ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

สงสัยว่าทำไมพระโดนตัวสีกาได้


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 tulip

tulip
  • Members
  • 1 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2007 - 01:30 PM

มีโอกาสไปเข้าวัดและทำวัตรเย็นที่วัดที่ศรีลังกา หลังสวดมนต์เสร็จแล้วหลวงพี่จะทำหน้าที่แจกสายสิญจน์ให้ญาติโยมรวมทั้งสีกาด้วยแล้วมือของหลวงพี่ก็โดนมือเราเวลาผูกด้าย แล้วเวลากราบลาพระสีกาบางคนกราบที่เท้าและแตะเท้าด้วย เคยคิดว่าธรรมเนียมปฏิบัติต่อพระที่ศรีลังกาน่าจะเหมือนประเทศเรา แต่คิดว่าเขาคงถือเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลัก ใครทราบในรายละเอียดบ้างไหมคะ......ทิวลิป

#2 Patch Adum

Patch Adum
  • Members
  • 69 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2007 - 05:55 PM

วัฒนธรรมต่างกันรึเปล่า ลองศึกษาดู พระญี่ปุ่นยังแต่งงานได้ พุทธศาสนาแตกแยกไป บางครั้งก็ผิดเพียนไปได้..

#3 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 24 July 2007 - 09:38 AM

อยากทราบว่าพระที่วัดที่น้องไปเป็นพระไทยหรือพระศรีลังกาครับ ถ้าเป็นพระที่ศรีลังกา เป็นธรรมเนียมของที่นั่นครับ ชาวพุทธที่นั่นจะถือว่าพระเป็นสิ่งสูงสุดเป็นที่พึ่ง คล้ายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทำนองนี้น่ะครับ แต่เนื่องจากถูกตัวพระไม่ได้ จึงเลือกสัมผัสเท้าที่อยู่ตําที่สุดของร่างกายแสดงถึงความเคารพนั่นเองน่ะครับ
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#4 ณ ทะเลจันทร์

ณ ทะเลจันทร์
  • Members
  • 78 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 July 2007 - 05:41 PM

เจ้าของกระทู้นี้มาบอกเล่าไว้สั้นๆ ง่ายๆ แต่น่าเข้ามาคุยด้วยค่ะ

"There is no right and no worng but just difference."
โดยส่วนตัวคิดว่า เป็นความแตกต่างที่ไม่มีใครผิดและไม่มีใครถูก..อย่างชัดเจนนัก

เพราะกาลเวลาล่วงเลยมานับพันปี พุทธศาสนาเผยแผ่ออกไปไกลจากแหล่งกำเนิด
วัฒนธรรมในการประกอบกิจต่าง ๆ ของศาสนาจึงต้องแปรไปตามวัฒนธรรมพื้นถิ่น
เพื่อให้ผู้คนในพื้นถิ่นสามารถรับและนำไปปฎิบัติได้อย่างไม่ขัดแย้งกับวิถีชีวิตดั้งเดิม

ธรรมชาติให้พรวิเศษกับสรรพสิ่งในโลกมาหนึ่งข้อที่เท่าเทียมกัน ...สัญชาติญาณการเอาตัวรอด
"การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดของตน" ..การเผยแผ่ศาสนาคงเป็นเช่นนั้น
แม้วัฒนธรรมที่แตกต่างแต่ก็ดำรงคำสอนของศาสนาไว้ในแนวทางเดียวกัน

ส่วนเพื่อนพี่น้องที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวพุทธที่หลากหลายอย่างนี้
มาบอกเล่าสู่กันฟังบ้างนะ จะเก็บไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ...
เผื่อมีโอกาสไปเยือนประเทศอื่นๆ น่ะค่ะ

 

"จงอย่าเป็นทุกข์เพราะความหยาบคายของผู้อื่น"  

"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"  "เจตนา..นั้นแหละคือ..กรรม"

"จงทำในสิ่งที่ถูกต้อง..มากกว่าถูกใจ"  "ไม่มีสิ่งเลวร้ายใดที่คนพูดโกหกทำไม่ได้"


#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 26 July 2007 - 05:28 PM

เรื่องการกราบนี่สมัยพุทธกาลมีมาแล้วครับ เรื่องเกิดขึ้นตอนที่ พระพุทธเจ้า เสด็จกลับมาโปรดพระประยูรญาติ เมื่อโปรดได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็ต้องเสด็จมาพบพระนางพิมพา ตอนนั้นเองพระพุทธเจ้าท่านตรัสกับพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะว่า ถ้านางพิมพาเห็นเราแล้ว ตรงเข้ามากอดเท้าเราไว้นั้น พวกท่านอย่าได้ห้ามนางนะ มิฉะนั้น นางจะอกแตกตายด้วยความสุดอาลัยรักทันที สาวกทั้งสองก็รับปาก

จริงดังคาด เพียงแค่พระนางพิมพาเห็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น พระนางพิมพาก็โผเข้ามากอดเท้าพระพุทธเจ้าทันที ปากก็พร่ำรำพันต่างๆ นาๆ สาวกทั้งสองก็ไม่ได้ห้ามปรามตามที่พระพุทธเจ้าสั่งไว้ ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเห็นว่า พระนางคลายความเศร้าโศกลงได้แล้ว จึงแสดงธรรมโปรดนางพิมพาครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร