เชิญสนทนาว่าด้วยเรื่อง มหากัป (๒)
#1
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 06:51 AM
และที่สำคัญคือ ตอนนี้ โพสต์ข้อความใหม่ ไม่ได้
จึงขอแตกประเด็น มาตั้งกระทู้ใหม่
เชิญสนทนา ว่าด้วยเรื่อง มหากัป (๒) นะครับ
ย้อนความเดิม
กระทู้ เชิญสนทนา ว่าด้วยเรื่อง มหากัป,
ว่าระยะเวลาแต่ละ มหากัป เท่ากันหรือไม่ ? พิจารณาอย่างไร ?
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=15928
อนุโมทนา ทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่านและตอบกระทู้ เพื่อต่อยอดความรู้ เกี่ยวกับ มหากัป
เพิ่มจากกระทู้ที่เกี่ยวข้องก่อนนี้ ด้วยนะครับ สาธุ
ขอทบทวน วัตถุประสงค์และประเด็น ของกระทู้นี้อีกครั้งนะครับ
เพราะเท่าที่อ่าน ความคิดเห็นที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าประเด็นเริ่มแตกปลายไปบ้างแล้ว
วัตถุประสงค์ ของกระทู้นี้
เพื่อต่อยอดความรู้ เกี่ยวกับ มหากัป เพิ่มจากกระทู้ที่เกี่ยวข้องก่อนนี้
เริ่มจากกระทู้ 20 อสงไขย กับอีก 100 000 มหากัป
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=15886&hl
ความหมาย ของ อสงไขย , กัป , มหากัป
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=7848&hl=
คำว่า กัป กับคำว่า มหากัป อย่างเดียวกันหรือไม่
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=5717&hl=
=QUIZ= เรื่องพุทธวงศ์ในกัปปัจจุบัน
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=7680&hl=
พระพุทธเจ้าต้นกัลป์และปลายกัลป์
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=3442&hl=
ผมปรารถนาอยากพบพระพุทธเจ้าอีก, ผมจะต้องอยู่ในโลกใบนี้อีกนานเท่าใดครับ
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=4920&hl=
อสงไขยสุญกัลป์, สร้างบารมีอย่างไร
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=5850&hl=
ที่สุดแห่งธรรมกับพระศรีอารย์
http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=8349&hl=
จากนั้นผมจึงค้นพระสูตรที่พอเกี่ยวข้อง เช่น อัคคัญญสูตร พรหมชาลสูตร จักกวัตติสูตร
เสริมกับข้อมูลในกระทู้เก่า ของ www.dmc.tv
จึงพอเข้าใจความหมาย มหากัป และและความสัมพันธ์กันของ แต่ละมหากัป พอสมควร
บอกตามตรงว่า ผมไม่ถนัดเรื่องคำนวณ
จึงทึ่ง ที่หลายท่าน เสนอสูตรคำนวณของจำนวนปีของมหากัป มาให้ศึกษา
ผมไม่ได้สนใจเรื่องตัวเลข ผลการคำนวณจำนวนปี อายุของ ๑ มหากัป หรือ ๒o อสงไขย กำไรแสนมหากัป
ว่าสูตรคำนวณของใครถูก หรือผิด
แต่ระหว่างที่อ่านพระสูตร ผมเกิดคำถามว่า
แต่ละมหากัป ยาวนาน เท่ากัน ในทุก ๆ มหากัป หรือ ไม่
จึงคิดเอามาตั้งกระทู้ เพื่อเชิญชวนมาสนทนาเรื่องนี้กัน
ประเด็น ของกระทู้นี้ คือ ระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้หรือไม่ อย่างไร ?
และเพื่อความต่อเนื่องการสนทนา ผมจึงค้นหาข้อมูลมาประกอบการสนทนาธรรม กัน
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่หาได้ในวันนั้น ผมคิดว่า
มหากัป คงไม่ยาวนาน เท่ากัน ในทุก ๆ มหากัป
เพราะอ่านเจอเรื่อง
การทำกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถ ทำให้อายุมนุษย์ สั้น ยาว ต่างกัน
สูญกัปและอสูญกัป คือ
มหากัปที่มีการอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมหากัปที่ไม่มีการอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และการพินาศของมหากัป ก็เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง
จึงสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ด้วยสาเหตุ ๓ ประการ ที่พอนึกได้ในวันนั้น
น่าจะมีผลต่อ ความสั้น ยาว ของแต่ละมหากัป
เนื่องจากเนื้อหา ข้อมูลมีเยอะ เข้าใจว่าแต่ละท่านมีเวลาอ่านจำกัด
ผมจึง คัดลอกมาเพียงบางส่วน ที่คิดว่าพอเพียงในการสนทนาต่อยอดความรู้ ความเข้าใจในเบื้องต้น
จึงตั้งประเด็น ดังนี้
สาเหตุที่ ๑ การทำกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถ
สาเหตุที่ ๒ สุญกัปและอสุญกัป
สาเหตุที่ ๓ การพินาศของมหากัป ด้วย ไฟบรลัยกัลป์ น้ำบรรลัยกัลป์ และลมบรรลัยกัลป์
ทำให้ ระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้หรือไม่ อย่างไร ?
#2
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:00 AM
วัตถุประสงค์ ของกระทู้
เพื่อต่อยอดความรู้ เกี่ยวกับ มหากัป เพิ่มจากกระทู้ที่เกี่ยวข้องก่อนนี้
ประเด็น ของกระทู้นี้ คือ ระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้หรือไม่ อย่างไร ?
ส่วนว่า การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ของแต่ละท่าน
จะตรงกัน หรือต่างกัน
สำหรับผม คิดว่า เป็นเรื่องธรรมดา มั่ก ๆ
ทั้งนี้เพราะ ความแตกต่าง ก็สามารถต่อยอดความรู้ ความเข้าใจ ในธรรมะ ได้เช่นกันครับ
หรืออย่างน้อยก็ปรับความเข้าใจ ความคิดเห็น ที่ยังบกพร่องของผม ให้ถูกต้อง ได้ครับ
#3
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:12 AM
มีผลต่อระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้อย่างไร
เรื่อง สุญกัปและอสุญกัป
สุญกัป คือ มหากัปที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติแม้แต่พระองค์เดียว
อสุญญกัป คือ มหากัปที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติ
มหากัปที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น มีอยู่ ๕ แบบ ดังนี้
๑. สารกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติเพียง ๑ พระองค์
๒. มัณฑกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ๒ พระองค์
๓. วรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ๓ พระองค์
๔. สารมัณฑกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ๔ พระองค์
๕. ภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ ๕ พระองค์
ถามว่า
ระหว่าง สุญกัป คือ มหากัปที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติแม้แต่พระองค์เดียว
และอสุญญกัป คือ มหากัปที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติ
๑ พระองค์บ้าง , ๒ พระองค์บ้าง , ๓ พระองค์บ้าง , ๔ พระองค์ และ ๕ พระองค์
มีผลต่อระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ด้วยหรือ
งั้นมาช่วยกันวิเคราะห์ดูนะครับ
อย่างที่ผมเสนอไว้บ้างแล้ว ความคิดเห็นที่
ว่าจากการศึกษา จักกวัตติสูตร
เรื่องทำกุศลกรรมบถ หรือ อกุศลกรรมบถ คือ ทำดี ทำชั่ว นั้น
เป็นหัวใจสำคัญ ที่มีผลกระทบทั่งโดยตรงและโดยอ้อม ต่อชีวิตมนุษย์อย่างแท้จริง
ทั้งในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเสื่อมโทรมของสภาพธรรมชาติ
ทั้งในเรื่องสุขภาพกาย ( ผิวพรรณ วรรณะ ) โดยเฉพาะสุขภาพจิต คุณภาพใจ ว่า ใส หรือ หมอง
เพราะมีผลต่อชีวิตใหม่ในปรโลก
แต่สิ่งสำคัญ คือ
การที่มวลมนุษยชาติ จะงดทำอกุศลกรรมบถ แล้วทำแต่กุศลกรรมบถ ได้นั้น
จำเป็นอย่างยิ่ง ต้องมี บัณฑิต เป็นกัลยาณมิตร มาช่วยชี้ ช่วย แนะ ช่วยนำ และทำดีให้ดูด้วย
และยอดของบัณฑิต คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ
ที่สำคัญ ไม่ได้มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุก มหากัป
ดังนั้นมหากัปใดที่เป็น สุญกัป
คือ มหากัปที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติแม้แต่พระองค์เดียว
นั่นคือ มหากัป นั้น ๆ มวลมนุษย์ ย่อมขาดแคลนสุดยอดกัลยาณมิตร คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มาโปรดสรรพสัตว์ ชี้แนะ ว่า
เกิดมาทำไม : เกิดมาเพื่อ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
อะไรคือ เป้าหมายแท้จริงของชีวิต : เพื่อพัฒนาจิตใจ ให้สะอาด บริสุทธิ์ หลุดพ้นกิเลส อาสวะ ฯล
ทำอย่างไร จึงบรรลุเป้าหมายที่แท้จริงนั้น : ละชั่ว ทำดี กลั่นใจให้ใส บริสุทธิ์ , บารมีสิบทัส , ไตรสิกขา ฯล
และระหว่างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายแท้จริง จะต้องดำรงชีวิตอย่างไร ต้องมีความรู้อะไรบ้าง : เช่น
ต้องเข้าใจเรื่อง ภาพรวมวงจรชีวิตในสังสารวัฏ ชีวิตในภพ ๓ มีอะไรบ้าง , อะไร คือ กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ ,
กฎแห่งการกระทำ กฎแห่งกรรมที่ต้องเป็นไป ฯลฯ
ดังนั้นเมื่อไม่มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาชี้แนะ
ก็ทำให้มวลมนุษย์ ในยุคสุญกัป ดำเนินชีวิตผิดพลาด ก่ออกุศลกรรมบถกันมาก ก่อกุศลกรรมบถกันน้อย
คุณภาพของจิตใจมวลมนุษย์และหมู่สัตว์ ย่อมกระด้างและสกปรก รกด้วยอกุศลมูล
เมื่อคุณภาพจิตใจมวลมนุษย์และหมู่สัตว์ สกปรก รกด้วยอกุศลมูล ดังกล่าว
สภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ย่อมเสื่อมโทรมโดยง่าย
เพราะการเบียดเบียดของมนุษย์ เป็นต้น
ในทางกลับกัน
หากมหากัปใด เป็น อสุญกัป
คือ มหากัปที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติ
๑ พระองค์บ้าง , ๒ พระองค์บ้าง , ๓ พระองค์บ้าง , ๔ พระองค์ และ ๕ พระองค์
มหากัป นั้น ๆย่อมเจริญรุ่งเรือง ด้วยมวลมนุษย์กุศลกรรมบถกันมาก
ทั้งมวลมนุษย์และเทพยดา ย่อมบรรลุธรรม มรรค ผล นิพพานกันมาก
มหากัปใด มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติมากกว่า ๑ พระองค์ ไปถึง ๕ พระองค์ดังเช่นภัทรกัปของเรานี้
ก็ย่อมทรงโปรดรื้อขนสรรพสัตว์ให้บรรลุ มหาอมตะนฤพาน ได้มหาศาลเพียงนั้น
นั่นย่อมหมายถึงว่า สภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แม้จะเสื่อมโทรมไปตามกาล
แต่ถ้ามวลมนุษย์ มีจิตสำนึกดี ช่วยกันรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
สภาพธรรมชาติ ก็สมควรที่จะสมดุล เหมาะแก่การอยู่อาศัยของมวลมนุษย์ได้อีกนาน
เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ผมจึงคิดว่า
วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ในยุคสุญกัป คือ มหากัปที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติแม้แต่พระองค์เดียว
ย่อมมีระยะสั้นกว่า
วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ในยุคอสุญกัป คือ มหากัปที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติขึ้น
๑ พระองค์บ้าง , ๒ พระองค์บ้าง , ๓ พระองค์บ้าง , ๔ พระองค์ และ ๕ พระองค์
และยิ่ง มหากัปใด มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเสด็จอุบัติขึ้น จำนวนหลายพระองค์
วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นั้น ๆ ก็ย่อมสมสมควร ยืนยาวมาก ๆ ยิ่งขึ้นไปด้วย
นั่นก็หมายถึงว่า ระยะมหากัปโดยรวม ของอสุญกัป
ก็ย่อมสมควรยาวนาน ยิ่งกว่า
ว่า ระยะมหากัปโดยรวม ของสุญกัป ตามไปด้วย ดังนี้แล
#4
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:24 AM
ทำให้ ระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้หรือไม่ อย่างไร ?
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่า แม้สาเหตุที่ ๓ นี้ หาเหตุผลมาประกอบได้น้อย น้ำหนักค่อนข้างเบาโหวง สักหน่อย
แต่ก็คิดว่าก็มีผลต่อระยะเวลาของสังวัฏฏอสงไขยกัป นั้น สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้บ้างครับ
ในทางโลก ทางวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ยุคปัจจุบันนี้
พอยอมรับกันได้ว่า
๑ . แต่ละจักวาลมีรูปร่าง ไม่เหมือนกันทุกจักวาล
๒. แต่ละจักวาลมีขนาด ใหญ่ โต ไม่เท่ากันทุกจักวาล
๓. แต่ละจักวาล มีอายุขัย หรือระยะการก่อตัว ระยะการดำรงอยู่ ยืนยาวนาน ไม่เท่ากัน
๔. และการพินาศ ของแต่ละจักวาล ก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน
เป็นต้น
ส่วนในทางธรรม ยังไม่พบบันทึกตรง ๆ ว่า การพินาศของแต่ละมหากัป
หรือกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น คือ
บันทึกพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ ที่มีในพระไตรปิฎก ในยุคนี้
ระบุแต่เพียงว่า การพินาศของ สังวัฏฏอสงไขยกัป คือ
ช่วงที่โลกและจักรวาลถูกทำลาย หรือกัปกำลังพังพินาศอยู่
ด้วย ไฟบรรลัยกัลป์ น้ำบรรลัยกัลป์ และลมบรรลัยกัลป์
แต่ละอย่างนั้น สร้างความเสียหาย ในกามภพ รูปภพ แค่ไหน
ไม่ได้ระบุว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป พินาศด้วย ลม จะพินาศรวดเร็วกว่า กัปพินาศด้วย น้ำ และ ไฟ
แต่ก็มีข้อสังเกต จากข้อความในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑
ที่บันทึกไว้ว่า
สมัยใดกัปพินาศเพราะไฟ.
(หลังจากเกิด)มหาเมฆที่ยังกัปให้พินาศแต่ต้นตั้งขึ้น ยังฝนหาใหญ่อย่างหนึ่งให้ตกในแสนโกฏิจักรวาล.
มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดี นำพืชทั้งปวงออกหว่าน.
ก็เมื่อข้าวกล้าเกิดพอโคเคี้ยวกินได้ มหาเมฆร้องเหมือนลาร้อง.
ฝนแม้หยาดหนึ่งก็ไม่ตก. เมื่อนั้นเป็นอันว่า ฝนขาดเม็ดเลยทีเดียว.
หลังจากฝนขาดเม็ดแล้ว ยังต้องใช้อาศัย พระอาทิตย์ ถึง ๗ ดวง
และการที่พระอาทิตย์แต่ละดวงจะปรากฏเกิดขึ้นก็ใช้ระยะเวลาล่วงกาลยาวนาน
กว่าจะครบ ๗ ดวง ก็ยิ่งใช้ระยะเวลาล่วงกาลยาวนานขึ้นอีก
สังวัฏฏอสงไขยกัป จึงพินาศจบสิ้น
ส่วน
มหาเมฆยังกัปให้พินาศแต่ต้นตั้งขึ้น ยังฝนหาใหญ่อย่างหนึ่งให้ตกในแสนโกฏิจักรวาล.
มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดี นำพืชทั้งปวงออกหว่าน. ก็เมื่อข้าวกล้าเกิดพอโคเคี้ยวกินได้ มหาเมฆร้องเหมือนลาร้อง.
ฝนแม้หยาดหนึ่งก็ไม่ตก. เมื่อนั้นเป็นอันว่า ฝนขาดเม็ดเลยทีเดียว.
หลังจากฝนขาดเม็ดแล้ว
มหาเมฆมีน้ำกรดยังกัปให้พินาศ ตั้งขึ้นในที่นี้. เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองตั้งขึ้นในอากาศนั้น
ฉะนั้น.มหาเมฆนั้น เมื่อยังฝนละเอียดได้ตกแต่ต้น ย่อมให้ตกเต็มแสนโกฏิจักรวาล
ด้วยสายฝนใหญ่ตามลำดับ แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น ถูกน้ำกรด ถูกต้องแล้ว ๆ ย่อมละลาย น้ำถูกลมพัดไปโดยรอบ
น้ำท่วมตั้งแต่แผ่นดินถึงทุติยฌานภูมิ น้ำนั้น ยังพรหมโลกแม้ ๓ ให้ย่อยยับไปในที่นั้น แล้วจดถึงสุภกิณหาตั้งอยู่.
ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความนี้ ย่อมจะเห็นได้ว่า
สมัยใดมหากัป พินาศไปด้วยน้ำ ย่อมใช้ระยะเวลาน้อยกว่า มหากัป พินาศไปด้วยไฟ
เพราะหลังจากฝนขาดเม็ดในขั้นต้นแล้ว ก็บังเกิดมหาเมฆที่ผลิตน้ำกรด ตกมาท่วมมนุษย์โลก เรื่อยไปยังเทวโลกและพรหมโลก
ตามลำดับ ไม่ต้องรอกาลช้านาน แบบมหากัป พินาศไปด้วยไฟ ที่ยังต้องรอพระอาทิตย์ปรากฏครบ ๗ ดวง
ส่วน
สมัยใดกัปพินาศไปด้วยลม
ยังฝนหาใหญ่อย่างหนึ่งให้ตกในแสนโกฏิจักรวาล.
มนุษย์ทั้งหลายพากันยินดี นำพืชทั้งปวงออกหว่าน.
ก็เมื่อข้าวกล้าเกิดพอโคเคี้ยวกินได้ มหาเมฆร้องเหมือนลาร้อง.
ฝนแม้หยาดหนึ่งก็ไม่ตก. เมื่อนั้นเป็นอันว่า ฝนขาดเม็ดเลยทีเดียว.
หลังจากฝนขาดเม็ดแล้ว
ลมตั้งขึ้นเพื่อยังกัปให้พินาศในโลกนี้ เหมือนพระอาทิตย์ดวงที่สองในอากาศนั้น ฉะนั้น.
ลมนั้นยังธุลีหยาบให้ตั้งขึ้นก่อน. แต่นั้นยังธุลีละเอียด ทรายละเอียด ทรายหยาบ ก้อนกรวดและหินเป็นต้น
ให้ตั้งขึ้นที่แผ่นหินประมาณเรือนยอดและที่ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งขึ้นในที่ไม่เสมอ.
ธุลีเหล่านั้นไม่ตกจากแผ่นดินอีก เพราะจมอยู่ในท้องฟ้า.
ธุลีเหล่านั้นแหลกละเอียดไปในที่นั้น. ถึงความไม่มี.ครั้นแล้ว
ลมตั้งขึ้นที่ภายใต้แผ่นดินใหญ่ ตามลำดับ แล้วพลิกแผ่นดินทำรากดินไว้เบื้องบน แล้วซัดไปในอากาศ.
ผืนแผ่นดินมี ๑๐๐ โยชน์เป็นประมาณ แตกไปประมาณสองโยชน์ สามโยชน์สี่โยชน์ ห้าโยชน์
ถูกกำลังลมซัดไป แหลกละเอียดบนอากาศนั่นเองถึงความไม่มี.
ลมยกภูเขาจักรวาลบ้าง ภูเขาสิเนรุบ้าง ขึ้นแล้วซัดไปในอากาศ.
ผืนแผ่นดินเหล่านั้นกระทบกันและกัน แล้วแหลกละเอียดพินาศไป.
ด้วยอุบายนี้แหละ ลมยังภุมมัฏฐกวิมานและอากาสัฏฐกวิมานให้พินาศ
ยังกามาวจรเทวโลก ๖ ให้พินาศ
แล้วยังจักรวาลแสนโกฏิให้พินาศ.จักรวาลกระทบกับจักรวาล.
หิมวันตะกระทบกับหิมวันตะ.สิเนรุกระทบกับสิเนรุ แล้วแหลกละเอียดพินาศไป.
ลมพัดตั้งแต่แผ่นดินจนถึงตติยฌานภูมิ. ลมยังพรหมโลก ๓ ให้พินาศ จรดถึงเวหัปผลาตั้งอยู่.
จากเนื้อหานี้ จะเห็นว่า
ไม่ต้องรอกาลช้านาน แบบมหากัป พินาศไปด้วยไฟ ที่ยังต้องรอพระอาทิตย์ปรากฏครบ ๗ ดวง
ดังนั้นผมจึงตั้งขอสันนิษฐานส่วนตัว ว่า
สังวัฏฏอสงไขยกัป ของมหากัปที่พินาศด้วยไฟ ใช้เวลายาวนานมากกว่า
สังวัฏฏอสงไขยกัป ของมหากัปที่พินาศด้วยน้ำ และ ลม ครับ
นั่นก็หมายถึงว่า ระยะมหากัปโดยรวม ของมหากัป ที่พินาศด้วยไฟ ใช้เวลายาวนานมากกว่า
ก็ย่อมสมควรยาวนาน ยิ่งกว่า มหากัปที่พินาศด้วยน้ำ และ ลม ดังนี้แล
ส่วนว่า ความจริงจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังไม่ทราบ
แต่บรรดาพรหม ทั้งหลายที่มีภพภูมิอยู่สูงกว่า กว่าเวหัปผลา
อีกทั้งอายุขัยยืนยาวนาน หลายร้อย หลายพัน หลายหมื่น มหากัป
คงทราบได้กระมังครับ ว่าข้อสันนิษฐานส่วนตัวของผมทั้งหมดที่นำเสนอมา
ถูก ผิด อย่างไร
ซึ่งจะถูก หรือ ผิด ผมก็ไม่รู้สึกเสียหน้าอยู่แล้ว
เพราะผมสนทนาเพื่อความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ในสิ่งที่ผมเองก็ยังไม่เห็นแจ้ง รู้แจ้งในสรรพสิ่ง สรรพธรรม
หากข้อสันนิษฐานส่วนตัวของผมเพื่อต่อยอดความรู้ ผิดพลาดประการใด ๆ
ผมก็ขออภัยทาน มา ณ ที่นี้ด้วย
และขอคำชี้แนะ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงไปตามความเป็นจริงด้วย ครับ
#5
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:39 AM
#6
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:42 AM
เริ่มที่คุณ Bruce Wayne ที่ตอบตรงประเด็นของกระทู้นี้ ก่อนนะครับ
ให้ทุกๆคนลองสังเกตุดูนะในความเห็นของคุณ Dd2683 ในความคิดเห็นที่ 3 ที่ว่าเมื่อมนุษย์มีอายุขัย
80,000 ปี ลูกจะมีอายุขัย 40,000 ปี ฯลฯ
แล้วมาลงที่
ข้อมูลที่คุณ Dd ไปเอามา เป็นเรื่องราวที่ว่าด้วยการมาตรัสรู้ของพระศรีอารย์
เขาต้องการเพียงจะเล่าให้ฟังว่าอายุขัยขณะนั้นประมาณ 100 ปี
ว่าเมื่อก่อนนี้รุ่นก่อนๆนี้เราเคยมีอายุมากกว่านี้แล้วลดลงเรื่อยๆ
เขาเขียนลัดๆมา แล้วพออายุขัยขึ้น เขาก็เขียนลัดๆๆๆขึ้นไปว่าพระศรีอารย์จะมาตรัสรู้เมื่อไร
เขาเขียนมาคร่าวๆ ไม่ได้ต้องการให้เราเอาไปคำนวญ
.... ดังนั้นสูตรนี้จบแล้วนะครับ ใช้ไม่ได้ .........
ขอทักท้วงดังนี้ครับ
๑ เนื้อหาที่ผมคัดลอกมาบางส่วน ในคคห. ที่ ๓ นั้น ชื่อว่า จักกวัตติสูตร
เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เถระ ทรงจำมาจากพุทธโอษฐ์
ว่าด้วยเรื่องของ พระเจ้าจักรพรรดิ ทัลหเนมิ เป็นต้น
ไม่ใช่เรื่องราวที่ว่าด้วยการมาตรัสรู้ของพระศรีอารย์
อย่างที่คุณ Bruce Wayne เข้าใจหรอกนะครับ
คุณ Bruce Wayne ลองค้นหา จักกวัตติสูตร ฉบับเต็มมาอ่านสิครับ
๒ ที่คุณ Bruce Wayne เข้าใจว่าเป็นสูตรการคำนวณ การลดอายุขัยของมนุษย์ นั้น
ก็เป็นเรื่องความเข้าใจของคุณ Bruce Wayne เองครับ
เพราะผมอ่านจักกวัตติสูตร ช่วงนั้นแล้ว ผมไม่ได้มองว่าเป็นสูตรการคำนวณ การลดอายุขัยของมนุษย์
และไม่คิดจะนำตัวเลขพวกนั้น มาคำนวณอะไรด้วย เพราะผมไม่เก่งทางคณิตศาสตร์น่ะครับ อิอิ
แต่ผมมองว่า
เป็นเรื่องของอกุศลกรรมบถ เป็นเหตุให้วรรณะ , อายุขัยของมนุษย์เสื่อมลง ลดลง
และกุศลกรรมบถ เป็นเหตุให้วรรณะ , อายุขัยของมนุษย์เจริญขึ้น
ก็คิดก็เข้าใจง่าย ๆ แบบนี้เท่านั้นครับ
ดังนั้นหากคุณ Bruce Wayne ตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัย หรือไม่เห็นด้วยในเรื่อง
เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 80,000 ปี ลูกจะมีอายุขัย 40,000 ปี ฯลฯ
ก็คงต้องไปสอบถามผู้รู้จริง หรือถามผู้บันทึก สังคายานา จักกวัตติสูตร
แล้วกระมังครับ ว่า
ทำไม
ถ้าทุกรุ่นมีลูกในช่วงวัยหนุุุ่มสาว เหลนจะแก่ตายก่อนหลาน หลานจะแก่ตายก่อนลูก
ลูกจะแก่ตายก่อนพ่อ
โดยทุกรุ่นจะแก่ตายในช่วงที่อายุพ่อของแต่ละรุ่นของเขายังอยู่ในช่วงวัยกลางคนทั้งสิ้น
เพราะเรื่องที่คุณ Bruce Wayne สงสัย หรือไม่เห็นด้วยนี้
มันเกินความรู้ ความเข้าใจ เกินสติ ปัญญาของผม ครับ
แต่ก็ขอชมเชยว่า คุณ Bruce Wayne ตั้งข้อสังเกต ข้อสงสัย ได้มีเหตุ ผล ดีมากครับ
ในกรอบสีดำบรรทัดสุดท้าย
ที่ว่าในยุคนั้นจะมีพระเจ้าจักพรรดิ์แล้วต่อมาเขาเขียนต่ออีกนะว่ายุคนั้นจะมีพระศรีอารย์มาตรัสรู้
พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ตอนกัปไขขึ้นหรือ ลองไปดูให้ดีครับ
โดยหลักแล้วต้องมาตรัสรู้ตอนอายุขัยลดลง ครับ
คุณ Dd เอามาลงไม่หมด ใครมีเล่มนี่อยู่ลองไปดูแล้วจะเห็น
ที่ว่าทำกุศลและอกุศลจะทำให้อายุมหากัปสั้นยาวต่างกันไหม.
ขอตอบทำความเข้าใจถูก ในข้อสังเกตของคุณ Bruce Wayne ในความคิดเห็นที่ 10 (ในกระทู้เดิม)
ว่าภาพที่ผมนำมาแสดงนั้น เนื้อหาที่ผมขีดเส้นใต้ ก็เพื่อให้คุณน้า DJ96.25PM2-3 ที่ตั้งข้อสังเกต
ว่า การลดลงของอายุ ไม่ได้ลงตามสัดส่วนเดิม
ผมจึงนำภาพ เนื้อหาจากต้นฉบับที่คัดลอกมาลง
ให้เห็นว่า ผมคัดลอกตัวเลข ตรงตามต้นฉบับ ไม่ใช่ว่าผมพิมพ์ตัวเลขผิด
และที่บรรทัดสุดท้าย บังเอิญถูกตัดออกไป ก็เพราะว่า เป็นเนื้อหาที่เกินเลยจาก
เนื้อหาที่ผมขีดเส้นใต้ แล้วครับ ไม่ใช่ว่าผมจงใจหมกเม็ด บิดบังข้อควมอะไร
ส่วนที่คุณ Bruce Wayne บอก
ตรงนี้เนื้อหาที่ผมนำมาเสนอ ไม่ได้ระบุไว้ว่า
ทำกุศลและอกุศลจะทำให้อายุมหากัปสั้นยาวต่างกันไหม ครับ
และผมก็บอกไปแล้วนี่ครับ ว่า เท่าที่ผมค้นหาพระสูตรต่าง ๆ มาศึกษานั้น
ไม่มีที่ใด ระบุว่า อายุมหากัปสั้นยาวต่างกันไหม แต่ผมสงสัย อยากรู้
ผมจึงตั้งกระทู้ ตั้งประเด็น แล้วเชิญชวนสนทนาเพื่อต่อยอดความรู้ ในเรื่อง
มหากัป ว่า ระยะเวลาแต่ละ มหากัป เท่ากัน หรือไม่ ?
อย่างไรล่ะครับ
1 สังวัฏฏอสงไขยกัป โลกำลังถูกทำลาย
2 สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป โลกถูกทำลายเสร็จแล้ว
3 วิวัฏฏอสงไขยกัป โลกกำลังจะเข้าสู่ภาวะปรกติ
4 วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป โลกเรียบร้อยเป็นปรกติ
ต้องเข้าใจว่าทั้ง 4 มีระยะเวลาเท่าๆกัน
มนุษย์และสัตว์สามารถอยู่ได้ในอันที่ 4 เท่านั้นเพราะ 1-3 กำลังอยู่ในช่วงถูกทำลาย
แล้วการทำกุศลและอกุศลจะทำให้อายุของมหากัปสั้นลงหรือยาวขึ้น ก็คงไม่น่าจะเกี่ยวกัน
เพราะอีก 3อสงไขยกัปที่เหลือที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่
ในแต่ละอสงไขยก็ยังมีความยาวเท่ากันพอดีกับ อสงไขยกัปที่มีมนุษย์ืและสัตว์อาศัยอยู่
ทำดีหรือทำชั่วอายุของมหากัปมันก็เท่าเดิม
มันน่าจะเป็นวัฏสงสารที่มีวัฏจักรเกิดดับมีระยะเวลาที่แน่นอน
ประเด็นตรงนี้ ความเข้าใจของคุณ Bruce Wayne น่าสนใจดีครับ
คุณ Bruce Wayne เข้าใจว่าทั้ง 4 มีระยะเวลาเท่าๆกัน
แต่ผมไม่ได้เข้าใจเหมือนคุณ Bruce Wayne ทั้งหมดนะครับ
เข้าใจเหมือนตรงที่
๒.สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป มี ๖๔ อันตรกัป เป็นช่วงที่โลกและจักรวาลถูกทำลายเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
๓.วิวัฏฏอสงไขยกัป มี ๖๔ อันตรกัป เป็นช่วงที่โลกและจักรวาลกำลังพัฒนาเข้าสู่ภาวะปกติ
ทั้งสองช่วงนี้มีระยะเวลาเท่าๆกัน
ส่วนที่ไม่เหมือนกัน ก็อย่างที่ตอบไว้เกี่ยวกับ สาเหตุที่ ๒ และ ๓ ใน ความคิดเห็นที่ ข้างบนนั้นครับ
ส่วนคำตอบข้อ ๒ และ ๓ ที่คุณ Bruce Wayne ตอบมานั้นก็เป็นเหตุเป็นผลที่ดี ครับ
แม้ความเข้าใจของเรา จะมีตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง
ผมถือว่า เป็นการสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในธรรมะ เพื่อความเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยกันครับ
#7
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 07:51 AM
เบื้องต้นในวันนั้น ก็แค่ สงสัยใคร่รู้ ในสิ่งที่ยังไม่เคยรู้ และเพื่อต่อยอดความรู้ ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
แต่เมื่อมาคร่ำเคร่ง (แต่ไม่ถึงกับ หมกหมุ่น นะครับ ) ศึกษาเรื่อง มหากัป แล้ว
กลับทำให้ผมได้ความเข้าใจ ได้ข้อคิดอะไร อีกหลายอย่างเลยนะครับ
เช่น
เมื่อวานนี้ ได้อ่านกระทู้
อสงไขย พระพุทธเจ้าอุบัติ ที่พระโพธิสัตว์ (พระโคดมพระพุทธเจ้า) ทรงพบและได้สร้างบารมี
http://www.dmc.tv/fo...wtopic=15997=
ที่นำเสนอโดย นักเรียนอนุบาล thaikids072
กลับทำให้ผมได้ข้อคิดอีก เช่น
การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ การตรัสรู้ อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ นั้นยากแสนยาก
ยิ่งกว่าที่ผมเคยเข้าใจ
โดยเฉพาะเมื่อเห็นตัวเลข
จากการตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ ถึงพระชาติที่เป็นสุเมธดาบส
ได้รับพุทธยากรณ์จาก พระทีปังกรพุทธเจ้า
รวมเวลา ๑๖ อสงไขย ๑ แสนกัป นี้
เป็นสุญกัปมากมายดังนี้
ภาสะอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
ชยอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
รุจิรอสงไขย - ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 อสงไขย
9904 มหากัป – เป็นสูญกัป
2 มหากัป – เป็นสูญกัป
60 มหากัป – เป็นสูญกัป
31 มาหากัป - เป็นสูญกัป
นับง่าย ๆ ก็คือ ในช่วงเวลา ๑๖ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
เป็นสูญกัปมากมายถึง ๔ อสงไขย + เศษอีก ๙๙๙๗ มหากัป ( 9904 +2 + 60 + 31 )
และที่สำคัญ
สุญกัป และ อสุญกัป สลับกันไปมา ไม่เป็นตามบัญยัติไตรยางค์ หรือสูตรคำนวณ สูตรไหนเลย
นี่คือ ความยากของการบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยิ่งกว่าที่ผมเคยเข้าใจ
รวมถึงข้อคิด ความเข้าใจ ความสงสัยในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น
ทำไมนักสร้างบารมี บางท่าน บางหมู่คณะ จึงพอใจที่สาวกภูมิ อสีติสาวกภูมิ อัครสาวกภูมิ
หรือพอใจที่ปัจเจกพุทธะภูมิ และพอใจที่สัพพัญญูพุทธะภูมิ
หรือพอใจที่ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
หรือพอใจที่ ไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม
มีเงื่อนงำอะไรหนอ ที่จะทำให้กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ได้เร็วขึ้น
มีเงื่อนงำอะไรหนอ ที่จะย่นย่อระยะทาง ให้ไปถึงที่สุดแห่งธรรม ได้เร็วขึ้น
หรืออย่างไรหนอ จึงมีโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธะภูมิ ร่วมกันสร้างบารมี มากขึ้น
เฮ้อ สงสัยจะคร่ำเคร่ง เรื่อง มหากัป มากไปหน่อย
ป.ล. ที่จริงมีความรู้ที่เพื่อนกัลยาณมิตรหลายท่านนำมาแบ่งปัน อีกหลายเรื่อง
เนื่องจากผมพิมพ์ดีด( จิ้มดีด) เมื่อยนิ้ว เมื่อยสายตาแล้ว
ขอพักการตอบกระทู้นี้ ไว้ก่อน
แต่ยังรออ่าน ความคิดเห็นของท่านอื่น ๆ ในประเด็น
ระยะเวลาของแต่ละ ๑ มหากัป สั้น ยาว ไม่เท่ากัน ได้หรือไม่ อย่างไร ?
ทั้งนี้เพื่อ ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่อง มหากัป มาต่อยอดจากความรู้ในกระทู้เก่า ๆ ที่แนะนำไว้ครับ
เห็นพี่ หัดฝัน แตกแตกประเด็นย่อย ตั้งกระทู้ใหม่แล้วก็ยินดีด้วยครับ
จะได้ถาม ตอบกันตรงประเด็น
ท่านใดต้องการแตกประเด็นย่อย อื่น ๆ ก็สามารถตั้งกระทู้ ตั้งประเด็นใหม่ ก็ดีนะครับ
ขออนุโมทนา ในการสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในธรรมะ
เพื่อความเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยกันครับ สาธุ ๆ ๆ
#8
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 09:30 AM
#9
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 05:43 PM
ข้อ 1 ในจักกวัตติสูตรที่คุณกล่าวถึงในช่วงแรกจะเป็นเรื่องของพระจักรพรรดิ์ที่ชื่อ ทัลหเนมีแล้วก็มีพระจักรพรรดิ์สืบต่อลงมาเรื่อยๆ แล้วอายุขัยมนุษย์ก็ลดลงมาเรื่อยๆ... ถูกต้องนะครับ จะไปอย่างรวดเร็วเลย... แล้วต่อจากอายุขัยมนุษย์ลดลงมาจนถึง 10ปี อายุก็เพิ่มขึ้นจาก 10ปี 20 80 160... 8000 20000 40000 สุดท้ายเพิ่มถึง 80000 ปี
เมื่อถึงตอนนี้ เมือง เกตุมดี จะมีพระเจ้าจักพรรดิ์ ชื่อสังขจักพรรดิ์ และเมื่อนั้นพระผู้มีพระภาคนาม
ว่า เมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก จักบริหารพระภิกษุหลายพันเอนก และสมเด็จพระสังขจักรพรรดิ์จะสละปราสาทออกบวชในสำนัก พระศรีอาริยเมตตรัย...
มีข้อความดังต่อไปนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
*พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้...
มีข้อความเหล่านี้อยู่ คุณDd คุณต้องกลับไปอ่านมาใหม่ ผมหมายถึงตรงนี้ ดังนั้นความเข้าใจของผมก็ถูกต้อง เพราะมันเป็นเหตุการณที่เล่าต่อเนื่องไปเรื่อยๆจนถึงเวลาที่มีพระศรีอารย์มาตรัสรู้ มีlink มาให้ดูด้วย
http://www.84000.org...h...1189&Z=1702
ส่วนคุณจะเข้าใจไปอีกอย่างก็แล้วแต่คุณ แต่ในช่วงแรกเป็นเรื่องของทัฬหเนมีจริงอย่างที่คุณบอก แต่มันเป็นช่วงแรกเท่านั้นเอง
ข้อ2
เนื่องจากข้อความของคุณที่นำมาลง แล้วต่อมามีหลายๆคนเข้าใจว่าน่าจะคำนวณเป็นอายุขัย แล้วคำนวณต่อเนื่องเป็นอายุขัยของมหากัปได้ จึงมีคนไปคำนวณกันออกมาอย่างที่คุณก็เห็นกันอยู่ในกระทู้ของคุณก่อนหน้านี้
ผมเลยทักท้วงเขาไปทำนองว่า จะเอาไปเป็นสูตรคำนวณคงยังไม่ได้เพราะผมก็มีข้อทักท้วงอย่างที่เขียนลงไปในกระทู้ที่แล้ว
และสูตรนี้ก็ไม่ใช่สูตรของผม เพราะผมไม่ได้คำนวณ และที่เขียนไปก็ไม่ได้ไปตำหนิคุณ หรือตำหนิใคร ขอให้เข้าใจตามนี้
ข้อ3
เรื่องอายุขัยของคนที่มีอายุขัยลดลงมากในรุ่นต่อๆไปตามจักวัตติสูตร นั้น เขียนเอาไว้เพื่อเป็นข้อสังเกตุเท่านั้น ไม่ไใช่เป็นข้อสงสัย
ดังนั้นก็ไม่ต้องไปปรึกษาอะไร กับใคร เพราะมันไม่จำเป็น
#10 *YTTRA*
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 06:38 PM
#11
โพสต์เมื่อ 12 May 2008 - 09:02 PM
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ไปพักผ่อน ฝึกหย่อนใจ ด้วยการปฏิบัติธรรม ที่สวนป่าหิมวันต์
นำทุกกุศล ผลบุญ มาฝากคุณ YTTRA และทุก ๆท่านด้วยครับ
ส่วนที่คุณ YTTRA เข้าใจหรือรู้สึกว่า
ก็น่าสนใจครับ
แต่ผมขอใช้คำว่า สนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในธรรม ล่ะกันครับ
ก็เหมือนกับ ที่ผมใช้คำว่า คร่ำเคร่ง แทน หมกมุ่น
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาอ่านและตอบกระทู้ ด้วยนะครับ
#12
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 07:14 PM
ทฤษฏีสัมพัทภาพยังเป็นต้นกำเนิดของสิ่งประดิษฐของมนุษย์หลายสิบหลายร้อยผลงาน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพมือถือ จอโทรทัศน์ ไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งยานอวกาศ ฯลฯ ถ้าจะกล่าวถึงรายละเอียดเหล่านั้นใช้เวลา 1เดือนก็คงสาธยายไม่จบ เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงขอกล่าวถึงเฉพาะแต่เรื่องของเวลา ซึ่งถือเป็นใจความเนื้อหาหลักๆของทฤษฏีสัมพันทธภาพดังที่เราท่านพูดคุยกันมาแล้ว จากกระทู้ http://www.dmc.tv/fo...showtopic=15928
ผมได้อ่านศึกษาเรื่องเวลาตามทฤษฏีสัมพันทธภาพหลายรอบแต่ก็ไม่รู้จะเรียบเรียงเริ่มต้นอธิบายให้คนเข้าใจได้อย่างไร เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวกับความละเอียดอ่อนทางความคิดมากทีเดียว ถ้าผมอธิบายผิดถูกหรือมั่ว ประการใดต้องรีบขออภัยตรงบรรทัดนี้ก่อนเลยนะครับ
ดังที่เราพูดคุยกันมาแล้วในเรื่องเวลา1กัป 1มหากัป หรือ1อสงไขย และจำนวนเวลาต่างๆนั้น ดังที่พี่ Dd2683 กล่าวไว้ว่า 1กัปแต่ละกัปนั้นไม่เท่ากัน ในส่วนตัวผมคิดว่า ถูกต้องครับ ไม่ใช่เพียงเพราะสาเหตุแค่ 3 ประการดังที่พี่ Dd2683 กล่าวไว้เท่านั้น
ในทฤษฏีสัมพันทธภาพของไอน์สไตน์อธิบายว่า เวลานั้น “ ยืดหดได้ ” ซึ่งทฤษฏีนี้คัดค้านอย่างแรงกับหลักการ เวลาสัมบูรณ์ของนักวิทยาศาสตร์สมัยนั้น ที่ว่าเวลาจะต้องเดินไปข้างหน้า และเดินเท่ากันเสมอ ทฤษฏีของไอน์สไตน์ทำให้โลกตะลึกอยู่พักใหญ่ เกิดข้อกังขาวิพากวิจารอยู่หลายปี จนกระทั่ง ในที่สุด เมื่อมีการส่งดาวเทียมออกไปนอกโลก นักวิทยาศาสตร์ ก็เริ่มพิศวงกับเวลา เพราะ เวลาของนาฬิกาบนดาวเทียม เดินไม่เท่ากับนาฬิกาบนโลก และมีผลเสียอย่างมากต่อการคำนวณที่ละเอียดอ่อน ดาวเทียมบางดวงที่ไม่เชื่อหลักทฤษฏีสัมพัทธภาพ ถึงกับใช้การไม่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่หมด
หรือ ทฤษฏีที่ว่า ถ้าหากมีนักบินขับจรวดออกไปไกลแสนไกลในจักรวาลเป็นระยะทางหลายล้านๆปีแสง และเขาใช้เวลาในการเดินทางบนยานเพียง2ปี แต่เมื่อเขากลับมาก็ปรากฏว่า เวลาบนโลกผ่านไปหลายร้อยหลายพันปี ผู้คนที่เขารู้จัก ล้มหายตายจากกันไปหมด จากหลักการนี้ไอสไตน์ให้ข้อสรุป ”ว่าความเร็วมีผลกับเวลา” ยิ่งยานเดินทางเร็วมาก เวลาก็จะเดินช้าลง คนบนยานก็จะแก่ช้าลง และเคยมีคนคิดกันเล่นๆว่า สมมุติว่ามีนักบินคนหนึ่งขับเครื่องบินคองคอร์ท ที่มีความเร็วเหนือเสียง เขาขับไปขับมาทั่วโลกอยู่ทุกวันทุกคืน เพื่อส่งผู้โดยสาร ปรากฏว่าเวลาผ่านไปหลายปี เพื่อนๆรุ่นเดียวกับเขา ล้วนแก่ลง แต่ตัวเขาเองกลับหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยวเหมือนไม่แก่เลย นั่นเป็นเพราะเขาใช้ชีวิตอยู่กับความเร็วสูง ซึ่งมีผลสัมพัธผกผันกับแสงและเวลาตามทฤษฏีสัมพันทภาพ ไอสไตน์ ยังคิดค้นทฤษฏีและข้อพิสูจน์อีกหลายอย่างมายืนยันถึงทฤษฏีสัมพันภาพนี้ ถ้าจะนำมาเล่าในที่นี้ก็คงพิมกันอีกยาวไม่รู้จบ
แต่นั่นเป็นข้อสังเกตในเบื้องต้นว่า เวลา ไม่มีความคงที่แน่นอน เป็นมิติที่ซับซ้อนเกินความคิดมนุษย์ ในยุคที่ไอสไตน์คิดค้นทฤษฏีนี้ ตอนนั้นเขาถูกหาว่าบ้า เพี้ยน แต่ต่อมาภายหลัง นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกก็ยอมรับกัน และนำเอาทฤษฏีนั้นมาใช้มาปฏิบัติซึ่งเป้นประโยชน์อย่างมากต่อวงการวิทยาศาสตร์
คำว่าเวลานั้น มันเป็นสิ่งที่มนุษย์สมุติกันขึ้นมาเองทั้งสิ้น ผ่านการเขียนการพูด ว่ากันเป็นจำนวนหน่วยเท่านั้นเท่านี้ หนึ่งวันเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง1รอบ 2วันเท่ากับ2รอบ 365รอบก็เท่ากับ1ปี หรือโลกโคจรรอบดวงอาทิต1รอบเรียกว่า1ปี นี่เป็นสิ่งที่มนุษย์เอาจำนวนหน่วยไปใส่ลงในเวลาที่มันมีอยู่แล้ว ถ้าเรามองไปอีกขั้น อย่างหนึ่งวันของเรา ก็เท่ากับ24ชั่วโมง แต่คราวนี้ ถ้าสมุติเราพลาดไปเกิดบนดาวอังคาร เวลาก็จะเปลี่ยนไปทันที เพราะเวลา1ปีบนดาวอังคาร จะเท่ากับประมาณ2ปีบนโลก แต่ที่พิสดารกว่านั้น เวลา1วัน(หมุนรอบตัวเอง)ใช้เวลาเท่ากับบนโลกเพียงครึ่งชั่วโมง ทำให้เราต้องนับวันนับปีกันใหม่หมด
ทีนี้เราจะทำยังไงกันดี ..ในเมื่อตอนนี้ เวลานี้ เราบัญญัติหน่วยของสิ่งที่เราเรียกมันว่าเวลามาแบบนี้ แต่ต่อไปภายหน้าไม่ว่าจะกี่ปีกี่ล้านปี หรือกี่อสงไขย เราจะทราบได้อย่างไรว่าพอกัปพินาศไฟบรรลัยกัลป์ ล้างโลกสูญสิ้น พอเริ่มกัปใหม่โลกใหม่ จำนวนการนับวันนับชั่วโมง นับปี จะเหมือนเดิมอย่างปัจจุบันเป๊ะๆ
เวลาเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงของมันอยู่แล้วในจักรวาล เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนเกินความเข้าใจของมนุษย์ แต่มนุษย์ก็เอาตัวเลขไปใส่ให้กับเวลา ไปกำหนดอย่างนั้นอย่างนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบดีถึงความไม่แน่นอนของเวลา ทรงค้นพบสิ่งที่เรียกว่าเวลามาก่อนไอสไตน์ถึง2000กว่าปี ทรงหยั่งรู้ทุกสภาพของคำว่าเวลา แม้ในภพภูมิต่างๆ สวรรค์ชั้นต่างๆ พรหม อรูปพรหม ก็ทรงเห็นทราบทุกอย่างแม้เวลาในแต่ละภพแต่ละภูมิที่ไม่เท่ากัน และภพภูมิที่เรียกว่านิพพานที่ไม่มีคำว่าเวลา พระองค์ก็ทรงไปรู้ไปเห็นมาแล้ว พระองค์ก็ทรงนำมาแสดงให้มนุษย์โลกทราบโดยสังเขปพอเหมาะแก่ความเข้าใจตามสติปัญญาของมนุษย์เท่านั้นเอง
ที่กล่าวมายืดยาวทั้งหมด ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า คำว่าเวลา จำนวนนับ คำเปรียบเทียบเกี่ยวกับเวลาต่างๆทั้งหลาย ล้วนเป็นสิ่งที่เราสมมุติกันขึ้น เราไม่มีทางเข้าใจด้วยปัญญาดิบๆเลยว่า เวลาอันยาวนานทั้งหลายนั้น มันมีสภาพอย่างไร มันเปลี่ยนแปลง ยืดหดอย่างไร เรามาถกเถียงตั้งข้อสงสัยในเรื่องจำนวนนับเป็นล้านๆๆๆๆๆๆๆปี ที่เราไม่อาจจะอยู่รอไปถึงวันนั้นได้ แต่เราก็ยังมาสงสัยถึงสิ่งนั้นอยู่ จริงอยู่ว่าเราสามารถนับเอามาเป็นจำนวนเปรียบเทียบเชิงพินิจพิเคราะแบบคร่าวๆได้ แต่ถ้าเราจะถามหาความแน่นอนเที่ยงตรง นั่นเป็นไปไม่ได้สำหรับดวงปัญญาอย่างพวกเรา เพราะฉะนั้นก็หมดปัญหาที่จะมาสงสัยว่า 1กัป 1มหากัป 1อสงไขย ว่ามันมีความยาวเท่าไหร่แน่
ตอนนี้เวลานี้ เราได้พบกับพุทธศาสนาแล้ว ได้พบกับวิชชาธรรมกาย ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้เราพัฒนาปัญญาของเราให้เฉียบคมสามารถศึกษาสิ่งต่างๆใด้ทั้งจักรวาล ท่านสอนไว้ไห้แล้วครับ แล้วเราล่ะ จะเรียนในสิ่งที่ท่านสอนหรือไม่ หรือจะมามัวนั่งสงสัยแต่ไม่ยอมเรียน อยู่กระนั้นหรือครับ
ผิดถูกประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ ต้องขอโทษพี่DD2683ด้วยที่มาเล่าช้าไปหน่อย ผิดถูกประการใดโปรดเข้ามาชี้แนะผมด้วยนะครับ
โดย นักเรียนอนุบาล สิริปโภ
เรื่องเวลากับทฤษฏีสัมพัทธภาพ
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=16076
#13
โพสต์เมื่อ 15 May 2008 - 07:21 PM
ในเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพ ผมเข้าใจตามได้นิดหน่อยเท่านั้นเองครับ
แต่คำอธิบาย ขยายความและตัวอย่าง เรื่อง เวลา ของคุณ สิริปโภ ก็ทำให้เข้าใจเรื่อง เวลา มากขึ้น ขอบคุณครับ
ทบทวนอีกครั้งนะครับว่า กระทู้ที่ผมตั้งขึ้น ไม่ได้ชวนมาคำนวณ จำนวนปีของอายุมหากัป
แต่ชวนสนทนาเรื่อง แต่ละมหากัป นั้นสั้น ยาวเท่ากันหรือไม่ โดยสันนิษฐานไว้ ๓ ข้อ
และคุณ สิริปโภ ก็เสนอเพิ่มว่า แต่ละมหากัป นั้นสั้น ยาว ไม่เท่ากันได้
เพราะเวลา ยืด-หด ได้
ดังคำอธิบายขยายความในคคห.ที่12
ส่วนคำชี้แนะให้คุณ สิริปโภ เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่อง เวลา นั้นไม่มีหรอกครับ
เพราะผมมีความรู้ ความเข้าใจไม่มากพอ ที่จะร่วมสนทนาเรื่อง มิติเวลา เชิงวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ น่ะครับ
ป.ล. เพิ่งมาเห็นข้อความแก้ไข ของคุณ Bruce Wayne ใน คคห.ที่ 9
ที่คุณชี้แจง เพิ่มเติมมานั้น ผมขอขอบคุณครับ
ผมก็ตอบไปชัดเจนแล้ว ( ตามความเข้าใจของผม ) จึงไม่ขอชี้แจงอะไรเพิ่ม
ยินดีที่ได้ สนทนาธรรม กันครับ
#14
โพสต์เมื่อ 20 May 2008 - 12:17 AM
ก่อนอื่นต้องขอกล่าว สวัสดีกับทุกท่านที่เข้ามาถกหรือเข้ามาอ่านทุกท่านครับ
ผมเห็นด้วยเรื่อง เวลาแต่ละกัปอาจสั้นยาวไม่เท่ากัน ตามสมมติฐานของพี่Dd2683ครับ
แต่ไม่เห็นด้วยที่เวลาแต่ละกัปไม่เท่ากันเนื่องจากการยืดหดของเวลา
ถ้าพูดถึงการยืดหดของเวลาตามทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ จะต้องไม่ลืมเรื่องกรอบอ้างอิงเฉื่อยเสมอ
เพราะชื่อทฤษฎีก็บอกแล้วว่า มันเป็นการสัมพัทธ์ ดังนั้น จะต้องมีจุดอ้างอิงเสมอ ว่าเทียบกับสิ่งใด
ตัวอย่างเช่น รถยนต์มีความเร็วคงที่ 50 km/h เมื่อเทียบกับผู้สังเกตที่อยู่นิ่ง
แต่ถ้าหากผู้สังเกตมีการเคลื่อนที่ ไม่ได้อยู่นิ่งเหมือนตอนแรก
จะพบว่าความเร็วของรถยนต์ ไม่ได้เป็น 50 km/h เหมือนตอนแรกแล้ว
อาจจะเร็วขึ้น หรือช้าลง ขึ้นอยู่กันว่า ผู้สังเกตเคลื่อนที่เข้าหารถยนต์ หรือเคลื่อนที่ออกจากรถยนต์
ซึ่งจุดอ้างอิง ยังคงเป็นผู้สังเกต แต่ผู้สังเกตมีการเคลื่อนที่
ทำให้ผู้สังเกต เห็นความเร็วรถยนต์เปลี่ยนแปลงไป
หากผู้สังเกต กลับมาหยุดนิ่งอีกครั้ง ก็จะเห็นว่ารถยนต์มีความเร็ว 50 km/h เช่นเดิม
และหากผู้สังเกต นั่งอยู่ในรถจะพบว่า ความเร็วของรถยนต์มีค่าเป็นศูนย์ เมื่อเทียบกับผู้สังเกต
หรือพูดง่ายๆว่า รถยนต์หยุดนิ่ง ไม่ได้มีการเลื่อนที่ เมื่อเทียบกับ ผู้สังเกต
พูดถึงตรงนี้ หลายๆท่านอาจ "งง" ทำไมความเร็วรถยนต์เป็นศูนย์ ลองนึกตามดูนะครับ
หากท่านนั่งอยู่ในรถยนต์คันหนึ่งที่ปิดทึบมองไม่เห็นวิวทิวทัศน์ข้างนอกรถยนต์เลย
และรถยนต์คันนี้ วิ่งด้วยความเร็วคงที่ และวิ่งบนถนนราบเรียบมากๆ จนไม่รู้สึกถึงแรงสั่นใดๆเลย
ท่านจะบอกได้ไหมว่า รถยนต์ที่นั่งอยู่ หยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่
คำตอบคือ บอกไม่ได้เลยครับ เพราะเราไม่มีจุดอ้างอิงอื่นใดเลย
หากเทียบกับตัวเรา ที่นั่งอยู่ในรถ จะเห็นว่ารถไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหนเลย
เพราะตัวเรา ไม่ได้รู้สึกว่าเรากำลังเคลื่อนที่ ที่เรานั่งรถกันอยู่ทุกวัน และรู้ว่ามันเคลื่อนที่
เพราะเราเทียบกับพื้นดินหรือวิวทิวทัศน์ข้างนอก ใช่ไหมครับ เราถึงรู้ว่ามันเคลื่อนที่อยู่
ในทางกลับกัน ถ้าเราเทียบกับรถที่เรานั่งล่ะ
เราจะพบว่า รถเราอยู่นิ่ง แต่พื้นดินและวิวทิวทัศน์ต่างหากที่เคลื่อนที่ไป
ลองค่อยๆนึกตามดูนะครับ ว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่
นี่แหละครับ ความหมายของคำว่า "สัมพัทธ์"
ซึ่งความเร็วของรถยนต์ที่เปลี่ยนไปมานี้ เป็นผลอันเนื่องมาจาก
เราวัดความเร็วแบบสัมพัทธ์เทียบกับผู้สังเกต นั่นเอง
ดังนั้น การยืดหดของเวลา จะสังเกตเห็นได้ ผู้สังเกตจะต้องไม่อยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยนั้นๆ
เช่น เราเห็นว่า เวลาในยานอวกาศที่มีความเร็วสูงมากๆ เคลื่อนที่ช้าลง
เห็น 1 นาทีของนาฬิกาในยานอวกาศ เท่ากับ นาทีกว่าๆ ของนาฬิกาบนพื้นโลก
ก็เพราะเราอยู่นิ่งบนโลก และสังเกตเวลาบนยานอวกาศที่เคลื่อนที่อยู่ เทียบกับเวลาของตัวเรา
แต่ถ้าหาก เราอยู่ในยานอวกาศ เราจะเห็นว่า เวลาในยานอวกาศก็เคลื่อนที่ปกติ ไม่ได้ช้าแต่อย่างใด
ซึ่งในกรณีนี้ กรอบอ้างอิงเฉื่อยก็คือ ยานอวกาศ
จากข้างต้นที่กล่าวมา เป็นไปตามกฎพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษข้อหนึ่ง คือ
กฎทางฟิสิกส์ในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย จะต้องเหมือนกันทุกประการ
นี่เป็นเหตุผลที่ว่า เมื่อเราอยู่ในกรอบอ้างอิง เราจะไม่เห็นการยืดหดของเวลา
เพราะเวลาในทางฟิสิกส์ มีความสม่ำเสมอ คือ แต่ละวินาที มีระยะเวลาเท่ากัน
หากเรานับเวลาบนพื้นโลกเมื่อเราอยู่บนพื้นโลกได้ 1 วินาที
เราก็จะนับเวลาในยานอวกาศเมื่อเราอยู่ในยานอวกาศได้ 1 วินาทีเท่ากัน
สรุปว่า เราจะเห็นการยืดหดของเวลาได้ เราจะต้องไม่อยู่ในยานอวกาศ
จะต้องอยู่บนพื้นโลก แล้วเทียบเวลาบนยานอวกาศที่เคลื่อนที่
กับเวลาของเราบนพื้นโลก จึงจะเห็นการยืดหดของเวลา
กลับมาเข้าเรื่องครับ ว่าทำไมผมไม่เห็นด้วย เรื่องการยืดหดของเวลา มีผลให้ความสั้นยาว ของแต่ละกัปไม่เท่ากัน
จากที่ได้กล่าวมาแล้ว เราจะเห็นการยืดหดของเวลาได้ เราต้องไม่อยู่ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยนั้นๆ
แต่นี่เราอยู่ในกัป ซึ่งกัป ก็คือกรอบอ้างอิงเฉื่อยอันหนึ่ง เราจะไม่เห็นการยืดหดของเวลาของกัปเราเองได้เลยครับ
แต่เราจะเห็นเวลาของกัปอื่นยืดหด เมื่อเทียบกับเวลาในกัปของเรา
ดังนั้น หากเราอยู่ในกัปนั้นๆ เราจะไม่เห็นการยืดหดของเวลาครับ
เวลาในแต่ละกัปที่ไม่เท่ากัน(แต่ละกัปนี่หมายถึงเราต้องไปเกิดอยู่ด้วยนะครับ ไม่ใช่ไปดูกัปอื่นเทียบกับกัปที่เราอยู่)
จึงไม่ได้เป็นผลมาจากการยืดหดของเวลาครับ
แต่ระยะเวลาของกัปที่ไม่เท่ากัน ก็มีความเป็นไปได้ตามที่พี่Dd2683 ได้ตั้งสมมติฐานไว้
ส่วนเรื่องการยืดหดของเวลานี่ ผมเห็นว่า มีผลต่อเวลาของภพภูมิต่างๆ ที่ไม่เท่ากันมากกว่า
ซึ่งเข้ากันได้กับทั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเลยทีเดียว
หากมีเวลาว่างๆ จะลองมาเล่าให้ฟังครับ
อนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ...สาธุ
ปล. เพิ่มเติมนิดนึง ทฤษฎีของไอสไตน์ เรียกว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพ(The theory of relativity)
อ่านว่า สำ-พัด-ทะ-พาบ นะครับ
ไม่ใช่ ทฤษฎีสัมพันธภาพ(The theory of relationship) อ่านว่า สำ-พัน-ทะ-พาบ
เห็นเรียกผิดกันเยอะ ทฤษฎีสัมพันธภาพ น่าจะเกี่ยวกับการทูตมากกว่านะ หุๆ อันนี้มุกนะครับ ถึงจะไม่ค่อยขำก็เหอะ
โดย คุณ เป็นหนึ่ง
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=16076
อ่านความรู้ที่คุณ เป็นหนึ่ง ขยายความเรื่อง การยืด หดตัวของเวลา ว่า ต้องมีตัวอ้างอิงแแล้ว
นึกถึงคำว่า อวิชชา เลยครับ
ความหมายในวาระนี้ คือ ความไม่รู้แจ้ง ความไม่เห็นแจ้ง ตรงตามความเป็นจริง ในตถตาของสิ่งนั้น ๆ ( เวลา )
ผมก็เลยยังเข้าใจตามได้นิดโหน่ย
งั้นขอนำความรู้ที่ คุณ เป็นหนึ่ง นำมาแบ่งปันในกระทู้นี้ ไปเสริมความรู้ในกระทู้นั้น นะครับ
ถึงแม้คามรู้ ความเข้าใจนี้ จะดูต่างจากของคุณ สิริปโภ
แต่ก็ทำให้ผมมีความรู้ ความเข้าใจ มีมุมมองในเรื่องฟิสิกส์ของเวลา กว้างขึ้น (ใช้คำนี้ ถูกไหมเนี่ย )
อนุโมทนา คุณ เป็นหนึ่ง ด้วยนะครับ สาธุ
ท่านใดมีความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ในเรื่อง
แต่ละมหากัป มีระยะสั้น ยาวไม่เท่ากัน ได้หรือไม่ อย่างไร ?
นำมาแบ่งปันเพื่อต่อยอดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ได้นะครับ
อนุโมทนา ล่วงหน้าครับ สาธุ