ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

**คำถาม เรื่อง จิต เจตสิก รูป **


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 02:30 PM

1.ประโยคที่ว่า**จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ในเมื่อจิตมีอำนาจ บงการกายได้ ทำไมถึงสั่งไม่ให้กายเหี่ยวเฉาทรุดโทรมลงได้ ขอคำอธิบาย
2.จิตกับเจตสิก อย่างไหนเกิดก่อน และมีอำนาจมากกว่ากัน
3.จิต ชั่วลัดนิ้วมือเดียว บอกว่า เกิดดับเป็น ล้านขณะ เป็นยังไง ขอคำอธิบายให้หน่อยครับ
4.พระอริยะบุคคล ระดับไหนที่สามารถ ขจัด นิวรณ์5ได้เด็ดขาด
5.ในเมื่อไม่มีเราเขา ทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วจิตที่อยู่ในร่างกายนี้เป็นของใคร
************ช่วยตอบให้หน่อยครับ**************** happy.gif
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 ลันล้า

ลันล้า
  • Members
  • 15 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 03:06 PM

อืม ขอผู้รู้มาบอกหน่อย ฟังคำถามแล้วอยากรู้เหมือนกัน สาธุครับ

#3 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 03:13 PM

อันนี้คำตอบข้อ1-2เรื่อง จิต เจตสิก รูปนาม หรือปรมัตธรรม รายละเอียดตามลิ้งด้านล่างตั้งใจอ่านหน่อยครับยากนิดหน่อย ต้องทำความเข้าใจ
http://www.gaew9876....w...e&Id=180518

อันนี้คำตอบข้อ3 เรื่องวิถีจิต เกิดดับชั่วลัดนิ้วมือ ถึงอสงไขยครัง ยากเหมือนกัน ต้องเรียนนาน
http://larndham.net/.../D00000142.html


ตอบข้อ4นิวรณ์ 5
อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่างคือ
  1. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสอันเป็นวิสัยของ กามารมณ์
  2. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
  3. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
  4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
  5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิด ไว้หรือไม่เพียงใด
อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูด ว่า จิตใจของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนม กับอารมณ์ของนิวรณ์มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับ นิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้าม กับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกัน มานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคมกันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้า- ประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌานนั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกัน มานาน

ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการอย่างนี้เป็นกฎธรรมดา ของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่ต่อเมื่อไร ได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้นเข้ม แข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติ จงเข้าใจไว้ด้วยว่า จิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้า ยังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌานออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌาน ย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจหมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนด เวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลาเท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลาจนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อนจากฌาน มีความรู้สึก ตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ ๑ ชั่วโมง ไป หา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเองโดย ไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็ อย่าประมาทเพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มา รบกวนนั้นไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้ โลกุตตรฌาน คือ บรรลุพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัว ได้ว่าท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุต- ตรฌานคือ ได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณจนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริย- บุคคล แล้วอกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนักสำหรับพระอริยะต้น พอจะ กวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่างเช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจ นิดหน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของ อุทธัจจะ คือความคิดฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะ เลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อย ให้ใจระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ ในอารมณ์ของฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่นเอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่าเป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบเกิด เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหม ชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของ ปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลส ได้เด็ดขาดจนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่ฌานที่ ๑ มีอานุภาพ มากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์จนเสีย
http://www.larnbuddh...editation2.html


ส่วนคำตอบข้อ5 ในเมื่อไม่มีเราเขา ทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วจิตที่อยู่ในร่างกายนี้เป็นของใคร
ตอบ - จิตที่อยู่ในร่างกาย นี้ก็คือ อนัตตาไงครับ (มันไม่มี)

งงมั้ยครับ คำถามระดับพระอภิธรรมคำภีร์ ต้องศึกษาอย่างละเอียด หลากหลายยาวนานมาก แต่ธรรมทั้งหมดนั้นรู้ได้ด้วยการทำใจหยุดเพียงแค่นั้นเอง มหัศจรรย์จริงๆ




#4 ณ ทะเลจันทร์

ณ ทะเลจันทร์
  • Members
  • 78 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 04:38 PM

"จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" น่าจะหมายถึงว่า
เมื่อจิตใจเป็นสุขสดชื่นดี ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุข
คือ สารเอนโดรฟิน ออกมา ด้วยหนึ่งในคุณสมบัติของสารนี้คือ
ลดอาการเจ็บปวดในร่างกายได้..

ในทางกลับกัน แม้ร่างกายแข็งแรง แต่ประสบแต่เรื่องทุกข์ใจ
จิตใจเป็นทุกข์-เศร้าซึม ความดันเลือดก็จะผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจก็แปรปรวน
ระบบการทำงานของต่อมไร้ท่อ อวัยวะต่างๆ ที่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงก็แปรปรวน
ทำงานผิดปกติกันไปหมด ส่งให้เกิดสภาวะความเจ็บป่วยปรากฎแก่ร่างกาย


ส่วนเรื่องธรรมะที่ละเอียดลงไปนั้น
..น่าสนใจมาก ถึงเรายังไปได้ไม่ไกลเท่านี้ แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามล่ะน่ะ..
อ่านเพลินดีค่ะ

 

"จงอย่าเป็นทุกข์เพราะความหยาบคายของผู้อื่น"  

"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"  "เจตนา..นั้นแหละคือ..กรรม"

"จงทำในสิ่งที่ถูกต้อง..มากกว่าถูกใจ"  "ไม่มีสิ่งเลวร้ายใดที่คนพูดโกหกทำไม่ได้"


#5 jane_072

jane_072
  • Members
  • 539 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 06:33 PM

ตอบได้ดีมากครับ อนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุๆๆ

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 07:15 PM

nerd_smile.gif กระทู้ที่อาจเอื้อประโยชน์ต่อเพื่อนสมาชิกใหม่: http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=2723
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#7 OMARISS

OMARISS
  • Members
  • 26 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 07:16 PM

Please come back more often ka..นักเรียนอนุบาล ไชยานุภาพ ปราบหงสาวด and นักเรียนอนุบาล xlmen... I'm always waiting for your knowledgeable answers..Thank you and sathu.....

#8 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 22 June 2007 - 10:00 PM

เรื่องอภิธรรมนี่แทบจะไม่รู้อะไรเลย อาจจะพอเข้าใจได้บ้าง แต่จริง ๆ มันเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจนะครับ แต่เป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้เห็นแจ้ง ถ้าเราคิดแบบสามัญสำนึกทั่วไปจะไม่ค่อยได้ประโยชน์ครับ แต่จะตอบตามที่ศึกษาสังเกตมานะครับ

1.ประโยคที่ว่า**จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ในเมื่อจิตมีอำนาจ บงการกายได้ ทำไมถึงสั่งไม่ให้กายเหี่ยวเฉาทรุดโทรมลงได้ ขอคำอธิบาย
- เพราะมันไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราเข้าใจ
- เหตุและผลต้องสอดคล้องกัน ผลที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องอาศัยเหตุที่ยิ่งใหญ่
- จิตสั่งได้ทุกอย่างจริงหรือไม่
- แม้จิตจะปรารถนา แต่ความปรารถนาบางประการก็ต้องใช้เวลาเป็นอสงไขยกว่าจะสำเร็จ ในเมื่อยังไม่เคยมีใครพ้นจากความแก่ เช่นนี้ก็แสดงว่าไม่ใช่เรื่องที่จิตจะทำได้โดยง่าย แต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย เช่น เราอยากได้รถยนต์ แต่เรามีเงินไม่พอ อย่างนี้ก็ซื้อม่ได้ แต่ก็อาจซื้อรถจักรยานได้

2.จิตกับเจตสิก อย่างไหนเกิดก่อน และมีอำนาจมากกว่ากัน
- ไม่แน่ใจว่าถามอย่างนี้จะถูกต้องตามลักษณะของจิตและเจตสิกหรือไม่ ตอบไม่ได้เหมือนกัน

3.จิต ชั่วลัดนิ้วมือเดียว บอกว่า เกิดดับเป็น ล้านขณะ เป็นยังไง ขอคำอธิบายให้หน่อยครับ
- ให้ดูตัวอย่างของกลไกต่าง ๆ เช่น ลูกสูบเครื่องยนต์ การทำงานของ CPU เป็นต้น หยาบ ๆ เราไม่ได้รู้สึกอะไร แต่พอมองลึกลงไป สิ่งเหล่านี้ก็ทำงานอย่างเป็นระบบและรวดเร็วมากอยู่ตลอดเวลา

4.พระอริยะบุคคล ระดับไหนที่สามารถ ขจัด นิวรณ์5ได้เด็ดขาด
- แม้พระโสดาบันก็ยังมีง่วงซึมที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมได้อยู่ (อย่างเช่น พระโมคคัลลานะ) แต่ไม่แน่ใจว่าเรียกนิวรณ์ได้หรือไม่ บุคคลประเภทเดียวที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลยทั้งหยาบทั้งละเอียดก็คือพระอรหันต์ครับ

5.ในเมื่อไม่มีเราเขา ทุกอย่างเป็นอนัตตา แล้วจิตที่อยู่ในร่างกายนี้เป็นของใคร
- ไม่ใช่ไม่มีเขาไม่มีเรา แต่กายนี้ ใจนี้ เป็นสิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่ง เป็นทางมาแห่งทุกข์ ไม่ยั่งยืน และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตนเอง กายนี้ ใจนี้ จึงไม่ใช่ความเป็นตน ความเป็นของตนอย่างแท้จริง แต่หากผู้ใดมีตนอันเกิดด้วยธรรมแล้ว มีตนเป็นที่เกาะ มีตนเป็นที่พึ่งได้แล้ว ตนนั้นแหละคือตนในความหมายที่แท้จริง ซึ่งอยู่ห่างไกลจากความเข้าใจของผู้สำคัญว่าสังขารทั้งหลายเป็นตน ความยึดถือว่าเป็นตนก็ไม่มี แต่ว่าเป็นตนที่พึ่งได้อย่างแท้จริง

#9 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 25 June 2007 - 08:28 AM

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก