ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

บริสุทธิ์ด้วยปัญญา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 30 July 2007 - 05:15 PM

unsure.gif องค์ ๓ แห่งท้าวสักกะ ได้แก่ ธรรมดาท้าวสักกะ ย่อมเพียบพร้อมด้วยสุขอย่างเดียวฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรยินดีในสุขอันเกิดจากวิเวกอย่างเยี่ยมฝ่ายเดียว(120)ฉันนั้น.อันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งท้าวสักกะฯ. ธรรมดาท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพเจ้าทั้งหลายได้เห็นเทพเจ้าทั้งหลายแล้วก็ทำให้เกิดความร่าเริงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำใจให้เกิดความร่าเริง ไม่หดหู่ ไม่เกียดคร้าน ในกุศลธรรมทั้งหลาย(121)ฉันนั้น. อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งท้าวสักกะฯ ธรรมดาท้าวสักกะย่อมไม่เกิดความเบื่อหน่าย ไม่เกิดความรำคาญ ฉันใด พระโยคาวจร ก็ไม่ควรให้เกิด ความเบื่อหน่าย ในสิ่งที่สงัด(122)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งท้าวสักกะฯข้อนี้สมกับคำของพระสุภูติเถรเจ้าว่าข้าแต่มหาวีรเจ้านับแต่ข้าแต่พระองค์ได้บรรพชา ในศาสนาของพระองค์ย่อมไม่รู้สึกว่ามีสัญญาสักอย่างเดียว อันเกี่ยวกับกามารมณ์ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์เลย ดังนี้ (123)

unsure.gif องค์๔แห่งพระเจ้าจักรพรรดิได้แก่ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงสงเคราะห์ประชาชนด้วย สังคหวัตถุ ๔ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควร สงเคราะห์ ควรประคอง ควรอนุเคราะห์ ควรทำให้ร่าเริง แก่บริษัท๔(124)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ธรรมดาใน แว่นแคว้นพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมไม่มีโจรผู้ร้ายฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรให้มีโจรผู้ร้าย คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก(125) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๒ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ข้อนี้ สมกับ พระพุทธพจน์ว่า ผู้ใดยินดีในการระงับวิตก อบรมอสุภะมีสติทุกเมื่อผู้นั้นจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้จะตัดเครื่องผูกแห่งมารได้(126)ดังนี้ฯ. ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิย่อมเสด็จเลียบโลกเพื่อทรงพิจารณาดูคนดีคนเลวทุกวันฉันใด พระโยคาวจรก็ควรพิจารณากายกรรม,วจีกรรม,มโนกรรมทุกวันแล้วทำให้บริสุทธิ์ด้วยคิดว่าวันคืนของเราผู้ไม่ข้อง อยู่ด้วยฐานะทั้ง ๓ นี้ ได้ล่วงเลยไปแล้วอย่างไร(127) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์อังคุตตรนิกายว่าบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆว่าวันคืนของเราผู้เป็นอยู่ อย่างไรได้ล่วงไป(128)ดังนี้ฯ.ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงจัดการรักษาให้ดีทั้งภายใน ภายนอก ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรตั้งนายประตู คือ สติ ให้รักษากิเลสทั้งภายในภายนอก(129)ฉันนั้น อันนี้เป็น องค์ที่ ๔ แห่ง พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีนายประตู คือ สติ ย่อมละอกุศล อบรมกุศล ละสิ่งที่ มีโทษ อบรมสิ่งที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้(130)

unsure.gif องค์แห่งปลวกได้แก่ธรรมดาปลวกย่อมทำหลังคาปิดตัวเองแล้วอาศัยอยู่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำหลังคาคือ ศีลสังวร ปิดใจของตนอยู่ ฉันนั้น เพราะเมื่อปิดใจของตนด้วยศีลสังวรแล้ว ย่อมล่วงพ้นภัย ทั้งปวงได้(131) อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลวก ฯ ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถรเจ้าว่า พระโยคีกระทำเครื่องมุงใจ คือ ศีลสังวรแล้ว ไม่ ติด อยู่ในอะไร ย่อมพ้นจากภัยได้ ดังนี้(132)

unsure.gif องค์๒แห่งแมวได้แก่ ธรรมดาแมว เวลาไปที่ถ้ำ หรือที่ซอก ที่รู ที่โพรง ที่ระหว่างถ้ำก็ดี ก็แสวงหาแต่หนู ฉันใดพระโยคาวจรผู้ไปอยู่ที่บ้านหรือที่ป่า,ที่โคนต้นไม้,ที่แจ้ง,ที่ว่างบ้านเรือนก็ไม่ควรประมาท ควรแสวงหาโภชนะคือกายคตาสติ(133)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งแมวฯ.ธรรมดาแมวย่อมแสวงหา อาหารในที่ใกล้ๆฉันใดพระโยคาวจรก็ควรพิจารณาซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ทั้ง๕นี้เองว่าความตั้งขึ้นและ ความเสื่อมไปแห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนี้ๆ(134) ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่าไม่ควรพูดถึงที่ไกลภวัคคพรหมจักทำอะไรได้ควรเบื่อหน่าย เฉพาะในกายของตน อันมีอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ ดังนี้(135)

unsure.gif องค์ ๑ แห่งหนู ได้แก่ ธรรมดาหนู ย่อมเที่ยวแสวงหาอาหารข้างโน้นข้างนี้ ฉันใดพระโยคาวจร เมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ก็ควรแสวงหาโยนิโสมนสิการ(136)ฉันนั้น.อันนี้เป็นองค์๑แห่งหนูฯ ข้อนี้สมกับคำของพระอุปเสนเถรเจ้าว่าผู้แสวงหาธรรม,ผู้เห็นธรรมต่างๆผู้ไม่ย่อท้อ,ผู้สงบย่อมมีสติอยู่ ทุกเมื่อดังนี้(137)

unsure.gif องค์ ๑ แห่งแมลงป่อง ได้แก่ ธรรมดาแมลงป่อง ย่อมมีหางเป็นอาวุธ ย่อมชูหาง ของตนเที่ยวไป ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีญาณเป็นอาวุธควรชู ญาณ(138)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งแมลงป่อง ฯ ข้อนี้สมกับคำของ พระอุปเสนเถรเจ้าว่า ภิกษุผู้ถือเอาพระขรรค์คือญาณ ผู้เห็นธรรม ด้วยอาการต่าง ๆ ย่อมพ้นจากภัยทั้งปวง ภิกษุนั้นย่อมอดทนสิ่งที่ทน ได้ยากในโลก ดังนี้(139)

unsure.gif องค์ ๑ แห่งพังพอน ได้แก่ ธรรมดาพังพอนเมื่อจะไปสู้กับงู ย่อมมอบตัวด้วยยาเสียก่อน จึงเข้าไปใกล้งู เพื่อจะสู้กับงู ฉันใด พระโยคาวจรเมื่อจะ เข้าไปใกล้โลกอันมากไปด้วยปฏิฆะ โกธะ ฆาตะ อันครอบงำด้วย ความบาดหมาง,ความทะเลาะ,ความผิดเถียงก็ทาอวัยวะด้วยยาคือเมตตาเสียก่อนจึงจะให้โลกทั้งปวงดับ ความเร่าร้อนได้(140)อันนี้เป็นองค์๑แห่งพังพอนฯข้อนี้สมกับคำของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่าพระภิกษุควรมีเมตตาแก่ตน และผู้อื่น ควรแผ่จิตเมตตาไป อันนี้เป็น คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้(141)

unsure.gif องค์๒แห่งสุนัขจิ้งจอกได้แก่ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกได้โภชนะแล้วย่อมไม่เกลียดย่อมกินจนพอ ความประสงค์ฉันใดพระโยคาวจรได้โภชนะแล้วก็ไม่ควรเกลียดไม่ว่าชนิดไหนควรฉันพอให้ร่างกาย เป็นไปได้(142)ฉันนั้นอันนี้เป็น องค์ที่๑ แห่งสุนัขจิ้งจอก ฯ ข้อนี้ สมกับคำของ พระมหากัสสปเถรเจ้าว่า เวลาเราออกจากเสนาสนะเข้าไปบิณฑบาตถึงบุรุษโรคเรื้อนที่กำลังกินข้าวอยู่ก็เอาคำข้าวด้วยมือ ที่เป็นโรคเรื้อนมาใส่บาตรให้เรา,เราก็นำไปฉันไม่เกลียดชังอะไร(143)ดังนี้ฯ.ธรรมดาสุนัขจิ้งจอก ได้โภชนะแล้วย่อมไม่เลือกว่าเลวดีอย่างไรฉันใดพระโยคาวจรได้โภชนะแล้วก็ไม่เลือกว่าเลวดียินดีตาม ที่ได้(144)ฉันนั้น.อันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งสุนัขจิ้งจอกฯข้อนี้สมกับคำของพระอุปเสนเถรเจ้าว่า บุคคลควรยินดีแม้ด้วยของเลวไม่ควรปรารถนาอย่างอื่น ใจของผู้ข้องอยู่ในรสทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดีในฌาน ความ สันโดษตามมีตามได้ ย่อมทำให้เป็นสมณะบริบูรณ์ ดังนี้(145)

unsure.gif องค์ ๓ แห่งเนื้อในป่านั้น ได้แก่ ธรรมดาเนื้อในป่า ย่อมเที่ยวไปในป่า ในเวลา กลางคืน ในที่แจ้ง ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่ในป่าในเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนควรอยู่ในที่แจ้ง(146) อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งเนื้อ ในป่า ฯ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมอยู่ ในที่แจ้ง เวลากลางคืน หน้าหนาว ส่วนกลางวันสำหรับเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน เวลากลางวัน เราอยู่ในที่แจ้ง เวลากลางคืน เราอยู่ในป่า(147) ดังนี้ ฯ ธรรมดาเนื้อในป่า ย่อมรู้จักหลบหลีกลูกศร ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรู้จักหลบหลีกกิเลส(148) ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งเนื้อในป่า.ฯธรรมดาเนื้อในป่าเมื่อได้เห็นมนุษย์แล้วย่อมวิ่งหนีด้วยคิดว่าอย่าให้มนุษย์ได้เห็นเราฉันใดพระโยคาวจรได้เห็นพวกทุศีล,พวกเกียจคร้าน,พวกยินดีในหมู่คณะก็ควรหนีไปด้วยคิดว่าอย่าให้พวกนี้ได้เห็นเราอย่าให้เราได้เห็นพวกนี้อันนี้พระเถรเจ้าว่าเรานึกว่าคนมีความต้องการ ในทางลามก คนเกียจคร้าน คนท้อถอย คนสดับน้อย คนประพฤติไม่ดี คนไม่สงบ อย่าได้พบ เห็นเราเลย ดังนี้(149)

unsure.gif องค์๔แห่งโคได้แก่ธรรมดาโคย่อมไม่ทิ้งคอกของตนฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรทิ้งโอกาสของตน (150)ฉันนั้นคือไม่ควรทิ้งซึ่งการนึกว่ากายนี้มีการขัดสีอบรมอยู่เป็นนิจมีการแตกกระจัดกระจายไป เป็นธรรมดา(151)อันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งใดฯ.ธรรมดาโคย่อมถือเอาแอก,ย่อมนำแอกไปด้วยความสุขและ ความทุกข์ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จนตลอดชีวิต ด้วยการสู้สุข สู้ทุกข์(152)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งโคฯ.ธรรมดาโคย่อมเต็มใจดื่มน้ำฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเต็มใจฟังคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์(153)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งโคฯ.ธรรมดาโคผู้ใดจูงไปก็ทำตามคำของผู้นั้นฉันใดพระโยคาวจรก็ควรยินดีรับคำสอนของภิกษุด้วยกันหรือของอุบาสกชาวบ้าน(154)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งโค ฯ ข้อนี้สมกับคำของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า ถึงผู้บวชในวันนั้นมีอายุ เพียง ๗ ขวบ สอนเราก็ตามเราก็ยินดีรับคำสอนเราได้เห็นผู้นั้นก็ปลูกความพอใจความรักอย่างแรงกล้ายินดีนอบน้อมว่าเป็น อาจารย์ แล้วแสดงความเคารพเนือง ๆ ดังนี้(155)

unsure.gif องค์๒แห่งสุกรได้แก่ธรรมดาสุกรย่อมชอบนอนแช่น้ำในฤดูร้อนฉันใดพระโยคาวจรก็ควรอบรมเมตตาภาวนา อันเย็นดี ในเวลาจิตเร่าร้อน ตื่นเต้น(156)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งสุกร ฯ ธรรมดาสุกรย่อม ขุดดินด้วยจมูกของตนทำให้เป็นรางน้ำในที่มีน้ำแล้วนอนแช่อยู่ในรางฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเก็บ ไว้ในใจควรฝังใจอยู่ในอารมณ์แล้วนอน(157)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งสุกรฯข้อนี้สมกับคำของ พระปิณโฑลภารทวาชเถรเจ้าว่าภิกษุผู้เล็งเห็นสภาพแห่งกายแล้วควรหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว แล้วนอนอยู่ในภายในอารมณ์ ดังนี้(158)

unsure.gif องค์๕แห่งช้างได้แก่ธรรมดาช้างเมื่อเที่ยวไป ย่อมเอาเท้ากระชุ่นดิน ฉันใด พระโยคาวจรผู้พิจารณากาย ก็ควรทำลายกิเลสทั้งปวง(159)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งช้างฯธรรมดาช้างย่อมแลไปตรงๆไม่แลดูทิศ โน้นทิศนี้ฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรเหลียวดูทิศโน้นทิศนี้,ไม่ควรแหงนดูก้มดู,ควรดูเพียงชั่วระยะแอก (160)ฉันนั้น.อันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งช้างฯธรรมดาช้างย่อมไม่นอนประจำอยู่ในที่แห่งเดียวเที่ยวหากินในที่ ใดไม่พักนอนในที่นั้นฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรนอนประจำคือไม่ควรห่วงใยในที่เที่ยวบิณฑบาต ถ้าได้เห็นที่ชอบใจคือปะรำหรือโคนต้นไม้หรือถ้ำหรือเงื้อมเขาก็ควรเข้าพักอยู่ในที่นั้นแล้วไม่ควรห่วงใย ในที่นั้น(161)อันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งช้างฯ.ธรรมดาช้างเวลาลงน้ำย่อมเล่นน้ำตามสบายฉันใด พระโยคาวจรเวลาลงสู่สระโบกขรณีคือมหาสติปัฏฐานอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำอันประเสริฐคือพระธรรม อันเย็นใสอันดาษไปด้วยดอกไม้คือวิมุตติก็ควรเล่นอยู่ด้วยการ พิจารณาสังขาร(162) อันนี้เป็นองค์ ๔ แห่ง ช้างฯ.ธรรมดาช้างย่อมมีสติทุกเวลายกเท้าขึ้นวางเท้าลงฉันใดพระโยคาวจรก็ควรมีสติสัมปชัญญะ ทุกเวลายกเท้าขึ้น วางเท้าลง ทุกเวลาเดินไปมา คู้เหยียด แลเหลียว(163) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งช้าง ฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์สังยุตตนิกายว่าการสำรวมกาย,วาจา,ใจเป็นของดีการระวังในสิ่งทั้งปวงเป็นของดี ผู้ระวังในสิ่งทั้งปวง ผู้มียางอาย เรียกว่าผู้รักษากาย วาจา ใจ ดีแล้ว ดังนี้(164)

unsure.gif องค์๗แห่งสีหะ ได้แก่ ธรรมดาสีหะ ย่อมมีกายขาวบริสุทธิ์ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้มีจิตขาวบริสุทธิ์ ปราศจากความรำคาญ(165)ฉันนั้น อัน นี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งราชสีห์ ฯ. ธรรมดาราชสีห์ ย่อมเที่ยวไปด้วย เท้าทั้ง๔มีการเที่ยวไปงดงามฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเที่ยวไปด้วยอิทธิบาท๔(166) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งราชสีห์ ฯ. ธรรมดาราชสีห์ย่อมมีไกรสร คือ สร้อยสีสวยงามยิ่งฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรมีไกรสร คือศีลอันสวยงามยิ่ง(167)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งราชสีห์ฯ.ธรรมดาราชสีห์ถึงจะตายก็ไม่ยอม อ่อนน้อมต่อใครฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรอ่อนน้อมต่อใคร เพราะเห็นแก่ปัจจัย ๔ ถึงจะสิ้นชีวิตก็ตาม (168) อันนี้เป็นองค์ที่๔แห่งราชสีห์ฯ.ธรรมดาราชสีห์ย่อมเที่ยวหาอาหารไปตามลำดับได้อาหารในที่ใด ก็กินให้อิ่มในที่นั้นไม่เลือกกินเฉพาะเนื้อที่ดีๆฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตระกูล ไม่ควรเลือกตระกูล และอาหาร(169) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๕ แห่งราชสีห์ ฯ ธรรมดาราชสีห์ ย่อม ไม่สะสมอาหารกินคราวหนึ่งแล้วไม่เก็บไว้กินอีกฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรสะสมอาหาร(170)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่๖แห่งราชสีห์ฯธรรมดาราชสีห์เวลาหาอาหารไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ร้อนได้แล้วก็ไม่ติดอยู่ฉันใด พระโยคาวจรเวลาหาอาหารไม่ได้ก็ไม่ควรทุกข์ร้อนเวลาได้ก็ไม่ควรติดใจในรสอาหารควรฉันด้วย การพิจารณาเพื่อจะออกจากโลก(171)อันนี้เป็นองค์ที่๗แห่งราชสีห์ฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์ สังยุตตนิกายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระกัสสปนี้ย่อมยินดีด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้สรรเสริญความยินดี ในบิณฑบาตตามมีตามได้,ไม่แสวงหาบิณฑบาตในทางไม่ชอบ,เมื่อไม่ได้ก็ไม่ทุกข์ร้อนเวลาได้ก็ไม่ติดใน รสอาหาร รู้จักพิจารณาโทษแห่งอาหาร ดังนี้(172)


โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#2 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 30 July 2007 - 05:29 PM

** องค์๓ แห่งนกจากพราก ได้แก่ ธรรมดานกจากพราก ย่อมไม่ทิ้งเมียจนตลอดชีวิต ฉันใด พระโยคาวจร ก็ไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการจนตลอดชีวิต(173)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งนกจากพรากฯ. ธรรมดานกจากพรากย่อม กินหอย สาหร่าย จอกแหน เป็นอาหารด้วยความยินดี จึงไม่เสื่อมจาก กำลังและสีกายด้วยความยินดีนั้นฉันใดพระโยคาวจรก็ควรยินดีตามมีตามได้(174)ฉันนั้น เพราะผู้ยินดีตามมีตามได้ ย่อมไม่เสื่อมจากศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และกุศลธรรมทั้งปวง(175)อันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งนกจากพรากฯ.ธรรมดานกจากพรากย่อมไม่เบียดเบียน สัตว์ฉันใดพระโยคาวจรก็ควรทิ้งไม้ค้อน,สาตรา,ควรมียางอาย,มีใจอ่อนนึกสงเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ด้วยเมตตา(176)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งนกจากพรากฯ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ ใน จักกวากชาดกว่า ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้ อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาในสัตว์ทั้งปวง เวรย่อมไม่มีแก่ผู้นั้น ด้วยเหตุใด ๆ ดังนี้(177)
** องค์ ๒ แห่งนางนกเงือก ได้แก่ ธรรมดานางนกเงือก ย่อมให้ผัวอยู่เลี้ยงลูกในโพรง ด้วยความหึง ฉันใด พระโยคาวจร เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของตน ก็ควรเอาใจของตนใส่ลงในโพลง คือ การสำรวมโดยชอบ เพื่อความ กั้นกางกิเลส แล้วอบรมกายคตาสติไว้ด้วยมโนทวาร(178) อันนี้เป็นองค์ ที่ ๑ แห่งนางนกเงือก ฯ ธรรมดานางนกเงือกเวลากลางวันไปเที่ยวหากินในป่าพอถึงเวลาเย็นก็บินไปหาเพื่อนฝูงเพื่อรักษาตัวฉันใดพระโยคาวจรก็ควรหาที่สงัดโดยลำพังผู้เดียวเพื่อให้หลุดพ้นจากสังโยชน์เมื่อได้ความยินดีในความสงัดนั้นก็ควรไปอยู่กับหมู่สงฆ์เพื่อป้องกันภัยคือความว่ากล่าวติเตียน(179)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒ แห่งนางนกเงือก ฯข้อนี้สมกับคำที่ท้าวสหัสบดีพรหมได้กล่าวขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าว่า พระภิกษุควรอยู่ในที่นั่ง ที่นอนอันสงัด เพื่อปลดเปลื้องจากสังโยชน์ ถ้าไม่ได้ความยินดีใน ที่สงัดนั้น ก็ควรไปอยู่ในหมู่สงฆ์ ควรมีสติรักษาตนให้ดี ดังนี้(180)
** องค์๑แห่งนกกระจอกได้แก่ธรรมดานกกระจอกย่อมอาศัยตามเรือนคนแต่ไม่เพ่งอยากได้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งของคน มีใจเป็นกลางเฉยอยู่. มากไปด้วยความจำฉันใด พระโยคาวจร เข้าไปถึงตระกูลอื่นแล้ว ก็ไม่ควร ถือเอานิมิตในเตียง ตั่ง ที่นั่ง ที่นอน เครื่องประดับประดา เครื่อง นุ่งห่ม เครื่องใช้ เครื่องกิน ภาชนะใช้สอยต่างๆของสตรีหรือบุรุษในตระกูลนั้น ควรมีใจเป็นกลาง ควรใส่ใจไว้แต่ในสมณสัญญา(181) ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์๑แห่งนกกระจอกฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในจูฬนารทชาดกว่าภิกษุเข้าไปสู่ตระกูล อื่นแล้วควรขบฉันข้าวน้ำตามที่เขานำมาถวาย แต่ไม่ควรหลงใหลไปในรูปต่าง ๆ ดังนี้(182)
** องค์ ๒ แห่งนกเค้า ได้แก่ ธรรมดานกเค้า ย่อมเป็นศัตรูกันกับกา พอถึงเวลา กลางคืน ก็ไปตีฝูงกา ฆ่าตายเป็นอันมากฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเป็นข้าศึกกับอวิชชาควรนั่งอยู่ในที่สงัดแต่ผู้เดียวควรตัด อวิชชาทิ้งเสียพร้อมทั้งราก(183) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนกเค้า ฯ ธรรมดา นกเค้า ย่อมซ่อนตัวอยู่ดี ฉันใด ฯ พระโยคาวจรก็ควรซ่อนตัวไว้ดีด้วย การยินดีในที่สงัด(184)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนกเค้า ฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในคัมภีร์สังยุตตนิกายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายพวกเธอควรอยู่ในที่สงัด เพราะผู้อยู่ในที่สงัด ผู้ยินดีในที่สงัด ย่อม พิจารณาเห็นทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังนี้(185)
** องค์หนึ่งแห่งตะขาบ ได้แก่ ธรรมดาตะขาบ ย่อมร้องบอกความปลอดภัย และ ความมีภัยแก่ผู้อื่น ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรแสดงธรรม บอกนรก สวรรค์ นิพพาน แก่ผู้อื่น(186)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งตะขาบฯข้อนี้สมกับคำของพระปิณโฑลภารทวาชเถรเจ้าว่าพระโยคาวจรควรแสดงสิ่งที่น่าสะดุ้งกลัวในนรกและความสุขอันไพบูลย์ ในนิพพาน ให้ ผู้อื่นฟัง ดังนี้(187)
** องค์ ๒ แห่งค้างคาว ได้แก่ ธรรมดาค้างคาวเมื่อบินเข้าไปในเรือนแล้ว บินวนไปวน มาแล้ว ก็บินออกไป ไม่กังวลอยู่ในเรือนนั้นฉันใด พระโยคาวจรเข้า ไปบิณฑบาตในบ้าน เที่ยวไปตามลำดับแล้ว ได้หรือไม่ได้ก็ตาม ก็ควร กลับออกไปโดยเร็วพลัน(188)ฉันนั้น ไม่ควรกังวลอยู่ในบ้าน อันนี้เป็นองค์ ที่ ๑ แห่งค้างคาวฯ.ธรรมดาค้างคาวเมื่ออาศัยอยู่ในเรือนคนก็ไม่ทำความเสียหายให้แก่คนฉันใดพระโยคาวจร เข้าไปถึงตระกูลแล้วก็ไม่ควรทำความเดือดร้อนเสียใจให้คนทั้งหลายด้วยการขอสิ่งนั้นสิ่งนี้หรือด้วยการทำ ไม่ดีทางกายหรือด้วยการพูดมากเกินไปหรือด้วยการทำตนให้เป็นผู้มีสุขทุกข์กับคนในตระกูลนั้นไม่ควรทำให้เสียบุญกุศลของเขาควรทำแต่ความเจริญให้เขา(189)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งค้างคาวฯ. ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในลักขณสังยุต คัมภีร์ทีฆนิกายว่า ภิกษุ ไม่ควรทำให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรมะ ทรัพย์สมบัติ ไร่นา เรือกสวน บุตร ภรรยา สัตว์ ๔ เท้า ญาติมิตร พวกพ้อง กำลัง ผิวพรรณ ความ สุขสบายแต่อย่างใด พระโยคาวจร ย่อมมุ่งแต่ความมั่งคั่ง ให้แก่ ชาวบ้าน ดังนี้ (190)
** องค์ ๑ แห่งปลิง ได้แก่ ธรรมดาปลิงเกาะในที่ใดก็ตาม ต้องเกาะให้แน่นใน ที่นั้น แล้วจึงดูดเลือด ฉันใด พระโยคาวจร มีจิตเกาะใน อารมณ์ ควรเกาะอารมณ์นั้นให้แน่น ด้วยสี สัณฐาน ทิศ โอกาส กำหนด เพศ นิมิต แล้วดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ ด้วยอารมณ์นั้น(191) อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งปลิง ฯ ข้อนี้สมกับคำของ พระอนุรุทธเถรเจ้าว่า พระภิกษุควรมีจิตบริสุทธิ์ตั้งอยู่ในอารมณ์แล้ว ควรดื่มวิมุตติรสอันบริสุทธิ์ด้วยจิตนั้น ดังนี้ (192)
** องค์๓แห่งงูได้แก่ธรรมดางูย่อมไปด้วยอกฉันใดพระโยคาวจรก็ควรไปด้วยปัญญา(193)ฉันนั้นเพราะ จิตของพระโยคาวจรผู้ไปด้วยปัญญาย่อมเที่ยวไปในธรรมที่ควรรู้,ย่อมละเว้นสิ่งที่ไม่ควรกำหนดจดจำ, อบรมไว้แต่สิ่งที่ควรกำหนดจดจำ(194)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งงูฯ.ธรรมดางูเมื่อเที่ยวไปย่อมหลีกเว้น ยาแก้พิษของตน ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรหลีกเว้นทุจริต(195)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่ง งู ฯ ธรรมดางูเมื่อพบเห็นมนุษย์แล้วย่อมทุกข์โศกฉันใดพระโยคาวจรเมื่อนึกถึงวิตกที่ไม่ดีแล้วก็ควรทุกข์โศก เสียใจว่าวันของเราได้ล่วงไปด้วยความประมาทเสียแล้ววันที่ล่วงไปแล้วนั้นเราไม่อาจได้คืนมาอีก(196) อันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งงูฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในกินนรชาดกว่าดูก่อนนายพรานเราพลัดกันเพียง คืนเดียวก็นึกเสียใจไม่รู้จักหายนึกเสียใจว่าคืนที่เราพลัดกันนั้นเราไม่ได้คืนมา อีก ดังนี้(197)
** องค์๑แห่งงูเหลือมได้แก่ธรรมดางูเหลือมย่อมมีร่างกายใหญ่มีท้องพร่องอยู่หลายวันไม่ได้อาหารพอเต็มท้องได้พอยังร่างกายให้เป็นไปได้เท่านั้นฉันใดพระโยคาวจรผู้เที่ยวไปบิณฑบาตก็มุ่งอาหารที่ผู้อื่นให้ งดเว้นจากการถือเอาด้วยตนเองได้อาหารพอเต็มท้องได้ยากแต่ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผลถึงได้ฉันอาหาร ยังไม่อิ่มต้องมีอีก๔หรือ๕คำจึงจักอิ่มก็ควรเติมน้ำลงไปให้เต็ม(198)อันนี้เป็นองค์๑แห่งงูเหลือมฯ ข้อนี้สมกับคำของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่าภิกษุผู้ฉันอาหารทั้งสดและแห้งก็ไม่ควรฉันให้อิ่มนัก ควรให้มีท้องพร่อง,รู้จักประมาณในอาหาร,ควรมีสติละเว้นไม่ควรฉันอาหารให้อิ่มเกินไปเมื่อรู้ว่ายังอีก ๔-๕คำก็จักอิ่มก็ควรหยุดดื่มน้ำเสียเพราะเท่านี้ก็พออยู่สบาย สำหรับภิกษุผู้กระทำความ เพียร ดังนี้(199).
** องค์๑แห่งแมลงมุมได้แก่ธรรมดาแมลงมุมชักใยขวางทางไว้แล้วก็จ้องดูอยู่ถ้าหนอนหรือแมลงมาติดในใยของ ตน ก็จับกินเสีย ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรชักใย คือ สติปัฏฐาน ขึงไว้ที่ทวารทั้ง ๖ ถ้า มีแมลง คือ กิเลสมาติดก็ควรฆ่าเสีย(200)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์๑แห่งแมลงมุมฯ ข้อนี้สมกับคำของพระอนุรุทธเถรเจ้าว่า เพดานที่ กั้นทวารทั้ง ๖ อยู่ คือ สติปัฏฐานอันประเสริฐ เวลากิเลสมาติด ที่เพดาน คือ สติปัฏฐานนั้น พระภิกษุก็ควรฆ่าเสีย ดังนี้(201)
** องค์๑แห่งทารกที่ยังกินนมอยู่ได้แก่ธรรมดาทารกที่ยังกินนมอยู่ย่อมขวนขวายในประโยชน์ของตนเวลาอยากกินนมก็ร้องไห้ฉันใดพระโยคาวจรก็ควรขวยขวายในประโยชน์ของตนฉันนั้นคือควรขวนขวาย ในธรรมอันชอบใจตนควรขวนขวายในการเล่าเรียนไต่ถาม การประกอบ ความสงัด การอยู่ในสำนักครู การคบกัลยาณมิตร(202)อันนี้เป็นองค์๑แห่งทารกฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในทีฆนิกายปรินิพพานสูตร ว่าดูก่อนอานนท์พวกเธอจง ประกอบในประโยชน์ของตน อย่าได้ประมาท ในประโยชน์ของตน ดังนี้(203)
** องค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง ได้แก่ ธรรมดาเต่าเหลือง ย่อมเว้นน้ำ เพราะกลัวน้ำ เมื่อเว้นน้ำ ก็มีอายุยืนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเห็นภัยในความประมาท เห็นคุณวิเศษในความไม่ประมาท จึงจักไม่เสื่อมจาก คุณวิเศษ จักได้เข้าใกล้นิพพาน(204) อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งเต่าเหลือง ฯ ข้อนี้ สมกับพระพุทธพจน์ในพระธรรมบทว่า ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาทผู้เห็นภัยในความประมาทย่อมไม่เสื่อม ย่อมได้อยู่ใกล้ นิพพาน ดังนี้ (205)
** องค์๕แห่งป่าได้แก่ธรรมดาป่าย่อมปิดบังคนที่ไม่สะอาดไว้ฉันใดพระโยคาวจรก็ควรปิดความหลงผิด ของผู้อื่นไว้(206)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งป่าฯธรรมดาป่าย่อมเป็นที่สงัดฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเป็น ผู้ว่างเปล่าจากกิเลสทั้งปวง(207)ฉันนั้น.อันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งป่าฯธรรมดาป่าย่อมเป็นที่เงียบสงัดฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเงียบสงัดจากสิ่งที่เป็นบาปอกุศล(208)ฉันนั้น อันนี้เป็น องค์ที่ ๓ แห่งป่า ธรรมดาป่า ย่อมเป็นที่บริสุทธิ์ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้บริสุทธิ์(209)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่ง ป่า ฯ ธรรมดาป่าย่อมเป็นที่อาศัยอยู่ของอริยชนทั้งหลายฉันใดพระโยคาวจรก็ควรคบอริยชน(210)ฉันนั้นอันนี้ เป็นองค์ที่๕แห่งป่า ฯ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ ในคัมภีร์สังยุตตนิกายว่า บุคคลควร อยู่ร่วมกับอริยะผู้สงัด ผู้มีใจตั้งมั่น ผู้รู้แจ้ง ผู้มีความเพียรแรงกล้า เป็นนิจ ดังนี้(210)
** องค์๓แห่งต้นไม้ได้แก่ธรรมดาต้นไม้ย่อมทรงไว้ซึ่งดอกและผลฉันใดพระพระโยคาวจรก็ควรเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งดอก คือ วิมุตติ ผล คือ สมณคุณ(211)อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห้งต้นไม้ ฯ ธรรมดาต้นไม้ย่อมให้ร่มเงาแก่ ผู้เข้าไปพักอาศัยฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรต้อนรับผู้ที่เข้ามาหาตน ด้วยอามิส หรือธรรม(212)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งต้นไม้ ฯ ธรรมดาต้นไม้ ย่อมไม่ทำเงาของตนให้แปลกกัน ย่อมแผ่ไปให้เสมอ กันฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรทำให้แปลกกันในสัตว์ทั้งปวง(212)ฉันนั้นคือ ควรแผ่เมตตาไปให้เสมอกัน ทั้งในผู้เป็นโจรเป็นผู้จะฆ่าตนเป็นข้าศึกของตนและในตนเอง(213)อันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งต้นไม้ฯ ข้อนี้สมกับคำของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่าพระมุนีคือพระพุทธเจ้าย่อมเป็นผู้มีพระหฤทัยเสมอกันแก่ สัตว์ทั้งปวงเช่นพระเทวทัต,โจรองคุลิมาลและพระราหุล เป็นตัวอย่าง ดังนี้(214)
** องค์๕แห่งเมฆได้แก่ธรรมดาเมฆย่อมระงับเสียซึ่งละอองเหงื่อไคลซึ่งเกิดแล้วฉันใดพระโยคาวจรก็ควรระงับ เหงื่อไคล คือ กิเลสฉันนั้น(215) อันนี้เป็น องค์ที่ ๑ แห่งเมฆ ฯ. ธรรมดาเมฆ คือ ฝนที่ตกลงมา ย่อมดับความร้อนในแผ่นดินฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรดับทุกข์ร้อนของโลกด้วยเมตตา ภาวนา(216) ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งเมฆฯ.ธรรมดาเมฆย่อมทำให้พืชทั้งปวงงอกขึ้นฉันใดพระโยคาวจรก็ควรทำให้พืชคือศรัทธาของบุคคลทั้งหลายให้งอกขึ้น(217) ฉันนั้น ควรปลูกพืช คือ ศรัทธานั้นไว้ ในสมบัติทั้ง ๓ คือ มนุษย์สมบัติ,สวรรคสมบัติ,นิพพานสมบัติ(218)อันนี้เป็นองค์ที่๓แห่งเมฆฯ.ธรรมดาเมฆย่อมตั้งขึ้นตาม ฤดูฝน แล้วเป็นฝนตกลงมา ทำให้หญ้า ต้นไม้ เครือไม้ พุ่มไม้ ต้นยา ป่าไม้ เกิดขึ้นในพื้นธรณี ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรทำให้ โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น แล้วทำให้สมณธรรม และกุศลธรรมทั้งปวง เกิดขึ้น(219) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งเมฆ ฯ ธรรมดาเมฆ คือ ก้อน น้ำ เมื่อตกลงมา ก็ทำให้แม่น้ำ หนอง สระ ซอก ห้วยระแหง บึง บ่อ เป็นต้น ให้เต็มไปด้วยน้ำ ฉันใด พระโยคาวจร เมื่อเมฆ คือ อธิคม ตกลงมาด้วยอาคมปริยัติแล้วควรทำใจของบุคคลทั้งหลายผู้มุ่งต่ออธิคมให้เต็มบริบูรณ์(220)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่๕ แห่งเมฆ ฯ ข้อนี้สมกับคำพระสารีบุตรเถรเจ้าที่ว่า พระมหามุนี ทรงเล็งเห็น ผู้ที่ควรจะให้รู้ อยู่ในที่ไกลตั้งแสนโยชน์ก็ตาม ก็เสด็จไปโปรด ให้รู้ทันที ดังนี้(221)
** องค์๓แห่งแก้วมณีได้แก่ธรรมดาแก้วมณีย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้ฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเป็น ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์แท้(222)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งแก้วมณีฯ.ธรรมดาแก้วมณีย่อมไม่มีสิ่งใดเจือปน อยู่ข้างใน ฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรปะปนอยู่ด้วยสหายที่เป็นบาป(223) ฉันนั้น อันนี้เป็น องค์ที่ ๒ แห่งแก้วมณีฯธรรมดาแก้วมณีย่อมประกอบกับแก้วที่เกิดเองฉันใดพระโยคาวจรก็ควรประกอบกับแก้วมณี คือ พระอริยะ(224) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งแก้วมณี ฯ ข้อนี้สมกับ พระพุทธพจน์ในสุตตนิบาตว่า ผู้บริสุทธิ์ เมื่ออยู่กับผู้บริสุทธิ์ ผู้ มีสติอยู่กับผู้มีสติ ก็จักมีปัญญาทำให้สิ้นทุกข์ ดังนี้(225)
** องค์๔แห่งนายพรานได้แก่ ธรรมดานายพราน ย่อมหลับน้อย ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรหลับน้อย(226) ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งนายพรานฯ.ธรรมดานายพรานย่อมผูกใจไว้ในหมู่เนื้อฉันใดพระโยคาวจรก็ควรผูกใจไว้ในอารมณ์อันจักให้ได้คุณวิเศษที่ตนได้แล้ว(227)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งนายพรานฯ. ธรรมดานายพรานย่อมรู้จักเวลากระทำของตนฉันใดพระโยคาวจรก็ควรรู้จักเวลาฉันนั้นคือควรรู้ว่าเวลา นี้เป็นเวลาเข้าสู่ที่สงัด เวลานี้เป็นเวลาออกจากที่สงัด(228) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนายพรานฯ. ธรรมดานายพรานพอแลเห็นเนื้อก็เกิดความร่าเริงว่าเราจักได้เนื้อตัวนี้ฉันใดพระโยคาวจรพอได้ความยินดีในอารมณ์ ก็ควรเกิดความร่าเริงใจว่า เราจักได้ คุณวิเศษยิ่งขึ้นไป(229)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งนายพราน ฯ ข้อนี้สมกับคำพระโมฆราชเถรเจ้าว่า ภิกษุผู้มีความเพียรได้ความ ยินดีในอารมณ์แล้ว ควรทำให้เกิดความร่าเริงยิ่งขึ้นไปว่า เราจัก ได้ธรรมอันยิ่ง ดังนี้ (230)
** องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด ได้แก่ ธรรมดาพรานเบ็ด ย่อมดึงปลาขึ้นมาให้ได้ด้วยเหยื่อ ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรดึงผลสมณะอันยิ่งขึ้นมาให้ได้ด้วยญาณ(231)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งพรานเบ็ดฯ. ธรรมดาพรานเบ็ดสละสัตว์ที่เป็นเหยื่อเพียงเล็กน้อยก็ได้ปลามากฉันใดพระโยคาวจรก็ควรสละเหยื่อ อันเล็กน้อยคืออามิสในโลกฉันนั้นเพราะพระโยคาวจรสละโลกามิสเพียงเล็กน้อยแล้วก็ได้สมณคุณอัน ไพบูลย์(232)อันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งพรานเบ็ดฯข้อนี้สมกับคำของพระราหุลเถรเจ้าว่าพระภิกษุ สละโลกามิสแล้ว ย่อมได้อนิมิตวิโมกข์ สุญญวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ และผล ๔ อภิญญา ๖ ดังนี้(233)
** องค์๒แห่งช่างไม้ได้แก่ธรรมดาช่างไม้ดีดบรรทัดแล้วจึงถากไม้ฉันใดพระโยคาวจรก็ควรดีดบรรทัดลง ในพระชินศาสนาแล้วยืนอยู่ที่ ศีลปฐพี จับเอามีดคือ ปัญญา ด้วยมือคือศรัทธาแล้ว ถากกิเลส(234) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช่างไม้ ฯ ธรรมดาช่างไม้ ถาก เปลือกกระพี้ออกทิ้ง ถือเอาแต่แก่นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรถาก ซึ่งลัทธิต่าง ๆ เช่น สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ เป็นต้น แล้ว ถือเอาแต่แก่น คือ ความเป็นเองแห่งสังขารทั้งหลายว่า ไม่มีอะไรเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มีแต่ของว่างเปล่า ของนิจจัง ทั้งนั้น(235)อันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งช่างไม้ฯข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในสุตตนิบาตว่าท่านทั้งหลายควรปัดเป่าเสียซึ่งความมืด,ควรกวาดเสียซึ่งหยากเยื่อเชื้อฝอย,ควรทิ้งเสียซึ่งผู้ไม่ใช่สมณะแต่ถือตัวว่าเป็นสมณะ, ควรทิ้งเสียซึ่งผู้มีนิสัยลามกมีอาจารโคจร ลามก, ควรเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่กับผู้บริสุทธิ์ ควรเป็นผู้มีสติ อยู่ กับผู้มีสติ ดังนี้.(236)
** องค์ ๑ แห่งหม้อน้ำนั้น ได้แก่ ธรรมดาหม้อน้ำ มีน้ำเต็มแล้วย่อมไม่มีเสียงดัง ฉันใด พระโยคาวจร เมื่อได้ความรู้ความดีเต็มที่แล้ว ก็ไม่มีเสียง ไม่มีมานะ ไม่ดูถูกผู้อื่น ไม่ปากกล้า ไม่โอ้อวด(237)ฉันนั้น อันนี้ เป็นองค์ ๑ แห่งหม้อน้ำ ฯ ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า หม้อที่ มีน้ำพร่อง ย่อมมีเสียงดัง หม้อที่มีน้ำเต็มย่อมเงียบ คนโง่เปรียบ เหมือนน้ำครึ่งหม้อ บัณฑิตเปรียบเหมือนน้ำเต็มหม้อ ดังนี้(238)


** องค์๒แห่งกาลักน้ำได้แก่ธรรมดากาลักน้ำย่อมดูดน้ำขึ้นมาฉันใดพระโยคาวจรก็ควรดูดใจขึ้นมาไว้ใน โยนิโสมนสิการ(239)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งกาลักน้ำฯธรรมดากาลักน้ำดูดน้ำขึ้นมาแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำลงไปฉันใดพระโยคาวจรเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาแล้วก็ไม่ควรปล่อยความเลื่อมใสนั้นเสีย ควรทำให้เกิดความเลื่อมใส ยิ่งขึ้นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ว่า อุฬาโร พุทโธ สะวากขาโต ธัมโม สุปะฏิปันโน สังโฆ และเมื่อเกิดญาณขึ้นมาว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อะนิจจัง เพียงครั้งเดียว ก็ไม่ควรปล่อยญาณนั้น(240)อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งกาลักน้ำ ฯ ข้อนี้ สมกับพระพุทธพจน์ว่า พระผู้บริสุทธิ์ในความเห็น,ผู้แน่ในอริยธรรม,ผู้ถึงคุณวิเศษ,ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยสิ่งใด ย่อมเป็นผู้คงที่ในที่ทั้งปวง ดังนี้(241)
** องค์๓แห่งร่มได้แก่ธรรมดาร่มย่อมอยู่บนศีรษะฉันใดพระโยคาวจรก็ควรอยู่บนกิเลส(242)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่๑แห่งร่มฯธรรมดาร่มย่อมคุ้มกันศีรษะฉันใดพระโยคาวจรก็ควรคุ้มกันตนด้วย โยนิโสมนสิการ(243) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งร่ม ฯ ธรรมดาร่ม ย่อมกำจัด ลม แดด ฝน ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรกำจัด ลัทธิของสมณพราหมณ์ภายนอก และควรกำจัดเครื่องร้อน คือ ไฟ ๓ กอง ควรกำจัดฝน คือ กิเลส(244) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งร่ม ฯ ข้อนี้ สมกับคำของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า ร่มใหญ่อันไม่ขาด ไม่ทะลุ แน่นหนา แข็งแรง ย่อมกันลม กันแดด กันฝนห่าใหญ่ได้ ฉันใด พระพุทธบุตรผู้กั้นร่มคือศีลผู้บริสุทธิ์ก็กันฝนคือกิเลส กันไฟ ๓ กอง อันทำให้เร่าร้อนได้ (245)ฉันนั้น ดังนี้
** องค์๓แห่งนาได้แก่ธรรมดานาย่อมมีเหมืองชาวนาย่อมไขน้ำจากเหมือง เข้าไปสู่นาเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าว ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีเหมือง คือ สุจริต ข้อวัตรปฏิบัติ(246) ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนา ฯ ธรรมดานา ย่อมมีคันนา ชาวบ้านย่อมรักษาน้ำให้อยู่เลี้ยงต้นข้าวด้วย คันนานั้น ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรสมบูรณ์ด้วยคันนาคือ ศีล ควรรักษาความเป็นสมณะไว้ด้วยคันนาคือ ศีล จึงจักได้สามัญผล ๔(247) ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งนาฯ.ธรรมดานาซึ่งเป็นนาดีย่อมทำให้เกิดความดีใจแก่เจ้าของถึงหว่านข้าวลง ไปน้อยก็ได้ผลมากยิ่งหว่านลงไปมากก็ยิ่งได้ผลมากฉันใดพระโยคาวจรก็ควรเป็นนาดี ควรเป็นผู้ให้ผลมาก ให้เกิดความดีใจแก่พวกทายก ถึงเขาจะ ถวายทานน้อย ก็ให้เขาได้ผลมาก(248) อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนา ฯข้อนี้สมกับคำของพระอุบาลีผู้เป็นพระวินัยธรว่าพระภิกษุควรเป็นผู้เปรียบด้วยนาควรให้ผลไพบูลย์ เหมือนกับนาดี ผู้ใดให้ผลไพบูลย์ได้ ผู้นั้นเชื่อว่านาประเสริฐ(249) ดังนี้
** องค์๒แห่งยาดับพิษได้แก่ตัวหนอนต่างๆย่อมไม่อยู่ในยาดับพิษฉันใดพระโยคาวจรก็ไม่ควรให้กิเลสตั้งอยู่ในใจ(250)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑ แห่งยาดับพิษ ฯ.ธรรมดายาดับพิษ ย่อมกำจัดพิษทั้งปวง อันเกิดจาก ถูกกัด หรือถูกต้อง หรือพบเห็น หรือกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มเลีย ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรกำจัดพิษ คือ ราคะ โทสะ,โมหะ,มานะ,ทิฏฐิ(251)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๒แห่งยาดับพิษฯข้อนี้สมกับพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้ว่า พระโยคี ผู้ใคร่จะเห็นความเป็นเอง แห่งสังขารทั้งหลาย ควรเป็นเหมือนกับยาดับพิษ อันทำให้กิเลส พินาศ ดังนี้(252)
** องค์๓แห่งโภชนะได้แก่ธรรมดาโภชนะย่อมอุปถัมภ์สัตว์ทั้งปวงฉันใดพระโยคาวจรก็ควรอุปถัมภ์ สัตว์ทั้งปวง(253)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่๑แห่ง โภชนะ ฯ ธรรมดาโภชนะ ย่อมให้เจริญกำลังแก่สัตว์ทั้งหลาย ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เจริญบุญ แก่บุคคลทั้งหลาย(254)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งโภชนะ ฯ ธรรมดาโภชนะย่อมเป็นที่ต้องการแห่งสัตว์ทั้งปวงฉันใดพระโยคาวจรก็ควรให้เป็นที่ต้องการแห่งโลก ทั้งปวง(255) ฉันนั้น ฯ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งโภชนะ ฯ ข้อนี้ สมกับคำของพระโมฆราชเถรเจ้าว่า พระโยคาวจรแน่ใจในความเป็นสมณะของตนด้วยศีลและข้อปฏิบัติควรให้เป็นที่ปรารถนาของโลกทั้งปวง ดังนี้ (256)
** องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู ได้แก่ ธรรมดานายขมังธนู เมื่อจะยิงธนู ย่อมเหยียบ พื้นด้วยเท้าทั้ง ๒ ให้มั่น ทำเข่าไม่ให้ไหว ยกธนูขึ้นเพียงหู ทำกายให้ตรง วางมือทั้ง ๒ ลงที่คันธนู จับคันธนูให้แน่น ทำนิ้ว ให้ชิดกัน เอี้ยวคอ หลิ่วตา เม้มปาก ทำเครื่องหมายให้ ตรงแล้วเกิดความดีใจว่า เราจักยิงไปในบัดนี้ ฉันใด พระโยคาวจร ก็ควรเหยียบพื้นดิน คือ ศีล ด้วยเท้า คือ วิริยะ ให้มั่นคงทำขันติ โสรัจจะ ไม่ให้ไหว ตั้งจิตไว้ในความสำรวมน้อมตนเข้าไปในความสำรวมบีบกิเลสตัณหาให้แน่นกระทำจิตไม่ให้มีมีช่องว่างด้วยโยนิโสมนสิการประคอง ความเพียรไว้ ปิดประตูทั้ง ๖ เสีย ตั้งสติเข้าไว้ ทำให้ เกิดความร่าเริงว่า เราจักยิงกิเลสทั้งปวง ด้วยลูกศร คือ ญาณ(257) อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนายขมังธนู ฯ ธรรมดานายขมังธนู ย่อมรักษาไม้ง่ามไว้เพื่อดัดลูกธนูที่คดที่งอให้ตรงฉันใดพระโยคาวจรก็ควรรักษาไม้ง่ามคือสติปัฏฐาน ไว้ในกายนี้ เพื่อทำจิตที่คดงอให้ตรง(258)ฉันนั้นอันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนายขมังธนูฯ. ธรรมดานายขมังธนู ย่อมเพ่งที่หมายไว้ให้แน่ ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเพ่ง กายนี้ ฉันนั้น ฯ ควรเพ่งอย่างไร ? ควรเพ่งว่า เป็น อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นต้นเหตุแห่ง ทุกข์ เป็นของทำให้ลำบาก เป็นของแปรปรวน เป็นของแตก หัก เป็นของจัญไร เป็นของอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน ไม่มีที่หลบลี้ ที่ต้านทาน ที่พึ่ง ที่อาศัย เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของมีโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่มีแก่น เป็นรากเหง้าแห่งภัย เป็นผู้ฆ่า เป็นของมีอาสวะเครื่องดอง เป็น ของน่าสงสัย เป็นของมีเหตุปัจจัยตกแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มี ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้า รำพัน คับแค้น เป็นธรรมดา(259) ดังนี้ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนายขมังธนูฯธรรมดานายขมังธนูย่อมหัดยิงธนูทั้งเย็นทั้งเช้าฉันใดพระโยคาวจรก็ควรฝึกหัดในอารมณ์ ทั้งเย็น ทั้งเช้า(260)ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งนายขมังธนูฯข้อนี้ สมกับคำของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า นายขมังธนูย่อมหัดยิงธนูทั้งเย็นทั้ง เช้าไม่ทิ้งการฝึกหัด จึงได้ค่าจ้างรางวัล ฉันใด ฝ่ายพระพุทธบุตร ก็ พิจารณากาย ไม่ทิ้งการพิจารณากาย แล้วได้ความเป็นพระอรหันต์ (261)ฉันนั้น

ปัญญาทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่บัณฑิตทั้งหลายกำจัดความสงสัยด้วยปัญญาแล้วย่อมถึงความสงบฯ ปัญญาตั้งอยู่ในขันธ์ใด,สติไม่บกพร่องในขันธ์ใด,ขันธ์นั้นก็ทรงไว้ซึ่งบูชาพิเศษ,เป็นขันธ์อันเลิศ, เป็นขันธ์อันเยี่ยมฯเพราะฉะนั้นบัณฑิตผู้เล็งเห็นสุขของตนจึงควรบูชาผู้มีปัญญาเหมือนกับบูชาพระเจดีย์ ฉะนั้น ดังนี้. มิลินทปัญหา จบบริบูรณ์

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#3 jane_072

jane_072
  • Members
  • 539 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2007 - 10:36 AM

อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุๆๆ

#4 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 August 2007 - 12:58 PM

ขออนุโมทนาบุญนะครับ...สาธุ