ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วิบากรรมอะไรที่ต้องเกิดมาเป็นพ่อแม่ลูกกันค่ะ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 03 December 2007 - 11:12 AM


มีเพื่อนสมาชิกใหม่ท่านหนึ่ง ส่งข้อความ ฝากให้ผมตั้งกระทู้นี้ เพราะเธออาจยังไม่คุ้นกับการตั้งกระทู้

ผมจึงมาตั้งให้ก่อน และแนะนำให้เธอ ลองตั้งกระทู้ด้วยตนเองในครั้งต่อไป ครับ

จึงขอเชิญเพื่อนสมาชิกเข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้ที่ศึกษาจาก
พระไตรปิฎกและอรรถกถาจารย์และจาก DMC case study ฯล
เป็นธรรมทาน กันนะครับ

เธอถามว่า

1 ) สาเหตุ ของวิบากรรมอะไร ที่ต้องเกิดมาเป็นพ่อแม่ลูกกัน

2 ) แล้วจะเข้าถึงพระนิพพานได้ยังไง
( คงหมายรวมทั้ง พ่อ แม่ ลูก จะดำเนินชีวิตอย่างไร จึงบรรลุ มรรค ผล นิพพาน )

อนุโมทนาทุกท่าน ครับ






#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 09:24 AM

เนื่องจากยังไม่มี ท่านใดเข้ามาตอบ งั้นผมขอ ตอบบ้างนะครับ

QUOTE
1 ) สาเหตุ ของวิบากรรมอะไร ที่ต้องเกิดมาเป็นพ่อแม่ลูกกัน


การเกิดมาเป็นพ่อ แม่ ลูก กันนั้น เท่าที่เคยทราบมา มีหลายสาเหตุครับ

พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ ทตฺตชีโว เคยตอบคำถามนี้ในเชิง

มีชนกกรรม พอเหมาะพอสมกัน คือ


บุญ หรือ บาป ใกล้เคียงกัน จึงดึงดูดให้มาเกิดร่วมสายโลหิตเดียวกัน เป็น พ่อ แม่ ลูก กัน


ดังภาพประกอบนี้ครับ

ไฟล์แนบ



#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 09:36 AM

แต่จากที่เคยฟัง Case study จากโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา

ผมสังเกตว่า ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก
ที่ ดึงดูดให้มาเกิดเป็นพ่อ แม่ ลูก / ญาติ ร่วมสายโลหิตเดียวกัน

คือ

ตั้งความปรารถนา ( อธิษฐาน) ไว้ในกาลก่อน
เช่น

ในเชิงล้างผลาญ

ในชาติปางก่อน เป็นคู่เวร เบียดเบียนทำร้าย ถึงฆ่ากันตาย
อีกฝ่ายอาฆาต พยาบาท ผูกเวร โดยตั้งความปรารถนา ( อธิษฐาน) ไว้ว่า

ชาติต่อไป ขอเกิดมาเป็น ลูกของคู่เวร
เพื่อมาล้างผลาญสมบัติ หรือ ประพฤติตนให้พ่อ-แม่(คู่เวร) เจ็บช้ำน้ำใจ ตรอมใจ
หรือมาฆ่า ล้างแค้นคืน ก็มี

แบบนี้แย่ที่สุด
เพราะสถานะมันเปลี่ยนไปจากคู่อริในชาตินั้น กลับมาเป็น บุพการี ในชาตินี้

แม้ตนเองจะแก้แค้นได้ ด้วยการประพฤติตนเลว / ก่อวจีทุจริตเสียดแทงใจ
แต่จะเป็นครุกรรม

ยิ่งถ้าฆ่าบุพการี ก็จะกลายเป็น อนันตริยกรรม ปิดทางสวรรค์และนิพพาน ในชาตินี้ของตนเอง
แบบนี้ ซวย โคตะระ

แม้ใครจะบอกว่า ในชาติก่อน เคยถูกเขา/เธอ ร่วมฆ่าอย่างโหด####ม
งั้นชาตินี้ เราฆ่า เขาบ้าง ก็น่าจะยุติธรรม

แต่ถ้าสถานะมันเปลี่ยน
จากคู่อริในชาตินั้น กลับมาเป็น บุพการี ในชาตินี้
อย่างไรเสีย ก็กลายเป็น ครุกรรม / อนันตริยกรรม อยู่ดี

นี่เป็นความบัดซบ เป็นโทษ เป็นภัยในสังสารวัฏฏ์ ครับ


ในเชิงส่งเสริม สร้างสรรค์
ชาติก่อนได้ทำบุญกุศลร่วมกันมา

แม้ดวงบุญ ดวงบาปโตไม่ใกล้เคียงกันก็จริง
แต่ตั้งความปรารถนา ( อธิษฐาน) ไว้ ขอให้ชาติต่อไปเกิดมาเป็น พ่อ แม่ ลูกกัน เช่น

คนรับใช้ ได้ติดตามเจ้านายคฤหบดีไปสั่งสมบุญกุศล อย่างสม่ำเสมอ จึงผูกสมัครรักใคร่เจ้านายมาก
ที่เป็นกัลยาณมิตรให้ตนเอง ซึ่งด้อยฐานะ ได้สั่งสมบุญกุศล
เมื่อสร้างกรรมดี ก็จึงตั้งความปรารถนา ( อธิษฐาน) ไว้

ขอให้ชาติต่อไปเกิดมาเป็น ลูกของ คฤหบดีท่านนี้ในชาติต่อไป
เพื่อการบำเพ็ญกุศลกรรม บุญบารมีให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป


อีกทั้งตนเองก็นิสัยเรียบร้อย เป็นที่ถูกใจ เจ้านายคฤหบดี
ท่านจึงรักใคร่ เอ็นดู อยากให้ชาติต่อไปคนรับใช้ มาเกิดเป็นลูกของท่านเองด้วย

เป็นต้น



#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 09:52 AM

สรุปว่า

เรื่องกฎแห่งกรรม นั้น เป็นเรื่องเหตุและผล ที่ตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน

คือ
ทำดี ต้องได้ดี ทำชั่ว ต้องได้ชั่ว


ใจใส ดึงดูดทั้งโลกียะทรัพย์และโลกุตตระทรัพย์
รวมถึงป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ เช่น โจรภัย ราชภัย ภัยธรรมชาติ
ใจใส ดึงดูดอายตนะสุคติภพ คือ มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก


ส่วน
ใจหมอง ใจมืด นอกจากไม่ช่วย ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ แล้ว
ยังดึงดูดภัย อันตราย เคราะห์ร้าย มาด้วย

และใจหมอง ใจมืด ดึงดูดอายตนะทุคติภพ คือ
อบายภูม ๔ มี เดรัชฉาน เปรต อสูรกาย สัตว์นรก


แม้ กฎแห่งกรรม จะตรงไปตรงมา
ทำดี ต้องได้ดี ทำชั่ว ต้องได้ชั่ว
ใจใส ไปสุคติ ใจหมอง ใจมืด ไปอบาย

ก็จริงอยู่

แต่การให้ผล ส่งวิบากกรรม นั้น เป็นเรื่องซับซ้อนอย่างยิ่งครับ

จัดเป็น เรื่องอจินไตย เรื่องที่ไม่ควรจริงจัง ในการคิดค้น จนเกินไป

ทั้งนี้เพราะ มีความสลับซับซ้อน เกินกว่า ความคิด ไตร่ตรองของมนุษย์ที่ยังมีกิเลส
จะตอบได้ถูกต้องทุกกรณีครับ

ดังนั้นหากท่านใด มักสงสัยใคร่รู้ว่า

QUOTE
ทำกรรม ทำบุญ ทำบาป แบบนี้ แบบนั้น อย่างไหน ได้บุญ ได้บาป มากกว่ากัน
อะไรจะส่งผลก่อน / หลัง


ดีที่สุด คือ
ท่านต้อง เข้าถึงสภาวธรรม แห่ง สัพพัญูญุตญาณ ครับ
จึงจะพยากรณ์ได้ ถูกต้องแม่นยำในทุก ๆ กรณี

นอกเหนือจากนี้ แม้จะมีอนาคตังคสญาณไปในอนาคตได้หลายกัป หลายกัลป์
แต่ก็ยังพยากรณ์ได้ ไม่ถูกต้องแม่นยำในทุกๆ กรณี หรอกครับ

อย่างไรก็ตาม พระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงในแนวทางการศึกษา เรื่องกฎแห่งกรรมไว้

สำหรับบุคคลที่ยังไม่เข้าถึงอนาคตังคสญาณ หรือ สัพพัญูญุตญาณ

ก็พอเข้าใจเกี่ยวกับ กรรม และการส่งผลของกรรมได้บ้าง
ด้วยการศึกษา เรื่อง กรรม ๑๒ ครับ

QUOTE
กรรม ๑๒

กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ

หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ

จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่

๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้

๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า

๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป

๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล


หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่

๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด

๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม

๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรม

และอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า

๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอน

การให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่

๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน

๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา

๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น

๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือ
เจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล


*** ขอเชิญเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ร่วมตอบและแสดงความคิดเห็น เพิ่มเติมด้วยนะครับ

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 10:45 AM


ส่วนคำถามที่ 2

QUOTE
2 ) แล้วจะเข้าถึงพระนิพพานได้ยังไง


เบื้องต้น เชิญศึกษา เรื่อง มงคลสูตร ที่เปรียบเสมือน บันไดแห่งการพัฒนาชีวิต
ตั้งแต่ชีวิตมนุษย์ปุถุชน ที่ยังข้องเกี่ยวกับโลก ไปถึงบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ครับ

และที่สมสมัยที่สุด คือ ขอเชิญร่วม สอบ World PEC ครั้งที่ 2

จะได้ศึกษา หนังสือครอบครัว อบอุ่น
ที่เหมาะสมกับ ผู้ครองเรือน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในชีวิตประจำวันครับ

รายละเอียด

QUOTE
โครงการสอบตอบปัญหาศีลธรรมเพื่อสันติภาพโลก
World Peace Ethics Contest (World-PEC)


ผู้ดำเนินโครงการ

มูลนิธิธรรมกายร่วมกับวัดสาขาของวัดพระธรรมกาย-ศูนย์สาขาในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
และองค์กรพุทธศาสนาในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

กำหนดการดำเนินโครงการ

25 พฤศจิกายน - 13 มกราคม 2551 รับสมัคร
20 มกราคม 2551 วันสอบ ณ วัดสาขา และศูนย์สาขาทั่วโลก
31 มกราคม 2551 ประกาศผลสอบ
21 กุมภาพันธ์ 2551 (วันมาฆบูชา) พิธีมอบโล่วัชรเกียรติยศพระราชภาวนาวิสุทธิประกาศนียบัตร เงิน
ทำบุญ ณ มหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย

การสมัครสอบ

สมัคร 1 ท่าน พร้อมชำระค่าสมัคร 700 บาท ( 20 ดอลลาร์ / 10 ปอนด์ )
จะได้รับ 1. หนังสือคัมภีร์ปฎิรูปมนุษย์ ภาคครอบครัวอบอุ่น 1 เล่ม
2. ซีดีเสียงหนังสือคัมภีร์ปฎิรูปมนุษย์ ภาคครอบครัวอบอุ่น
3. บัตรประจำตัวสอบ

คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ที่ใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาลาว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซีย
ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษา อาระบิค

หลักสูตร / ข้อสอบที่ใช้
หลักสูตร
1. หนังสือคัมภีร์ปฎิรูปมนุษย์ ภาคครอบครัวอบอุ่น และ
2. ซีดีเสียงหนังสือคัมภีร์ปฎิรูปมนุษย์ ภาคครอบครัวอบอุ่น

ข้อสอบ
ข้อสอบปรนัย จำนวน 100 ข้อ ( 100 คะแนน) และข้อสอบอัตนัย 2 ข้อ ( 20 คะแนน )

รางวัลเกียรติยศ
มีรางวัลโล่วัชรเกียรติยศของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประกาศนียบัตร วัชรเกียรติยศ และเงินทำบุญ เพื่อเป็นเกียรติประวัติและเป็นกำลังใจ

ผู้สอบได้รางวัลที่ 1 ได้รับโล่วัชรเกียรติยศชนะเลิศของพระราช-ภาวนาวิสุทธิ์
ประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศชนะเลิศ และเงินทำบุญ 35,000 บาท ( 1,000 ดอลลาร์ / 500 ปอนด์ )
และตั๋วเครื่องบินไป – กลับประเทศไทย เพื่อรับรางวัล

ผู้สอบได้รางวัลที่ 2 ได้รับโล่วัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ ประกาศนีย
-บัตรวัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ และเงินทำบุญ 25,000 บาท ( 715 ดอลลาร์ / 358 ปอนด์ )
และตั๋วเครื่องบินไป – กลับประเทศไทย เพื่อรับรางวัล

ผู้สอบได้รางวัลที่ 3 ได้รับโล่วัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ ประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ
และเงินทำบุญ 15,000 บาท ( 430 ดอลลาร์ / 215 ปอนด์ )
และตั๋วเครื่องบินไป – กลับประเทศไทย เพื่อรับรางวัล

ผู้สอบได้รางวัลที่ 4 ได้รับโล่วัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ ประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ
และเงินทำบุญ 10,000 บาท ( 285 ดอลลาร์ / 145 ปอนด์ )

ผู้สอบได้รางวัลที่ 5 ได้รับโล่วัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ ประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศรองชนะเลิศ
และเงินทำบุญ 5,000 บาท ( 150 ดอลลาร์ / 75 ปอนด์ )

ผู้ได้รับรางวัลที่ 6 – 10 ได้รับประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศพิเศษ และเงินทำบุญ 4,000 บาท

ผู้ได้รับรางวัลที่ 11 – 15 ได้รับประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศพิเศษ และเงินทำบุญ 3,000 บาท

ผู้ได้รับรางวัลที่ 16 – 20 ได้รับประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศพิเศษ และเงินทำบุญ 2,000 บาท

ผู้ที่สอบได้คะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป ได้รับประกาศนียบัตรวัชรเกียรติยศ

โล่วัชรเกียรติยศ สำหรับผู้ชนะเลิศ

1.โล่วัชรเกียรติยศ สำหรับผู้ชนะเลิศภาษาไทย
2.โล่วัชรเกียรติยศ สำหรับผู้ชนะเลิศภาษาอังกฤษ
3.โล่วัชรเกียรติยศ สำหรับผู้ชนะเลิศภาษาจีน
4.โล่วัชรเกียรติยศ สำหรับผู้ชนะเลิศภาษาญี่ปุ่น ภาษาลาว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซีย ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอาระบิค

ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.worldpec.org

นักเรียนอนุบาล kitz
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=14266



QUOTE
ตารางการติวเข้มก่อนสอบ "หนังสือครอบครัวอบอุ่น" คุณทำได้

ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย

โดย พระอาจารย์โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย

ครั้งที่ วันติว เรื่องติว เวลาติวมี ๒ ช่วง สถานที่ติว

๑ วันอาทิตย์ ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ ภาคที่ ๑ การสร้างรากฐานครอบครัว ๑๒.๓๐-๑๔.๓๐ น.
อาคาร ๓ ห้อง ๓๒๓
ภาคที่ ๒ การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี ๑๖.๐๐-๑๗.๐๐ น.

๒ วันอาทิตย์ ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ ภาคที่ ๓ ความสามัคคีในครอบครัว ๑๒.๓๐-๑๔.๓๐ น.
อาคาร ๓ ห้อง ๓๒๓
ภาคที่ ๔ การแก้ปัญหาอบายมุข ๑๖.๐๐-๑๗.๐๐ น.

๓ วันอาทิตย์ ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ ภาคที่ ๕ สอนลูกให้รู้จักชีวิต ๑๒.๓๐-๑๔.๓๐ น.
อาคาร ๓ ห้อง ๓๒๓
ภาคที่ ๖ บั้นปลายชีวิต ๑๖.๐๐-๑๗.๐๐ น.

๔ วันอาทิตย์ ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๑ ภาคที่ ๗ ชาวพุทธที่แท้จริง ๑๒.๓๐-๑๔.๓๐ น.
อาคาร ๓ ห้อง ๓๒๓
สรุป+ทดสอบก่อนสอบจริง ๑๖.๐๐-๑๗.๐๐ น.


นักเรียนอนุบาล ชาร์ป

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=14408



*** โปรดศึกษา บุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑o กุศลกรรมบถ ๑o บารมี ๑o และ มงคลสูตร ครับ

#6 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 11:03 AM

QUOTE
บุญกิริยาวัตถุ ๑o

(ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)

๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ
meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)

๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี
by observing the precepts or moral behavior)

๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ
by mental development)

๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
by humility or reverence)

๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
by rendering services)

๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น
by sharing or giving out merit)

๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น
by rejoicing in others’ merit)

๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้
by listening to the Doctrine or right teaching)

๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้
by teaching the Doctrine or showing truth)

๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
by straightening one’s views or forming correct views)

D.A.III.999; Comp.146. ที.อ.๓/๒๔๖; สังคหะ ๒๙.


กุศลกรรมบถ ๑๐
(ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ
— wholesome course of action)

ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ) ดังนี้

ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย — bodily action)

๑. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ
(ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)

๒. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขตํ อนาทาตา โหติ
(ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น
to avoid stealing, not violating the right to private property of others)

๓. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ
(ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ
to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา — verbal action)

๔. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ
(ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ
to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)

๕. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯลฯ สมคฺคกรณี วาจํ ภาสิตา โหติ
(ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน
ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี
to avoid malicious speech, unite the discordant,
encourage the united and utter speech that makes for harmony
)

๖. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปี วาจํ ภาสิตา โหติ
(ละคำหยาบพูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน
to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous,
dear and agreeable words
)

๗. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที
นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ

(ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาละเทศะ
to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts,
what is useful, moderate and full of sense
)

ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ — mental action)

๘. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ
(ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น — to be without covetousness)

๙. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ
(ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร
ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด
to be free from illwill, thinking, ‘Oh,
that these beings were free fron hatred and will,
and would lead a happy life from trouble.
’)

๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ
(มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น
to posses right view such as that gifts,
donations and offerings are not fruitless
and that there are results of wholesome and unwholesome actions
)

M.I.287; A.V.266, 275-278.
ม.มู.๑๒/๔๘๕/๕๒๓; องฺ.ทสก.๒๔/๑๖๕/๒๘๗; ๑๖๘-๑๘๑/๒๙๖-๓๐๐.


#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 11:38 AM

บารมี ๑๐ หรือ ทศบารมี

(ปฏิปทาอันยวดยิ่ง, คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ

ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น
ความเป็นพระพุทธเจ้า และความเป็นมหาสาวก เป็นต้น

— perfections)

๑. ทาน (การให้ การเสียสละ
— giving; charity; generosity; liberality)

๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, ความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย
— morality; good conduct)

๓. เนกขัมมะ (การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม
— renunciation)

๔. ปัญญา (ความรอบรู้, ความหยั่งรู้เหตุผล เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
— wisdom; insight; understanding)

๕. วิริยะ (ความเพียร, ความแกล้วกล้า ไม่เกรงกลัวอุปสรรค
พยายามบากบั่นอุตสาหะ ก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่
— energy; effort; endeavour)

๖. ขันติ (ความอดทน, ความทนทานของจิตใจ สามารถใช้สติปัญญาควบคุมตนให้อยู่ในอำนาจเหตุผล
และแนวทางความประพฤติ ที่ตั้งไว้เพื่อจุดหมายอันชอบไม่ลุอำนาจกิเลส
— forbearance; tolerance; endurance)

๗. สัจจะ (ความจริง คือ พูดจริง ทำจริง และจริงใจ — truthfulness)

๘. อธิษฐาน (ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว วางจุดหมายแห่งการกระทำของตนไว้แน่นอน
และดำเนินตามนั้นแน่นแน่
— resolution; self-determination)

๙. เมตตา (ความรักใคร่, ความปรารถนาดี มีไมตรี
คิดเกื้อกูลให้ผู้อื่นและเพื่อนร่วมโลกทั้งปวงมีความสุขความเจริญ
— loving-kindness; friendliness)

๑๐. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง, ความวางใจสงบราบเรียบสม่ำเสมอ เที่ยงธรรม
ไม่เอนเอียงไปด้วยความยินดียินร้ายหรือชอบฟัง
— equanimity; indifference to praise and blame in the performance of duty)

ทศบารมีนี้ เรียงตามที่ถือว่าได้บำเพ็ญในทศชาติ (จัดแบบไทย) ดังนี้

๑. พระเตมีย์ — เนกขัมมะ (ข้อที่ ๓)
๒. พระมหาชนก — วิริยะ (๕)

๓. พระสุวรรณสาม — เมตตา (๙)
๔. พระเนมิราช — อธิษฐาน (๘)

๕. พระมโหสถ — ปัญญา (๔)
๖. พระภูริทัตต์ — ศีล (๒)

๗. พระจันทกุมาร — ขันติ (๖)
๘. พระนารท — อุเบกขา (๑๐)

๙. พระวิธุร — สัจจะ (๗)
๑๐. พระเวสสันดร — ทาน (๑)

บารมีนั้น ท่านกล่าวว่าจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ ต้องครบ ๓ ขั้น คือ

๑. บารมี (ระดับสามัญ เช่น ทานบารมี ได้แก่ ให้ทรัพย์สินเงินทอง สมบัตินอกกาย
— ordinary perfections)

๒. อุปบารมี (ระดับรองหรือจวนจะสูงสุด เช่น ทานอุปบารมี ได้แก่ การเสียสละอวัยวะเป็นทาน
— superior perfecions)

๓. ปรมัตถบารมี (ระดับสูงสุด เช่น ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ การสละชีวิตเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
— supreme perfections)

บำเพ็ญทั้ง ๑๐ บารมี ครบ ๓ ขั้นนี้ เรียกว่า สมตึสปารมี หรือ สมตึงสบารมี แปลว่า บารมี ๓๐ ถ้วน.

Bv.6 ขุ.พุทฺธ.๓๓/๑/๔๑๔; ขุ.จริยา.๓๓/๓๖/๕๙๖.

#8 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 11:45 AM

มงคล ๓๘

(สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ
— blessings; เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือมงคลอันสูงสุด — highest blessings)

QUOTE
คาถาที่ ๑
๑.อเสวนา จ พาลานํ (ไม่คบคนพาล
not to associate with fools; to dissociate from the wicked)

๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา (คบบัณฑิต — to associate with the wise)

๓. ปูชา จ ปูชนียานํ (บูชาคนที่ควรบูชา — to honor those who are worthy of honor)


คาถาที่ ๒

๔.#####เทสวาโส จ (อยู่ใน#####เทศ, อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี
living in a suitable region; good environment)

๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น
having formerly done meritorious deeds)

๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (ตั้งตนไว้ชอบ — setting oneself in the right course;
right direction in self-guidance; perfect self-adjustment
)

QUOTE
คาถาที่ ๓

๗. พาหุสจฺจญฺ จ (เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง,
ใส่ใจสดับตรับฟัง ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ
great learning; extensive learning)

๘. สิปฺปญฺ จ (มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน
skill; knowledge of the arts and sciences)

๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต (มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี — highly trained discipline)

๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา (วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี — well-spoken speech)


คาถาที่ ๔
๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (บำรุงมารดาบิดา — support of mother and father)

๑๒/๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห = ปุตฺตสงฺคห (สงเคราะห์บุตร — cherishing of children)
และ ทารสงฺคห (สงเคราะห์ภรรยา — cherishing of wife)

๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา (การงานไม่อากูล — a livelihood which is free from complications)

QUOTE
คาถาที่ ๕
๑๕. ทานญฺ จ (รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์
charity; liberality; generosity)

๑๖. ธมฺมจริยา จ (ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม — righteous conduct)

๑๗. ญาตกานญฺ จ สงฺคโห (สงเคราะห์ญาติ — rendering aid to relations)

๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ (การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์
ซึ่งไม่เป็นทางเสียหาย — blameless actions; unexceptionable or beneficial activities)


คาถาที่ ๖
๑๙. อารตี วิรตี ปาปา (เว้นจากความชั่ว — abstaining from evils and avoiding them)

๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม (เว้นจากการดื่มน้ำเมา — abstinence from intoxicants)

๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
diligence in virtue; perseverance in virtuous acts)

QUOTE
คาถาที่ ๗
๒๒. คารโว จ (ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคุณค่า
ของบุคคล สิ่งของ หรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม
reverence; respect; appreciative action)

๒๓. นิวาโต จ (ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน — humility; courtesy; politeness)

๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ (ความสันโดษ, ความเอิบอิ่มพึงพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้น
หรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม
contentment)

๒๕. กตญฺญุตา (มีความกตัญญู — gratitude)

๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (ฟังธรรมตามกาล,
หาโอกาสแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักความจริง ความดีงาม และเรื่องที่เป็นประโยชน์
the opportune hearing of the Doctrine; listening to good advice
and the teaching of Truth on due occasions
)


คาถาที่ ๘
๒๗. ขนฺตี จ (มีความอดทน — patience; forbearance; tolerance)

๒๘. โสวจสฺสตา (เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย, พูดกันง่าย ฟังเหตุผล
amenability to correction; obedience)

๒๙. สมณานญฺ จ ทสฺสนํ (พบเห็นสมณะ, เยี่ยมเยียนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส
seeing the holy men)

๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (สนทนาธรรมตามกาล,
หาโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกันเกี่ยวกับ
หลักความจริงความดีงามและเรื่องที่เป็นประโยชน์
religious discussion at due seasons; regular or opportune discussion of Truth)

QUOTE
คาถาที่ ๙
๓๑. ตโป จ (มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก
self-control; simple life)

๓๒. พฺรหฺมจริยญฺ จ (ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค,
การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัตตามควร — a holy life)

๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริงของชีวิต
discernment of the Noble Truths)

๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน — realization of Nibbana)


คาถาที่ ๑๐
๓๕. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ (ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว
to have a mind which is not shaken when touched by worldly vicissitudes)

๓๖. อโสกํ (จิตไร้เศร้า — to have the mind which is free from sorrow)

๓๗. วิรชํ (จิตปราศจากธุลี — to have the mind which is undefiled)

๓๘. เขมํ (จิตเกษม — to have the mind which is secure)

แต่ละคาถามีบทสรุปว่า "เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ"
(นี้เป็นมงคลอันอุดม — this is the highest blessing)


มีคาถาสรุปท้ายมงคลทั้ง ๓๘ นี้ว่า
"เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถี คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ."


แปลว่า
"เทวะมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน
ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง นี้คืออุดมมงคลของเทวะมนุษย์เหล่านั้น."


(Those who have done these things see no defeat and go in safety everywhere.
To them these are the highest blessings.)

Kh.V.3; Sn.259-268. ข.ขุ.๒๕/๕/๓; ขุ.สุ.๒๕/๓๑๗/๓๗๖.

รวมกระทู้ มงคลชีวิต ๓๘ โดย คุณ Peacefulness ™

http://dmc.tv/forum/...?showtopic=9099

๕ หมู่แรก เป็น ข้อปฏิบัติในการสร้างชีวิต

มงคลหมู่ที่ ๑ ฝึกให้เป็นคนดี
มงคลที่ ๑ ไม่คบคนพาล
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา

มงคลหมู่ที่ ๒ สร้างความพร้อมในการฝึกตัวเอง
มงคลที่ ๔ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ

มงคลหมู่ที่ ๓ ฝึกตนให้เป็นคนมีประโยชน์
มงคลที่ ๗ พหูสูต
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ
มงคลที่ ๙ มีวินัย
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต

มงคลหมู่ที่ ๔ บำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว
มงคลที่ ๑๑ บำรุงบิดามารดา
มงคลที่ ๑๒ เลี้ยงดูบุตร
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา-สามี
มงคลที่ ๑๔ ทำงานไม่คั่งค้าง

มงคลหมู่ที่ ๕ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม
มงคลที่ ๑๗ สงเคราะห์ญาติ
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ

๕ หมู่หลัง เป็น การฝึกใจโดยตรง

มงคลหมู่ที่ ๖ ปรับเตรียมสภาพใจให้พร้อม
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม

มงคลหมู่ที่ ๗ การแสวงหาธรรมเบื้องต้นใส่ตัว
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน
มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตามกาล

มงคลหมู่ที่ ๘ การแสวงหา ธรรมะเบื้องสูง ใส่ตัวให้เต็มที่
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล

มงคลหมูที่ ๙ การฝึกภาคปฏิบัติเพื่อกำจักกิเลสให้สิ้นไป
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง

มงคลหมู่ที่ ๑๐ ผลจากการปฏิบัติจนหมดกิเลส
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก
มงคลที่ ๓๗ จิตปราศจากธุลี
มงคลที่ ๓๘ จิตเกษม

#9 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 07:50 PM

สาธุ

#10 ว่างว่าง

ว่างว่าง
  • Members
  • 200 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 December 2007 - 08:57 PM

happy.gif

#11 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 December 2007 - 10:39 AM

_/|\_ Krub