ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พระไตรปิฎกขุมสมบัติแห่งปัญญา ตอน จูเฬกสาฎกพราหมณ์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 sithman

sithman
  • Members
  • 48 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 October 2005 - 11:45 PM

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓
วรรคที่ ๙. ปาปวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [๙๕]
QUOTE
จูเฬกสาฎก = จู-เล-กะ-สา-ดก

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ ชื่อ
จูเฬกสาฎก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ " เป็นต้น.

พราหมณ์และพราหมณีผลัดกันไปฟังธรรม
ความพิสดารว่า ในการแห่งพระวิปัสสีทศพล ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง
ชื่อมหาเอกสาฎก. แต่ในกาลนี้ พราหมณ์นี้ได้เป็นพราหมณ์ ชื่อจูเฬก
สาฎกในเมืองสาวัตถี. ก็ผ้าสาฎกสำหรับนุ่งของพราหมณ์นั้นมีผืนเดียว.
แม้ของนางพราหมณีก็มีผืนเดียว. ทั้งสองคนมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. ใน
เวลาไปภายนอก พราหมณ์หรือพราหมณีย่อมห่มผ้าผืนนั้น. ภายหลังวัน
หนึ่ง เมื่อเขาประกาศการฟังธรรมในวิหาร พราหมณ์กล่าวว่า "นาง
เขาประกาศการฟังธรรม. เจ้าจักไปสู่สถานที่ฟังธรรมในกลางวัน หรือ
กลางคืน ? เพราะเราทั้งสองไม่อาจไปพร้อมกันได้ เพราะไม่มีผ้าห่ม"
พราหมณีตอบว่า "นาย ฉันจักไปในกลางวัน" แล้วได้ห่มผ้าสาฎกไป.

พราหมณ์คิดบูชาธรรมด้วยผ้าสาฎกที่ห่มอยู่
พราหมณ์ยับยั้งอยู่ในเรือนตลอดวัน ต่อกลางคืนจึงได้ไปนั่งฟัง
ธรรมทางด้านพระพักตร์พระศาสดา. ครั้งนั้น ปีติ ๕ อย่างซาบซ่าน

QUOTE
ปีติ ๕ คือ
ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย ๑
ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ๑
โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพัก ๆ ๑
อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน ๑
ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ๑.

ไปทั่วสรีระของพราหมณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว. เขาเป็นผู้ใคร่จะบูชาพระศาสดา
คิดว่า " ถ้าเราจักถวายผ้าสาฎกนี้ไซร้, ผ้าห่มของนางพราหมณีจักไม่มี
ของเราก็จักไม่มี " ขณะนั้นจิตประกอบด้วยความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้น
แล้วแก่เขา, จิตประกอบด้วยสัทธาดวงหนึ่งเกิดขึ้นอีก. จิตประกอบด้วย
ความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้นครอบงำสัทธาจิต แม้นั้นอีก. ความตระหนี่
อันมีกำลังของเขาคอยกีดกันสัทธาจิตไว้ ดุจจับมัดไว้อยู่เทียว ด้วยประการ
ฉะนี้.

ชนะมัจเฉรจิตด้วยสัทธาจิต
เมื่อเขากำลังคิดว่า " จักถวาย จักไม่ถวาย " ดังนี้นั่นแหละ ปฐม-
ยามล่วงไปแล้ว. แต่นั้น ครั้นถึงมัชฌิมยาม เขาไม่อาจถวายในมัชฌิมยาม
แม้นั้นได้. เมื่อถึงปัจฉิมยาม เขาคิดว่า " เมื่อเรารบกับสัทธาจิตและ
มัจเฉรจิตอยู่นั่นแล ๒ ยามล่วงไปแล้ว. มัจเฉรจิตนี้ของเรามีประมาณเท่านี้
เจริญอยู่ จักไม่ให้ยกศีรษะขึ้นจากอบาย ๔, เราจักถวายผ้าสาฎกละ. "
เขาข่มความตระหนี่ตั้งพันดวงได้เเล้วทำสัทธาจิตให้เป็นปุเรจาริก ถือผ้า
สาฎกไปวางแทบบาทมูลพระศาสดา ได้เปล่งเสียงดังขึ้น ๓ ครั้งว่า " ข้าพ-
เจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว เป็นต้น ."

ทานของพราหมณ์ให้ผลทันตาเห็น
พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังทรงฟังธรรม ได้สดับเสียงนั้นแล้ว
ตรัสว่า " พวกท่านจงถามพราหมณ์นั้นดู. ได้ยินว่า เขาชนะอะไร ?."
พราหมณ์นั้นถูกพวกราชบุรุษถาม ได้เเจ้งความนั้น. พระราชาได้
สดับความนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์ทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก เราจัก
ทำการสงเคราะห์เขา " จึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าสาฎก ๑ คู่.
เขาได้ถวายผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตเหมือนกัน พระราชาจึงรับสั่ง
ให้พระราชทานทำให้เป็นทวีคูณอีก คือ ๒ คู่ ๔ คู่ ๘ คู่ ๑๖ คู่. เขาได้
ถวายผ้าแม้เหล่านั้นแด่พระตถาคตนั้นเทียว. ต่อมา พระราชารับสั่งให้
พระราชทานผ้าสาฎก ๓๒ คู่แก่เขา.
พราหมณ์เพื่อจะป้องกันวาทะว่า " พราหมณ์ไม่ถือเอาเพื่อตน สละ
ผ้าที่ได้แล้ว ๆ เสียสิ้น " จึงถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่จากผ้า ๓๒ คู่นั้นคือ " เพื่อ
ตน ๑ คู่ เพื่อนางพราหมณี ๑ คู่ " ได้ถวายผ้าสาฎก ๓๐ คู่แด่พระตถาคต
ทีเดียว. ฝ่ายพระราชา เมื่อพราหมณ์นั้นถวายถึง ๗ ครั้ง ได้มีพระราช
ประสงค์จะพระราชทานอีก. พราหมณ์ชื่อมหาเอกสาฎก ในกาลก่อน
ได้ถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่ในจำนวนผ้าสาฎก ๖๔ คู่. ส่วนพราหมณ์ชื่อจูเฬก-
สาฎกนี้ ได้ถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่ ในเวลาที่ตนได้ผ้าสาฎก ๓๒ คู่.
พระราชา ทรงบังคับพวกราชบุรุษว่า " พนาย พราหมณ์ทำสิ่งที่ทำ
ได้ยาก. ท่านทั้งหลายพึงให้นำเอาผ้ากัมพล ๒ ผืนภายในวังของเรามา."
พวกราชบุรุษได้กระทำอย่างนั้น. พระราชารับสั่งให้พระราชทานผ้ากัมพล
๒ ผืนมีค่าแสนหนึ่งแก่เขา. พราหมณ์คิดว่า " ผ้ากัมพลเหล่านี้ไม่สมควร
แตะต้องที่สรีระของเรา. ผ้าเหล่านั้นสมควรแก่พระพุทธศาสนาเท่านั้น "
จึงได้ขึงผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ทำให้เป็นเพดานไว้เบื้องบนที่บรรทมของพระ-
ศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ขึงผืนหนึ่งทำให้เป็นเพดานในที่ทำภัตกิจของ
ภิกษุผู้ฉันเป็นนิตย์ในเรือนของตน. ในเวลาเย็น พระราชาเสด็จไปสู่
สำนักของพระศาสดา ทรงจำผ้ากัมพลได้แล้ว ทูลถามว่า " ใครทำการ
บูชา พระเจ้าข้า ? " เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า " พราหมณ์ชื่อเอกสาฎก "
ดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์เลื่อมใสในฐานะที่เราเลื่อมใสเหมือน
กัน " รับสั่งให้พระราชทานหมวด ๔ แห่งวัตถุทุกอย่าง จนถึงร้อยแห่ง
วัตถุทั้งหมด ทำให้เป็นอย่างละ ๔ แก่พราหมณ์นั้น อย่างนี้ คือช้าง ๔
ม้า ๔ กหาปณะสี่พัน สตรี ๔ ทาสี ๔ บุรุษ ๔ บ้านส่วย ๔ ตำบล.

รีบทำกุศลดีกว่าทำช้า
ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า " แม้ ! กรรมของพราหมณ์
ชื่อจูเฬกสาฎก น่าอัศจรรย์. ชั่วครู่เดียวเท่านั้น เขาได้หมวด ๔ แห่ง
วัตถุทุกอย่าง. กรรมอันงามเขาทำในที่อันเป็นเนื้อนาในบัดนี้นั่นแล ให้
ผลในวันนี้ทีเดียว. "
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย
นั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อ
นี้ พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเอกสาฎกนี้จักได้อาจเพื่อถวาย
แก่เราในปฐมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๑๖, ถ้าจักได้อาจ
ถวายในมัชฌิมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๘, แต่เพราะถวาย
ในเวลาจวนใกล้รุ่ง เขาจึงได้สรรพวัตถุอย่างละ ๔, แท้จริง กรรมงาม
อันบุคคลผู้เมื่อกระทำ ไม่ให้จิตที่เกิดขึ้นเสื่อมเสียควรทำในทันทีนั้นเอง,
ด้วยว่า กุศลที่บุคคลทำช้า เมื่อให้สมบัติ ย่อมให้ช้าเหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้น พึงทำกรรมงามในลำดับแห่งจิตตุปบาททีเดียว " เมื่อทรงสืบอนุ-
สนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๑. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺต นิวารเย
ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺ ปาปสฺมึ รมตี มโน
ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺ ปาปสฺมึ รมตี มโน.

"บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี, พึงห้ามจิต
เสียจากบาป, เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่,
ใจจะยินดีในบาป."

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺเรถ ความว่า พึงทำด่วนๆ คือ
เร็ว ๆ. จริงอยู่ คฤหัสถ์เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า " จักทำกุศลบางอย่าง ในกุศล
ทานทั้งหลายมีถวายสลากภัตเป็นต้น " ควรทำไว ๆทีเดียว ด้วยคิดว่า
เราจะทำก่อน เราจะทำก่อน " โดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่ได้โอกาส
ฉะนั้น. หรือบรรพชิต เมื่อทำวัตรทั้งหลายมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น ไม่ให้
โอกาสแก่ผู้อื่น ควรทำเร็ว ๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า " เราจะทำก่อน เราจะ
ทำก่อน."
สองบทว่า ปาปา จิตฺต ความว่า ก็บุคคลพึงห้ามจิตจากบาปกรรม
มีกายทุจริตเป็นต้น หรือจากอกุศลจิตตุปบาท ในที่ทุกสถาน.
สองบทว่า ทนฺธิ หิ กรโต ความว่า ก็ผู้ใดคิดอยู่อย่างนั้นว่า " เรา
จักให้, จักทำ, ผลนี้จักสำเร็จแก่เราหรือไม่ " ชื่อว่าทำบุญช้าอยู่ เหมือน
บุคคลเดินทางลื่น. ความชั่วของผู้นั้นย่อมได้โอกาส เหมือนมัจเฉรจิต
พันดวงของพราหมณ์ชื่อเอกสาฎกฉะนั้น. เมื่อเช่นนั้นใจของเขาย่อมยินดี
ในความชั่ว, เพราะว่าในเวลาที่ทำกุศลกรรมเท่านั้นจิตย่อมยินดีในกุศล
กรรม, พ้นจากนั้นแล้ว ย่อมน้อมไปสู่ความชั่วได้แท้.
ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก จบ.

#2 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 04 February 2007 - 05:01 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ