ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อยากทราบว่าอานิสงของการสวดยอดพระกัณไตรปิฎก


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 themoon

themoon
  • Members
  • 21 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 May 2007 - 07:15 AM

โดยส่วนตัวแล้วสวดยอดพระกัณไตรปิฎกทุกวันถ้ามีเวลาจะสวดเช้าเย็นหรือ อย่างน้อยจะสวดวันละ 1 จบ
และบางทีก็จะสวดบทสวดบทอื่นๆด้วย เพราะบางวันมีเวลาจำกัด แต่ไม่ทราบอานิสงค่ะ ขอบคุณค่ะ

#2 ปราบไตรภพ

ปราบไตรภพ
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 May 2007 - 08:40 AM

เท่าที่สอบถามจากพระผู้ใหญ่ บทนี้เขาไม่ใช้กันนะ
แนะให้สวดจา่ก หนังสือ มนต์พิธี ปกสีเหลือง
เลือกสวดจากในนั้นจะดีกว่า และจะเห็นว่าไม่มีบท
ยอดพระกัณไตรปิฏก ซึ่งเป็นการ นำมาเผยแพร่จาก
หนังสือสวดมนต์เล่มเล็กๆที่เขาพิมพ์แจกกันมา
ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง
ปล. แล้วแต่ศรัทธานะ

#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 May 2007 - 09:53 AM

สวดมนต์ย่อมาจาก สวดพระพุทธมนต์

เมื่อเกิดพุทธานุสติ จิตย่อมเป็นสมาธิ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 jane_072

jane_072
  • Members
  • 539 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 May 2007 - 11:25 AM

สาธุๆๆ

#5 Doramon

Doramon
  • Members
  • 468 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 May 2007 - 04:35 PM

ทำให้มีดวงปัญญาสว่าง กว้างขวาง ฯลฯ

#6 ธรรมภิญโญ

ธรรมภิญโญ
  • Members
  • 25 โพสต์
  • Location:พระนครศรีอยุธยา
  • Interests:ฝึกปฏิบัติสมาธิ /อ่านหนังสือ

โพสต์เมื่อ 24 May 2007 - 06:49 PM

ดีครับ สวดพระพุทธมนต์เพื่อเป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ประโยชน์อย่างแรกคือ ใจเราจะคุ้นเคยและแนบแน่นกับพระรัตนตรัยครับ จะเกิดศรัทธาในบุญที่ทำ
จะเกิดศรัทธาในศีลที่รักษา จะเกิดสมาธิ และเป็นทางเบื้องต้นสู่ธรรมที่สูงขึ้นเรื่อยๆครับ
ข้าพเจ้ายังเป็นผู้มีสติปัญญาน้อยอยู่ หากคำพูดอันใดทำให้ผู้เจริญในธรรมทั้งหลายเห็นว่าไม่สมควร
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม และกรุณาชี้แนวทางให้ข้าพเจ้าด้วยครับ



#7 ว่างว่าง

ว่างว่าง
  • Members
  • 200 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 May 2007 - 07:13 PM

สวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกดีมากครับ ผมก็สวดอยู่ ให้อ่านคำแปลดูครับ สุดยอดมาก ครอบจักรวาล สวรรค์ทุกชั้นฟ้า รวมทั้งรูปพรหม อรูปพรหม ทั้งนี้ได้กล่าวถึงความไม่เที่ยงของขันธ์ทั้ง5ประกอบถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ถือว่าเป็นคาถาที่ดีทีเดียวครับ ในนี้ก็แพุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ระลึกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะเช่นกัน แต่ถ้าจะสวดก็สวดต้นฉบับนะครับ

#8 usr28064

usr28064
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 January 2009 - 05:52 PM

ผู้ใดมียอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกไว้ประจำบ้านเรือน มีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างพระเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลกและป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ทำมาหากินเจริญ ฯลฯ

ต่อมามีผู้นิยมสร้างหนังสือนี้ขึ้น โดยเชื่อว่าผู้ใดสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และสวดมนต์สักการะบูชาเป็นประจำ จะมีผลานิสงส์สุดที่จะพรรณ นาให้ทั่วถึงได้ นับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้า ตลอดทั้งบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้

ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวว่า หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน ก็ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานับปการ ฯ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตน

จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ

ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบ กระดูกลอยน้ำได้

#9 usr28064

usr28064
  • Members
  • 2 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 January 2009 - 06:00 PM

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา .
อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะระหันตัง สิระสา นะมามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ.
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ.
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ.
สุคะตัง สิระสา นะมามิ.
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ.
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ.
๒.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วะตะ โส ภะคะวา.
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วะตะ โส ภะคะวา.
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ.
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ.
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ.
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ.
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
พุทธัง สิระสา นะมามิ. อิติปิ โส ภะคะวา ฯ
๓.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ-ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะ-ณะปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะ ปาระมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะปารมิ จะ สัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะ-ลักขะณะปาระมิ จะสัมปันโน.
๔.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จักกะวาฬะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
๕.
อิติปิ โส ภะคะวา จาตุมมะหาราชิกาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตาวะติงสาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะรูปาวะจะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โลกุตตะระธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
๖.
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุสะมาธิ-ญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
๗.
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
๘.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะมัคคะธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตติผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละธาตุสะมาธิญาณะสัมปันโน.
๙.
กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชัมพู ทีปัญจะ อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ
นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง อา ปา มะ จุ ปะ, ที มะ สัง อัง ขุ, สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ, อุปะสะชะสะเห ปาสายะโส ฯ
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ
นา วิ เว,อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ, อิสวาสุ, สุสวาอิ กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ.
๑๐.
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ สาโพธิปัญ จะ อิสสะโร ธัมมา.
กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ยามา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา พรหมาสัททะ ปัญจะสัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ตุสิตา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
พรหมา อิสสะโร กุสะลา ธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ.
๑๑.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลาโภกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ.
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติ-สาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกาอิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ.
สาวัง คุณัง วะชะ พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญา นิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ยะสัง ตัปปัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
๑๒.
นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวา.
นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะ-ขันโธ เวทะนาขันโธ
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม. สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง.
นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัต-ตา อุอะมะอะ วันทา
นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
นะโม พุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ


คำกรวดน้ำ ของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญของข้าพเจ้า ได้สร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชู อุดหนุน คุณบิดามารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร มิตรรักสนิท เพื่อนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาล ท้าวจะตุโลกะบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้นจาตุมมะหาราชิกาเบื้องบน สูงสุดจนถึงภวัคคะพรหม และเบื้องล่างต่ำสุด ตั้งแต่โลกันตมหานรกและอเวจีขึ้นมา จนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดาทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยมยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุขขอให้ได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ
พุทธัง อะนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหนตุ.

#10 *บอย*

*บอย*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 02 April 2011 - 09:32 PM

ผมสวดช่วงเช้าตั้งแต่อิมินา ถึงพระไตรปิฎกแต่สวดพระไตรปิฎก 3 รอบ ดีไหมครับ

#11 *บอย*

*บอย*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 02 April 2011 - 09:35 PM

ถ้ามีผู้รู้รบกวนช่วยติดต่อกลับผมหน่อยนะครับจะเป็นพระคุณอย่างสูง 081 1600 229 บอยครับ

#12 สาหร่าย

สาหร่าย
  • Members
  • 123 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 11 April 2011 - 01:40 PM

สวดมนต์ให้ใจเย็นนุ่ม ชุ่มชื่น เบิกบาน เป็นบุญกุศล
ใจรวมเป็นสมาธิได้ง่าย
สวดแล้วก็นั่งสมาธิต่อจะดีมากๆ เลยค่ะ

#13 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 19 October 2011 - 06:49 PM

เราสวดทุกวันเลยค่ะ สวดแบบท่องเป็นคำๆไม่ได้ท่องเหมือนพระสวดนี่ล่ะค่ะ
เมื่อก่อนสวด3จบต่อวัน ในหนังสือเขียนว่าดีเราจึงสวดไป แต่ตอนนั้นไม่ได้เป็นพิธีการอะไรมาก คือไม่ได้สวดต่อหน้าพระ และก็ไม่ได้ท่องคำอุทิศส่วนกุศลด้วย สวดก็รีบๆสวดเอาแค่ว่าสวดให้ครบ หลังจากสวดประมาณ 2 อาทิตย์ ไม่น่าเชื่อ เกิดความสุข ใจคิดได้ว่าเราอยากทำทาน เรามีข้าวของพอใช้แล้ว ถึงเอาของในห้องทั้งหมดไปบริจาค เราก็ไม่เสียดาย คิดอยากละความโลภตลอด เห็นผู้คนเกิดเมตตาอยากให้เขาพ้นทุกข์ เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้างหนอ เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา จิตใจมันแผ่เมตตาไปตลอดเวลา
ไม่น่าเชื่อหลังจากนั้นเจอแต่สิ่งดีๆเข้ามาตลอด โชคลาภไม่คาดฝันประดังเข้ามา กัลยาณมิตรเข้ามาช่วยเหลือ ครอบครัวจากทะเลาะกันก็สามัคคี เทียบกับก่อนสวดจะเป็นคนเครียดง่าย เงินไม่พอใช้ โลภเพราะคิดว่าตัวเองไม่พอ อยากได้อยากมีเป็นในสิ่งที่เกินตัว เป็นทุกข์ตลอด ทะเลาะกับคนในบ้าน เจอเพื่อนไม่ดี ฯลฯ
ทุกวันนี้ก็เลยยิ่งตั้งใจสวดมากกว่าเมื่อก่อน หลังสวดเสร็จก็ยินดีกล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ทั่วจักรวาล สวดต่อหน้าพระพุทธรูป ยินดีที่จะสวด สวดแล้วรู้สึกมีความสุข สบายใจ
สวดแล้วเป็นมหามงคลต่อตัวเรา สวดไปเถอะค่ะ