ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

พระโพธิสัตว์ แบ่งได้.2 อนิยตโพธิสัตว์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr19743

usr19743
  • Members
  • 27 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 October 2007 - 06:54 AM

การจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้านั้น อย่างน้อยต้องปฏิบัติตนอย่างนี้
๑.ตั้งความปรารถนาในใจ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้ามาแล้ว อย่างน้อย ๗ อสงไขย
๒.เปล่งวาจาประกาศความมุ่งมั่น ที่จะเป็นพระพุทธเจ้า อย่างน้อย ๙ อสงไขย
๓.เปล่งวาจาและแสดงออกด้วยกาย(บำเพ็ญบารมี) เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า อย่างน้อย ๔ อสงไขยแสนกัป
ผู้ตั้งใจบำเพ็ญบารมีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านั้น เรียกท่านว่า พระโพธิสัตว์
อนิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ ที่ยังไม่ได้รับพยาการณ์จากรพะพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งพระองค์ใดว่า จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
นิยตโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ ที่ได้รับพยาการณ์จากรพะพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งพระองค์ใดว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอย่างแน่นอน
การที่พระโพธิสัตว์จะได้รับพยากรณ์ หรือไม่ได้รับพยาการณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีตนั้น นอกจากความเด็ดเดี่ยวและความตั้งมั่นของพระโพธิสัตว์ท่านนั้นแล้ว ยังจะต้องมีธรรมอีก ๘ ประการ ที่เรียกว่า อัฏฐธรรมสโมธาน คือ
๑. มนุสสัตตัง ต้องเป็นนมุษย์ เป็นอย่างอื่นไม่ได้
๒. ลิงคสัมปัตติ ต้อง มีเพศที่สมบรูณ์ คือ ต้องเป็นบุรุษทุกส่วน จะเป็นเพศหญิง หรือ บุรุษที่ไม่สมประกอบ หรือเป็น คน ๒ เพศไม่ได้
๓. เหตุ ต้องมีอุปนิสัยสามารถสำเร็จพระอรหันต์
๔. สัตถารทัสสน ต้องได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งพระองค์ใดและได้ทำความดีถวายแด่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๕. ปัพพัชชา ต้องเป็นบรรพชิตประเภทใดประเภทหนึ่ง จะเป็น ดาบส หรือ ปริพาชกก็ได้ แต่ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ
๖. คุณสัมปัตติ ต้องสมบูรณ์ด้วยคุณ คือ อภิญญษ ๕ สมาบัติ ๘
๗. อธิกาโร ต้องได้ทำความดียิ่ง คือได่ให้ชีวิต หรือ ลูกเมียเป็นทาน โดยเจตนาหวังโพธิญาณมาแล้ว
๘. ฉันทตา ต้องมีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการเป็นพระพุทธเจ้า คือ ไม่ต้องการสิ่งอื่น ถึงจะต้องเหนื่อยยากลำบากเพียงใด ที่จะต้องสร้างบารมีอยู่นานเท่าใดก็ตาม ต้องไม่กลัว ไม่เปลี่ยนความคิดไปทางอื่นเป็นอันขาด
ขณะจิตของพระโพธิสัตว์ที่ตั้งความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ อย่างนับชาติไม่ถ้วนด้วยจิตที่คิดว่า
"เราตรัสรู้แล้ว จะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย
เราพ้นแล้ว จะให้ผู้อื่นพ้นด้วย
เราข้ามได้แล้ว จะให้ผูอื่นข้ามด้วย""
"ขึ้นชื่อว่า พุทธการกธรรม อื่น อันเป็นเหตุให้ตัรสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นอกเหนือจากบารมีธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้แล้วย่อมไม่มี"
๑.ทานบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ ทานบารมี เหมือนอย่าง หม้อน้ำที่มีน้ำเต็มคว่ำลง หม้อน้ำย่อมคายนำออกจนหมดสิ้น ฉันใด เราก็พึงให้ทานแก่ยาจก โดยไม่มีส่วนเหลือ ฉันนั้น
๒.ศีลบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ ศีลบารมี เหมือนอย่าง จามรี ชื่อว่า จามรีย่อมไม่อาลัยแม้ชีวิต เพื่อรักษาพวงหางของตน ฉันใด เราก็พึงรักษาศีล โดยไม่อาลัยแม้ชีวิต ฉันนั้น
๓.เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ เนกขัมมบารมี เหมือนอย่าง นักโทษ ที่ถูกขังและได้รับทุกข์ทรมานในเรือนจำเป็นเวลานาน เขาผู้นั้นย้อมไม่อยากอยู่ในเรือนจำ ต้องการพ้นออกไป ฉันใด เราก็พึ่งเห็นภพทั้งปวงเป็นเสมือนเรือนจำ อยากพ้นไปจากภพทั้งปวงด้วยการมุ่งสู้ เนกขัมมะ ฉันนั้น
๔.ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ ปัญญาบารมี เหมือนอย่าง พระภิกษุผู้ออกบิณฑบาตโดยไม่เลือดตระกูลว่า จะมีฐานะ สูง ต่ำ หรือปานกลาง ย่อมได้อาหารเพียงพอแก่อัตภาพ ฉันใด เราก็พึงเข้าหาบัณฑิตทุกท่าน เพื่อถามปัญหา ฉันนั้น
๕.วิริยะบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ วิริยะบารมี เหมือนอย่าง พญาราชสีห์ ชื่อว่าพญาราชสีห์ย่อมมีความเพียรไม่ย่อหย่อนในอิริยาบถทุกเมื่อ ฉันใด เราก็พึงมีความเพียรอันมั่นคงในภพทั้งปวง ฉันนั้น
๖.ขันติบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ ขันติบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผนดินย่อมทนได่ต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไม่ว่าจะสะอาด หรือสกปรก ฉันใด เราก็พึงเป็นผู้อดทนต่อการยกย่องและการดูหมิ่นของคนทั้งปวงได้ ฉันนั้น
๗.สัจจบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ สัจจบารมี เหมือนอย่าง ดาวประกายพรึก(ดาวพระศุกร์) ชื่อว่าดาวประกายพรึกย่อมไม่หลีกออกไปทางอื่น โคจรอยู่เฉพาะในทางของตน ฉันใด เราก็พึงไม่ก้าวล่วงจากวิถีในสัจจะ พูดแต่ความจริง ฉันนั้น
๘.อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี เหมือนอย่าง ภูผาหิน ชือ่ว่าภูผาหินย่อมตั้งมั่นอยู่ได้ ไม่ไหวด้วยลมแรง ฉันใด เราก็จงเป็นผู้ตั้งมั่นไม่คลอนแคลนในอธิฐานบารมี ฉันนั้น
๙.เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ เมตตาบารมี เหมือนอย่าง น้ำ ชือ่ว่าน้ำ ย่อมทำใหรู้สึกฉ่ำเย็นและชำระฝุ่นผงทั้งคนดีและคนไม่ดีเสมอกัน ฉันใด เราก็พึงเมตตาทั้งแก่คนที่ทำประโยชน์และคนที่ไม่ได้ทำประโยชน์เสมอกัน ฉันนั้น
๑๐.อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์จะตั้งใจว่า ต่อไปนี้เราพึงบำเพ็ญ อุเบกขาบารมี เหมือนอย่าง แผ่นดิน ชื่อว่าแผนดินย่อมทนได่ต่อสิ่งของที่มีผู้ทิ้งลงไม่ว่าจะสะอาด หรือสกปรก ฉันใด เราก็พึงเป็นผู้วางเฉย มีใจเสมอกันทั้งในความสุขและความทุกข์ ฉันนั้น

อนึ่งในการบำเพ็ญบารมี จะต้องบำเพ็ญธรรมที่เป็นฝักฝ่ายหรือเกื้อกูลต่อการตรัสรู้ ซึ่งเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ แบ่งเป็น ๗ หมวด คือ
สติปัฏฐาน ๔
สัมปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
มรรค ๘
บารมี ๑๐ และ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ รวมกันเรียกว่า พุทธการกธรรม

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  2.jpg   37.04K   61 ดาวน์โหลด


#2 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 October 2007 - 02:48 PM

Sa Dhu Krub

#3 JaiKaeW

JaiKaeW
  • Members
  • 149 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 October 2007 - 02:53 AM

Anumotana Sadhu with usr19743 ka.