ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

หลวงพ่อตอบปัญหา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Pro

Pro
  • Members
  • 134 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 December 2005 - 11:43 AM

ไม่เข้าใจครับที่บอกว่า "จริงหรือไม่ - การฝึกสมาธิด้วยวิธีกำหนดนิมิตเป็นองค์พระ หรือดวงแก้ว จะทำให้ติดนิมิต" สงสัยว่า "ติดนิมิต" แปลว่าอะไรครับ

#2 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 23 December 2005 - 06:26 PM

ไม่จริงค่ะ หลวงพ่อตอบมาแล้ว
ติดนิมิต คือ ติดการบริกรรมนิมิตจนไม่สามารถปล่อยใจให้เข้าถึงได้
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#3 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 23 December 2005 - 10:38 PM

อ่า....ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ การปฏิบัติธรรมนั้น สมเด็จกรมปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชได้รวบรวมวิธีการทั้งหมดเอาไว้ได้ 40 วิธี อยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ตัวอย่างเช่น การเพ่งกสิณ เช่น กสิณดิน กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ หรือการเจริญอนุสติ เช่นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เทวดานุสติ หรือ การใช้สีเป็นนิมิต เช่น สีเขียว สีแดง หรือ การเจริญอสุภกรรมฐาน หรือแม้แต่ การทำสมาธิแบบอานาปาณสติ ก็เป็น 1 ใน 40 วิธีเช่นกัน และสาเหตุที่มีวิธีปฏิบัติมาก เพราะคนเรามีจริตต่างกัน ดังนั้นควรจะเลือกกรรมฐานที่เหมาะสมกับตน

ส่วนการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้อง คือ เป็นวิธีที่ผสมผสานกรรมฐานหลายอย่างเข้าด้วยกัน เช่น นึกองค์พระ (พุทธานุสติ) หรือนึกดวงแก้ว (อาโลกสิณ คือ กสิณแสงสว่าง) พร้อมภาวนาสัมมาอะระหัง (พุทธานุสติ) ดังนั้นถ้าใครกล่าวหาว่า การปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายนั้นไม่มีในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็อยากให้ช่วยกันอธิบายตามนี้ด้วยครับ

ส่วนการติดนิมิตนั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของใจว่า ใจคนเรานั้นกวัดแกว่งไปตามสิ่งรอบตัว หรือ ความคิดที่ผุดขึ้นมาได้ง่าย ดังนั้น การที่จะต้องมีการนึกนิมิตหรือการบริกรรมภาวนา จุดประสงค์เพื่อให้ใจมีที่ยึดเกาะ ให้อยู่นิ่งๆ ไม่ซัดส่ายไปมา ถ้าเปรียบไปการนึกนิมิตหรือการบริกรรมภาวนาก็เหมือนอุปกรณ์ให้ใจได้มีที่ยึดเกาะ

ถ้าสังเกตคำสอนหลวงพ่อดีๆ ท่านจะบอกว่า
ถ้าฟุ้งเป็นภาพให้ใช้นิมิตภาพองค์พระหรือดวงแก้วช่วย
แต่ถ้าฟุ้งเป็นเสียงให้ใช้บริกรรมภาวนา
แต่ถ้าฟุ้งทั้งภาพและเสียงก็ให้ใช้ทั้งภาพองค์พระหรือดวงแก้วและบริกรรมภาวนาช่วย แต่ถ้าไม่ฟุ้งเลยทั้งภาพและเสียงก็ไม่มีความจำเป็นต้องนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วและบริกรรมภาวนาแต่อย่างใด ให้วางใจนิ่งกลางท้องก็พอ

ดังนั้น ถ้าความฟุ้งหายไปหมดแล้ว ใจนิ่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วและบริกรรมภาวนาแล้วครับ เพราะการนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วและบริกรรมภาวนานั้นไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว นิมิตและคำภาวนาที่เรานึกจะเลือนหายไปเอง แล้วไม่จำเป็นต้องกลับมาภาวนาแต่อย่างใด เพราะจิตนิ่งคือจิตละเอียดขึ้นมาระดับนึงแล้ว ถ้าย้อนกลับไปนึกภาพองค์พระหรือดวงแก้วและบริกรรมภาวนาจะทำให้จิตย้อนกลับมาหยาบแทนครับ เปรียบเสมือนใจนิ่งแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักช่วยยึดเกาะแต่อย่างใด ให้ทำใจนิ่งๆ เฉยๆ เรื่อยไป ปล่อยเป็นหน้าที่ของใจแล้วครับ

#4 hmongkon

hmongkon
  • Members
  • 54 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2005 - 12:36 PM

จะติดหรือไม่ติดนิมิต ขึ้นกับผู้ฝึก

นิมิตเป็นกุศโลบายให้ใจมั่นคง

มั่นคงแล้วให้ปล่อยวาง เดี๋ยวจะพบของจริง

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 December 2005 - 04:00 PM

การติดนิมิต เกิดจากวิธีการฝึกสมาธิแล้วเอาใจไปวางไปนอกตัวครับ เหมือนพวกฤษีสมัยก่อน จะฝึกโดยหาสิ่งของมาเป็นนิมิต เช่น ดิน ต้นไม้ ไฟ ฯลฯ
เมื่อใจสงบก็จะสามารถเห็นนิมิตนอกตัว ลักษณะการเห็นเหมือนนิมิตนั้นอยู่ข้างหน้าเรา เช่น เห็นดวงสว่างอยู่ข้างหน้า เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว ก็ชอบใจในดวงสว่างนั้น ไม่ไปไหนต่อ จึงเรียกว่า ติดนิมิต ไงล่ะครับ

ครูอาจารย์บางท่านจึงนิยมสอนให้ปล่อยนิมิต(นอกตัว) นั้นไป กลายเป็นความว่างเปล่า มีความสุข แล้วนึกว่า หลุดพ้นแล้ว ก็เข้าใจผิดอีกเช่นกัน

ที่ถูกต้อง จะต้องน้อม นิมิต นั้นมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย เมื่อใจกลับมาอยู่ที่ฐานที่ตั้ง เส้นทางสู่นิพพานจะเปิดออก ที่กลางของกลาง เราก็จรดใจไปกลางนิมิตนั้น เข้ากลางของกลางเรื่อยๆ ไป จนถึงพระธรรมกาย ไงล่ะครับ

เหมือนเราได้ส้มมา 1 ผล ผู้ติดนิมิต ก็คือ ผู้ที่เฝ้ามองความสวยงามของส้ม เลยไม่ได้กินส้ม ส่วนผู้ปล่อยวางนิมิต ก็คือ ผู้โยนส้ม(นิมิต)ทิ้งไป ได้แต่ความว่างเปล่า ก็อดกินส้มเหมือนกัน

แต่ผู้เข้ากลางของกลาง ก็คือ ผู้ปอกเปลือกส้มออกไป แล้วเข้าไปภายใน จึงได้พบแก่นแท้ คือ ได้กินส้มอร่อย ไงล่ะครับ

อ้อ ลักษณะการเห็นที่กลางตัว จะต่างจากการเห็นนอกตัวนะครับ การเห็นนอกตัว จะเห็นนิมิตแค่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่การเห็นที่กลางตัว จะเห็นนิมิตนั้นทั้งซ้ายขวาหน้าหลังบนล่าง เห็นไปพร้อมๆ กันเลยทีเดียว เห็นแบบนี้เป็นอย่างไร ต้องปฏิบัติกันไปดูเองแหละครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 24 December 2005 - 04:38 PM

สาธุ... สุดยอดไปเลยครับพี่หัดฝัน

#7 ปาลินารี

ปาลินารี
  • Members
  • 258 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2005 - 08:50 PM

อนุโมทนาบุญค่ะ

ขนาดตอบกระทู้ มาช้ายังหมดโอกาสตอบเลย !!!

#8 Pro

Pro
  • Members
  • 134 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 December 2005 - 04:47 PM

ขอบคุณครับ อนุโมทนาบุญครับ
ยิ้มแล้วรวย อ่านกระทู้อยู่ก็ยิ้มได้ครับ

#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 05 February 2007 - 03:16 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ