ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อภัยทาน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 krittiya

krittiya
  • Members
  • 77 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:56ถถนฟากอง อ.เมือง จ.น่าน

โพสต์เมื่อ 06 September 2007 - 12:42 PM


อภัยทาน
โดย ปิยโสภณ
วัดพระรามเก้า
ทุกชีวิตล้วนมีภัยของชีวิตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที ภัยที่อาจเกิดขี้น ภัยเกิดจากภายนอก ไม่ร้ายแรงเท่ากับภัยภายใน

ภัยที่ผู้อื่นสร้างขึ้นกระทบเราน้อยกกว่าภัยที่เราสร้างขึ้นเอง บางคนทำผิดแล้ว กลับมานั่งเสียใจในภายหลังก็บ่อย ภัยทั้งหลายล้วนเป็นยาพิษ ที่ปลิดจิตใจเราได้ทั้งสิ้น

มนุษย์อื่นทำลายเรา ก็ทำได้เพียงขณะหนึ่ง แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดจะทำง่ายเราข้ามภพข้ามชาติ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสอนเรื่อง อภัยทาน

ไทยเรามีประเพณีอย่างหนึ่งคือ เมื่อจุดเทียนขอขมาศพก็จะขออโหสิกรรมต่อกัน คืออย่าได้มีเวรต่อกันในภพหน้าให้ทุกอย่างจบลงที่ภพชาตินี้ แม้ศัตรูคู่อาฆาตก็ต้องอโหสิกรรมต่อกัน

บางครั้ง พิธีสำคัญในชีวิต เรามักจะไปขอพรผู้ใหญ่ และกล่าวว่ากรรมใดที่เราได่ล่วงเกิน ขอให้ท่านยกโทษให้ คือสิ่งที่เราทำเป็นอโหสิกรรม ทำให้ใจเราว่างเพียงพอเพื่อรองรับความดี ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ เช่น พิธีบวช เป็นต้น

การแสดงอภัยทาน เป็นการชำระใจ แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยากมาก หากไม่ฝึกทำจนเป็นปกติ เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้ ขอให้เรามาพิจารณาเหตุผล ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่ข้ามภพข้าชาติว่า ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด ละยังเป็นผลที่หนีไม่ได้อีกด้วย..

เราต้องการยุติการเผล็ดผลของกรรมกับคนๆนั้นเพียงภพนี้ หรือต้องการจะพบเขา จะเจอเขาอีกต่อไป เราต้องการจะยุติปัญหาเหล่านี้เพียงภพชาตินี้ หรือต้องการลากยาวไปถึงภพข้างหน้า เรามีสิทธิเสรีในตัวเรา
บางคน รักมาก หลงมาก เพราะเขาดีมาก ก็ปรารถนาให้พบกันทุกภพทุกชาติ บางคนอธิษฐานไม่ขอร่วมเดินทาง แต่ไม่ยอมยกโทษในที่สุดผลของการยกโทษ คือไม่ยอมให้อภัย ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบเอาไว้ที่เอวตนเองตลอดเวลา

การให้อภัย จำทำให้เราสามารถยุติปัญหาต่างๆ ได้ เหมือนคนล้างแก้วน้ำสะอาด ทำให้เหมาะสมที่จะรองรับน้ำบริสุทธิ์ที่เทลงไปใหม่ เหมืนอการโยนของเราไม่ชอบทิ้งเสีย โดยไม่ต้องเสียดาย

การให้อภัยคือการแสดงกำลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อภัยทานเวลาที่จะให้ต้องไปขอใคร ไม่เหมือนใครมาขอเงินเรา เราต้องควักกะเป๋าให้แต่ให้อภัยเราไม่ต้องหาจากไหน และไม่รู่สุกว่าเป็นหารสูญเสีย

ขอให้เราภูมิใจ เมื่อมีใครมาขอโทษ เมื่อมีใครให้อภัยเรา หรือสำนึกได้ว่า เราได้ทำอะไรผิดพลาดไป ก็ขอโทษกัน การขอโทษหรือการให้อภัย มิใช่การเสียหน้า หรือเสียรู้ มิใช่การได้เปรียบเสียเปรียบ แต่อย่างใด หากแต่เป็นการชำระจิตใจให้สะอาด เหมือนภาชนะสกปรก ก็ชำระล้างให้สะอาด

ใครจะคิดอย่างไรไม่ใช่ประเด็นแต่สำหรับเราผู้แสดงออกว่าเราให้อภัยในเรื่องนี้ต่อบุคคลผู้นี้แล้ว นั่นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสิ่งนั้นจะถูกบรรจุลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์คือจิตของเราทันที

การผูกอาฆาต ความพยาบาท ความอิจฉา โกรธ เกลียด ความคิดแก้แค้น ทิฐิมานะ เป็นต้น เป็นเสมือนเชื้อไวรัส อภัยทาน คือเครื่องมือแอนตี้ไวรัส ส่วนจิตของเรา เหมือนคอมพิวเตอร์

ในชีวิตที่เหลือ อาจจะดูเหมือนยาว แต่มีใครบอกได้ว่าเราจะอยู่ได้ปลอดภัยถึงวันไหน เราต้องการความทรงจำทีเลวร้ายหรือต้องการความทรงจำที่ดีในชีวิต

เราต้องการนั่งนอนอย่างมีความสุขมีชีวิตด้วยความอิ่มเอิบหรือต้องการมีชีวิตอยู่ด้วยการถอนหายใจ ด้วยความทุกข์และกังวลใจ สิ่งเหล่านี้กำหนดที่ตัวเราเอง กำหนดชีวิตให้ถูกต้อง

ความคิดเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก สุขหรือทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่วิธีคิด คิดเป็นก็พ้นทุกข์ คิดไม่เป็น แม้แต่เรื่องมิใช่เรื่อง ก็อาจเกิดเรื่องได้
ขอให้เรามาคิดดูว่า ในชีวิตเราของเราคนหนึ่ง อย่างเก่งก็อยู่ได้ ๙๐ ปี เกินนี้ ไปถือว่ากำไรชีวิต ทำไมเราต้องมาเสียเวลามาครุ่นคิดเรื่องไร้สาระ ทำไมเราจะต้องเสียเวลามาทำเรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์

การยอมกันเสียบ้างก็เป็นความสุขได้ไม่ยาก บางกครั้งการยอมแพ้ อาจเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ข้ามภพข้ามชาติ การยกโทษ อาจดูเหมือนเรายอมไม่ติดใจ ไม่เอาเรื่อง แล้วเขาจะได้กำเริบ ส่วนเราเสียเปรียบ ความจริงไม่ใช่ เรากำลังบำเพ็ญบารมีขั้นสูง คือ อภัยทาน อันเป็น ทานบารมี ที่สูงส่ง

ขอให้สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เวลาเราโกรธ เกลียด พยาบาท สีหน้าของเราจะเปลี่ยนแปลง เลือดในร่างกายจะผิดระบบ เช่น เวลาโกรธจัด จิตที่ถูกครอบงำโดยอารมณ์ร้าย ก็มีลักษณะเช่นเดียว คือหนักใจ ทำอะไรก็กังวลเป็นทุกข์ แต่พอยกโทษให้ ก็จะรู้สึกทันทีว่า ยิ้มได้ มีความเบาสบายใจ

เราอาจคิดว่า การให้อภัยบ่อยๆ แก่บางคน เขาอาจจะไม่ปรับตัว ยังก่อเหตุอยู่เหมือนเดิม นั่นอาจเป็นเหตุผลในการทำงาน แต่สำหรับเหตุผลของใจนั่น เมื่อเราให้อภัยแล้ว ใจเราก็เบา เพราะหมดห่วง หมดทุกข์ หมดสนิมที่จะมากินใจให้ผุกร่อน

วิธีคิด มึความสำคัญมากสำหรับชีวิตของคน เรามักได้ยินเสมอๆหรือชนะ อยู่ที่กำลังใจ แท้จริงแล้วคำว่า กำลังใจ ก็คือ วิธีคิดนั่นเอง พลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือ การที่ใจมีกำลัง

มนุษย์เราจึงต้องสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน กำลังใจเป็นสิ่งที่ให้ไม่รู้จักหมด ยิ่งคนเราให้คนอื่นได้มากเท่าไน กำลังใจก็ยิ่งเพอกพูน ยิ่งหวงไว้เฉพาะตัว ก็ยิ่งหดหาย

การให้อภัย อาจพูดง่าย แต่ทำยาก แม้จะเป็นเรื่องยาก เพราะใจไม่อยากทำ แต่ก็สามารถทำได้เมื่อเราเมื่อเราฝืนใจทำ และจะเป็นความสุขใจในภายหลัง เมื่อครวญคำนึง

มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง เป็นเรื่องที่มีอุทาหรณ์และคติน่าฟังมาก เกี่ยวกับเรื่องของคนที่ไม่ยอมให้อภัยใคร และเป็นคนผูกเกลียด ผูกอาฆาต พยาบาท มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู คู่ต่อสู้ตลอดเวลา กระทั่งวันหนึ่งตายไปพร้อมกับจิตใจที่ขุ่นมัวและผูกอาฆาต
ท่านเล่าว่า เขาอธิษฐานไปเกิดลูกของศัตรู เพื่อจะได้ทำร้ายจิตใจอย่างใกล้ชิดแนบเนียนที่สุดให้ทุกข์ที่สุด ให้สาละวนอยู่กับเรื่องทุกข์ตลอดเวลา เขาเป็นลูกเกเรผลาญทรัพย์ ทำลายวงค์ตระกูล นำความทุกข์เดือดร้อนชาวบ้านทุกวัน

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้เป็นหลักใจว่า คนที่ตายขณะจิตเศร้าหมอง ย่อมไปสู่อบาย กม้นพวกนี้ จะไม่เชื่อเรื่องอบาย ย่อมไปสู่อบายเรื่องนรกที่เป็นภพภูมิ แต่เขาก็ปฎิเสธไม่ได้ถึงนรกคือความเร่าร้อนรุนแรงที่คุกกรุ่นภายในใจ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนคนที่ตายขณะจิตใจผ่องใส จะได้ไปสู่สวรรค์ คือสภาพที่ใจปลอดโปร่งโล่งเบาก็จะมีแก่ผู้นั้น



สิ่งที่น่าคิดก็คือ ข้าพเจ้าทราบจากนักปราชญ์บัณฑิตโยราณท่านพูดเอาไว้ว่า การเที่เราโกรธใคร เราไม่ให้อภัยเขา หรือเราไม่ไปขออโหสิกรรม ความโกรธนั้นจะเป้ฯกรรมติดตัว คือติดใจเราไปยาวนานข้ามภพข้ามชาติ แปลว่า ไม่ว่าเราจะเกิดภพใดชาติใดกรรมนั้นก็จะตามไปไม่สิ้นสุด

ยิ่งไปกว่านั้น การที่กรรมส่งผลข้ามภพข้ามชาตินั้น เป็นสิ่งที่น่าสะพรีงกลัวยิ่งนักเพราะเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเราได้ทำอะไรกับใครไว้บ้างในอดีต
คนบางคนเกิดมามักถูกใส่ร้ายตลอดเวลา ไม่ว่าจะหันหน้าไปทำอะไร จะมีแต่คนคอยจ้องจับผิด คิดร้าย นินทาลับหลงให้ต้องเสียใจอยู่เสมอ บางคนคิดทำอะไรขึ้นมา พอจะสมหวังกับต้องมีอันต้องเป็นไปให้ผิดหวัง พลาดหวังอยู่บ่อยๆ เราคิดว่าเป็นเรื่องของโชควาสนาไป แต่ความจริงคือเรื่องอดีตกรรมเราไม่ยอมแก้ไข ทั้งๆ ที่แก้ไขได้

ยิ่งไปกว่านั้นบางคนต้องทุกข์เพราะคนใกล้ตัวทุกข์เพราะคนที่รัก ที่เป็นตัวชีวิตของเราเอง เช่น มีลูกไม่อยู่ในโอวาท มีลูกอกตัญญู มีลูกทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล พ่อแม่คิดถึงลูกเมื่อไร ก็มีแต่เรื่องร้อนใจตลอดเวลา

เราจะเห็นว่าบางครอบครัวญาติพี่น้องต้องทะเลาะกันเหมือนเป็นข้าศึกศัตรูมาหลายภพหลายชาติ บางทีต้องฆ่ากันเป็นทอดๆ ถามว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร ปัญญาธรรมดาของมนุษย์อย่างพวกเราพอจะทำความเข้าใจได้หรือไม่ กฎหมายที่มีอยู่สามารถคลี่คลายปมปัญหาได้ไหม คำตอบคือยาก เพราะนี่ของเศษกรรมที่ยังไม่ได้รับ “อโหสิ” ระหว่างเราและเขา

ฉะนั้น ถ้าไม่ต้องเสวยวิบากกรรมอันเลวร้ายข้ามภพ ข้ามชาติ ท่านต้องหัดให้อภัยแก่ทุกคน แก่สัตว์ทุกชนิด ให้อภัยแม้ศัตรูที่จะคิดร้ายหมายปองชีวิตเรา อภัยต่อทุกอย่างที่เขาทำไม่ดีกับเรา ให้ทุกอย่างเป็นอโหสิกรรมทั้งหมด เพื่อเราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาในอนาคต

บางครั้งเราก็เห็นเรื่องจริงในชีวิต หรือแม้ที่ปรากฏเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ หากเรามองย้อนให้ดีสักนิด นิ่งคิดให้ละเอียดลึกซึ้งสักหน่อย เราก็จะเข้าใจได้ว่า การไม่ให้อภัยกันนั้น มีผลร้ายข้ามภพข้ามชาติได้ถึงเพียงนั้นเชียวหรือ

บางคนเราไม่รู้จักกันมาก่อน แต่พอเห็นหน้าก็รู้สึกไม่ชอบทันทีเลย จะพูด จะคุย จะทำอะไร ดูเกะกะลูกตาของเราไปหมด แม้แต่ความรู้สึกที่เขามีต่อเราเช่นกัน นั่นเป็นเพราะอดีต เราไม่ยอมให้อภัยกัน

สิ่งที่มนุษย์เรารักมากที่สุด คือ สามี ภรรยา ลูก แต่ทำไมบางที เมื่อเราแต่งงานกันแล้ว สามีสามารถฆ่าภรรยาได้ หรือภรรยาก็สามารถฆ่าสามีทิ้งได้อย่างง่ายดาย นั่นเป็นเพราะอะไร ไม่มีสิ่งใดที่จะอธิบายได้ดีเท่ากับบอกว่านั่นคือผลกรรมที่เกิดจาการไม่ยอมให้อภัยกันในอดีตชาติ และส่งผลมาถึงภพนี้ จีงต้องมาแก้แค้นชำระโทษกัน
การที่เราไม่ยอมให้อภัย เหมือนเราไม่ยอมล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายเรา แม้เราไปที่ไหน สวมใส่เสื้อผ้าชิ้นใด งามเพียงไร ร่างกายเรายังคงสกปรก และตามไปทุกหนทุกแห่งความงามของเรือนร่างที่ประดับด้วยเครื่องเพชร ด้วยเสื้อผ้า ก็ไม่อาจทำร่างกายให้สะอาดได้ การให้อภัย
เปรียบเหมือน การอาบน้ำชำระร่างกาย

ข้อนี้ เปรียบเสมือนเมื่อเราไม่ให้อภัยใคร ใจเราย่อมดิ่งอยู่กับคนนั้นคนนี้ และตัวเขาก็จะถูกผูกไว้กับความรู้สึกของเรา เหมือนความสกปรกของร่างกายที่ตามเราไปตลอดราไปตลอดเวลา เพราะไม่ยอมชำระล้างให้สะอาด






ท่านทั้งหลายอาจลืมคิดไปว่า ลูกหลานที่เกิดมาแล้วล้างผลาญทรัพย์ ทำลายชื่อเสียง ทำให้
พ่อแม่ต้องเดือดร้อนนอนทุกข์นั้น แท้จริงก็คือศัตรูในชาติที่แล้วที่เรามิได้อโหสิกรรมไห้เขา เราไม่ได้ยกโทษให้เขา คือเราไม่ได้แปมที่เคยผูกไว้ให้หลุดออกไป กรรมระหว่างเรากัยเขาจึงตดตามกันมาเผล็ดผลถึงวันนี้

บางที คนที่เขาโกรธเรา หากเราโกรธตอบ ก็จะเป็นการตอบรับกระแสกัน เหมือนเราโทรศัทพ์หากัน ถ้าอีกฝ่ายไม่เปิดโทรศัพท์รับ ฝ่ายที่โทรถึงก็หมดสิทธิที่จะคุยเพราะกระแสไม่ถึงกัน

การตอบรับซึ่งกันและกัน ถ้าเป็นความดี เป็นความรัก ความอบอุ่นก็ดีไป แต่ถ้าความเกลียด ความโกรธ สิ่งที่จะตามมาคือการรับรู้และเก็บอารมณ์โกรธและเกลียดนั้นไว้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

เมื่อรู้แล้วก็ควรสละอารมณ์นั้นด้วยตัวเราเองก่อน เพื่อป้องกันจิตเรามิให้เป็นทุกข์เพราะคนนั้นเป็นเหตุ เราอาจคิดเสมือนหนึ่งเขาไม่ได้อยู่ในโลกนี้เลยก็ได้ การให้อภัยเขา คือคิดถึงเขาในฐานะเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ไม่สมควรจะไปยึดเป็นรักเป็นชัง

ก็เมื่อแม้แต่รัก ท่านยังสอนให้เราละทิ้ง เพื่อมิให้ยึดติด แล้วทำไมเราจะต้องยังมองเห็นโกรธเป็นสิ่งที่จะต้องยึดมั่นอยู่ได้

การที่เราเห็นสิ่งผิดปกติในชีวิตเราบางครั้ง เช่น มีแต่เรื่องให้เกิดทุกข์ มีแต่คนทำให้ใจขุ่นมัว มีลูกไม่ดี มีหลานไม่สมประสงค์ทำให้เราต้องเก็บมาคิดเสมอ ขอให้เราถือว่า นี่คือเศษเสี้ยวแห่งผลกรรมที่ติดอยู่ในความคิดตั้งแต่อดีตชาติ ซึ่งบัดนี้เผล็ดผล งอกงามออกมาอยู่ใกล้ตัวเราที่สุด

บางครั้งศัตรูยอมอธิษฐานจิตแห่งความพยาบาทให้มาเกิดเป็นลูกของรา เป็นหลานของเราเป็นญาติของเรา เป็นผู้บังคับบัญชาของเราก็มี เพื่อเขาจะได้ทำลายน้ำใจ ชื่อเสียงวงศ์สกุลของเราให้ถึงที่สุด นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้อโหสิกรรมต่อเรา หรือไม่ได้แสดงอภัยทานต่อเขาจากชาติที่แล้ว
นั่นเอง



ฉะนั้น ทุกครั้งที่เราเห็นเหตุการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้นกับชีวิตใครหรือแม้แต่เกิดขึ้นกับเราเอง และเราเองไม่สามารถจะวอเคราะห์ได้ด้วยปัญญาธรรมดา ขอให้ลองมองผ่านกฎเกณฑ์แห่งกฎแห่งกรรมดูบ้างก็จะช่วยให้จิตใจของเราโปร่งเบาขึ้นมาได้

การคิดถึงกฎแห่งกรรม หาใช่การคิดแบบทดธุระ หรือโยนบาป โดยไม่คิดแก้ปัญหาไม่ การคิดเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในการแก้ปัญหาจิตใจตามหลักพระพุทธศาสนา หลักกรรม เป็นกฏเกณฑ์ที่ให้ผลได้แยบยลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ปัญหาบางอย่างที่แก้ไม่ตก ที่สลัดไม่ออก ที่ไม่มีทางจะหลบลี้หนีได้ เป็นสิ่งที่เราต้องแบกรับด้วยชีวิต เราต้องพิจารณาความจริงย้อนหลัง และยอมรับเหตุการณ์ณ์นั้นให้ได้

สิ่งที่ควรคิดคือ เรื่องผลกรรมที่เกิดขึ้นจากกรรมในอดีตที่เราไม่ได้ทำเป็นอโหสิกรรม คือไม่ยอมให้อภัยในภพชาติที่แล้ว และวันนี้สิ่งที่เกิดกับเรา จึงเป็นสิ่งสมควร สมเหตุมผล

วิธีแก้คือ เราต้องยอมรับความจริงของสิ่งที่เกิดกับตัวเรานั้นให้ได้หากคิดได้เช่นนี้ก็จะทำให้จิตใจเราเยือกเย็นและอ่อนโยนลงได้

ความทุกข์ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการไม่ยอมรับความจริงที่เปลี่ยแปลงไม่ได้ ความทุกข์ของมนุษย์ส่วนมาก มักเกิดจากต้องการเปลี่ยนแปลงแต่เปลี่ยนไม่ได หรือไม่ตต้องการเปลี่ยนแปลง แต่กลับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น

ถามว่าการให้อภัยในความผิดพลาดของคนๆหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำยากง่าย คำตอบคือ ทำง่าย หากเราฝึกหัดทำเป็นประจำ

ขอให้เราฝึกเสมอๆ ว่า ไม่ว่า ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นอะไรกับเรา ขอให้เราฝึกให้อภัยทุกวัน ทำเหมือนที่เราแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ ขอให้เราทำทุกครั้งทำทุกวินาที ทำเหมือนกรวดน้ำหลังทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่

เมื่อเราสร้าง อภัยทาน ให้เป็นลักษณะนิสัยตลอดเวลาได้แล้วเรารู้สึกว่า การให้อภัยแก่ใครนั้น เป็นเรื่องง่ายดายเป็นเรื่องธรรมดาๆคือทำได้โยไม่ต้องฝืนใจทำ
ขอให้เราทราบไว้ว่า เมื่อเราหัดสร้าง อภัยทาน เป็นปกติแล้ว เศษกรรมต่างๆ แทนที่จะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติ ก็จะถูกสลัดออก คือตามไปไม่ได้ เพราะมิได้เป็นกรรมอีกต่อไป หากแต่เป็นแต่เพียงกิริยาที่แสดงออก เพราะเราให้อภัยเสียแล้ว

จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มาฝึกปฎิบัติ อภัยทาน และอโหสิกรรม ตั้งแต่บัตนี้กันเถิด
เพื่อยุติสนิมในใจ คือความอาฆาตพยาบาท เพื่อยุติแรงส่งของกรรม ที่ตามไปเผล็ดผลอันเผ็ดร้อน
ข้ามภพข้ามชาติ


พึงหลับตาให้ใจสงบครู่หนึ่งก่อน แล้วตั้งใจกล่าวคำแผ่เมตตาเบาๆ ดังนี้

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

อเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและ กันเลย

อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุข อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขึ อัตตานัง ปริหรันตุ จงเป็นสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยเทอญฯ</font>


</style>
<font color=blue>
อภัยทาน
โดย ปิยโสภณ
วัดพระรามเก้า
ทุกชีวิตล้วนมีภัยของชีวิตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที ภัยที่อาจเกิดขี้น ภัยเกิดจากภายนอก ไม่ร้ายแรงเท่ากับภัยภายใน

ภัยที่ผู้อื่นสร้างขึ้นกระทบเราน้อยกกว่าภัยที่เราสร้างขึ้นเอง บางคนทำผิดแล้ว กลับมานั่งเสียใจในภายหลังก็บ่อย ภัยทั้งหลายล้วนเป็นยาพิษ ที่ปลิดจิตใจเราได้ทั้งสิ้น

มนุษย์อื่นทำลายเรา ก็ทำได้เพียงขณะหนึ่ง แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดจะทำง่ายเราข้ามภพข้ามชาติ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงสอนเรื่อง อภัยทาน

ไทยเรามีประเพณีอย่างหนึ่งคือ เมื่อจุดเทียนขอขมาศพก็จะขออโหสิกรรมต่อกัน คืออย่าได้มีเวรต่อกันในภพหน้าให้ทุกอย่างจบลงที่ภพชาตินี้ แม้ศัตรูคู่อาฆาตก็ต้องอโหสิกรรมต่อกัน

บางครั้ง พิธีสำคัญในชีวิต เรามักจะไปขอพรผู้ใหญ่ และกล่าวว่ากรรมใดที่เราได่ล่วงเกิน ขอให้ท่านยกโทษให้ คือสิ่งที่เราทำเป็นอโหสิกรรม ทำให้ใจเราว่างเพียงพอเพื่อรองรับความดี ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ เช่น พิธีบวช เป็นต้น

การแสดงอภัยทาน เป็นการชำระใจ แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยากมาก หากไม่ฝึกทำจนเป็นปกติ เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้ ขอให้เรามาพิจารณาเหตุผล ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่ข้ามภพข้าชาติว่า ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด ละยังเป็นผลที่หนีไม่ได้อีกด้วย..

เราต้องการยุติการเผล็ดผลของกรรมกับคนๆนั้นเพียงภพนี้ หรือต้องการจะพบเขา จะเจอเขาอีกต่อไป เราต้องการจะยุติปัญหาเหล่านี้เพียงภพชาตินี้ หรือต้องการลากยาวไปถึงภพข้างหน้า เรามีสิทธิเสรีในตัวเรา
บางคน รักมาก หลงมาก เพราะเขาดีมาก ก็ปรารถนาให้พบกันทุกภพทุกชาติ บางคนอธิษฐานไม่ขอร่วมเดินทาง แต่ไม่ยอมยกโทษในที่สุดผลของการยกโทษ คือไม่ยอมให้อภัย ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบเอาไว้ที่เอวตนเองตลอดเวลา

การให้อภัย จำทำให้เราสามารถยุติปัญหาต่างๆ ได้ เหมือนคนล้างแก้วน้ำสะอาด ทำให้เหมาะสมที่จะรองรับน้ำบริสุทธิ์ที่เทลงไปใหม่ เหมืนอการโยนของเราไม่ชอบทิ้งเสีย โดยไม่ต้องเสียดาย

การให้อภัยคือการแสดงกำลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อภัยทานเวลาที่จะให้ต้องไปขอใคร ไม่เหมือนใครมาขอเงินเรา เราต้องควักกะเป๋าให้แต่ให้อภัยเราไม่ต้องหาจากไหน และไม่รู่สุกว่าเป็นหารสูญเสีย

ขอให้เราภูมิใจ เมื่อมีใครมาขอโทษ เมื่อมีใครให้อภัยเรา หรือสำนึกได้ว่า เราได้ทำอะไรผิดพลาดไป ก็ขอโทษกัน การขอโทษหรือการให้อภัย มิใช่การเสียหน้า หรือเสียรู้ มิใช่การได้เปรียบเสียเปรียบ แต่อย่างใด หากแต่เป็นการชำระจิตใจให้สะอาด เหมือนภาชนะสกปรก ก็ชำระล้างให้สะอาด

ใครจะคิดอย่างไรไม่ใช่ประเด็นแต่สำหรับเราผู้แสดงออกว่าเราให้อภัยในเรื่องนี้ต่อบุคคลผู้นี้แล้ว นั่นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสิ่งนั้นจะถูกบรรจุลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์คือจิตของเราทันที

การผูกอาฆาต ความพยาบาท ความอิจฉา โกรธ เกลียด ความคิดแก้แค้น ทิฐิมานะ เป็นต้น เป็นเสมือนเชื้อไวรัส อภัยทาน คือเครื่องมือแอนตี้ไวรัส ส่วนจิตของเรา เหมือนคอมพิวเตอร์

ในชีวิตที่เหลือ อาจจะดูเหมือนยาว แต่มีใครบอกได้ว่าเราจะอยู่ได้ปลอดภัยถึงวันไหน เราต้องการความทรงจำทีเลวร้ายหรือต้องการความทรงจำที่ดีในชีวิต

เราต้องการนั่งนอนอย่างมีความสุขมีชีวิตด้วยความอิ่มเอิบหรือต้องการมีชีวิตอยู่ด้วยการถอนหายใจ ด้วยความทุกข์และกังวลใจ สิ่งเหล่านี้กำหนดที่ตัวเราเอง กำหนดชีวิตให้ถูกต้อง

ความคิดเป็นสิ่งที่ทรงพลังมาก สุขหรือทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่วิธีคิด คิดเป็นก็พ้นทุกข์ คิดไม่เป็น แม้แต่เรื่องมิใช่เรื่อง ก็อาจเกิดเรื่องได้
ขอให้เรามาคิดดูว่า ในชีวิตเราของเราคนหนึ่ง อย่างเก่งก็อยู่ได้ ๙๐ ปี เกินนี้ ไปถือว่ากำไรชีวิต ทำไมเราต้องมาเสียเวลามาครุ่นคิดเรื่องไร้สาระ ทำไมเราจะต้องเสียเวลามาทำเรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์

การยอมกันเสียบ้างก็เป็นความสุขได้ไม่ยาก บางกครั้งการยอมแพ้ อาจเป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ข้ามภพข้ามชาติ การยกโทษ อาจดูเหมือนเรายอมไม่ติดใจ ไม่เอาเรื่อง แล้วเขาจะได้กำเริบ ส่วนเราเสียเปรียบ ความจริงไม่ใช่ เรากำลังบำเพ็ญบารมีขั้นสูง คือ อภัยทาน อันเป็น ทานบารมี ที่สูงส่ง

ขอให้สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เวลาเราโกรธ เกลียด พยาบาท สีหน้าของเราจะเปลี่ยนแปลง เลือดในร่างกายจะผิดระบบ เช่น เวลาโกรธจัด จิตที่ถูกครอบงำโดยอารมณ์ร้าย ก็มีลักษณะเช่นเดียว คือหนักใจ ทำอะไรก็กังวลเป็นทุกข์ แต่พอยกโทษให้ ก็จะรู้สึกทันทีว่า ยิ้มได้ มีความเบาสบายใจ

เราอาจคิดว่า การให้อภัยบ่อยๆ แก่บางคน เขาอาจจะไม่ปรับตัว ยังก่อเหตุอยู่เหมือนเดิม นั่นอาจเป็นเหตุผลในการทำงาน แต่สำหรับเหตุผลของใจนั่น เมื่อเราให้อภัยแล้ว ใจเราก็เบา เพราะหมดห่วง หมดทุกข์ หมดสนิมที่จะมากินใจให้ผุกร่อน

วิธีคิด มึความสำคัญมากสำหรับชีวิตของคน เรามักได้ยินเสมอๆหรือชนะ อยู่ที่กำลังใจ แท้จริงแล้วคำว่า กำลังใจ ก็คือ วิธีคิดนั่นเอง พลังที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือ การที่ใจมีกำลัง

มนุษย์เราจึงต้องสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน กำลังใจเป็นสิ่งที่ให้ไม่รู้จักหมด ยิ่งคนเราให้คนอื่นได้มากเท่าไน กำลังใจก็ยิ่งเพอกพูน ยิ่งหวงไว้เฉพาะตัว ก็ยิ่งหดหาย

การให้อภัย อาจพูดง่าย แต่ทำยาก แม้จะเป็นเรื่องยาก เพราะใจไม่อยากทำ แต่ก็สามารถทำได้เมื่อเราเมื่อเราฝืนใจทำ และจะเป็นความสุขใจในภายหลัง เมื่อครวญคำนึง

มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟัง เป็นเรื่องที่มีอุทาหรณ์และคติน่าฟังมาก เกี่ยวกับเรื่องของคนที่ไม่ยอมให้อภัยใคร และเป็นคนผูกเกลียด ผูกอาฆาต พยาบาท มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู คู่ต่อสู้ตลอดเวลา กระทั่งวันหนึ่งตายไปพร้อมกับจิตใจที่ขุ่นมัวและผูกอาฆาต
ท่านเล่าว่า เขาอธิษฐานไปเกิดลูกของศัตรู เพื่อจะได้ทำร้ายจิตใจอย่างใกล้ชิดแนบเนียนที่สุดให้ทุกข์ที่สุด ให้สาละวนอยู่กับเรื่องทุกข์ตลอดเวลา เขาเป็นลูกเกเรผลาญทรัพย์ ทำลายวงค์ตระกูล นำความทุกข์เดือดร้อนชาวบ้านทุกวัน

พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้เป็นหลักใจว่า คนที่ตายขณะจิตเศร้าหมอง ย่อมไปสู่อบาย กม้นพวกนี้ จะไม่เชื่อเรื่องอบาย ย่อมไปสู่อบายเรื่องนรกที่เป็นภพภูมิ แต่เขาก็ปฎิเสธไม่ได้ถึงนรกคือความเร่าร้อนรุนแรงที่คุกกรุ่นภายในใจ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนคนที่ตายขณะจิตใจผ่องใส จะได้ไปสู่สวรรค์ คือสภาพที่ใจปลอดโปร่งโล่งเบาก็จะมีแก่ผู้นั้น



สิ่งที่น่าคิดก็คือ ข้าพเจ้าทราบจากนักปราชญ์บัณฑิตโยราณท่านพูดเอาไว้ว่า การเที่เราโกรธใคร เราไม่ให้อภัยเขา หรือเราไม่ไปขออโหสิกรรม ความโกรธนั้นจะเป้ฯกรรมติดตัว คือติดใจเราไปยาวนานข้ามภพข้ามชาติ แปลว่า ไม่ว่าเราจะเกิดภพใดชาติใดกรรมนั้นก็จะตามไปไม่สิ้นสุด

ยิ่งไปกว่านั้น การที่กรรมส่งผลข้ามภพข้ามชาตินั้น เป็นสิ่งที่น่าสะพรีงกลัวยิ่งนักเพราะเราไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเราได้ทำอะไรกับใครไว้บ้างในอดีต
คนบางคนเกิดมามักถูกใส่ร้ายตลอดเวลา ไม่ว่าจะหันหน้าไปทำอะไร จะมีแต่คนคอยจ้องจับผิด คิดร้าย นินทาลับหลงให้ต้องเสียใจอยู่เสมอ บางคนคิดทำอะไรขึ้นมา พอจะสมหวังกับต้องมีอันต้องเป็นไปให้ผิดหวัง พลาดหวังอยู่บ่อยๆ เราคิดว่าเป็นเรื่องของโชควาสนาไป แต่ความจริงคือเรื่องอดีตกรรมเราไม่ยอมแก้ไข ทั้งๆ ที่แก้ไขได้

ยิ่งไปกว่านั้นบางคนต้องทุกข์เพราะคนใกล้ตัวทุกข์เพราะคนที่รัก ที่เป็นตัวชีวิตของเราเอง เช่น มีลูกไม่อยู่ในโอวาท มีลูกอกตัญญู มีลูกทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล พ่อแม่คิดถึงลูกเมื่อไร ก็มีแต่เรื่องร้อนใจตลอดเวลา

เราจะเห็นว่าบางครอบครัวญาติพี่น้องต้องทะเลาะกันเหมือนเป็นข้าศึกศัตรูมาหลายภพหลายชาติ บางทีต้องฆ่ากันเป็นทอดๆ ถามว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร ปัญญาธรรมดาของมนุษย์อย่างพวกเราพอจะทำความเข้าใจได้หรือไม่ กฎหมายที่มีอยู่สามารถคลี่คลายปมปัญหาได้ไหม คำตอบคือยาก เพราะนี่ของเศษกรรมที่ยังไม่ได้รับ “อโหสิ” ระหว่างเราและเขา

ฉะนั้น ถ้าไม่ต้องเสวยวิบากกรรมอันเลวร้ายข้ามภพ ข้ามชาติ ท่านต้องหัดให้อภัยแก่ทุกคน แก่สัตว์ทุกชนิด ให้อภัยแม้ศัตรูที่จะคิดร้ายหมายปองชีวิตเรา อภัยต่อทุกอย่างที่เขาทำไม่ดีกับเรา ให้ทุกอย่างเป็นอโหสิกรรมทั้งหมด เพื่อเราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาในอนาคต

บางครั้งเราก็เห็นเรื่องจริงในชีวิต หรือแม้ที่ปรากฏเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ หากเรามองย้อนให้ดีสักนิด นิ่งคิดให้ละเอียดลึกซึ้งสักหน่อย เราก็จะเข้าใจได้ว่า การไม่ให้อภัยกันนั้น มีผลร้ายข้ามภพข้ามชาติได้ถึงเพียงนั้นเชียวหรือ

บางคนเราไม่รู้จักกันมาก่อน แต่พอเห็นหน้าก็รู้สึกไม่ชอบทันทีเลย จะพูด จะคุย จะทำอะไร ดูเกะกะลูกตาของเราไปหมด แม้แต่ความรู้สึกที่เขามีต่อเราเช่นกัน นั่นเป็นเพราะอดีต เราไม่ยอมให้อภัยกัน

สิ่งที่มนุษย์เรารักมากที่สุด คือ สามี ภรรยา ลูก แต่ทำไมบางที เมื่อเราแต่งงานกันแล้ว สามีสามารถฆ่าภรรยาได้ หรือภรรยาก็สามารถฆ่าสามีทิ้งได้อย่างง่ายดาย นั่นเป็นเพราะอะไร ไม่มีสิ่งใดที่จะอธิบายได้ดีเท่ากับบอกว่านั่นคือผลกรรมที่เกิดจาการไม่ยอมให้อภัยกันในอดีตชาติ และส่งผลมาถึงภพนี้ จีงต้องมาแก้แค้นชำระโทษกัน
การที่เราไม่ยอมให้อภัย เหมือนเราไม่ยอมล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกายเรา แม้เราไปที่ไหน สวมใส่เสื้อผ้าชิ้นใด งามเพียงไร ร่างกายเรายังคงสกปรก และตามไปทุกหนทุกแห่งความงามของเรือนร่างที่ประดับด้วยเครื่องเพชร ด้วยเสื้อผ้า ก็ไม่อาจทำร่างกายให้สะอาดได้ การให้อภัย
เปรียบเหมือน การอาบน้ำชำระร่างกาย

ข้อนี้ เปรียบเสมือนเมื่อเราไม่ให้อภัยใคร ใจเราย่อมดิ่งอยู่กับคนนั้นคนนี้ และตัวเขาก็จะถูกผูกไว้กับความรู้สึกของเรา เหมือนความสกปรกของร่างกายที่ตามเราไปตลอดราไปตลอดเวลา เพราะไม่ยอมชำระล้างให้สะอาด






ท่านทั้งหลายอาจลืมคิดไปว่า ลูกหลานที่เกิดมาแล้วล้างผลาญทรัพย์ ทำลายชื่อเสียง ทำให้
พ่อแม่ต้องเดือดร้อนนอนทุกข์นั้น แท้จริงก็คือศัตรูในชาติที่แล้วที่เรามิได้อโหสิกรรมไห้เขา เราไม่ได้ยกโทษให้เขา คือเราไม่ได้แปมที่เคยผูกไว้ให้หลุดออกไป กรรมระหว่างเรากัยเขาจึงตดตามกันมาเผล็ดผลถึงวันนี้

บางที คนที่เขาโกรธเรา หากเราโกรธตอบ ก็จะเป็นการตอบรับกระแสกัน เหมือนเราโทรศัทพ์หากัน ถ้าอีกฝ่ายไม่เปิดโทรศัพท์รับ ฝ่ายที่โทรถึงก็หมดสิทธิที่จะคุยเพราะกระแสไม่ถึงกัน

การตอบรับซึ่งกันและกัน ถ้าเป็นความดี เป็นความรัก ความอบอุ่นก็ดีไป แต่ถ้าความเกลียด ความโกรธ สิ่งที่จะตามมาคือการรับรู้และเก็บอารมณ์โกรธและเกลียดนั้นไว้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

เมื่อรู้แล้วก็ควรสละอารมณ์นั้นด้วยตัวเราเองก่อน เพื่อป้องกันจิตเรามิให้เป็นทุกข์เพราะคนนั้นเป็นเหตุ เราอาจคิดเสมือนหนึ่งเขาไม่ได้อยู่ในโลกนี้เลยก็ได้ การให้อภัยเขา คือคิดถึงเขาในฐานะเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ไม่สมควรจะไปยึดเป็นรักเป็นชัง

ก็เมื่อแม้แต่รัก ท่านยังสอนให้เราละทิ้ง เพื่อมิให้ยึดติด แล้วทำไมเราจะต้องยังมองเห็นโกรธเป็นสิ่งที่จะต้องยึดมั่นอยู่ได้

การที่เราเห็นสิ่งผิดปกติในชีวิตเราบางครั้ง เช่น มีแต่เรื่องให้เกิดทุกข์ มีแต่คนทำให้ใจขุ่นมัว มีลูกไม่ดี มีหลานไม่สมประสงค์ทำให้เราต้องเก็บมาคิดเสมอ ขอให้เราถือว่า นี่คือเศษเสี้ยวแห่งผลกรรมที่ติดอยู่ในความคิดตั้งแต่อดีตชาติ ซึ่งบัดนี้เผล็ดผล งอกงามออกมาอยู่ใกล้ตัวเราที่สุด

บางครั้งศัตรูยอมอธิษฐานจิตแห่งความพยาบาทให้มาเกิดเป็นลูกของรา เป็นหลานของเราเป็นญาติของเรา เป็นผู้บังคับบัญชาของเราก็มี เพื่อเขาจะได้ทำลายน้ำใจ ชื่อเสียงวงศ์สกุลของเราให้ถึงที่สุด นั่นเป็นเพราะเราไม่ได้อโหสิกรรมต่อเรา หรือไม่ได้แสดงอภัยทานต่อเขาจากชาติที่แล้ว
นั่นเอง



ฉะนั้น ทุกครั้งที่เราเห็นเหตุการณ์แปลกประหลาดเกิดขึ้นกับชีวิตใครหรือแม้แต่เกิดขึ้นกับเราเอง และเราเองไม่สามารถจะวอเคราะห์ได้ด้วยปัญญาธรรมดา ขอให้ลองมองผ่านกฎเกณฑ์แห่งกฎแห่งกรรมดูบ้างก็จะช่วยให้จิตใจของเราโปร่งเบาขึ้นมาได้

การคิดถึงกฎแห่งกรรม หาใช่การคิดแบบทดธุระ หรือโยนบาป โดยไม่คิดแก้ปัญหาไม่ การคิดเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นหลักการสำคัญข้อหนึ่งในการแก้ปัญหาจิตใจตามหลักพระพุทธศาสนา หลักกรรม เป็นกฏเกณฑ์ที่ให้ผลได้แยบยลทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ปัญหาบางอย่างที่แก้ไม่ตก ที่สลัดไม่ออก ที่ไม่มีทางจะหลบลี้หนีได้ เป็นสิ่งที่เราต้องแบกรับด้วยชีวิต เราต้องพิจารณาความจริงย้อนหลัง และยอมรับเหตุการณ์ณ์นั้นให้ได้

สิ่งที่ควรคิดคือ เรื่องผลกรรมที่เกิดขึ้นจากกรรมในอดีตที่เราไม่ได้ทำเป็นอโหสิกรรม คือไม่ยอมให้อภัยในภพชาติที่แล้ว และวันนี้สิ่งที่เกิดกับเรา จึงเป็นสิ่งสมควร สมเหตุมผล

วิธีแก้คือ เราต้องยอมรับความจริงของสิ่งที่เกิดกับตัวเรานั้นให้ได้หากคิดได้เช่นนี้ก็จะทำให้จิตใจเราเยือกเย็นและอ่อนโยนลงได้

ความทุกข์ส่วนใหญ่ มักเกิดจากการไม่ยอมรับความจริงที่เปลี่ยแปลงไม่ได้ ความทุกข์ของมนุษย์ส่วนมาก มักเกิดจากต้องการเปลี่ยนแปลงแต่เปลี่ยนไม่ได หรือไม่ตต้องการเปลี่ยนแปลง แต่กลับเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น

ถามว่าการให้อภัยในความผิดพลาดของคนๆหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำยากง่าย คำตอบคือ ทำง่าย หากเราฝึกหัดทำเป็นประจำ

ขอให้เราฝึกเสมอๆ ว่า ไม่ว่า ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นอะไรกับเรา ขอให้เราฝึกให้อภัยทุกวัน ทำเหมือนที่เราแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ ขอให้เราทำทุกครั้งทำทุกวินาที ทำเหมือนกรวดน้ำหลังทำบุญ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้สรรพสัตว์น้อยใหญ่

เมื่อเราสร้าง อภัยทาน ให้เป็นลักษณะนิสัยตลอดเวลาได้แล้วเรารู้สึกว่า การให้อภัยแก่ใครนั้น เป็นเรื่องง่ายดายเป็นเรื่องธรรมดาๆคือทำได้โยไม่ต้องฝืนใจทำ
ขอให้เราทราบไว้ว่า เมื่อเราหัดสร้าง อภัยทาน เป็นปกติแล้ว เศษกรรมต่างๆ แทนที่จะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติ ก็จะถูกสลัดออก คือตามไปไม่ได้ เพราะมิได้เป็นกรรมอีกต่อไป หากแต่เป็นแต่เพียงกิริยาที่แสดงออก เพราะเราให้อภัยเสียแล้ว

จึงขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มาฝึกปฎิบัติ อภัยทาน และอโหสิกรรม ตั้งแต่บัตนี้กันเถิด
เพื่อยุติสนิมในใจ คือความอาฆาตพยาบาท เพื่อยุติแรงส่งของกรรม ที่ตามไปเผล็ดผลอันเผ็ดร้อน
ข้ามภพข้ามชาติ


พึงหลับตาให้ใจสงบครู่หนึ่งก่อน แล้วตั้งใจกล่าวคำแผ่เมตตาเบาๆ ดังนี้

สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง

อเวรา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุข เถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและ กันเลย

อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุข เป็นสุข อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขึ อัตตานัง ปริหรันตุ จงเป็นสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยเทอญฯ

#2 usr18572

usr18572
  • Members
  • 25 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 September 2007 - 01:21 PM

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...สาธุ

#3 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 September 2007 - 03:50 PM

สาธุ ๆ ๆ ๆ ๆ ครับ

#4 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 06 September 2007 - 07:02 PM

อนุโมทนาบุญด้วยครับ
สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#5 united

united
  • Members
  • 30 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 September 2007 - 11:37 PM

ขออนุโมทนาบุญแห่งธรรมทานนี้ด้วยค่ะ

เป็นบทความที่ดับร้อนในใจได้ชะงัดทีเดียว