ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

คำเหล่านี้ ทำไมเขียนเป็นภาษาอังกฤษเขาสะกดแบบนี้


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 14 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 cpj

cpj
  • Members
  • 47 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 02:38 AM

คำเหล่านี้ทับศัพท์อยู่แล้วไม่ใช่หรือครับ เช่น ทศชาติชาดก (DASA JATA JATAKA) ทำไมไม่เขียน Tossachartchadok ไปเลย เวลาที่ฝรั่งหรือต่างชาติ เขาเห็นเรื่องนี้ เขาออกเสียง ดาสะ-จาตา-จาตากะ หรือเปล่า คำว่าชูชก (JuJok) ก็เช่นกัน ทำไมไม่เขียน Chuchok ฝรั่งออกเสียง จู-จ๊ก หรือ ชู-ชก มีมากมายหลายคำครับที่พบ รวมถึง ชื่อคนหรือสถานที่ ถ้ามีตัว "ภ" ทำไมเขาใช้ Bh แทนที่จะใช้ตัว P ทั้ง ๆ ที่ออกเสียงเป็น "พ" ส่วนตัว "ธ" ก็เช่นกัน ทำไมเขาใช้ D ไม่ใช้ตัว T ทั้ง ๆ ที่ออกเสียงเป็น "ท" ภาษาอังกฤษผมอ่อนแอมากครับ แถมยังไม่มีความรู้เรื่องภาษาศาสตร์อีกต่าง ๆ หาก เพื่อน ๆ ช่วยอธิบายเป็นวิทยาทาน (หรือธรรมทานชักสับสน) ด้วยครับ ขอบคุณครับ

#2 อ้วน บ่อโยก

อ้วน บ่อโยก
  • Members
  • 646 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:rayong

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 08:13 AM

Very easy

เป็นภาษาสันสกฤตที่ใช้ภาษาอังกฤษ สะกด นะครับ พอจำได้อยู่บ้าง ตอนเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ช จึงเขียนด้วย J เป็นต้นครับ



#3 Dhamma Bot

Dhamma Bot
  • Members
  • 477 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 08:17 AM

คือว่าผู้แปลเขาแปลตามระบบ Romanised Pali น่ะครับ พูดง่ายๆก็คือ ภาษาบาลีที่เขียนด้วยอักขระโรมัน เนื่องจากคำเหล่านี้เป็นคำที่มาจากภาษาบาลี เวลาที่แปลงเป็นภาษาอังกฤษเราจึงไม่ใช้วิธีถอดเสียงจากไทยโดยตรงนะครับ ต้องย้อนกลับไปดูว่าภาษาบาลีสะกดอย่างไร แล้วถอดเสียงเข้ารูปอักษรโรมัน ซึ่งมีไวยากรณ์บังคับอยู่ ว่าเสียงนี้หรือคำนี้ ต้องใช้สระ และพยัญชนะอย่างไร ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ เช่นคำว่า "สงฆ์" คำนี้เป็น "คำยืม" คำดั้งเดิมในภาษาบาลีคือ "สังฆะ" พอยืมเข้ามาในภาษาไทยแล้วเราลดรูปลงเหลือแค่ "สงฆ์" แต่เมื่อถึงเวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษ หากเราใช้คำว่า "Sonk" ชาวต่างชาติที่รู้ภาษาบาลีท่านก็จะไม่เข้าใจ อย่างเช่นพระศรีลังกา พระพม่า หรือแม้แต่ฝรั่งที่เคยศึกษาตำราพระพุทธศาสนามาก่อน ดังนั้นเราต้องย้อนกลับไปใช้คำบาลี ในรูปของอักษรโรมัน คือ "Sangha" ครับ

ผมอธิบายตามที่ผมศึกษามานะครับ หากมีข้อบกพร่องแต่ประการใด รบกวนท่านอื่นๆช่วยให้ความรู้เพิ่มเติมหรือปรับแก้ด้วยครับ

#4 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 08:38 AM

smile.gif ผมเองก็สงสัยตะหงิด ๆ เหมือนกันตอนอ่าน ซับไตเติ้ล ในทศชาติชาดก แต่มี คุณ cpj มาถามก่อน ขออนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะครับ สาธุ

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 11:56 AM

สาธุกับคุณ Blissinessman ตัวผมที่ภาษาอังกฤษก็ไม่ค่อยแข็งแรงนัก และเคยสงสัยมานาน ก็เลยได้พลอยเข้าใจด้วย
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 อริย 072

อริย 072
  • Members
  • 440 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 12:11 PM

เห็นด้วยกับ คุณ Blissinessman นะจ๊ะ WEBSITE พุทธศาสนา ก็ต้องยึดหลัก จากภาษาบาลี จ้ะ
ส่วนการอธิบายเพิ่มเติม ก็สามารถใช้ภาษาต่างๆ ง่ายๆ อธิบายเสริมได้ตามกลุ่มผู้อ่าน เพื่อความเข้าใจ
---
แต่ต้องแจ้งว่าเป็นการตีความ ของผู้อธิบายเองจ้ะ ยึดหลักการของพระไตรปิฎก
----
เหตุที่ต้องทำเช่นนี้ จะมีประโยชน์กับ" หลักการ " ขององค์พระสัมมาฯ
ที่จะได้ไม่แปรเปลี่ยนเพี้ยนไป ตามความหมายของภาษาปัจจุบันที่มักค่อยๆ เปลี่ยนไปตามยุคสมัยจ้ะ
สาธุ


#7 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 05:41 PM

อาจทำให้หายสงสัยได้บ้าง
แนบไฟล์  palitrans_print.jpg   63.73K   167 ดาวน์โหลด
ที่มา http://dou_beta.tripod.com/

หรือลองไปที่ความเห็นนี้ --คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
http://www.dmc.tv/fo...s...st&p=114052

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#8 สวญ.

สวญ.
  • Members
  • 33 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 07:20 PM

เห็นด้วยกับคุณ Blissinessman และคุณอริย 072 ครับ
เนื่องจากคำในพระพุทธศาสนาเป็นคำภาษาบาลีที่เรานำมาใช้เป็นภาษาไทย (บางคำก็มาจากภาษาสันสกฤต) ซึ่งจะมีการดัดแปลงอักษรและการอ่านออกเสียงบางส่วน เช่น

- ทศชาติชาดก (คำสมาส)
มาจากคำภาษาบาลี --> ทส (อ่านว่า "ด๊ะ-สะ") (ภาษาอังกฤษจึงต้องเขียนว่า DASA) + ชาตก (อ่านว่า "จา-ตะ-กะ") (ภาษาอังกฤษจึงต้องเขียนว่า JATAKA)

- สงฆ์
มาจากคำภาษาบาลี --> สงฺฆํ (อ่านว่า "สัง-คัง, สัง-คะ")

- บัณฑิต (สงสัยมั้ยว่าทำไมภาษาไทยจึงอ่านคำนี้ว่า "บัน-ดิด")
มาจากคำภาษาบาลี --> ปัณฑิต, ปัณฑิตา (อ่านว่า "ปัน-ดิ-ตะ, ปัน-ดิ-ตา") ในภาษาอังกฤษจะเขียนว่า PANDITA

- อุปสมบท (บวชพระ)
มาจากคำภาษาบาลี --> อุปสมฺปทํ, อุปสมฺปทา (อ่านว่า "อุ-ปะ-สัม-ปะ-ดัง, อุ-ปะ-สัม-ปะ-ดา") ภาษาอังกฤษเขียนว่า UPASAMPADANG, UPASAMPADA

- บุคคล
มาจากคำภาษาบาลี --> ปุคฺคล (อ่านว่า "ปุก-ก๊ะ-ละ") ภาษาอังกฤษ = PUGGALA

- พรหม ภาษาไทยอ่านว่า "พรม"
มาจากคำภาษาบาลี = พรฺหม (อ่านว่า "บร๊ะ-หะ-มะ") ภาษาอังกฤษ = BRAHAMA

- ดุสิต
มาจากคำภาษาบาลี = ตุสิตา ภาษาอังกฤษ = TUSITA

- มโหสถ (คำสนธิ = มห+โอสถ)
มาจากคำภาษาบาลี = มโหสถ (อ่านว่า "มะ-โห-สะ-ถะ") ภาษาอังกฤษ = MAHOSATHA

- เวสสันดร (คำสนธิ = เวสสะ+อันดร)
มาจากคำภาษาบาลี = เวสฺสนฺตร (อ่านว่า "เวด-สัน-ตะ-ระ") ภาษาอังกฤษ = VESSANTARA, WESSANTARA

- ภิกษุ
มาจากคำภาษาบาลี = ภิกฺขุ (อ่านว่า "บิ๊ก-ขุ") ภาษาอังกฤษ = BHIKKHU

ฯลฯ

เทียบเคียงการอ่านออกเสียงพยัญชนะบาลีกับอังกฤษ(บางส่วน)
ก = K
ข = Kh
ค = G
จ = C (อ่านออกเสียง ช.ช้าง ในภาษาไทย)
ช = J (อ่านออกเสียงก้ำกึ่งผสมกันระหว่าง ช.ช้าง กับ ย.ยักษ์ ในภาษาไทย, ยกตัวอย่างบางคำที่พอทำให้เข้าใจได้ เช่น กางเกงยีนส์ = Jeans, แยม = Jam)
ต = T (ภาษาบาลีไม่มี ด.เด็ก)
ฑ, ท = D
ฒ, ถ = Th
ธ = Dh
ป = P (ภาษาบาลีไม่มี บ.ใบไม้)
พ = B
ภ = Bh

#9 cpj

cpj
  • Members
  • 47 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 07:24 PM

ขอบคุณทุกคำตอบครับ ที่แท้เป็นคำยืมมาจากบาลีสันสกฤตนี่เอง แต่เอ๊ะขอสงสัยอีกนิด ม. ธรรมศาสตร์ ทำไมใช้ ตัว T ได้ แต่วัดพระธรรมกาย ใช้ตัว D คำว่า "ธรรม" ทั้งสองนี้ความหมายไม่เหมือนกันหรือครับ

#10 Dhamma Bot

Dhamma Bot
  • Members
  • 477 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 07:53 PM

ครับผม ในฐานะเด็กธรรมศาสตร์ ก็ขออนุญาตไขข้อข้องใจให้คุณ cpj ครับ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้หลักการ Transliteration คือถ่ายตัวอักษรจากภาษาไทยไปสู่ภาษาอังกฤษ
หมายความว่าทางมหาวิทยาลัยคำนึงถึงภาษาต้นทางว่าเป็นภาษาไทย ไม่ได้คำนึงว่าเป็นภาษาบาลีครับ
ทั้งนี้การถอดเสียงเป็นไปตามระบบที่ทางราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดเอาไว้ว่า "ธ" ในภาษาไทยใช้ตัว "t"
(ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บของราชบัณฑิตยสถาน www.royin.go.th)
ซึ่งผมว่าวิธีการนี้เหมาะสมแล้ว เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มุ่งเน้นสอน "ธรรมะ" เป็นหลัก หากใช้คำว่า
"Dhammasat" ก็คงจะให้กลิ่นอายของพระพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อย

สรุปแล้วขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ครับ ส่วนวัดพระธรรมกายนั้น เป็นวัดในพระพุทธศาสนา
เราเขียนตามอย่างภาษาบาลีครับ โดยคำนึงว่าคำศัพท์นี้เป็นบาลี มิใช่ภาษาไทย
แล้วคำว่า Dhammakaya ก็ปรากฏมีอยู่แล้วในพระไตรปิฎกของทุกนิกาย ต่างว่ามากหรือน้อยเท่านั้น การใช้คำว่า Dhammakaya จึงเหมาะสม กับวัดพระธรรมกายแล้วครับ เพราะชาวพุทธต่างประเทศ หรือนักวิชาการพุทธศาสนาตะวันตกมาอ่านเข้าก็จะ get ทันที ว่าหมายถึงอะไรครับ
(หมายเหตุ: ถ้าเขียนตามระบบสันสกฤตจะเขียนว่า "Dharmakaya")

#11 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 08:13 PM

ได้ความรู้ดีมากครับ
อนุโมทนา เจ้าของกระทู้ คุณ Blissinessman คุณ อริย 072 คุณ ณ 072 คุณ สวญ. ด้วยครับ
สาธุ

#12 Smiling Girl

Smiling Girl
  • Members
  • 550 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 09:15 PM

สาธุ ได้ความรู้มากขึ้นเลยค่ะ แอบสงสัยอยู่เหมือนกัน แต่ตอบตัวเองว่ามาจากภาษาบาลีตามคำอธิบายข้างต้นล่ะคะ

เวลาทำอะไรพลาด อย่าคิดนำไปก่อน เพราะมารจะเข้าแทรกผัง ให้เราคิดได้เป็นเรื่องเป็นราวทันที ยิ่งคิด ยิ่งมีผลเสียแก่ตัวเราเอง ถ้าคิดอย่างนี้แล้วใจจะตก มารจะแทรกผังสำเร็จใส่ทันที ทำให้เรื่องที่ยังไม่มีอะไร กลับกลายเป็นเรื่องร้ายทันที ยิ่งคิดจะยิ่งเสีย ฉะนั้น เมื่อเกิดเรื่อง ให้เราทำใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว (ขุมทรัพย์จากคุณยาย)


#13 kasaporn

kasaporn
  • Members
  • 870 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 09:54 PM

อ๋อ.......อย่างนี้นี่เอง....เข้าใจแล้วค่ะ แต่ก่อนก็สงสัยอยู่เหมือนกัน....ขอบคุณสำหรับคำอธิบายของทุกท่านด้วยค่ะ happy.gif

#14 Bruce Wayne

Bruce Wayne
  • Members
  • 184 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 11:27 PM

พระพุทธเจ้า = Buddha
สิงห์ =Singha
ส. เศรษฐบุตร = so sethaputra
พระอินทร์ = INDRA
ธรรมจักร= Dharmachakra

คำว่า นิพพาน ในภาษาอังกฤษคือ "nirvana" มาจากคำว่า "นิรวาณ" ซึ่งก็แปลว่า นิพพาน เหมือนกัน

#15 สวญ.

สวญ.
  • Members
  • 33 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 July 2008 - 02:58 PM

ถ้าสนใจเพิ่มเติม อยากแนะนำให้เปิดอ่านกระทู้ http://www.dmc.tv/fo...showtopic=16688
"เพลงมงคล38 เสียงอินเดียพร้อมคำแปลครับ ไพเราะมาก" (มงคลสูตร บทสวดภาษาบาลี) ซึ่งเป็นการอ่านออกเสียงภาษาบาลีอย่างถูกต้องดั้งเดิมโดยชาติเจ้าของภาษา

มีลิ้งค์ให้ดาวน์โหลดไว้ฟังและอ่านไปพร้อมกันครับ