ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การกรวดน้ำ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 kalyanamit

kalyanamit
  • Members
  • 70 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 September 2007 - 10:03 PM

ถ้าไม่รินน้ำจะถึงผู้รับมั้ยครับ

#2 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 17 September 2007 - 10:43 PM

ประเพณีของพราหมณ์ เวลาจะให้หรืออุทิศสิ่งใดๆ ให้แก่ผู้อื่นก็จะมีการหลั่งรินน้ำให้กัน จนกระทั่งบังเกิดพุทธศาสนา การอุทิศถวายสิ่งของกับพระสงฆ์ ก็ยังมีการรินน้ำอุทิศถวาย เช่นถวายวิหารทานต่างๆ การอุทิศบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับก็ใช้วิธีรินน้ำ เป็นประเพณีซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ครับ กลมกลืนไปกับวัฒนธรรมชาวพุทธไปอย่างแนบแน่น แม้แต่พระเนรศวรทรงประกาศอิสรภาพก็ใช้วิธีหลั่งน้ำเช่นกัน
แต่ว่าผลของการอุทิศนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นหลักครับ เวลาทำบุญให้เราอทิษฐานในใจก็ได้ว่าเราอุทิศบุญนี้ให้กับใครแม้จะนึกชื่อไม่ออก นึกผิดนึกถูก แต่เจตนาเรามีต่อบุคคลผู้นั้นเขาก็ได้ผลแน่นอน ครูไม่ใหญ่ท่านมาสอนแบบนี้ครับ




#3 joey

joey
  • Members
  • 164 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 September 2007 - 09:39 AM

ขออนุญาตนำคำถามในรายการหลวงพ่อตอบปัญหา มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

ถาม : ขอกราบเรียนถามหลวงพ่ออีกคำถามนะครับ ทำไมเวลาทำบุญต้องกรวดน้ำด้วยครับ ไม่ทราบว่าธรรมเนียมการกรวดน้ำมีที่มาที่ไปอย่างไรครับ แล้วถ้าลืมกรวดน้ำจะมีผลอย่างไรบ้างครับ

หลวงพ่อทัตตชีโว : คุณโยม ประเพณีกรวดน้ำนี่ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาลทีเดียว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนให้พระเจ้าพิมพิสาร ผู้สร้างวัดแรกในพระพุทธศาสนาให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติของพระองค์ท่านในอดีต เป็นญาติในอดีตชาติ ซึ่งเมื่อละโลกไปแล้ว ญาติเหล่านั้นไปเกิดเป็นเปรต แล้วก็มารอรับส่วนบุญอยู่เป็นพุทธธันดรเลย

แต่เนื่องจากว่าพระเจ้าพิมพิสารระลึกชาติไม่ได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าญาติตัวเอง ญาติของพระองค์เองในอดีตชาติมาเป็นเปรต มาเป็นอะไรไม่รู้ ไม่รู้ว่าเขามารอรับส่วนบุญส่วนกุศลเป็นพุทธธันดรแล้วไม่รู้ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านทำบุญแล้ว ท่านก็เลยไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้ ญาติที่เป็นเปรตก็เลยยังเป็นเปรตต่อไป

ทีนี้ ญาติเหล่านั้นเป็นทุกข์หนัก ก็เลยปรากฏตัวให้เห็นว่าตัวเองเป็นเปรต ส่งเสียงร้องโหยหวนอยู่ในวัง พระเจ้าพิมพิสารเห็นเข้า รีบไปกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ามันอะไรกันล่ะนี่ เปรตมาร้องลั่นอยู่เต็มวังอยู่นี่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เลยทรงเล่าเรื่องหนหลังให้ฟังว่า นี่หรือญาติในอดีตชาติของพระองค์ เมื่อในอดีตชาติพระองค์ทำบุญทำทานตั้งโรงทาน เลี้ยงพระเลี้ยงมหาชน แต่ว่าญาติเหล่านี้ไม่มีกุศลศรัทธา เลยมายักยอกเอาของที่จะถวายสงฆ์นั่นน่ะไปใช้เป็นของตัวเอง ไปกินเป็นของตัวเองซะ ละโลกไปแล้วจากชาตินั้นเลยต้องมาเกิดเป็นเปรตนี่แหละ

แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแนะ ให้พระเจ้าพิมพิสารทำบุญเลี้ยงพระ แล้วก็หลังจากนั้น ก็กรวดน้ำอุทิศบุญส่งให้กับเปรตเหล่านั้น พวกเปรตเหล่านั้นพอได้รับอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเท่านั้น ก็กลายสภาพไป ไปเป็นเทวดา ไปเป็นนางฟ้า ปุ๊บไปเลยอีกเหมือนกันด้วยอำนาจบุญ

ทีนี้ถามว่าถ้าทำบุญแล้วไม่อุทิศส่วนกุศลนี่ ตัวเองจะได้บุญหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลหรือไม่กรวดน้ำ ยังไงๆ เราก็ได้หรือไม่ได้? เราก็ได้บุญของเราอยู่แล้ว นี้เป็นส่วนที่ ๑ ที่เราต้องได้แน่ๆ เลย กรวดไม่กรวดได้แน่ๆ เลย อันนี้ต้องชัดเจน

แต่ว่าถ้ากรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแล้วมันดียังไง ดีตรงที่ว่าเรากรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ใคร ก็จะทำให้ผู้นั้นพลอยได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนี้ แล้วก็พลอยเป็นสุขเช่นเดียวกับเปรต ญาติของพระเจ้าพิมพิสาร แต่ปัญหาก็คือเวลาเราอุทิศส่วนกุศลอย่างที่ว่านั้นน่ะ ด้วยการกรวดน้ำน่ะนะ ทำอุปมาในใจว่าสายน้ำที่เรารินลงไปนั่นน่ะ ก็อุปมาในใจว่าเหมือนสายบุญ

ทีนี้เมื่อเราอุปมาในใจไปอย่างนั้นแล้ว แล้วบุญเราไม่พร่องไม่หกไปหมดหรือนี่ กว่าจะทำบุญได้ มันก็ยากนะ ยุคนี้ก็ยุคเศรษฐกิจรัดตัวอยู่ กว่าจะได้เงินมาทำบุญนี่ก็ยาก แล้วเที่ยวอุทิศให้ใครต่อใครให้กลุ้มกลัดไปหมด แล้วเดี๋ยวเราไม่หมดเสียหรือบุญนี้ ก็บอกว่าไม่หมดหรอก

ลองฟังอุปมาที่ว่าทำไมมันไม่หมด ก็ถามตัวเองดูก็ได้ ว่าถ้าเราปลูกกล้วยไม้มาสักกระถางหนึ่ง เจ้ากล้วยไม้นี้พอถึงเวลาเข้า ก็ออกดอกสวย กลิ่นก็หอม ครั้นเราจะเอาไว้ดมคนเดียวหอมๆ แล้วดูคนเดียวสวยๆ เอาไว้ในห้องนอนของเรานี่เพียงลำพังๆ กับการที่เอาไปตั้งกลางห้องรับแขก แล้วก็ชักชวนพรรคพวกเพื่อนฝูง ญาติสนิทมิตรสหายมา เออ! มาดูกล้วยไม้สวยๆ ของข้าพเจ้านี้ แล้วมาช่วยกันดมความหอมนี้ พอชวนเขามาเสียเต็มบ้านเลยตั้ง ๑๐ คน ๒๐ คน คำถาม เออ! แล้วมันจะทำให้ เออ! พอเขามาแล้ว เขาเห็นความสวยของกล้วยไม้เขาชื่นใจไหม ชื่นใจ ๑๐ คน ๒๐ คน ก็ชื่นใจด้วยกันนั่นแหละ พอได้กลิ่นเข้า มันก็หอมด้วยกันนั่นแหละ ก็ชื่นใจอีกเหมือนกัน ถามว่าญาติทั้ง ๑๐, ๒๐ คน พรรคพวกทั้ง ๑๐, ๒๐ คน ที่มานี่ มาชม มาดมไอ้กล้วยไม้ของเราแล้วนี่ มันทำให้กล้วยไม้ของเรานี่ลดความสวยลงไปไหม? ไม่ลด

บุญที่เราอุทิศให้กับใครต่อใครน่ะนะ ญาติกี่โกฏิกี่กัปของเรานั่นน่ะ เออ! มันก็แปลกนะ มันไม่พร่องไป พอได้รับบุญที่เราอุทิศส่วนกุศลให้เท่านั้น ชื่นใจขึ้นมา ความทุกข์มันคลาย พอความทุกข์มันคลาย เลยนึกได้ถึงความดี นึกถึงบุญในอดีตที่ตัวสร้างไว้ พอนึกได้เท่านั้นน่ะ บุญเก่ามาบรรจบกับบุญใหม่ที่ได้รับอุทิศส่วนกุศลให้ พอบรรจบเข้าเท่านั้นแหละ สภาพเปรตหลุดไปเลย เกิดใหม่กลายเป็นเทวดานางฟ้าไป

เพราะฉะนั้นถ้าจะว่าไปแล้ว การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลเป็นเรื่องของคนใจใหญ่ คนมีจิตใจเมตตากรุณา เพราะฉะนั้นปู่ย่าตาทวดถึงไม่ยอมพลาดเลย ไหนๆ ก็ได้บุญใหญ่แล้ว ทำไมไม่ทำใจให้มันใหญ่เพิ่มไปอีก ว่าแล้วก็คว้าขันน้ำขันเบ้อเร่อ กรวดน้ำกันไปเชียวแหละ คุณนะทำบุญทุกครั้ง กรวดน้ำเสียให้ได้ทุกครั้ง แต่ก็ถ้าบางทีหาน้ำไม่ได้ ให้ทำใจให้นิ่ง ให้ใส ยิ่งสว่างทั้งใส ทั้งสว่าง จนกระทั่งเห็นสายบุญด้วยล่ะก็ ถ้าอย่างนั้นไม่ต้องใช้น้ำล่ะคุณเอ้ย สายบุญนี้ให้ตรงดิ่งไปหาผู้ที่เราต้องการให้ถึงน่ะ อย่างนั้นไม่ต้องใช้น้ำในคนโท ในขันแล้วนะ น้ำใจที่งามๆส่งถึงเลย ถึงเลยล่ะก็ อย่างนี้ก็ใช้ได้อีกเหมือนกัน ถ้าส่งบุญถึงเลย ถึงเลย เหมือนต่อเทียน ต่อไฟ ถึงเลย ถึงเลย คุณเอ๊ย! มันดีจริงๆ ทำไปเถอะนะ ทำไป


#4 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 September 2007 - 07:19 AM

Sa Dhu Krub

#5 in_the_boon

in_the_boon
  • Members
  • 50 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 September 2007 - 02:11 PM

เคยอ่านข้อความที่คุณ Joey ลงไว้มาเหมือนกันค่ะ และก็เคยเจอในหนังสือธรรมะเล่มนึง ซึ่งบอกว่า การทำบุญถ้าเราไม่ได้กรวดน้ำแล้วอธิษฐานจิตนั้น ผู้ที่เราอุทิศส่วนกุศลให้ ได้รับ แต่เพียงว่าเค้าอาจจะรับรู้ได้หรือไม่ได้ว่าบุญกุศลนั้นมาจากเราก็เนื่องจากว่า จิตที่เราอธิษฐานนั้นมั่นคงเพียงใด เพราะฉะนั้น การกรวดน้ำก็คือวิธีการหนึ่งที่ทำให้จิตเรานิ่ง มั่นคง ตั้งมั่น พร้อมๆ กับที่เรา ได้น้อมระลึกเอาผลบุญนี้เพื่อฝากท่านแม่พระธรณีส่งกระแสบุญนี้ไปอีกทาง เพราะฉะนั้นที่ปูย่าตายายเราบอกว่าอย่าลืมกรวดน้ำ ก็เพื่อเป็นการการันตี ว่า บุญนั้นส่งไปถึงผู้รับ พร้อมกับปิดผนึกจ่าหน้าผู้ส่งไปด้วยค่ะ smile.gif

#6 ณ ทะเลจันทร์

ณ ทะเลจันทร์
  • Members
  • 78 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 September 2007 - 02:47 PM

อืมม์..ใช่..ใช่คะ เคยได้ทราบมาว่า
แต่เดิมนั้นเป็นประเพณีของศาสนาพราหมณ์
ศาสนาเก่าแก่สมัยก่อนพุทธกาล
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติติดแนบมากับศาสนาพุทธ
จะว่าไปแล้วก็กลมกลืนกันดี
เป็นการย้ำให้ชัดว่า ให้แล้วให้เลยให้ขาดไม่อาจทวงคืน

แล้วก็..เวลาพระท่านเริ่มสวด ...ยถา -เราก็อุทิศกุศลให้ผี(คือสรรพสัตว์ที่ตายไปแล้ว)
พอถึง...สัพพี -เราก็แผ่กุศลให้คนเป็น..ที่ยังหายใจอยู่..
หลายคนไม่ทราบเลยกลายเป็น.. อุทิศให้คนเป็น แผ่ให้คนตาย...ซะงั้น
เคยถูกสอนว่า เวลากรวดน้ำไม่ต้องเอานิ้วไปขวางทางน้ำ
ให้เทน้ำลงภาชนะรองรับให้น้ำไหลลงมาเป็นสายเดียว...
เห็นหลายคนกังวล กลัวเทน้ำไม่ทันพระท่านสวดจบ...
ก็ไม่เป็นอันได้ตั้งจิดอธิษฐานอะไร ...ข้อนี้ก็คงต้องระวัง...

เรื่องส่งบุญไปนั้น ก็เคยถูกสอนว่า
หากผู้รับยังอยู่ในภพภูมิที่ไม่สามารถรับบุญได้
บุญจะรออยู่จนกว่าเขาไปอยู่ในภพภูมิที่รับบุญได้
ตานี้ เราก็ส่งบุญไปให้เขาบ่อยๆ ย้ำๆ ให้บุญนั้นหนักขึ้น..
เขาก็จะได้มีบุญสะสมไว้มากๆน่ะค่ะ smile.gif

 

"จงอย่าเป็นทุกข์เพราะความหยาบคายของผู้อื่น"  

"สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"  "เจตนา..นั้นแหละคือ..กรรม"

"จงทำในสิ่งที่ถูกต้อง..มากกว่าถูกใจ"  "ไม่มีสิ่งเลวร้ายใดที่คนพูดโกหกทำไม่ได้"