ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

นิกายเถรวาท กับ นิกายมหายาน ต่างกันอย่างไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ว่างว่าง

ว่างว่าง
  • Members
  • 200 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 October 2007 - 05:36 PM

?

#2 เด็กผู้น้อย

เด็กผู้น้อย
  • Members
  • 436 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 October 2007 - 07:16 PM

แต่เดิมก็ไม่ต่างหรอกครับ เพราะขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในพระศาสนาจึงต้องปรับเปลี่ยนเอา
มหายานมุ่งอยากได้คนเยอะ จึงต้องยอมปรับเปลี่ยนวินัยเล็กน้อย (เพราะหมายเอาคำตรัสของพระพุทธเจ้าว่าให้ปรับเปลี่ยนได้ แต่ไม่ได้มีพระอรหันต์องค์ใดได้ถามว่าแค่ไหนจึงเปลี่ยนได้) ฉะนั้นมันจึงต่างกันแค่วินัย (หรืออาจคำสอนบางอย่างต่างกัน)

#3 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 03 October 2007 - 08:13 PM

ต้นเหคุก็คือ
เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เหล่าพระสงฆ์สาวกจึงร่วมกันสังคายนาพระธรรมคำสอนจัดเป็นหมวดเป็นหมู่ รวมทั้งพระวินัยด้วย ในครั้งนั้นเหล่าพระสาวกดำริกันว่า เมื่อครั้งพระศาสดาทรงมีพระชนอยู่เคยตรัสไว้ว่า ต่อไปภายภาคหน้าสิกขาบทเพียงเล็กน้อยสามารถปรับเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลสมัย แต่ไม่มีผู้ใดกำหนดว่าสิกขาบทเพียงเล็กน้อยนั้นเป็นเช่นไร
ที่ประชุมจึงถามพระอานนท์ พุทธอุปฐากผู้ไกล้ชิดพระองค์มากกว่าผู้ใด แต่พระอานนก็มิได้เคยถามพระพุทธองค์ไว้
ในที่ประชุมจึงเกิดพระสาวกแบ่งออกเป็น2ฝ่าย คือฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะคงพระวินัยใว้ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลงข้อใดๆเลยแม้เพียงเล็กน้อย อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ต่อไปภายภาคหน้าสิกขาบทเล็กน้อยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามกาลสมัย

นับแต่วันนั้นเป็นต้นมาพระสงฆ์สาวกจึงแบ่งออกเป็น2ฝ่าย ฝ่ายที่รักษาธรรมะวินัยคงเดิมเรียกว่า เถรวาท และฝ่ายที่ปรับเปลี่ยนแปลงพระวินัยเล็กน้อยเรียกว่า มหายาน

ซึ่งแต่แรกเดิมนั้นคิดว่าคงเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจริงๆ แต่ต่อมากาลสมัยนานเข้านิกายมหายานจึงเปลี่ยนแปลงไปมากมาย เป็นลัทธินู้นลัทธินี้ มากมาย ทั้งคำสอนก็ยังผิดเพี้ยนไปมาก แต่พระธรรมวินัย ของนิกายเถรวาทยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย

จากความจำส่วนตัวที่เลอะเลือนนะครับน้อง ผิดพลาดประการใดขออภัยผู้รู้ด้วยนะครับ





#4 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 03 October 2007 - 08:39 PM

เอาแบบที่ koonpatt เข้าใจนะคะ คือว่า คนที่อธิบายให้ฟัง เค้าอธิบายได้สั้น และ เข้าใจง่ายมากๆน่ะค่ะ

ถ้าท่านผู้รู้ อ่านแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องขออภัย และ รบกวนชี้แนะ ด้วยนะคะ

นิกายเถรวาท หรือ หินยาน เน้นที่อริยสัจ 4 เป็นสำคัญ เพื่อมุ่งสู่หนทางแห่งนิพพาน

นิกายมหายาน มุ่งเน้น รื้อสัตว์ ขนสัตว์ ตั้งใจจะช่วยเหล่าสรรพสัตว์ ให้ถึงนิพพานให้ได้ทั้งหมดก่อน ถึงขั้น ยอมละนิพพานเฉพาะตน หากยังช่วยเหล่าสรรพสัตว์ ไปได้ไม่หมด

อันนี้เป็นความแตกต่างที่เห็นชัดที่สุดนะคะ แต่หากอยากทราบรายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่านี้ ใช้วิธีของ koonpatt ก็ได้ค่ะ คือ เข้า google แล้วพิมพ์ หินยาน อ่านหินยานให้หมดก่อน แล้วพิมพ์ มหายาน แล้วอ่านให้หมดเช่นกัน (ลองดูค่ะ)

มีหลาย web ที่เปรียบเทียบข้อแตกต่าง ระหว่าง 2 นิกาย เป็นข้อ เป็นข้อ อย่างชัดเจน แต่ koonpatt ไม่ได้เอามาให้อ่าน เพราะ เห็นว่า จะสร้างข้อสงสัย และ ข้อโต้แย้งได้ อ่านมากๆ เพื่อเอาความรู้ดีกว่านะคะ

เพราะ ถ้าสงสัย อย่าอ่านที่ เวปใด เวปนึงค่ะ เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อ่านให้มากๆ แล้ว ทำความเข้าใจ แล้วดูว่า อย่างไหนที่เราต้องการ

koonpatt เข้าวัดมาใหม่ๆ บ้าพลังมากค่ะ เข้า google แล้วพิมพ์ อย่างที่บอก อ่านทุก web ยืนยันว่า อ่านทุก web จริงๆค่ะ ไม่หลับ ไม่นอน อยากรู้ อยากเรียน อยากเข้าใจ เพราะก่อนเข้าวัด ไม่รู้อะไรเลย นอกจาก "ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ" มีพระพุทธเจ้า เป็น องค์ศาสดา

ยิ่งอ่านก็ยิ่งสงสัย เรื่องที่เราไม่เคยรู้ มากมาย เต็มไปหมด

รู้อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยากรู้อีกว่า ทุกข์นั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

เช่น

ทุกข์ หรือ ทุกข์อริยสัจ คือ สภาพที่ทนได้ยากหรือสภาพที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่องขาดแก่นสาร และการไม่ให้ความพึงพอใจ ที่แท้จริง เช่น สภาวะที่ต้องเรียนหนังสือนาน ๆ โดยมิได้เปลี่ยนอิริยาบถทำให้เราทนต่อสภาวะ นั้น ๆ ได้ยาก จึงมักจะหลีกจากสภาวะอันยากจะต่อการที่จะทนอยู่เช่นนั้นไปสู่สภาวะที่น่าปรารถนากว่าแล้วก็เรียกสภาพวะที่ทนได้ยากนี้ว่า "ทุกข์ " และเรียกสภาวะที่น่าปรารถนาว่า"สุข" ซึ่งแท้จริงแล้วความสุขก็คือ ความทุกข์ที่เบาบางกว่าหรือทุกข์ ที่คลายได้แล้วนั่นเองทุกข์มีหลายชนิด คือ ทุกข์ที่มาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก ความระทมใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความน้อยอกน้อยใจ ความคับแค้นใจ ตลอดจนรวมไปถึงการเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก และการปรารถนาในสิ่งใด ก็ไม่สามารถได้สิ่งนั้น ในพระธรรมจักกัปวัฒนสูตร ได้จำแนกทุกข์ไว้ 11 ชนิด มีดังนี้ คือ

...............1. ชาติคือ ความเกิด
...............2. ชรา คือ ความแก่
...............3. มรณะคือ ความตาย
...............4. โสกะคือ ความแห้งใจ ความเศร้าใจ
...............5. ปริเทวะคือ ความระทมใจพิไรรำพัน หรือความบ่นเพ้อ
...............6. ทุกข์คือ ความไม่สบายใจ ไม่สบายตัว
...............7. โทมนัสคือ ความไม่สบายใจ ความไม่น้อยใจ
...............8. อุปายาสคือ ความคับแค้นใจ ความตรอมใจ
...............9. อัปปิยสัมปโยคคือ การเห็นสิ่งที่ไม่รักใคร่
...............10. ปิยวิปปโยคคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักใคร
...............11. อิจฉิตาลาภะ คือ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
...............ทุกข์ทั้ง 11 ชนิดนี้ สามารถจัดแบ่งออกได้เป็นประเภท ใหญ่ ๆ 2 ประเภทคือ สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจำ คือ ทุกข์อันเป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ได้แก่ ชาติ ชรา และมรณะ
ปกิณณทุกข์ หรือทุกข์ขจร คือ ทุกข์ที่เกิดเป็นครั้วคราวขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส อัปปิยสัมปโยค ปิยวิปปโยค และอิจฉิตาลาภะ

...............สรุปได้ว่า ความทุกข์ที่เกิดทางกายก็คือหรือทางใจก็ดี ล้วนเกิดขึ้นมิได้นอกเหนือไปจากขันธ์ 5 รูปและนามยังมีอยู่ ตราบใดตราบนั้นทุกข์ย่อมเกิดปรากฎที่รูปและนามไม่มีที่สิ้นสุด รูปและนามเป็นตัวทุกข์เพราะจะต้องบำรุงให้มากทั้งยังเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวนแตกสลาย ตัวรับทุกข์อื่น ๆ คือ ทุกข์กายและใจอีกด้วย รูปและนามนี้จึงเป็นทั้งตัวทุกข์และตัวรับทุกข์

สมุทัย บ่อเกิดแห่งความทุกข์ ซึ่งมาจากตัณหาหรือความทะยานอยาก ทำให้เราเกิดความเพลิดเพลินใจเป็นอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ทำให้เกิดผลอันเกิดจากการปฏิบัติ และเริ่มมีความยากใหม่ในรอบใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะดับตัณหาได้

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ อันเป็นผลจากการกระทำของผู้ปฏิบัติอันได้แก่ ความดับโดยสำรอกทิ้งไม่เหลือซึ่งตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหาและความไม่พัวพันตัณหานั้น

แล้ว มรรค ล่ะ คืออะไร มีอะไรบ้าง

...............มรรค คือ ทางปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ อันเป็นทางสายกลางระหว่างการปฏิบัติสุดโต่งทั้ง 2 ทาง คือ การทรมานตนให้ลำบาก และการปรนเปรอตนให้ได้รับความสุขอย่างเต็มที่ ทางสายกลางมีดังนี้ คือ

...............1. สัมมาทิฎฐิ ( right view ) คือ การมีความรู้ถูกต้อง โดยเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่หลงมัวเมาไปกับสภาพมายาจึงเป็นผู้มีความละอายต่อการทำบาปทั้งปวง และมิอาจทำดีโดยหวังผล บุคคลเช่นนี้ไม่เป็นผู้มองสิ่งใดอย่างผิวเผิน แต่มีความคิดเป็นระบบตลอดจนมีสติสัมปชัญญะ
...............2. สัมมาสังกัปปะ ( right thought ) คือ ความดำริชอบ มีความนึกคิดชอบ มีความนึกคิดที่ถูกต้อง จึงเป็นผู้ปลอดโปร่งจากกาม ไม่เคียดแค้น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่คิดทำร้ายเขา
...............3. สัมมาวาจา ( right speech ) คือ การมีวาจาถูกต้องไม่กล่าวคำเท็จ ไม่นินทาเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่พูดคำหยาบคาย แต่พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโลกและสัตว์ทั้งหลาย
...............4. สัมมากัมมันตะ ( right action ) คือ การกระทำที่ถูกต้อง ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ฉ้อฉลหรือทำลายของผู้อื่น และไม่ประพฤติผิดในกาม
...............5. สัมมาอาชีวะ ( right livelihood ) คือ การเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้ใดและงดเว้นจากอาชีพดังนี้ คือ

..............................- การค้าขายอาวุธ
..............................- การค้าขายมนุษย์
............................. - การค้าขายเนื้อสัตว์
..............................- การค้าขายน้ำเมา
..............................- การค้าขายยาพิษ

...............6. สัมมาวายามะ ( right effort ) คือ การพยายามในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้เห็นแจ้งชัดในความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ด้วยการระวังและป้องกันความชั่วมิให้เกิดขึ้น ด้วยการละหรือกำจัดอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการสร้างกุศลให้เกิดขึ้น และด้วยการรักษาและส่งเสริมกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น

...............7. สัมมาสติ ( right mindfulness ) คือ การรำลึกประจำใจที่ถูกต้องหรือตื่นตัวอยู่เสมอว่าทำอะไร ดำรงจิตให้เป็นปัจจุบัน ไม่สติลอยเผลอไผลไปกับอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งจะช่วยป้องกันยับยั้งตนเองไม่ให้หลงเพลินไปในความชั่วหรือเปิดโอกาสให้ความชั่วเล็ดลอดเข้ามาในจิตได้

...............8. สัมมาสมาธิ ( right concentration ) คือ การมีความตั้งมั่นแห่งจิตที่ถูกต้อง โดยทำจิตให้แน่วแน่ในอารมณ์หนึ่งที่ไม่มีโทษและรักษาอารมณ์นั้นให้ตลอดต่อไปได้นานตามที่ใจต้องการ

ประมาณนี้น่ะค่ะ คือ ยิ่งอ่านมาก ยิ่งสงสัยมาก ยิ่งอยากรู้มากขึ้นไปอีก

จนไปเจอ web นึง มีเบอร์โทร. ให้สามารถโทร. เข้าไปสอบถามได้ หากมีข้อสงสัย koonpatt โทร.เลยค่ะ

ได้รับคำแนะนำที่ประทับใจมากๆ ท่านชื่อ คุณชาญชัยค่ะ (ขออนุญาตเอ่ยชื่อนะคะ...แต่ก็ทราบแค่ชื่อล่ะค่ะ) เป็นผู้ที่ทำให้ koonpatt ...หยุด...สงสัย...หยุด...อยาก..รู้

ท่านถามว่า อยากรู้เอาไปทำอะไร เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้ามั๊ย ศรัทธาในพระองค์หรือไม่

รู้อะไรมาบ้าง อ่านมามากแค่ไหน ที่อ่านๆ มาเนี่ย ไม่พอหรือ ยิ่งอ่าน ยิ่งอยากรู้ ยิ่งสงสัยใช่หรือไม่

แล้วเมื่อไหร่ ใจจะนิ่งได้เสียที ความอยากรู้ อยากได้ อยากมี อยากเป็น ก็คือ ตัณหา อย่างหนึ่ง ซึ่งพอเกิดขึ้นแล้วเนี่ย ก็เป็นทุกข์ ถึงขนาดต้องหาคนมาช่วย (ก็คือที่ดิ้นรนโทรหาผู้ที่เราคิดว่า รู้มากกว่าเราเพื่อหาคำตอบนั่นแหล่ะค่ะ)

ถ้ายังเป็นอย่างนี้ แล้วเมื่อไหร่ จะหมดทุกข์เสียที

เมื่อรู้แล้วว่า ต้องปฏิบัติ ก็มุ่งหน้าไปทางปฎิบัติ และตั้งใจให้ดี ถ้าอยากรู้เพราะ เป็นครู ต้องสอน ต้องให้ความรู้แก่ผู้อื่น แก่ ลูกศิษย์ ก็น่าจะรู้ให้มาก ต้องรู้ให้มาก ให้ถูกต้อง อันนี้ก็เข้าใจ

แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ทำไมไม่หยุดสงสัยแล้ว ตั้งหน้าตั้งตาปฎิบัติล่ะ

แค่นั้นแหล่ะค่ะ koonpatt หยุดเลย ไม่ได้แปลว่าไม่อ่านนะคะ ความรู้ก็หาใส่ตัวต่อไป แต่ไม่ สงสัยอะไรมากมายเหมือนแต่ก่อน

เพราะเรารู้ใจตัวเองแล้ว รู้ความคิดตัวเองแล้ว รู้ว่า เราจะไปทางไหน ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำไปให้ดีที่สุดน่ะค่ะ

สรุปก็คือ ลองอ่านดูมากๆนะคะ ชีวิตของ koonpatt อ่านหนังสือมาเยอะมาก แต่ต้องขอยืนยันว่า ที่อ่านแล้วรู้สึกเป็นสุข สนุก น่าค้นคว้า น่าติดตามมากที่สุด คือ คำสอนของพระพุทธองค์ เพราะจริงทุกเรื่อง สามารถที่จะตอบคำถามของชีวิตคนได้ทุกเรื่อง

เป็น อริยสัจ จริงๆค่ะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 05 October 2007 - 02:18 PM

ปรารถนาให้นิกายต่างๆรวมกันเป็นหนึ่งในเร็ววัน
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน

นักรบเผ่าพันธุ์ตะวัน
  • Members
  • 380 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 08 October 2007 - 08:29 AM

อนุโมทนาบุญด้วยน่ะครับ สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
เพราะเป้าหมายของพวกเราคือ "ที่สุดแห่งธรรม"

#7 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 May 2011 - 07:36 PM

ขอบคุณนะคะ

#8 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 31 May 2011 - 07:42 PM

ขอคำตอบทางวิชาการได้มั้ยคะ