ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

" พอ " จุดเริ่มต้นของความสุข


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 January 2009 - 11:21 AM

คำว่า " พอ " จุดเริ่มต้นของ ความสุข

File from FW Mail

แนบไฟล์  image001.jpg   18.86K   144 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image002.jpg   29.8K   152 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image003.jpg   24.33K   118 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image004.jpg   26.46K   125 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image005.jpg   21.78K   130 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image006.jpg   10.89K   130 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image007.jpg   17.03K   111 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image008.jpg   12.54K   126 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image009.jpg   21.9K   128 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image010.jpg   13.85K   110 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image011.jpg   17.74K   104 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image012.jpg   39.33K   110 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image013.jpg   19.14K   134 ดาวน์โหลด
แนบไฟล์  image014.jpg   11.92K   103 ดาวน์โหลด

*** ขอความกรุณาจากผู้ดูแลระบบ ช่วยแก้ไขคำผิด คำอธิบายกระทู้ ด้วยครับ
"รุตต์" / "รุตติ์"
" ชีวติ " / " ชีวิต"
อนุโมทนา ครับ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 January 2009 - 11:39 AM

คำว่า " พอ " ควรศึกษาเรื่อง สันโดษ เพิ่มเติมครับ

มงคลที่ ๒๔ มีความสันโดษ
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=9075

แม้ในเรื่องการฝึกฝนใจ ให้ หยุด นิ่ง เฉย
ความพอ ในสิ่งที่ตนเองทำได้
ก็สำคัญมากที่อุปการะ การพัฒนาใจเราให้สงบ สงัด ละเอียด ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่นกันครับ

เพราะหากเรา ไม่พอ ใจในสภาวะธรรมที่เราเข้าถึง
ความทะยานอยาก ก็จะทำให้ เรา หยุด ใจได้ยากครับ

มีกวีธรรมจาก คุณหิ่งห้อยน้อย
http://www.dhammathai.org/kaveedhamma
มาฝากครับ

สันโดษ คือ อะไร

สันโดษ” คือ อะไร ให้ช่วยคิด
สนฺตุฏฺฐี มงคลชีวิต ที่เลิศล้ำ
พระพุทธองค์ ทรงกล่าวไว้ ให้กระทำ
และน้อมนำ ธรรมนี้มา เข้าหาตน

สันโดษคือ ความยินดี ความพอใจ
ในปัจจัย ทั้งสี่ ที่ควรสน(ใจ)
ความพอใจ ในเครื่อง เลี้ยงชีพตน
ที่ขวนขวาย มากล้น ด้วยตนมา

ยถาลาภาสันโดษ

“กถาวัตถุ” องค์ที่สอง ครองสันโดษ
ไร้ซึ่งโทษ ใดใด ให้สิกขา
สันโดษใน สามประการ แห่งธัมมา
หนึ่ง ยถาลาภาสันโดษ งาม

คือเป็นผู้ สันโดษตาม ที่พึงได้
ดีหรือไม่ ก็พอใจ ไม่ครั่นคร้าม
ได้สิ่งใด ก็พอใจ สิ่งได้ตาม
จิตจึ่งงาม มิร้อนใจ ให้ชิงชัง

เพราะยินดี ในสิ่ง ที่ตนได้
มิว่าใช่ อยากได้ สิ่งที่หวัง
กระวนกระวาย เพราะหมายไว้ ใจจึงพัง
เมื่อสิ้นหวัง ความทุกเศร้า เคล้าทุกข์ใจ

ยถาพลสันโดษ

ยถาพลสันโดษ สอง มองให้ซึ้ง
สันโดษถึง กำลัง ของตนได้
อีกกำลัง ของทายก กำหนดไว้
คือพอใจ ตามกำลัง มิหวังเกิน

ได้สิ่งที่ เกินกำลัง จะมีได้
พึงน้อมให้ ผู้สมควร ควรสรรเสริญ
ไม่เก็บไว้ ไม่ครอบครอง ส่วนที่เกิน
จิตย่อมเจริญ ด้วยสันโดษ ไร้โทษเอย

ยถาสารุปปสันโดษ

ยถาสา รุปป สันตุฏฐี
สันโดษนี้ ตามภาวะ สมณะเผย
ตามสมควร แก่ฐานา พาจิตเสบย
นี่คือสิ่ง ที่ควรเผย ควรพูดจา

สามสันโดษ ควรยินดี ที่ในตน
เกิดสุขล้น มิดิ้นรน เพราะสิกขา
สันโดษใน ปัจจัยสี่ ที่น้อมมา
เป็นปัญญา สันโดษสิบสอง หมั่นตรองธรรมฯ

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 14 January 2009 - 11:50 AM

คำอธิบายคำว่า"สันโดษ"จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์
ฉบับประมวลธรรม เรียบเรียงโดยพระธรรมปิฏก(ป.อ.ปยุตโต)
ฉบับพิมพ์ครั้งที่๑๒(พ.ศ.๒๕๔๖) หน้า๑๒๒ มีคำอธิบายดังนี้

สันโดษ หมายถึง ความยินดี,ความพอใจ,ความยินดีด้วยของของตน
ซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียร โดยชอบธรรม,
ความยินดีด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้,ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ
(ที. อ1/253; ม.อ.2/188; อง.อ .1/81ขุททก.อ.159; อุ.อ.288; ฯลน.)

สันโดษ ๓ และ๑๒
(ความ ยินดี,ความพอใจ,ความยินดีด้วยของของตน
ซึ่งได้มาด้วยเรี่ยวแรงความเพียรโดย ชอบธรรม,ความยินดีด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้,
ความรู้จักอิ่มรู้จักพอ)... ประกอบด้วย

๑. ยถาลาภสันโดษ

(ยินดี ตามที่ได้,ยินดีตามที่พึงได้ คือตนได้สิ่งใดมา
หรือเพียรหาสิ่งใดมาได้ เมื่อเป็นสิ่งที่ตนพึงได้ ไม่ว่าจะหยาบหรือประณีตแค่ไหน
ก็ยินดีพอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่ติดใจอยากได้สิ่งอื่น ไม่เดือดร้อนกระวนกระวายเพราะสิ่งที่ตนไม่ได้
ไม่ปรารถนาสิ่งที่ตนไม่พึงได้หรือเกินไปกว่าที่ตนพึงได้โดยถูกต้องชอบธรรม
ไม่เพ่งเล็งปรารถนาของที่คนอื่นได้ ไม่ริษยาเขา)

๒.ยถาพลสันโดษ

(ยินดี ตามกำลัง คือ ยินดีแต่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและวิสัยแห่งการใช้สอยของตน
ไม่ยินดีอยากได้เกินกำลัง ตนมีหรือได้สิ่งใดมาอันไม่ถูกกับกำลังร่างกายหรือสุขภาพ
เช่น ภิกษุได้อาหารบิณฑบาตที่แสลงต่อโรคของต
หรือเกินกำลังการบริโภคใช้สอย ก็ไม่หวงแหนเสียดายเก็บไว้ให้เสียเปล่า
หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ยอมสละให้แก่ผู้อื่นที่จะใช้ได้
และรับหรือแลกเอาสิ่งที่ถูกโรคกับตนแต่เพียงที่พอแก่กำลังการบริโภคใช้สอย ของตน)

๓.ยถาสารุปปสันโดษ

(ยินดี ตามสมควร คือ ยินดีตามที่เหมาะสมกับตน อันสมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต
และจุดมุ่งหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน
เช่น ภิกษุไม่ปรารถนาสิ่งของอันไม่สมควรแก่สมณภาวะ หรือภิกษุบางรูปได้ปัจจัยสี่ที่มีค่ามาก
เห็นว่าเป็นสิ่งสมควรแก่ท่านผู้ทรงคุณสมบัติน่านับถือ ก็นำไปมอบให้แก่ท่านผู้นั้น
ตนเองใช้แต่สิ่งอันพอประมาณ หรือภิกษุบางรูปกำลังประพฤติวัตรขัดเกลาตน
ได้ของประณีตมา ก็สละให้แก่เพื่อนภิกษุรูปอื่นๆ ตนเองเลือกหาของปอนๆมาใช้
หรือตนเองมีโอกาสจะได้ลาภอย่างหนึ่ง

แต่รู้ว่าสิ่งนั้นเหมาะสมหรือเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อื่นที่เชี่ยวชาญถนัด สามารถด้านนั้น
ก็สละให้ลาภถึงแก่ท่านผู้นั้น ตนรับเอาแต่สิ่งที่เหมาะสมกับตน)

สันโดษ๓นี้เป็นไปในปัจจัย๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า"สันโดษ ๑๒"

อนึ่ง สันโดษ๓นี้เป็นคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์
ซึ่งมุ่งแสดงข้อปฏิบัติของพระภิกษุโดยเฉพาะ
ปรากฏในอรรถกถาและฎีกามากมายไม่น้อยกว่า ๑๐แห่ง
คฤหัสถ์พึงพิจารณาประพฤติปฏิบัติตามสมควร

http://gotoknow.org/...mma-study/61899
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#4 น้ำใส

น้ำใส
  • Members
  • 778 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 14 January 2009 - 01:15 PM

ขอบคุณที่นำ บทความดี ๆ ที่อ่านแล้วสบายใจมาให้ได้อ่านกันค่ะ



เหมือนดอกบัวทะยานตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ เปิดกลีบรับแสงตะวันธรรม

น้อมนำสู่วิถีอันดีงาม