ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

จะทำยังไงดี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2008 - 07:20 PM

ผมชอบพูดเรื่องธรรมะให้คนอื่นฟัง เขาเลียว่าผมบ้าธรรมะบ้าศาสนา ผมต้องทำยังไงดีบอกผมด้วย

#2 somchet

somchet
  • Members
  • 900 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2008 - 08:16 PM

ก็ทำต่อไปครับ แถมทำให้หนักขึ้นครับ

พูดจริงๆนะครับ นั่นแแค่บททดสอบว่าคุณเอาจริงหรือเปล่า แต่ถ้าผ่านไปได้ ต่อไป พวกนั้นเวลาเขามีความทุกข์ หรือวันใด ที่บุญเก่าเขาส่งผล ทำให้นึกถึงธรรมะ วันนั้น ภาพของคุณจะอยู่ในใจเขา และคุณจะเป็นคนแรกที่เขาจะนึกถึง

#3 feyhong

feyhong
  • Members
  • 119 โพสต์
  • Location:13 หมู่ 1 ต.ท่าคล้อ อ.ก่งคอย จ.สระบุรี
  • Interests:computer,multimedai,wushu,miditation,the king

โพสต์เมื่อ 30 July 2008 - 08:58 PM

การเล่าธรรมให้ผู้อื่นฟังนั้น เป็นมหากุศลอย่างมาก แต่เพื่อความเหมาะสม ควรดูเวลา สถานที่ และคนฟังด้วย
และควรเลือกเรื่องที่จะเล่าให้เหมาะสม และควรคำนึงว่าอยากให้ผู้ฟังมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ฟัง(จิตวิทยาการพูด)

ที่สำคัญที่สุดเราต้องเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ดี คือสามารถทำตามที่เล่าได้บ้างเป็นอย่างดีครับ

อนุโมทนาด้วยครับ

#4 บุญเลี้ยง

บุญเลี้ยง
  • Members
  • 267 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2008 - 10:13 PM

อนุโมทนาบุญกับเจตนาอันดีงามให้การให้ธรรมทาน

ขออนุญาตแบ่งปันจากประสบการณ์นะคะ

เมื่อช่วงก่อน ปี 2545 ยังไม่ได้มาสร้างบารมี อย่างเข้มข้น เข้าวัดตั้งแต่ ปี 2531 แต่มาแบบยังไม่เข้าใจอะไร
จนกระทั่งมีโอกาสขึ้นไปปฏิบัติธรรมที่พนาวัฒน์เป็นครั้งแรก จึงได้เข้าใจ มโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
อย่างแท้จริง แรก ๆ การเล่าเรื่องวัด หรือ เรื่องธรรมะให้คนอื่นฟัง เราก็จะเล่าแบบอยากเล่า โดยที่ไม่ได้สังเกตุว่า

คนที่เราคุยด้วย เขาสนใจแค่ไหน รับได้หรือไม่ เราเล่าด้วยความ"อยากให้เขารู้" ผลที่เกิดขึ้น ก็คล้าย ๆ กับเจ้าของกระทู้ แต่ก็ไม่ได้ท้อแท้อะไร เพียงแต่คิดว่า เราต้องปรับปรุงตนเอง มีกัลยาณมิตรท่านแนะนำว่า ให้นั่งธรรรมะมาก ๆ ทุกวัน

เมื่อบุญของเรามากพอ คำพูดที่ดี ที่ถูกต้อง ถูกใจคนฟัง เขาจะรับได้พอดี ๆ ก็จะออกมาเอง เราก็เชื่อ และปฏิบัติตาม

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เรากลายเป็นคนที่ใจเย็นลง เป็นคนที่ฟังคนอื่นมากขึ้น พูดน้อยลง แต่คำพูดที่ออกมาในเรื่องธรรมะ
มักจะพูดน้อย แต่โดนใจคนฟัง ชนิดที่เรียกได้ว่า เกาถูกที่คัน เปิดใจคนอื่นได้ แต่ถ้ามีคนถามหรือแซว เราก็อาจจะถามเขากลับในบางครั้งว่า ต้องการคำตอบเรื่องนี้จริง ๆ มั้ย เล่ายาวนะ เพราะบางคนไม่ได้ต้องการคำตอบจริง ๆ เขาก็จะเงียบ เราก็เพียงแต่ยิ้ม ๆ

จริง ๆ แล้วก็คงไม่มีอะไรมาก แค่ "ฟัง" คนอื่นให้มากขึ้น หมายถึง ฟังด้วยศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ แล้วเราจะรู้ด้วยตัวเองว่าจะต้องตอบว่าอะไร หรือควรพูดแค่ไหน

การเล่าธรรมะเป็นเรื่องละเอียด ถ้าเล่าเป็นก็จะทำให้สนุก อยากฟังต่อ ก็ลองสังเกตุพระอาจารย์ หรืออุบาสิกาในวัด ว่าท่านทั้งหลาย มีวิธีเทศน์ หรือพูดอย่างไร ที่ทำให้เราอยากฟัง อยากติดตาม ยกใจคนให้สูงขึ้นด้วย

แต่อย่างนึงที่เราติดตามและสังเกตุตลอดเวลา คือ การฟังคุณครูไม่ใหญ่ สอนในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา นั่นแหละค่ะ หลายครั้งทีเดียวที่เราได้คำพูดดี ๆ มาใช้กับผู้อื่น และนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของตัวเอง

อีกอย่างหนึ่งคือ เราก็ต้องหมั่นอ่านหนังสือธรรมะบ่อย ๆ ด้วยนะ จะได้มีเรื่องที่ถูกต้องในการพูด

นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเราเองที่ใช้ในการฝึกตัวในการทำหน้าที่ทั้งผู้นำบุญ และการเป็นกัลยาณมิตรให้กับคนรอบข้างอย่างต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันก็ยังอยู่ระหว่างฝึกฝนตัวเองอยู่นะคะ

มี link เพิ่มเติมค่ะ http://www.dmc.tv/fo...showtopic=16293

#5 เป็นหนึ่ง

เป็นหนึ่ง
  • Members
  • 354 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2008 - 10:17 PM

ง่ายๆ เลยครับ เอาหลักสัปปุริสธรรม ๗ ประการไปปรับใช้ครับ


----------------------------------------------------------------------
ส่วนที่ ๒ คนสมบูรณ์แบบ(สมาชิกแบบอย่างของมนุษยชาติ)

ผู้สามารถนำหมู่ชนและสังคมไปสู่สันติสุขและความสวัสดี พึงมีสัปปุริสธรรม คือธรรมของคนดีหรือคนที่แท้ซึ่งมีคุณสมบัติของความเป็นคนที่สมบูรณ์ ๗ ประการ คือ

๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือรู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลายที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติกิจหน้าที่และดำเนินกิจการต่างๆ

๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล คือรู้ความหมายและความมุ่งหมายของหลักการที่ตนปฏิบัติ เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตนกระทำ รู้ว่าที่ตนทำอยู่อย่างนั้น ดำเนินชีวิตอย่างนั้นเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร หรือควรจะได้บรรลุถึงผลอะไร

๓. อัตตัญญุตา รู้ตน คือรู้ตามเป็นจริงว่า ตัวเรานั้นมีฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรมมากน้อยเพียงใด แล้วประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมตลอดจนแก้ไขปรับปรุงตนให้เจริญงอกงามถึงความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

๔. มัตตัญญุตา รู้ประมาณ คือรู้จักพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภค ในการใช้จ่ายทรัพย์รู้จักความพอเหมาะพอดีในการพูด การปฏิบัติกิจ และทำการต่างๆตลอดจนการพักผ่อนนอนหลับและการสนุกสนานรื่นเริงทั้งหลาย ทำการทุกอย่างด้วยความเข้าใจวัตถุประสงค์เพื่อผลดีแท้จริงที่พึงต้องการ

๕. กาลัญญุตา รู้กาล คือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่พึงใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน ปฏิบัติการต่างๆและเกี่ยวข้องกับผู้อื่น

๖. ปริสัญญุตา รู้ชุมชน คือรู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุมและชุมชน รู้การอันควรประพฤติปฏิบัติในถิ่นที่ชุมชนและต่อชุมชน

๗. ปุคคลัญญุตา รู้บุคคล คือรู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคล ไม่ว่าจะเป็นอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม ว่า ใครยิ่งหรือหย่อนอย่างไร รู้จักปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ด้วยดี รู้จักพิจารณาว่าบุคคลนั้นควรคบหรือไม่ ได้คติอย่างไร จะสัมพันธ์เกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิหรือจะแนะนำสั่งสอนอย่างไรจึงจะได้ผลดี เป็นต้น

(อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒๓/๖๕/๑๑๔)


ที่มา ธรรมะเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ กระทู้ของพี่ Dd2683 ครับ
http://w3.dmc.tv/for...?showtopic=1874
I just gotta get out of this prison cell.
Someday I'm gonna be free.

#6 swo

swo
  • Meditation Admin
  • 267 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:WDC

โพสต์เมื่อ 30 July 2008 - 10:19 PM

เหมือนการให้ทานอื่นๆ คือ เลือกให้ ให้ตามกาลที่ ณ เวลาและสถานที่สมควร จึงจะได้ประโยชน์

#7 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2008 - 02:05 AM

ดูุึความเหมาะสมท่าจะดีนะครับ
แต่อย่างงัยก็ขอเป็นกำลังใจ และขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ สาธุ


#8 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2008 - 12:33 PM

QUOTE
ผมชอบพูดเรื่องธรรมะให้คนอื่นฟัง เขาว่าผมบ้าธรรมะบ้าศาสนา
- การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดปฏิกิริยา
- ดังที่คุณ Somchet ตอบ ว่าเป็นบททดสอบ
QUOTE
ก็ทำต่อไปครับ แถมทำให้หนักขึ้นครับ

พูดจริงๆนะครับ นั่นแค่บททดสอบว่าคุณเอาจริงหรือเปล่า แต่ถ้าผ่านไปได้ ต่อไป พวกนั้นเวลาเขามีความทุกข์ หรือวันใด ที่บุญเก่าเขาส่งผล ทำให้นึกถึงธรรมะ วันนั้น ภาพของคุณจะอยู่ในใจเขา และคุณจะเป็นคนแรกที่เขาจะนึกถึง
- ถ้าเลิกกลางคันก็เท่ากับสอบไม่ผ่าน แถมอาจถูกได้ทีขี่แพะไล่ได้ว่า ไม่เอาจริงนี่นา แค่พูดแหย่ก็ท้อแล้ว(ทำนองนี้)
- ตอบไปด้วยใจใสๆ ใครๆก็บ้ากันทั้งน้านแหล่ะ...555 คุณครูไม่ใหญ่เคยเล่าใน รร.อนุบาลฯว่า พอเราทำอะไรจริงๆ เค้าก็กล่าวว่าเราบ้า เราจะลองทำอะไรให้ดูบ้ามั่ง...เขากลับให้ความสนใจ...ดีเหมือนกันเน๊อะ

QUOTE
ผมต้องทำยังไงดี
- ตามที่คุณ feyhong, swo และ Tree แนะไว้ รอโอกาส จังหวะ บุญของเขาส่งผล ตัวเราฝึก...จนพอจะรู้ใจผู้อื่นได้ว่าเขาต้องการอะไรในเวลานั้น(รู้เขา รู้เรา)
- ขอสาธุการกับธรรมะเทสนะมัยมา ณ โอกาสนี้ นำพาสู่บริวารสมบัติอันไม่มีประมาณ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 31 July 2008 - 12:42 PM

จำคำพระพุทธเจ้าไว้ และไปทำให้ได้อย่างท่านนะครับว่า

วาจาใดไม่จริง ตถาคต ไม่พูดวาจานั้น
วาจาใดจริง แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ตถาคต ก็ไม่พูดวาจานั้น
วาจาใดจริงด้วย ประกอบด้วยประโยชน์ด้วย ตถาคต รู้กาล(กาละเทศะ) ที่จะกล่าววาจานั้น
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#10 homer324

homer324
  • Members
  • 522 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2008 - 12:55 PM

ผมชอบพูดเรื่องธรรมะให้คนอื่นฟัง เขาเลียว่าผมบ้าธรรมะบ้าศาสนา ผมต้องทำยังไงดีบอกผมด้วย

.......................................................

บ้าธรรมมะ บ้าศาสนา ดีกว่าบ้าใบ้ไร้สาระ..

บ้าแบบคนมีธรรมมะ ดีกว่าบ้าบอคอแตก..

บ้าแบบแปลกๆ คือเห็นคนอื่นบ้า แต่ตัวเองไม่..

แปลกไม่แปลกยังไง ก็ต้องลองไปส่องกระจก (เงา) ดู (เอาเองน่ะ)..

.......................................................

จบดีกว่า..