คำศัพท์ที่ใช้กับพระสงฆ์
#1
โพสต์เมื่อ 14 October 2008 - 10:45 AM
ขอบคุณค่ะ
#2 *innerspot*
โพสต์เมื่อ 14 October 2008 - 11:09 AM
#3
โพสต์เมื่อ 14 October 2008 - 01:58 PM
ใช้คำว่า "กราบขอบพระคุณ" อย่างที่คุณ innerspot บอกนั่นแหละครับ เพียงพอแล้ว
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว อนุโมทนาฯ ใช้กับ การแสดงความชื่นชมยินดี ในสิ่งที่คู่สนทนาหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึงได้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ดีแล้ว เป็นคำอุทานแบบหนึ่งนะครับ
อย่างเช่น การที่คุณ innerspot เข้ามาตอบข้อข้องใจของคุณฟ้าใสอาทิตย์สว่าง แล้วผมเข้ามาอ่านเห็นว่าดีแล้ว เหมาะสมแล้ว ผมก็อนุโมทนาบุญด้วย
ถ้าจะให้แปลให้ได้ใจความก็คงประมาณว่า สิ่งที่คุณ innerspot ทำนั้นดีแล้ว เหมาะสมแล้ว ควรแล้ว กระผมขอชื่นชมในการกระทำนั้น และขอมีส่วนในการกระทำดีนั้นด้วย ทำนองนี้แหละครับ
ส่วน นมัสการ นั้น เป็นคำทักทายกับพระภิกษุสามเณรที่แสดงความเคารพอยู่ในตัวครับ มักใช้กับพระภิกษุที่ไม่ใช่ฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์ เหมือน สวัสดีที่เราใช้กัน ใช้ได้ทั้งตอนพบและตอนลาครับ
ใช้แค่นมัสการเฉยๆ ไม่ต้องมีคำว่ากราบนำหน้า เพราะนมัสการเป็นการแสดงความเคารพอยู่แล้ว ถ้าใช้กราบนำหน้า จะเป็นการพูดคำซ้ำซ้อนกันผิดหลักภาษาไทยครับ
ดีครับ เข้ามาทำความเข้าใจกันไว้ ถึงไม่ใช่แก่นแท้แห่งพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นประเพณีวัฒนธรรมที่งดงามน่าสืบต่อเอาไว้ครับ
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#4
โพสต์เมื่อ 14 October 2008 - 07:12 PM
ขออนุญาตแก้ไขนิดเดียวนะคะ
เขียนว่า คำศัพท์ ค่ะ ไม่ใช่ คำศัพย์ (ผม : หัดฝัน แก้คำสะกดให้แล้วครับ)
ใช้ว่า กราบขอพระคุณ ในการขอบคุณพระสงฆ์
นมัสการพระคุณเจ้า หรือ กราบนมัสการ ใช้ในการเริ่มต้นนิมนต์ท่าน หรือเรียนเชิญให้ท่านทำอะไรสักอย่าง
นมัสการลา ใช้ในการกล่าวลาค่ะ
ท่านใดที่มีข้อมูลเพิ่มเติมแบ่งปันกันนะคะ
#5
โพสต์เมื่อ 15 October 2008 - 06:59 AM
ความหมายของคำ นิมนต์ นมัสการ อาราธนา อัญเชิญ
ความหมายของการใช้สรรพนามแทนพระเช่น หลวงพี่ หลวงพ่อ หลวงปู่ หลวงตา
ขอความรู้ด้วยนะครับ และถ้ามีเกล็ดเล็กน้อยแถมก็ดีครับ จะไว้ประดับความรู้บางทีก็ใช้ผิดเหมือนกัน
#6
โพสต์เมื่อ 15 October 2008 - 08:59 AM
แต่ถ้าเป็นพระ จะพูดว่าไงคะ
#7
โพสต์เมื่อ 15 October 2008 - 11:11 AM
ขอบคุณมากค่ะคุณ innerspot คุณ ทัพพีในหม้อ และคุณ Pao Wuerzburg ที่เข้ามาให้ความกระจ่างและความรู้เพิ่มเติม สำหรับทุกท่านที่เข้ามาอ่านคิดว่าน่าจะได้ความรู้กันมากขึ้น รวมทั้งมีความมั่นใจในการสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ด้วยค่ะ
อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะค่ะ
ปล. ต้องขอขอบคุณ Pao Wuerzburg ที่ช่วยมาแจ้งเรื่องคำศัพท์ที่เขียนผิดค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 15 October 2008 - 01:38 PM
แต่ถ้าเป็นพระ จะพูดว่าไงคะ
ของคุณคาฟ้าบ่?
ก็ง่ายๆเลยครับ ใช้ นมัสการครับ ได้เลย อาจจะ เป็น "นมัสการครับ หลวงพี่ สบายดีนะครับ จะไปไหนหรือครับ นิมนต์ขึ้นรถเลยครับเดี๋ยวผมไปส่ง" ง่ายๆอย่างนี้แหละครับ
ส่วนของคุณ tnawut
นิมนต์ คือ เชิญ ใช้ในกรณีทั่วไปที่ไม่ใพธีการ เช่น นิมนต์นั่งตรงนี้ นิมนต์รับประเคนภัตตาหาร ฯลฯ
อาราธนา คือ เรียนเชิญ(พระ) อัญเชิญ(บทสวด) ใช้ในกรณีพิธีการทั้งหลายแหล่ เช่น อาราธนาพระคุณเจ้าเป็นประธานในพิธีสงฆ์ อาราธนาพระคุณเจ้ากล่าวนำสรรเสริญพระรัตนตรัย หรือ เรียนเชิญสาธุชนทุกท่านอาราธนา(สวด)พระปริตรกันนะครับ ฯลฯ
อัญเชิญ คือ การเชิญด้วยความเคารพ มักใช้กับสิ่งของทั่วไป มากกว่าใช้กับตัวบุคคล เป็นคำใช้ทั่วไปไม่เฉพาะกับพระ
ส่วนหลวงพี่ หลวงพ่อ ฯลฯ ไม่รู้ประวัติเหมือนกัน เดี๋ยวจะลองค้นให้อีกที คำว่าพี่ พ่อ น้า คงเรียกด้วยความสนิทสนมหรือดูจากอายุ แต่ "หลวง"นี่ยังไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่ปกติถ้าเราเจอพระแล้วไม่รู้จะเรียกท่านว่าอย่างไร ก็เรียกท่านว่า "พระ" ตรงๆได้เลยครับ อย่างเช่น พระจะไปไหนหรือครับ พระฉันเพลหรือยังกระผมขอนิมนต์ครับ ฯลฯ
มีอะไรถามมาได้ครับ อยากให้ทุกคนเป็นต้นบุญต้นแบบกันครับ ประเพณีวัฒนธรรมชาววัดเป็นสิ่งที่ควรสืบสานเอาไว้ครับ
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#9
โพสต์เมื่อ 15 October 2008 - 02:12 PM
#10
โพสต์เมื่อ 15 October 2008 - 05:18 PM
ขอเพิ่มเติม อีกนิดเดียวจ้ะ
เรียกหลวงพี่ หรือ หลวงพ่อ มักพิจารณาจากวัย และ ภันเต (อายุพรรษาที่ท่านบวช) ของพระสงฆ์ รูปนั้นๆ
หลวงปู่ ใช้เรียกกับ พระภันเต ที่ท่านบวชมาตั้งแต่อายุรุ่นหนุ่ม โดยที่ท่าน ไม่เคย มีครอบครัวมาก่อน
หลวงตา มักใช้เรียก พระสงฆ์ ที่ท่านมีครอบครัวมาแล้ว ส่วนใหญ่มาบวชตอนอายุมากแล้วจ้ะ
ส่วนถ้าเราไม่แน่ใจ ว่าจะใช้สรรพนามอะไรดีนั้น
ก็ควรใช้ว่า พระคุณเจ้า จ้ะ
ส่วนว่า "พระ" นั้น ส่วนใหญ่ ท่านจะใช้เรียกแทนตัวท่านเอง
เวลาสนทนากับญาติผู้ใหญ่ เช่น กับโยมพ่อ โยมแม่ของท่านจ้ะ
แต่เวลาสนทนากับพระผู้ใหญ่ ท่านจะใช้ ผม หรือ กระผม เช่นเราๆจ้ะ
สาธุ
#11
โพสต์เมื่อ 28 October 2008 - 01:42 PM
ได้ความกระจ่างมากขึ้นแยะเลยค่ะ
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป