กำเนิดพระอานนท์
พระอานนท์ ก่อนจะผนวชนั้น ทรงเป็นเจ้าชายแห่งศากยวงศ์ โดยท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยราช ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดา พระมารดาของท่านทรงพระนามว่า มฤคี พระอานนท์จึงถือว่าเป็นลูกผู้น้องของเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นสหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ เนื่องจากในวันประสูตินั้น ได้บังเกิดสหชาติกับพระพุทธเจ้า ทั้ง 7 ได้แก่ (1) พระนางพิมพาราหุลมาตา (2) ฉันนะอำมาตย์ (3) กาฬุทายิอำมาตย์ (4) พระอานนท์ (5) กันถกอัสสราช (6) ต้นมหาโพธิ์ (7) ขุมทรัพย์ 4 ทิศ
เจ้าชายอานนท์ออกผนวช
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ ๒ ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัต ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุ์พอสมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น
ศากยกุมารเหล่านี้ได้ถูกพระประยูรญาติวิจารณ์ว่า เหตุที่ไม่อกผนวชตามเสด็จนั้น คงจะไม่ถือว่าตนเองเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระมัง เจ้าชายมหานามะได้ฟังดังนั้นเกิดละอายพระทัย จึงได้ไปปรึกษากับเจ้าชายอื่นๆ ในที่สุดตกลงกันว่าจะออกผนวชตามเสด็จ โดยเจ้าชายมหานามะไม่อาจบวชได้ เนื่องจากจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อไป จึงให้พระอนุชาคือเจ้าชายอนุรุทธะออกผนวชแทน ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบกด้วยเป็น 7 ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ แล้ว กราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ
พระอานนท์บรรลุโสดาบัน
เมื่อศากยราชกุมารทั้ง 6 และอุบาลีได้ผนวชแล้ว ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ ภายหลังบรรลุพระอรหัตผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน
สำหรับท่านพระอานนท์ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน ในกาลต่อมาท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่านและพวกภิกษุผู้นวกะมาก ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวสอนท่านว่า
"ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิว่า เป็นเรา เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาวมีนิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดจึงไม่เห็น ฉันใด เพราะถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่า เป็นเราเพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกัน”
จากนั้น ท่านพระอานนท์เล่าต่อไปว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ถามท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยงท่านตอบว่าไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่านบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ท่านได้ตรัสรู้ธรรม ซึ่งหมายถึงได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
พระอานนท์เป็นผู้ออกแบบจีวรสงฆ์
เกียรติคุณอีกอย่างหนึ่งที่ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ คือ มีฝีมือทางช่าง สาเหตุที่ทรงชมเชย มีว่าครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ไปสู่ทักษิณาคิรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้น ๆ คั่นในระหว่าง แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า จะเย็บจีวรอย่างนั้นได้ไหม? ท่านทูลรับว่า เย็บได้ และต่อมาท่านเย็บจีวรให้พระหลายรูปแล้วนำไปถวายให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วตรัสชมเชยในท่ามกลางสงฆ์ว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด เป็นเจ้าปัญญา ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำ ที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารได้ ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าอัฑฒกุสิ ผ้ามณฑล ผ้าอัฑฒมณฑล ผ้าวิวัฏฏะ ผ้าอนุวิวัฏฏะ ผ้าคีเวยยกะ ผ้าชังเฆยยกะ และผ้าพาหันตะก็ได้"
พระอานนท์ปรินิพพาน
ภายหลังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ได้เที่ยวจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์แทนองค์พระศาสดา จนชนมายุของท่านล่วงเข้า 120 ปี ท่านจึงได้พิจารณาอายุสังขารของท่านพบว่า อายุสังขารของท่านนั้นยังอีก 7 วันก็จะสูญสิ้นเข้าสู่พระนิพพาน ท่านจึงพิจารณาว่าท่านจะเข้านิพพาน ณ ที่ใด ก็เห็นว่าท่านจะเข้านิพพานที่ปลายแม่น้ำโรหิณี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองโกลิยะ ซึ่งมีพระประยูรญาติอยู่ทั้ง 2 ฝ่าย จากนั้นท่านจึงได้ลาภิกษุสงฆ์ และชนทั้งหลาย จนครบ 7 วันแล้ว ท่านจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานาประการ แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้กายของท่านแตกออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งให้ตกที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ อีกภาคหนึ่งตกที่โกลิย แล้วท่านได้เจริญเตโชกสิณ ทำให้เปลวเพลิงบังเกิดในร่างกาย เผาผลาญมังสะและโลหิตให้สูญสิ้น ยังเหลือแต่พระอัฐิธาตุสีขาวดังสีเงิน พระอัฐิธาตุที่เหลือจึงแตกออกป็น 2 ภาค ด้วยกำลังอธิษฐานของท่าน บรรดาพระประยูรญาติและชนที่มาชุมนุมกัน ณ ที่นั้นต่างก็รองรับพระธาตุไว้ แล้วสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้ทั้ง 2 ฟากของแม่น้ำโรหิณี
ที่มา
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2542). ประวัติพระสาวก เล่ม 1. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภา
จริยาวัตรของพระอานนท์. http://www.angelfire...yawat/anon.html
ประภาส สุระเสน (คัด-ถ่ายทอด-แปล).(2540). พระคัมภีร์อนาคตวงศ์. กรุงเทพฯ มหามกุฎราชวิทยาลัย
ประวัติพระอนุรุทธะ. ในสารานุกรม พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน http://www.dharma-ga...a-anurootta.htm
ประวัติพระอานนท์ . ในสารานุกรม พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน http://www.dharma-ga...nk/pra-anon.htm
วศิน อินทสระ.พระอานนท์พุทธอนุชา. www.geocities.com/bluerain55/pra_anon
พระอสีติสาวก. www.heritage.thaigov.net/religion/priest/priest.html
ประวัติพระอานนท์
เริ่มโดย thaikids072, Oct 30 2007 07:17 PM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 30 October 2007 - 07:17 PM
thaikids072
#2
โพสต์เมื่อ 30 October 2007 - 07:54 PM
Sa Thu Krub
#3
โพสต์เมื่อ 30 October 2007 - 09:15 PM
สาธุ อนุโมทนากับธรรมะใสๆ ด้วยครับ
#4
โพสต์เมื่อ 31 October 2007 - 08:19 AM
สาธุ กราบอนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ
ทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมีี
#5
โพสต์เมื่อ 31 October 2007 - 03:47 PM
ขออนุญาตเพิ่มเติมค่ะ เพิ่งอ่านเจอเมื่อสักครู่พอดีค่ะ
*******************************************
*****พระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน******
เรื่องเป็นดังนี้ค่ะ
ความเพียรใดเป็นไปเพื่อพระนิพพาน ความเพียรนั้นเป็นสุดยอดแห่งความเพียร เป็นสิ่งที่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายต่างยกย่องสรรเสริญ ความล้มเหลวหรือผิดหวัง จะไม่มีสำหรับผู้ปรารภความเพียร มีแต่จะเข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตยิ่งขึ้นไป นักปราชญ์บัณฑิตที่แท้จริง จะให้ความสนใจกับเรื่องของจิตใจ มากกว่าวัตถุสิ่งของภายนอก และทุ่มเทพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ดำรงชีวิตอยู่ในโลก แต่ใจจะไม่ติดในโลก คิดเพียงว่าโลกนี้คือสถานที่สร้างบารมีที่ดีที่สุด จึงเร่งรีบที่จะสั่งสมบารมีทุกรูปแบบ และหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำ
ในเรื่องการปรารภความเพียร มีพระอานนทเถระเป็นตัวอย่าง เพราะท่านได้บรรลุธรรมในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ กำลังจะเอนตัวลงนอน อีกทั้งท่านเป็นพระภิกษุผู้มีความเพียรเป็นเลิศ เป็นพระโสดาบัน ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ที่ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนเงาตามตัว ธรรมอันใดที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ท่านจะได้ยินได้ฟังมากที่สุด ทำให้เป็นพหูสูตด้วย แม้ว่าพระบรมศาสดาจะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์
****วันหนึ่ง เพื่อนสหธรรมิกเตือนสติท่านว่า "ในหมู่สงฆ์นี้ มีภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโชยกลิ่นคาวอยู่" พระอานนทเถระได้ยินคำนั้น รู้ว่าแม้ท่านมีความรู้มาก ได้อยู่ใกล้พระพุทธเจ้ามากที่สุด แต่ยังไม่ได้หมดกิเลสเหมือนพระภิกษุรูปอื่น จึงเป็นเหมือนผู้มีกลิ่นคาวอยู่ ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ ทั้งยังได้ฟังคำแนะนำจากเพื่อนสหธรรมิกว่า "การประชุมเพื่อทำสังคายนาจักมีขึ้นในวันพรุ่งนี้แล้ว แต่ท่านยังเป็นพระเสขะ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์จึงไม่ควรที่จะเข้าร่วมการประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด"
พระอานนท์รู้สึกกังวลใจอยู่ลึกๆ เพราะว่าที่ประชุมใหญ่ มีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ แต่ท่านเป็นพหูสูต ทรงจำพระธรรม คำสอนไว้มาก มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมประชุมด้วย จึงตั้งใจปฏิบัติธรรม เจริญกายคตาสติตลอดทั้งวันทั้งคืน เวลาท้อแท้ใจขึ้นมา ก็นึกถึงโอวาทของพระบรมศาสดาว่า
"อานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้ดีแล้ว ในบรรดาพุทธอุปัฏฐากทั้งหลายในภัทรกัปนี้ เธอเป็นยอดของอุปัฏฐากเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เธอจงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะในภพชาตินี้"
ท่านคิดว่า "ธรรมดาพุทธพยากรณ์นั้น จะไม่เป็นอย่างอื่น เด็ดขาด สงสัยเราคงปรารภความเพียรมากเกินไป จิตของเราจึงไม่สงบเป็นเอกัคคตารมณ์ เอาเถิด เราจะประกอบความเพียรให้พอดีๆ" เนื่องจากท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมติดต่อกันมาหลายคืน ไม่ค่อยได้พักผ่อน ร่างกายจึงอ่อนเพลีย
ในเวลาใกล้รุ่งของเช้าวันนั้น หลังจากหยุดการเดินจงกรม แล้ว ท่านกลับเข้าไปในกุฏิ เพื่อจะพักผ่อนนอนหลับสักครู่ เพราะร่างกายอ่อนเพลียมาก ในขณะที่เอนกายลง เท้าทั้งสองยังไม่ทันพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ขณะนั้นเอง ใจของท่านปลอดโปร่ง โล่ง เบาสบาย คลายจากความตั้งใจมากเกินไป เมื่อใจสบาย ใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน หยุดเข้าไปในกลางกายธรรมพระโสดาบัน ดำเนินจิตเข้าไปเรื่อยๆ จนเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต เป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งหลาย
ครั้นถึงเวลาเช้า ที่พระอรหันต์ต้องประชุมกันเพื่อทำสังคายนา ได้มีการจัดอาสนะสำหรับพระอานนท์ด้วย เพราะถือว่า ท่านจะมาหรือไม่มาก็ตาม ควรให้ความเคารพภิกษุผู้เป็นพระเถระและเป็นพหูสูต พระอานนทเถระมีความประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะแสดงอานุภาพของท่านให้ปรากฏ จึงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ดำลงในแผ่นดิน ไปโผล่ขึ้นในท่ามกลางมหาสมาคม นั่งอยู่บนอาสนะที่เตรียมไว้สำหรับท่าน
เมื่อพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์ ได้กล่าวชื่นชมยินดีว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์แล้ว งามจริงๆ หนอ ถ้าพระบรมศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ จากนั้นคณะสงฆ์ทุกรูปพร้อมใจกัน อนุโมทนาสาธุการกับพระอานนท์ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
ที่มา: http://www.dmc.tv/pa...ngkol02-11.html
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สู่เส้นทางนิพพาน
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
*มก. พรหมชาลสูตร เล่ม ๑๑ หน้า ๘๑
ขอสาธุการ ขอสาธุการ
สาธุค่ะ
*******************************************
*****พระอานนท์บรรลุอรหัตตผล ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน******
เรื่องเป็นดังนี้ค่ะ
ความเพียรใดเป็นไปเพื่อพระนิพพาน ความเพียรนั้นเป็นสุดยอดแห่งความเพียร เป็นสิ่งที่มนุษย์และเทวดาทั้งหลายต่างยกย่องสรรเสริญ ความล้มเหลวหรือผิดหวัง จะไม่มีสำหรับผู้ปรารภความเพียร มีแต่จะเข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตยิ่งขึ้นไป นักปราชญ์บัณฑิตที่แท้จริง จะให้ความสนใจกับเรื่องของจิตใจ มากกว่าวัตถุสิ่งของภายนอก และทุ่มเทพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ดำรงชีวิตอยู่ในโลก แต่ใจจะไม่ติดในโลก คิดเพียงว่าโลกนี้คือสถานที่สร้างบารมีที่ดีที่สุด จึงเร่งรีบที่จะสั่งสมบารมีทุกรูปแบบ และหมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำ
ในเรื่องการปรารภความเพียร มีพระอานนทเถระเป็นตัวอย่าง เพราะท่านได้บรรลุธรรมในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ กำลังจะเอนตัวลงนอน อีกทั้งท่านเป็นพระภิกษุผู้มีความเพียรเป็นเลิศ เป็นพระโสดาบัน ทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก ที่ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนเงาตามตัว ธรรมอันใดที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ท่านจะได้ยินได้ฟังมากที่สุด ทำให้เป็นพหูสูตด้วย แม้ว่าพระบรมศาสดาจะเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์
****วันหนึ่ง เพื่อนสหธรรมิกเตือนสติท่านว่า "ในหมู่สงฆ์นี้ มีภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโชยกลิ่นคาวอยู่" พระอานนทเถระได้ยินคำนั้น รู้ว่าแม้ท่านมีความรู้มาก ได้อยู่ใกล้พระพุทธเจ้ามากที่สุด แต่ยังไม่ได้หมดกิเลสเหมือนพระภิกษุรูปอื่น จึงเป็นเหมือนผู้มีกลิ่นคาวอยู่ ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ ทั้งยังได้ฟังคำแนะนำจากเพื่อนสหธรรมิกว่า "การประชุมเพื่อทำสังคายนาจักมีขึ้นในวันพรุ่งนี้แล้ว แต่ท่านยังเป็นพระเสขะ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์จึงไม่ควรที่จะเข้าร่วมการประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด"
พระอานนท์รู้สึกกังวลใจอยู่ลึกๆ เพราะว่าที่ประชุมใหญ่ มีแต่พระอรหันต์ล้วนๆ แต่ท่านเป็นพหูสูต ทรงจำพระธรรม คำสอนไว้มาก มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าร่วมประชุมด้วย จึงตั้งใจปฏิบัติธรรม เจริญกายคตาสติตลอดทั้งวันทั้งคืน เวลาท้อแท้ใจขึ้นมา ก็นึกถึงโอวาทของพระบรมศาสดาว่า
"อานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้ดีแล้ว ในบรรดาพุทธอุปัฏฐากทั้งหลายในภัทรกัปนี้ เธอเป็นยอดของอุปัฏฐากเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เธอจงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะในภพชาตินี้"
ท่านคิดว่า "ธรรมดาพุทธพยากรณ์นั้น จะไม่เป็นอย่างอื่น เด็ดขาด สงสัยเราคงปรารภความเพียรมากเกินไป จิตของเราจึงไม่สงบเป็นเอกัคคตารมณ์ เอาเถิด เราจะประกอบความเพียรให้พอดีๆ" เนื่องจากท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมติดต่อกันมาหลายคืน ไม่ค่อยได้พักผ่อน ร่างกายจึงอ่อนเพลีย
ในเวลาใกล้รุ่งของเช้าวันนั้น หลังจากหยุดการเดินจงกรม แล้ว ท่านกลับเข้าไปในกุฏิ เพื่อจะพักผ่อนนอนหลับสักครู่ เพราะร่างกายอ่อนเพลียมาก ในขณะที่เอนกายลง เท้าทั้งสองยังไม่ทันพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน ขณะนั้นเอง ใจของท่านปลอดโปร่ง โล่ง เบาสบาย คลายจากความตั้งใจมากเกินไป เมื่อใจสบาย ใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน หยุดเข้าไปในกลางกายธรรมพระโสดาบัน ดำเนินจิตเข้าไปเรื่อยๆ จนเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมอรหัต เป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากอาสวกิเลสทั้งหลาย
ครั้นถึงเวลาเช้า ที่พระอรหันต์ต้องประชุมกันเพื่อทำสังคายนา ได้มีการจัดอาสนะสำหรับพระอานนท์ด้วย เพราะถือว่า ท่านจะมาหรือไม่มาก็ตาม ควรให้ความเคารพภิกษุผู้เป็นพระเถระและเป็นพหูสูต พระอานนทเถระมีความประสงค์จะให้ผู้อื่นรู้ว่า ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อจะแสดงอานุภาพของท่านให้ปรากฏ จึงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ดำลงในแผ่นดิน ไปโผล่ขึ้นในท่ามกลางมหาสมาคม นั่งอยู่บนอาสนะที่เตรียมไว้สำหรับท่าน
เมื่อพระมหากัสสปะเห็นพระอานนท์ ได้กล่าวชื่นชมยินดีว่า ท่านผู้เจริญ พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์แล้ว งามจริงๆ หนอ ถ้าพระบรมศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่ พระองค์จะพึงประทานสาธุการแก่พระอานนท์ในวันนี้แน่แท้ จากนั้นคณะสงฆ์ทุกรูปพร้อมใจกัน อนุโมทนาสาธุการกับพระอานนท์ที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
ที่มา: http://www.dmc.tv/pa...ngkol02-11.html
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สู่เส้นทางนิพพาน
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
*มก. พรหมชาลสูตร เล่ม ๑๑ หน้า ๘๑
ขอสาธุการ ขอสาธุการ
สาธุค่ะ
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#6
โพสต์เมื่อ 31 October 2007 - 05:27 PM
^^~*
สาธุ คราบ อ่าน แล้วรู้สึก ขนลุก ดี นะครับ ...
คลายความกังวล ทั้งหลายให้หมดไป ...
สาธุ ...
สาธุ คราบ อ่าน แล้วรู้สึก ขนลุก ดี นะครับ ...
คลายความกังวล ทั้งหลายให้หมดไป ...
สาธุ ...
เ มื่ อ เ ร า ส ว่ า ง * * * โ ล ก * * * ก็ ส ว่ า ง ด้ ว ย ^^~*
ส า ธุ . . . ค รั บ ^^~*
#7
โพสต์เมื่อ 01 November 2007 - 10:43 AM
Anumothanaboon.....Sathu Sathu Sathu........
#8
โพสต์เมื่อ 03 November 2007 - 09:06 PM
สาธุ อนุโมทนา สาธุๆ ด้วยครับ
#9
โพสต์เมื่อ 04 November 2007 - 11:55 AM
ถ้าเป็นเรื่องพระอานน์ นู๋แนนชอบตอนที่นางโกกิลาแอบรักพระอานนท์ค่ะ อิอิ
ลองหาฟังหรือหาอ่านดูนะคะ จะทำให้เราเห็นบางสิ่งบางอย่างชัดขึ้น เอามาฝากนิดๆค่ะ
ลองหาฟังหรือหาอ่านดูนะคะ จะทำให้เราเห็นบางสิ่งบางอย่างชัดขึ้น เอามาฝากนิดๆค่ะ
...ความรักก็เหมือนการจับไฟนั่นแหละ
ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว คืออย่าจับไฟอย่าเล่นกับไฟ
ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียวคือ...อย่ารัก...
ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว คืออย่าจับไฟอย่าเล่นกับไฟ
ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียวคือ...อย่ารัก...
#10 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 21 December 2010 - 07:26 PM
เลื่อมใสจัง ดีจังที่เป็นชาวพุธ(แท้)