มิลินทปัญหา อุปมาปัญหา ว่าด้วยอุปมาต่าง ๆ
“ข้าแต่พระนาคเสน ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงสำเร็จพระอรหันต์ได ้?”
“ขอถวายพระพร ภิกษุผู้มุ่งจะสำเร็จพระอรหันต์ ควรถือเอาองค์ ๑ แห่งลา องค์ ๕ แห่งไก่
องค์ ๑๐ แห่งกระแต องค์ ๑ แห่งแม่เสือเหลือง องค์ ๒ แห่งพ่อเสือเหลือง องค์ ๕ แห่งเต่า
องค์ ๑ แห่งไม้ไผ่ องค์ ๒ แห่งกา องค์ ๒ แห่งวานร (นี้เป็น วรรค ที่ ๑)
ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไร จึงสำเร็จพระอรหันต์ได้
เริ่มโดย Dd2683, Apr 25 2008 12:30 PM
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 12:30 PM
#2
โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 12:37 PM
โฆรสวรรคที่ ๑
อุปมาองค์ ๑ แห่งลา
“ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์แห่งลานั้น หมายความว่า องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ธรรมดา ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี
๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด
พระยาโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้
หรือแผ่นดิน แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วนอนก็นอนฉันนั้น
ข้อนี้สมกับที่พระพุทธดำรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร”
ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
“การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งบักสมาธิก็พออยู่ สบาย สำหรับภิกษุผู้มุ่งต้อพระนิพพาน”
ดังนี้ ขอถวายพระพร”
อุปมาองค์ ๑ แห่งลา
“ข้าแต่พระนาคเสน ที่ว่าควรถือองค์แห่งลานั้น หมายความว่า องค์หนึ่งแห่งลานั้นได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ธรรมดา ลา นั้น ไม่เลือกที่นอน นอนบนกองหยากเยื่อก็มี ที่ทาง ๔ แพร่งก็มี
๓ แพร่งก็มี ที่ประตูบ้านก็มี ที่กองแกลบก็มีฉันใด
พระยาโยคาวจรก็ไม่เลือกที่นอนฉันนั้น ปูแผ่นหนังลงไป ในที่ปูด้วยหญ้าหรือใบไม้ หรือเตียงไม้
หรือแผ่นดิน แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วนอนก็นอนฉันนั้น
ข้อนี้สมกับที่พระพุทธดำรัสไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลายในบัดนี้ ทำกายเหมือนท่อนไม้ ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร”
ส่วน พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
“การนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งบักสมาธิก็พออยู่ สบาย สำหรับภิกษุผู้มุ่งต้อพระนิพพาน”
ดังนี้ ขอถวายพระพร”
#3
โพสต์เมื่อ 25 April 2008 - 12:42 PM
อุปมาแห่งไก่
“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้นได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่เวลาฉันใด
พระโยคาวจรก็กวาดลานพระเจดี ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำชำระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน
แล้วไปหาอยู่ในที่สงัดแต่เวลายังวันฉันนั้น
อันนี้เป็นองค์แรกแห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์
ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ชำระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก
อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินหาอาหารฉันใด
พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมาความสวยงามแห่งร่างกาย
ฉันเพียงให้ร่างกายนี้อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปและเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น
อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับสมด็จพระจอมไตรตรัสว่า
บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ
กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลาพอให้รถแล่นไปได้ฉันใด
พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น ”
ธรรมดาไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด
พระโยคาวจรถึงตาไม่บอดก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน
พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้
ต่อรูป เสียง หลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี
อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับถ้อยคำของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า
“พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ คนไม่มีกำลัง
เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย” ดังนี้
ธรรมดาไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนหิน ไม้ค้อนหรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด
พระโยคาวจรถึงจะทำจีวรกรรมคือการทำจีวร หรือนวกรรม
คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ทิ้งโยนิโสมนสิการคือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น
อันนี้เป็นองค์ ๕ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
“อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้
ถึง พระสาริบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า
“ไก่ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอให้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด
พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาทไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น”
ดังนี้ ขอถวายพระพร”
โฆรสวรรคที่ ๑
“ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๕ แห่งไก่นั้นได้แก่อะไร?”
“ขอถวายพระพร ธรรมดา ไก่ ย่อมอยู่ในที่สงัดแต่เวลาฉันใด
พระโยคาวจรก็กวาดลานพระเจดี ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ อาบน้ำชำระกาย ไหว้พระเจดีย์แต่ในเวลายังวัน
แล้วไปหาอยู่ในที่สงัดแต่เวลายังวันฉันนั้น
อันนี้เป็นองค์แรกแห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมตื่นแต่เช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ตื่นแต่เช้าฉันนั้น แล้วลงไปปัดกวาดลานพระเจดีย์
ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ ชำระร่างกายดีแล้ว ก็กราบไหว้พระเจดีย์แล้ว จึงเข้าไปสู่ที่สงัดอีก
อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งไก่
ธรรมดาไก่ย่อมคุ้ยเขี่ยพื้นดินหากินหาอาหารฉันใด
พระโยคาวจรก็พิจารณาแล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อให้เกิดความคะนอง ความมัวเมาความสวยงามแห่งร่างกาย
ฉันเพียงให้ร่างกายนี้อยู่ได้ เพื่อจะได้ประพฤติพรหมจรรย์ต่อไปและเพื่อบรรเทาเวทนาเก่า กำจัดเวทนาใหม่เท่านั้น
อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับสมด็จพระจอมไตรตรัสว่า
บุคคลกินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารได้ด้วยความลำบากใจ
กินพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันใด หรือบุคคลเติมน้ำมันหยอดเพลาพอให้รถแล่นไปได้ฉันใด
พระโยคาวจรก็ฉันอาหารพอให้ร่างกายเป็นไปได้ฉันนั้น ”
ธรรมดาไก่ถึงมีตา ก็เหมือนตาบอดในเวลากลางคืนฉันใด
พระโยคาวจรถึงตาไม่บอดก็ควรเป็นเหมือนตาบอดฉันนั้น ทั้งในเวลาอยู่ในป่าหรือเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน
พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้
ต่อรูป เสียง หลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันน่ายินดี
อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับถ้อยคำของ พระมหากัจจายนเถระ กล่าวไว้ว่า
“พระโยคาวจรควรเป็นเหมือนคนตาบอด คนหูหนวก คนใบ้ คนไม่มีกำลัง
เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ควรนอนเหมือนคนตาย” ดังนี้
ธรรมดาไก่ถึงถูกไล่ตีด้วยก้อนหิน ไม้ค้อนหรือถูกตีด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ก็ไม่ทิ้งที่อยู่ของตนฉันใด
พระโยคาวจรถึงจะทำจีวรกรรมคือการทำจีวร หรือนวกรรม
คือการก่อสร้าง การเรียน การถาม ก็ไม่ทิ้งโยนิโสมนสิการคือตั้งใจไว้ด้วยอุบายอันชอบฉันนั้น
อันนี้เป็นองค์ ๕ แห่งไก่
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า
“อะไรเป็นโคจรของภิกษุ เป็นวิสัยบิดาของตน อันนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้
ถึง พระสาริบุตรเถระ ก็ได้กล่าวไว้ว่า
“ไก่ย่อมไม่ทิ้งเล้าไก่ของตน ย่อมรู้จักสิ่งที่ควรกินไม่ควรกิน พอให้ชีวิตเป็นไปได้ฉันใด
พระพุทธบุตรก็ไม่ควรประมาทไม่ควรทิ้งโยนิโสมนสิการอันประเสริฐฉันนั้น”
ดังนี้ ขอถวายพระพร”
โฆรสวรรคที่ ๑
ไฟล์แนบ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม
#4
โพสต์เมื่อ 30 April 2008 - 03:30 PM