ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

ผลดีต่อสุขภาพจากการปฏิบัติธรรม


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dhamma Bot

Dhamma Bot
  • Members
  • 477 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 15 November 2008 - 02:10 PM

ผลดีต่อสุขภาพจากการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย

โดย นิมิตแก้ว @ อักษรตะวัน

แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป มีการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยี ในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมไปก็ตาม แต่พระสัทธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ก็ยังคงความเป็น ”อกาลิโก” กล่าวคือ มีความทันสมัย และ ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ว่าจะเมื่อสองพันกว่าปีก่อน หรือ ในยุคปัจจุบันนี้ก็ตาม ความเป็นจริงของพระสัทธรรม ก็ยังจริงอยู่ไม่สร่าง อย่างเช่น การเจริญสมาธิภาวนา แม้ในปัจจุบัน ก็ยังมีผู้ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ และ ปฏิบัติ เป็นจำนวนมาก ทั้งอายุน้อย อายุมาก ทั้งยังไม่จำกัดเฉพาะชาวพุทธ ซึ่งพบมากในดินแดนสุวรรณภูมินี้เท่านั้น แต่ยังแผ่ขยายไปถึง ดินแดนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา เช่น อเมริกา หรือ ยุโรป เป็นต้น เพราะเหตุใด ผู้ที่ไม่ได้นับถือ พระพุทธศาสนาจึงมีความสนใจใน การเจริญสมาธิภาวนา ? แสดงว่าการเจริญสมาธิภาวนา ต้องมีผลดีอะไรที่ทำให้เขาสนใจ มีคนไม่น้อยที่สนใจเพราะเชื่อว่าทำให้สุขภาพดี แล้วสมาธิทำให้สุขภาพดีได้อย่างไร ? เราจะมาหาคำตอบกัน

เมื่อได้สอบถามผู้ฝึกปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนา ไม่ว่าจะเป็นสายใดก็ตาม ต่างก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า รู้สึกสุขสงบ หลายครั้งที่ใจมีความฟุ้งซ่าน เมื่อได้นั่งสมาธิแล้ว สามารถทำให้ใจสงบนิ่งลงได้ ในประเด็นนี้มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ โดยอ้างจากวารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา ฉบับวันที่ 8 พ.ย. 2547 ซึ่งได้ทดลองโดยการเปรียบเทียบคลื่นสมองของพระภิกษุที่มีประสบการณ์นั่งสมาธิมานานหลายสิบปี กับ นักศึกษาที่ไม่เคยมีประสบการณ์นั่งสมาธิมาก่อน และเพิ่งได้รับการอบรมเพียง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดลอง พบว่า ก่อนนั่งสมาธิ กลุ่มพระภิกษุมีคลื่นสมองแกมมา (เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงกับความจำ ระดับการเรียนรู้ ระดับสมาธิ และ การมองโลกในแง่ดี) อยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มนักศึกษา และ ระดับคลื่นสมองของพระภิกษุ จะสูงขึ้นขณะนั่งสมาธิ ซึ่งทางผู้วิจัยได้สรุปผลว่า "การปฏิบัติธรรมทำสมาธิแบบ พุทธศาสนามิใช่เพียงก่อให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีกับกระบวนการทำงานของสมองมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความเชื่อมโยงกับอารมณ์ทางด้านดีอีกด้วย อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า สมองมีการพัฒนาอย่างถาวรหากได้รับการปฏิบัติธรรมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แม้ปัจจัยทางด้านอายุ และ สุขภาพ อาจทำให้คลื่นสมองแกมมามีระดับแตกต่างกัน แต่ปัจจัยสำคัญที่สังเกตได้ชัด คือ จำนวนชั่วโมงของการปฏิบัติส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคลื่นสมอง "

จากงานวิจัยข้างต้น สามารถอธิบายถึงผลดีของการเจริญสมาธิภาวนาต่อสมอง ในเชิงรูปธรรม ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าว ใช้การฝึกสมาธิแบบทิเบต ซึ่งแม้จะเป็นการปฏิบัติสมาธิเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ลงรายละเอียดของระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ว่าจะมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรในกลุ่มภิกษุด้วยกัน จึงขอยกงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ที่ศึกษาในกลุ่มที่ปฏิบัติวิชชาธรรมกายโดยเฉพาะ ทำโดยอาจารย์ด็อกเตอร์ท่านหนึ่ง ซึ่งทางผู้วิจัยได้ให้เหตุผลว่า การปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกายนั้น พบว่า มีหลักฐานทางวิชาการที่เป็นเอกสารจำนวนมาก และ ชัดเจน อีกทั้งยังมีผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนแล้วได้ผลปฏิเวธ จนสามารถรู้และเข้าใจในหลักคำสอนของวิชชาธรรมกายเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน เอกสารและบุคคลดังกล่าว สามารถบรรยายหรืออธิบายได้อย่างชัดแจ้ง จนผู้ปฏิบัติแต่ละคนสามารถวัดผลการปฏิบัติธรรมของตนเองได้ตั้งแต่ระดับเริ่ม ต้น (หรือระดับพื้นฐาน) จนถึงกระทั่งการบรรลุนิพพาน

งานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาความฉลาดทางปัญญา (IQ) และ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ในกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับการสอนการนั่งสมาธิเพื่อเข้าถึงวิชชาธรรมกาย โดยผู้ทำวิจัยเอง นาน 30 นาทีต่อครั้ง จำนวน 8 ครั้ง (เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน) โดยเก็บข้อมูลทั้งก่อน และ หลังปฏิบัติ ในกลุ่มนักศึกษานี้ สามารถแบ่งกลุ่มตามผลการปฏิบัติได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จิตสงบเฉยๆ กลุ่มที่ได้ดวงปฐมมรรค กลุ่มที่ได้กายธรรมพระโสดาบัน กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอรหัต ผลของงานวิจัยพบว่า “ การปฏิบัติวิชชาธรรมกาย สามารถพัฒนาความฉลาดทางปัญญา และ ทางอารมณ์ได้จริงทุกองค์ประกอบ” ที่สำคัญก็คือ ในกลุ่มตัวอย่าง มีผู้นับถือศาสนาคริสต์อยู่ 1 คน ซึ่งก็สามารถเห็นดวงธรรม และ กายธรรมได้เช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่นๆ แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติวิชชาธรรมกายนับเป็นแนวทางสากล สามารถนำไปใช้ได้ดีกับทุกศาสนา

จากงานวิจัยเกี่ยวกับ IQ และ EQ ข้างต้น จะเห็นได้ว่า ผู้ใดที่ได้ฝึกสมาธิ แม้จะเป็นวิชชาธรรมกายหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถเพิ่มความฉลาดทางปัญญา และ อารมณ์ได้ ดังนั้น หากเราฝึกสอนการนั่งสมาธิให้กับเด็กๆ ก็จะทำให้เด็กมีสติปัญญาดีขึ้นได้ เรียนหนังสือได้ดี เพราะเนื่องจากมีสมาธิในการจดจ่อกับการเรียน การฟัง การทำงาน การอ่าน และ ยังสามารถจดจำความรู้ที่เล่าเรียนมาได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เด็กมีความสงบทางใจมากขึ้น เด็กค่อนข้างไร้เดียงสา ผ่านโลก ผ่านการปรุงแต่งมาน้อย จึงมีโอกาสที่ใจจะนิ่งและ เข้าถึงพระธรรมกายได้ง่าย อีกทั้งการฝึกวิชชาธรรมกายเมื่อจิตนิ่งดีแล้ว จะปรากฏดวงธรรม และ กายธรรม ทำให้เด็กมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้นิ่งให้สงบดียิ่งขึ้น และหากเด็กสามารถฝึกถึงขั้นที่ไปตรวจภพ ตรวจจักรวาล ตรวจสวรรค์ - นรกได้ ก็จะช่วยสอนเรื่องการทำบุญ รักษาศีล แผ่เมตตา สอนเรื่องนรกสวรรค์ ให้เข้าใจ ได้ง่ายขึ้น เพราะเด็กได้เห็นภาพมาแล้ว แม้ในเด็กกลุ่มสมาธิสั้น หรือ เด็กออทิสติก ก็สามารถฝึกสมาธิได้ และช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น โรคของเด็กก็จะทุเลาเบาบางลงได้เช่นกัน

สำหรับในคนสูงอายุ การเจริญสมาธิภาวนา จะช่วยทำให้มีสมาธิดี ไม่หลงไม่ลืมง่าย มีความจำที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้เจริญสมาธิภาวนา จะหลงๆลืมๆ ง่ายกว่า และที่สำคัญ การได้ทำสมาธิบ่อยๆจนเป็นนิสัย เมื่อใกล้จะเสียชีวิต จะมีสติ และ ระลึกถึงคุณงามความดีที่เคยสั่งสมมาได้ง่าย ทำให้เมื่อจะไปก็ ไปอย่างมีสติ หรือที่เรียกว่า ไม่หลงตาย

ถ้าพูดถึงโรคภัยไข้เจ็บ ก็คงไม่พ้นเรื่องของความเจ็บปวดที่สามารถพบได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็ง แม้ว่าการรักษาแผนปัจจุบัน จะสามารถรักษาเยียวยาได้ผลดี แต่ก็แค่ในกลุ่มที่ป่วยระยะแรก ถ้าป่วยในระยะท้ายของโรค กล่าวคือ มีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว การรักษาแผนปัจจุบันก็ช่วยไม่ได้ อย่างมากก็แค่ประคองอาการไปเท่านั้น ดังนั้นความเจ็บปวดจึงพบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เราอาจจะเคยได้ยินการฝึกสมาธิให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีความเจ็บปวดมาก ทั้งการฝึกในแนววิชชาธรรมกาย หรือ การฝึกแบบอานาปานัสสติ (กำหนดลมหายใจเข้าออก) พบว่าช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความสงบระงับจากความเจ็บปวดลงได้ และ ในรายที่จะเสียชีวิต ก็ทำให้ใจสงบ ผ่องใส และเกาะเกี่ยวอยู่ในบุญ เมื่อต้องไปก็ไปอย่างสงบไม่ทุกข์ทรมาน แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ยังทรงพระประชวร หลายต่อหลายครั้ง มีทุกข์เวทนาอย่างมาก ทรงเจริญสมาธิเพื่อข่มทุกขเวทนานั้นได้ แสดงถึงว่า สมาธิช่วยข่มความเจ็บปวดได้จริง

สำหรับวิชชาธรรมกายนั้น ก็สามารถระงับความเจ็บปวดได้ด้วยการเอาใจไปจรดไว้ที่ศูนย์กลางกาย ให้นิ่งสนิท ก็จะทำให้ไม่เจ็บ ยิ่งเข้าถึงกายในกาย ก็จะยิ่งไม่เจ็บ เหตุผลก็คือ การที่เราเจ็บ เพราะเราเอาใจไปสัมผัส ไปรับอาการที่เป็นอยู่ เช่น การที่เรามีบาดแผล แล้วรู้สึกเจ็บ ก็เพราะเราเอาใจไปรับรู้ที่แผล หากเราเอาใจไปอยู่ที่อื่น (ศูนย์กลางกาย) ก็จะไม่รับรู้ความเจ็บ แม้จะมีบาดแผลอยู่ก็ตาม ้

มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Neuroreport ช่วยสนับสนุนเป็นรูปธรรม โดยศึกษาในกลุ่มที่ได้ปฏิบัติสมาธิ กับ กลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ ให้จุ่มมือในน้ำอุ่นนาน 90 วินาที แล้วจุ่มใน น้ำร้อน 30 วินาที แล้วกลับไปจุ่มในน้ำอุ่นอีกครั้ง โดยขณะทดสอบ ได้ทำการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (Magnetic Resonance Image ; MRI ) ไปด้วย พบว่า สมองส่วนรับความเจ็บปวดของผู้ปฏิบัติสมาธินั้นมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติ ถึง 50% แม้ผู้ถูกทดลองทั้งสองกลุ่มจะให้คะแนนความเจ็บปวดคล้ายคลึงกัน แต่ความเจ็บปวดแบบที่ทดลอง กับ แบบที่ผู้ป่วยมะเร็งเจ็บปวด มีความแตกต่างกัน ทั้งระยะเวลา และ ลักษณะของความเจ็บปวด ผู้ป่วยมะเร็งต้องอยู่กับความเจ็บปวดนี้

แล้วสมาธิช่วยรักษาโรคได้หรือไม่ ?

ขอขยายความเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ สักเล็กน้อย โรคภัยไข้เจ็บนั้น แท้จริงก็เป็นวิบากกรรมของอกุศลกรรมที่เคยทำในอดีต ที่เกิดขึ้น ณ ธาตุละเอียดอยู่ตรงกลางของดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ ดังนั้น เมื่อเหตุปัจจัย (อันเกิดจากวิบากกรรม) นั้นให้ผลมาจากธาตุละเอียดอย่างไร ก็ปรากฏขึ้นทางกายตามเหตุปัจจัยนั้น มีบาปอกุศลอันเนื่องแต่กิเลสต่างๆ ให้ผลเป็นการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ ความวิบัติต่างๆ เป็นต้น ตามกรรมนั้นๆ ซึ่งสำหรับผู้ถึงธรรมกาย จะเห็นธาตุธรรมของผู้เจ็บป่วยนั้นมีความดำ สกปรก ฉะนั้น การแก้โรคต่างๆนั้น โดยหลักการ ผู้แก้ จะต้องชำระธาตุธรรมของตนให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ แล้วจึงน้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วย มาจรดที่ศูนย์กลางกายของตน แล้วชำระธาตุธรรมของเขาให้ใสบริสุทธิ์ หรือ จะอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุเครื่องธรรมจากตนไปสู่ผู้ป่วย แล้วให้เครื่องธาตุเครื่องธรรมนั้น เดินวิชชาให้ใสในธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้น ก็จะช่วยป้องกันตัวผู้แก้ติดโรคเอง

มีงานวิจัยอีกหลายงานที่ศึกษาพบว่า สมาธิ ช่วยบำบัดบางโรคได้ เช่น ช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคเครียดเรื้อรัง ที่รับการรักษาทางแผนปัจจุบัน ร่วมกับ การฝึกสมาธิ ก็พบว่า 40% ได้ผลดีหลังฝึกไปเป็นเวลา 3-18 เดือน อีกทั้งยังมีพบว่า ช่วยทำให้มีความอดทนต่อการออกกำลังกายดีขึ้น คลื่นหัวใจดีขึ้น ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด บางรายงานพบว่า ช่วยลดระดับไขมันในเลือด แม้จะไม่ได้คุมอาหาร และที่สำคัญ การฝึกสมาธิช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคลงได้ 14-50% เพราะไม่ต้องเจ็บป่วยบ่อย (แต่ก็คงต้องร่วมกับการดูแลสุขภาพ และ ไม่กินเหล้าสูบบุหรี่ )

นอกเหนือจากนั้น คนที่เจริญสมาธิภาวนาอยู่เป็นประจำ ร่วมกับ แผ่เมตตาบ่อยๆ จะมีผิวพรรณผ่องใส ดูสดชื่น สุขภาพจิตดี แจ่มใส ไม่โกรธง่าย สังเกตได้จากพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ล้วนแต่มีผิวพรรณวรรณะผ่องใส นอกจากบุญจากการรักษาศีลในอดีตแล้ว ก็เป็นผลจากการเจริญฌานสมาบัติอยู่เป็นประจำนี่เอง แม้ท่านเหล่านี้จะไม่ได้ฉันอาหารเลย ตลอดการเจริญนิโรธสมาบัติ ก็ไม่ทำให้ผิวพรรณท่านหม่นหมอง หรือ ซูบผอม เพราะท่านเสวยผลแห่งฌานนั้นเอง หรือ ที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “อิ่มในฌาน”

จริงอยู่ว่า การแพทย์ในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก สามารถรักษาโรคได้มากขึ้น แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ยังไม่สามารถรักษาได้ แต่สมาธิรักษาได้ โดยเฉพาะวิชชาธรรมกาย ซึ่งหากผู้ปฏิบัติสามารถฝึกจนถึงขั้นสูงได้ นอกจากจะใช้รักษาตนเองได้แล้ว ก็ยังรักษาผู้อื่นได้ด้วยเช่นกัน และแม้จะไม่ได้ใช้รักษาโรค ก็สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาใจตนเองได้ หากเปรียบการออกกำลังกายทำให้สุขภาพกายแข็งแรงแล้ว การออกกำลังจิตใจ ด้วยการปฏิบัติสมาธิ ย่อมทำให้สุขภาพจิตใจแข็งแรงเช่นกัน

แล้วเราจะยังไม่เริ่มปฏิบัติกันอีกหรือ ?

โดยสรุปแล้ว สมาธินั้น มีประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล ผู้ปฏิบัติย่อมได้ประโยชน์แก่ตน ดังพุทธดำรัสที่ว่า “สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง อีกทั้ง สามารถช่วยผู้อื่นให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยต่างๆได้ แม้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็สามารถแก้ไขได้ตามแต่เหตุปัจจัย โดยเฉพาะผู้เข้าถึงพระธรรมกายนั้น สามารถช่วยเหลือทั้งตนเอง และ ผู้อื่นได้ดียิ่ง ดังคำกล่าวของ พระเดชพระคุณหลวงปู่ว่า “ธรรมกายนั้นแหละคือที่พึ่งของสัตว์โลก” และ “ ธรรมกายคนหนึ่งช่วยคนได้ครึ่งเมือง ”


#2 kaikoolkung

kaikoolkung
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 November 2008 - 02:48 PM

สาธุ...ฮึดๆ เร่งปฎิบัติธรรมะ เร่งสปีดทำความเพียรกันดีกว่า

#3 บ่าวอุบล

บ่าวอุบล
  • Members
  • 632 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 November 2008 - 03:01 PM

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวก่อนตายว่า

" พลังสมาธิ เป็นพลังที่มีอำนาจที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก"

- ทำสมาธิเพียง 45 นาที จะเกิดกระแสไฟฟ้าในร่างกายสูงกว่าค่าที่วัดได้จากคลื่นหัวใจ (EKG) 10,000 เท่า และสูงกว่าคลื่นสมอง 100,000 เท่า

- คลื่นแสง (ซึ่งมีอานุภาพ phyton) มีความเร็ว 300,000 กม./วินาที เคยเชื่อกันว่ามีความเร็วสูงสุดในโลก แต่ปัจจุบันเชื่อว่า คลื่นสมองขณะมีสมาธิ เร็วกว่าแสง เพราะมีอานุภาพ trachyon เคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสง เพราะอนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้า (เป็นกลาง) ผ่านสนามแม่เหล็กได้

- ขณะที่ท่านเขียนหนังสือ หรือวาดภาพด้วยสมาธิจิต พลังสมาธิ จะเป็นพลังงานสถิต อยู่ในนั้นได้นานแสนนาน เช่น ตรวจพบ พลังงานสถิตบนภาพวาด ของลีโอนาโด ดาวินชี่ แม้เวลาผ่านไปเป็นศตวรรษแล้วก็ตาม

- พลังสมาธิ เป็นพลังงานที่ยิ่งใหญ่ เป็นมหาสมบัติทางธรรมชาติที่มีอยู่ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเรานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับสุขภาพ ความสงบเย็นเป็นสุข ความเจริญรุ่งเรือง และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตามที่เราปรารถนาได้อย่างมหัศจรรย์


#4 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 November 2008 - 04:57 PM

สาธุ...อนุโมทนา

#5 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 November 2008 - 05:01 PM

สาธุ ต้องขยันนั่งให้มากกว่านี้แล้วเรา..happy.gif

#6 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 06:57 AM

สาธุ ครับผม

#7 รักวัด

รักวัด
  • Members
  • 58 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 November 2008 - 08:46 AM

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับบทความที่ดีมากๆแบบนี้ ไม่ทราบว่ามีฉบับภาษาอังกฤษรึเปล่าคะ อยากให้เพื่อนชาวต่างชาติที่สนใจในเรื่องของสมาธิได้อ่านบ้าง

#8 Stupa

Stupa
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2008 - 10:32 AM

ผิวพรรณผ่องใส ดูสดชื่น สุขภาพจิตดี แจ่มใส ไม่โกรธง่าย

เห็นด้วยครับ

สาธุ สาธุ สาธุ
12345

#9 usr25687

usr25687
  • Members
  • 56 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 November 2008 - 01:14 PM

สาธุค่ะ

#10 usr26151

usr26151
  • Members
  • 24 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 November 2008 - 02:33 PM

สาธุค่ะ อ่านจบแล้ว จะไปนั่งสมาธิเลยหละกัน

#11 **ood**

**ood**
  • Guests

โพสต์เมื่อ 04 December 2010 - 09:11 AM

รักการนั่งสมาธิกันเถอะ Change theWorld!