ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

***ท้าเรียง ครุกรรม 5 ประการ***


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 06:51 AM

ช่วยเรียงหัวข้อ ครุกรรม5ประการ ดังต่อไปนี้ตามลำดับให้ถูกต้อง และขอคำอธิบายด้วย...
1.ฆ่าพระอรหันต์
2.ฆ่าพ่อ
3.ทำให้ห้อพระโลหิต(ถ้าผมเขียนผิดช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ)
4.ทำสังฆเภท
5.ฆ่าแม่
ท่านผู้รู้ช่วยเรียงให้หน่อยครับ แล้วกรุณาช่วยอธิบายด้วยว่า ทำไมข้อนี้ถึงหนักกว่าข้อนั้น
มีเหตุผลอะไร เอาอะไรมาเป็นเกณตัดสินว่าหนักกว่าหรือเบากว่า ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 11:01 AM

สวัสดีครับ พี่สาคร nerd_smile.gif
บังเอิญผ่านมาเจอ ขอร่วมแสดงความคิดเห็นส่วนตัว ด้วยคนนะครับ

ที่จริง คำว่า ครุกรรม ที่พี่สาครกล่าวถึงนั้น
มิได้หมายถึง อนันตริยกรรม ๕ เพียงด้านเดียวครับ

มาดูความหมายโดยรวมของคำว่า

ครุกรรม และคำว่า อนันตริยกรรม
สักนิดนะครับ

ครุกรรม
กรรมหนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
ในฝ่ายกุศลได้แก่ ฌานสมาบัติ ( Dd2683 : ไปถึงนิโรธสมาบัติ )

ในฝ่ายอกุศล ได้แก่อนันตริยกรรม

กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่น
เหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั่นถึงพื้นก่อน

อนันตริยกรรม
กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน,
กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ

๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา

๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา

๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์

๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป

๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

*** พระธรรมปิฎก (ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
โรงพิพม์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

file:///C:/Program%20Files/BuddhistDictionary%20V1.00/buff31.html



โดยความเห็นส่วนตัว ผมมองว่า ครุกรรมฝ่ายอกุศล หรือ อนันตริกรรม ๕ นั้น

ความหนักของโทษ มีเท่ากัน คือ ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน

อุปมาเหมือนโทษ ในทางโลก ที่ศาลตัดสิน ให้ประหารชีวิต คือ ฆ่าให้ตาย

คือ จะใช้ศาตราหรืออาวุธ แม้ยาพิษ หรือ เก้าอี้ไฟฟ้า
หรือยิง 500 นัด ฟันให้ตัวขาด 500 ท่อน

ผลก็คือ ตายเหมือนกัน

ดังนั้นถ้าให้ลองเรียงลำดับ ความหนักของกรรม ผมคงต้องเรียงแบบหน้ากระดาน ครับ

แต่เนื่องจากอรรถกถาจารย์ท่านเรียงข้อไว้ ดังนี้

๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

ผมก็ไม่ทราบว่า ท่านเรียงตามความหนักกว่า หรือ ส่งผลวิบากบาปนานกว่า
หรือ การเรียงข้อไม่มีเกี่ยวกับความหนักกว่า หรือ ส่งผลวิบากบาปนานกว่า กันแน่

พี่สาคร คงต้องไปกราบเรียนถาม บรรดา อรรถกถาจารย์เองแล้วครับ

อีกมุมมอง คือ
ความหนักของกรรม นั้นก็อย่างหนึ่ง

ระยะการส่งผลวิบากบาป ว่า นานกว่ากันแค่ไหน ก็อีกอย่างหนึ่ง

การสนทนาเรื่องนี้ เกินความรู้ ความเข้าใจ การไตร่ตรองของผมครับ

แต่ก็พอหาหลักวิชา เพื่อพอเทียบเคียงได้บ้างเหมือน กัน

ซึ่งพี่สาคร ลองไปค้นคว้าศึกษา เรื่อง กรรมและการส่งผลของกรรม

โดยเฉพาะ เรื่อง กรรม ๑๒

กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ

หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ

จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่

๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้

๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า

๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป

๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล

หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่

๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด

๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม

๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรม

และอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า

๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอน

การให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่

๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน

๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา

๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น

๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือ
เจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

ซึ่งในแต่ละข้อ มีรายละเอียดมากพอสมควรครับ

ดีที่สุด คือ พี่สาคร ต้องเข้าถึงสภาวะ สัพพัญญุตญาณ เองครับ

เพราะเรื่องราวมมากมาย แม้พระสัพพัญญูพุทธะ ก็ยังไม่ทรงพยากรณ์ ( ตอบคำถาม ) เลยครับ
หากเข้าข่าย เรื่องที่เป็น อจินไตย

ยินดีที่เสวนาธรรม ตามกาล ครับพี่สาคร happy.gif
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 12:10 PM

สาธุท่าน Dd2683
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#4 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 12:47 PM

Sa Thu ท่าน Dd2683 Krub

#5 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 01:44 PM

อนุโมทนา สาธุ ค่ะ


#6 sunshining

sunshining
  • Members
  • 111 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 03:30 PM

อนุโมทนา..สาธุค่ะ

#7 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 23 November 2007 - 06:19 PM

บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนมีคุณไม่มีประมาณทั้งสิ้น เพียงแต่ว่ามีคุณมากในระดับไหน

- บิดา มารดา มีพระคุณต่อลูกไม่มีประมาณ มารดาเป็นผู้อุ้มท้อง
- พระอรหันต์มีพระคุณต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ ตลอดแสนโกฎิจักรวาล อนันตจักรวาล หาผู้ใดเสมอเหมือนไม่ได้เลย
- พระรัตนตรัยมีพระคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ ความพร้อมเพรียงของสงฆ์ย่อมเป็นไปเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

#8 นายน้อยที่ สาม

นายน้อยที่ สาม
  • Members
  • 24 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 November 2007 - 06:59 AM

สาธุ จริงๆๆๆๆ คับ

#9 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 November 2007 - 06:49 AM

สาธุครับผม
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]