มีคำถามที่ฝากให้เพื่อนสมาชิกเว็บพิจารณานะครับ...
.....ทำไมเราไม่ค่อยเห็นมีใครไปปรามาสศาสนาอิสลาม
.....ทำไมตัวเราเอง จึงไม่อยากไปแสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
คุณครับ มีคนทำเช่นนั้นแล้ว แต่เป็นไม่มีศาสนาไปทำ ซึงผมเห็นไม่เป็นการสร้างสรรค์แต่ประการใดเลย ที่จะมีเหตุให้ปรามาสศาสนาของเขา
ผมอยู่นอกวัดและในวัดมาก่อนจึงรู้วาศาสนาเราจะเสื่อมจากเหตุใด
1 พระ และพุทธบริษัท ไม่สนใจ ปฎิบัติธรรม แม้ปัฎบัติก็ไม่จริงจัง พระบวชไปแบบเปลืองข้าวสุก ไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ ทำกรรม ลามก
พุทธยริษัทเป็นผู้ คุยมาก ทำน้อย ไม่เชื่อ ในผลแห่งการปฎิบัติธรรม ปฎิเวธ จึงหายไป พระศาสนาย่อมเสื่อม
2 เมื่อไม่ปฎิบัติ ย่อม ให้เห็นตาม ปริยัธ จึงว่าและคำสอนแบบโลกๆ ทิ้งปริยัธกัน พระศาสนาจึงเสื่อมสูญไป
ขอชาววัดทั้งหลาย มาปฎิบัติในถึง พระธรรมกาย กันดีเถอะ เพื่อช่วยเหลือพระศาสนา เป็พยานของพระพุทธเจ้า ให้ปฎิเวธเจริญขึ้น ศาสนาย่อม เจริญขึ้นตาม
เจอพระปลอมก็ต้องแจ้ง องค์กรที่เกี่ยวข้อง อย่านิ่งดูดาย พระศาสนา ที่ สามเณรรูปเดียวที่ปฎับัติดีแล้ว ทำให้พระอโศก ช่วยพัฒนาพระศาสนาได้
คนที่ปฎิบัติดี เห็นปฎิเวธ ย่อมช่วยศาสนาได้เช่นกัน
พระศาสนาย่อมสลายของคนนอกได้ยาก คนในทำลายได้ง่ายกว่า
คนเปลี่ยนศาสนาไปจำนวนมากเพราะเหตุแห่งความเสื่อม ของการปฎิบัติของพุทธบริษัทที่ประพฤติตัว ลามก ต่ำช้า
มาช่วยพระศาสนา ชวนคนมาศึกษา ปฎิบัติให้จริง ให้เกิดปฏิเวธ ดีกว่า ย่อมทำให้ศาสนาพุทธเจริญเหมือนพุทธกาล
VIDEO
สมถ-วิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อสด
VIDEO
สัมมา อะระหัง 500 ครั้ง ไม่ต้องนับให้เสียเวลา
กำหนดฐานทั้ง ๗
ให้บริกรรมภาวนา ประคองบริกรรมนิมิตนั้นไว้ว่า “สัมมาอะระหัง” ตรึกถึงดวงที่ใส ใจหยุดอยู่กลางดวงที่ใส “สัมมาอะระหัง” ตรึกถึงดวงที่ใส ใจหยุดอยู่กลางดวงที่ใส “สัมมาอะระหัง” ตรึกถึงดวงที่ใส ใจหยุดอยู่กลางดวงที่ใส นิ่งอยู่ที่นั่น นี่ฐานที่ ๑ ฐานที่ ๒ เลื่อนไปที่เพลาตา หญิงอยู่ซีกข้างซ้าย ชายอยู่ซีกข้างขวา ตรงหัวตา ที่มูลตาออกมา ตามช่องลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วให้บริกรรมประคองเครื่องหมายที่เพลาตานั้นว่า “สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง” ๓ ครั้ง แบบเดียวกัน
แล้วเลื่อนเครื่องหมาย ตรงลำดับเพลาตา เข้าไปที่กลางกั๊กศีรษะข้างใน ไม่ให้ค่อนซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนกลางกั๊กพอดี ที่นี่เรียกว่า ฐานที่ ๓ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางกั๊กศีรษะข้างใน ว่า “สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง” ๓ ครั้ง
ตรงนี้มีลัทธิพิธี ต้องกลับตาไปข้างหลัง ให้ตาค้างเหมือนคนชักจะตาย เราหลับตาอยู่ช้อนขึ้นข้างบน เหลือกขึ้นข้างบน เหลือกไปๆ จนค้างแน่น ให้ความเห็นกลับไปข้างหลังแล้ว ค่อยๆ ให้เห็นกลับเข้าข้างใน
พอตากลับเข้าข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ ๓ นี้ไปเป็น ฐานที่ ๔ ที่ปากช่องเพดาน ที่รับประทานอาหารสำลัก อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม พอดี แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายในฐานที่ ๔ นั้นว่า “สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง” ๓ ครั้ง
แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ ๔ ไป ฐานที่ ๕ ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว ตั้งไว้ปากช่องคอ บริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า “สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง” ๓ ครั้ง
แล้วเลื่อนเครื่องหมายลงไป ฐานที่ ๖ กลางตัว สูดลมหายใจเข้าออก สะดือทะทุหลัง ขวาทะทุซ้าย กลางกั๊กข้างใน ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ใจหยุดนั่นทีเดียว ตั้งตรงนั้น เอาใจของเราจรดเข้าที่ดวงใสนั้น แล้วบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง” ๓ ครั้ง
แล้วถอยหลังจากฐานที่ ๖ มาที่เหนือกลางตัวเรานี้ขึ้นมา ๒ นิ้ว ฐานนั้นเรียกว่า ฐานที่ ๗ ฐานที่ ๗ นั้นมีศูนย์ ๕ ศูนย์ ๑.ศูนย์กลาง ๒.ศูนย์ข้างหน้า ๓.ศูนย์ข้างขวา ๔.ศูนย์ข้างหลัง ๕.ศูนย์ข้างซ้าย ศูนย์กลางคืออากาศธาตุ ศูนย์ข้างหน้า ธาตุน้ำ ศูนย์ข้างขวา ธาตุดิน ศูนย์ข้างซ้าย ธาตุลม ศูนย์ข้างหลัง ธาตุไฟ เครื่องหมายใสสะอาด คือ ช่องอากาศ ตรงนั้นเรียกว่า “ศูนย์”
ทำไมถึงเรียกว่า “ศูนย์” ตรงนั้น เวลาสัตว์ไปเกิดมาเกิดแล้วก็มาอยู่ในที่สิบ อยู่ในกลางดวงนั้น กายละเอียดอยู่ในกลางดวงนั้น เมื่อพ่อแม่ประกอบธาตุธรรมถูกส่วนเข้าแล้วก็ตกศูนย์ทีเดียว พอตกศูนย์ก็ลอยขึ้นมา ลอยขึ้นมาเหนือกลางตัว ๒ นิ้ว โตเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า นี่มันจะเกิดละ ตรงนั้นเรียกว่า ศูนย์
ศูนย์นั้นเป็นสำคัญนัก จะเกิดมาในมนุษย์โลกก็ต้องเกิดด้วยศูนย์นั้น จะไปนิพพาน ก็ต้องเข้าศูนย์นั้นไปเหมือนกัน จะไปสู่มรรคผลนิพพานก็เข้าศูนย์นั้นเหมือนกัน แบบเดียวกัน
จะตายจะเกิดเดินตรงกันข้าม ถ้าว่าจะเกิดก็ต้องเดินนอกออกไป ถ้าว่าจะไม่เกิด ก็ต้องเดินเข้าไป กลางเข้าไว้ หยุดเข้าไว้ ไม่คลาดเคลื่อน
ข้อแนะนำ
ทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้นมิให้เกิดความอยากมากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่น ตรึกระลึก นึกถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งดวงปฐมมรรคกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จและความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้า ไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย
ข้อควรระวัง
๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่นไม่บีบ กล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจาก ศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มิให้ เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิต เมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การ บังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
๓. อย่ากังวล ถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการ ฝึกสมาธิเจริญภาวนาวิชชาธรรมกาย อาศัยการน้อมนึก อาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อ เกิดนิมิตเป็นดวงสว่าง แล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ประการใด
๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์ กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้าย ฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจ บริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้ว ใสควบ คู่กันตลอดไป
๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก