอ่าน : http://www.fungdham....owtogetboon.pdf )
น่าเสียดายที่สมเด็จพระสังฆราชฯ มิได้ ทรงแจ้งอ้างอิงเอาไว้ ว่าได้นำมาจากส่วนใดของพระไตรปิิฎก
อย่างไรก็ดี ทางวัดพระธรรมกายได้พิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่ง เมื่อครั้งทำกฐินโมดูล
ก็เขียนลำดับของการทำบุญ ดุจเดียวกับที่สมเด็จฯ ได้นิพนธ์ เอาไว้
ชื่อหนังสือ "ชีิวิตออกแบบได้"
ตามลิงค์ด้านล่างนี้
http://www.kalyanami...tail.php?id=146
ต้องลองอ่านศึกษาด้วยตนเองดูค่ะ จากตำราเลยค่ะ
อย่างไรก็ดี
พระเดชพระคุณหลวงปู่สด ได้เทศน์เอาไว้ว่า "มันต้องมีสักชาติซี ที่ไ้้ด้ทำทานเอาไว้ มันจะไม่มีบ้างเชียวรึ บางชาติลามก บางชาติมันจะดีมั้งซี ไม่มีทำดีไว้เลยไม่มี " (คร่าวๆ ไม่ใช่ word by word )
นั่นหมายความว่า....
กรณีของมหาทุคขตะ ก็ไม่ใช่ว่าไม่เคยทำทานเอาไว้เลย แต่ชาติที่เป็นยาจกนั้นได้ทำทานกับพระพุทธเจ้า จึงทำให้บุญเก่าได้ช่องส่งผล ร่วมกับบุญใหม่ที่ทำอย่างตั้งใจและเต็มใจอย่างยิ่ง จึงเกิดผลอย่างจะนับจะประมาณมิได้
ซึ่งดิฉันเข้าใจเอาเอง(สุตตมยปัญญา จินตมยปัญญา นะคะ) ว่า
กรณีพระอรหันต์บางรูปก็เช่นกัน แต่บาปได้โอกาสส่งผลตัดรอนก่อน
ทำให้มีโอกาสได้ยากหรือไม่มีโอกาส ที่จะได้เสวยผลทานที่ท่านได้ทำไว้ในอดีตๆๆๆ ชาติ
จึงดูเหมือนว่า ท่านต้องปรินิพพาน ทั้งที่จนมากๆ
ในกรณีของคุณยาย หลวงพ่อ สมัยที่สร้างวัดพระธรรมกาย ก็ไม่มีเงินเหมือนกันค่ะ
หลวงพ่อเล่าหลายครั้งว่า
ไม่เห็นคุณยายท่านทำอะไร นอกจากนั่งหลับตาตามสมบัติ
ซึ่งดิฉันเข้าใจว่า การตามสมบัติที่เกิดจากทานในอดีตชาติที่ได้สั่งสมมา อย่างที่หลวงพ่อสอนนั้น
เมื่อเชื่อมโยงกับที่หลวงปู่สอน
ก็คือ เราล้วนมีบุญอามิสทานมาในอดีตชาติกันทั้งนั้น แต่มีกรรมมาบัง หรือ ช่วงชิงส่งผลก่อน บุญไม่มีโอกาส ไม่มีช่องส่งผล
ต้องใช้สมาธิช่วงเชื่อมบุญเก่า บุญใหม่
ดังที่หลวงพ่อได้เทศน์หลายครั้งว่า
การนั่งสมาธิ จะทำให้เชื่อมสายสมบัติ(วันนี้ก็พูด) เชื่อมสายบุญเก่า กับสายบุญใหม่ ให้มาต่อกัน
ครั้นว่า จะนั่งแต่สมาธิ ตามสมบัติ สมาธิ ก็ไม่ไปไหน ศีลก็ไม่ไปไหน
ก็ต้องมากรวดขันศีลของตนเอง เพราะศีลเป็นบาทฐานของสมาธิ
เหมือนใช้น้ำมันเครื่องชั้นดี ให้รถแรงขึ้น
ไม่ใช่น้ำมันเครื่องเก่าๆ(ศีลผุๆ) อะไรอย่างนั้น รถที่เปรียบเหมือนสมาธิ ย่อมแล่นได้ไม่เต็มที่ ฉะนั้น
จึงยืนยันตามหนังสือ 2 เล่มข้างต้น ว่า
สมาธิ ได้บุญมากกว่า ศีล
ศีล ได้บุญมากกว่า ทาน
แต่อย่างไรก็ดี....
ในกรณีของคนที่ไม่มีเงินจะทำทาน ก็ต้องทำอย่างยาย
ต้องนั่งธรรมะ ต้องกรวดขันศีล
แล้วก็ทำทานเท่าที่ััตัวเองมี ด้วยใจผ่องใส
เมื่อนั้น อามิสทาน ก็จะบริสุทธิ์
เพราะ ผู้ให้คือตนเอง บริสุทธิ์ จากศีลและภาวนา ที่ตนได้กระทำ
ทำให้สามารถ กลั่นไทยธรรมให้บริสุทธิ์ เพราะศีลและภาวนาแห่งตนเช่นกัน
ครั้นเมื่อมี ผู้รับบริสุทธิ์ ด้วย ก็ได้บุญมากเ้ป็นลำดับ
หากจะหาแต่เงินมาทำทาน ศีลไม่เอา ธรรมะไม่นั่ง ก็จะยากลำบาก
ประมาณว่า รอให้บุญเก่าชิงช่วงส่งผลเองตามยถากรรม ก็ไม่รู้เมื่อไรจะมาถึง
การรักษาศีล และ นั่งสมาธิ จึงช่วยส่งแบบนี้
และเช่นเดียวกับที่หลายๆ ท่านอธิบาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่ใช่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
(บางวัดไม่เน้น ทานเลย เน้นปฏิบัติบูชา แต่วัดเราเ้น้นทุกอย่าง เขากลับมองเห็นว่า เราเน้นแต่ทาน )
อย่างไรก็ตามแต่....
คนที่ไม่เงิน ก็อย่าลืมว่า เรามีวิธีตามเงิน ด้วยการปฏิบัติที่สูงกว่า อามิสทาน คือ การปฏิบัติบูชา ด้วยศีล และ สมาธิ นั้นเอง
เมื่อเกิดบุญธาตุที่มากพอต่อสิ่งที่ต้องการ อธิษฐานด้วยใจใสๆ หรือ เป็นกลางๆ ก็สำเร็จได้ง่าย
หรือแม้ไม่อธิษฐาน สายบุญเก่า มาเชื่อมบุญใหม่ ก็ส่งผลได้เอง
ไม่ต้องทุรนทุรายให้จิตกระเพื่อม ฟุ้งซ่าน อึดอัด คับแคบ แล้ว ก็รักษาศีลไม่ได้ นั่งธรรมะก็ไม่ได้
สรุป แย่ลงแย่ลง เพราะ บุญหาโอกาสส่งผลได้ยาก
ดึงมาได้แต่บาป ตามความหยาบของจิต ฉะนั้นเอย...
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#16
โพสต์เมื่อ 06 September 2010 - 10:05 AM
#17
โพสต์เมื่อ 06 September 2010 - 10:11 PM
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#18
โพสต์เมื่อ 18 April 2011 - 10:13 PM