ธรรม 10 ประการ
#1
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 10:27 AM
#2
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 11:54 AM
ทานํ สลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญจ อวิโรธนํ
ทศพิธราชธรรม จงจดจำและทำตาม
เหนือเกล้าชาวสยาม ธรรมราชามหาชน
ทานัง คือการให้ ดุจน้ำไหลทุกแห่งหน
ดินดอนแล้งร้อนรน น้ำซึมซาบเอิบอาบดิน
สีลัง คือสังวร ศีลพระสอนทุกสิ่งสิ้น
ตำรวจตรวจบุรินทร์ แล่นไล่ล่าโจรทารุณ
ปริจจาคัง คือจาคะ ดุจผู้ชนะใจเกื้อหนุน
เก็บตักไม่กักตุน สละกิเลสเศษอารมณ์
อาชวัง คือซื่อตรง ดุจเสาธงกลางสายลม
พัดโบกไม่โยกล้ม ด้วยปักแน่นเหนือแผ่นดิน
มัททวัง คืออ่อนโยน เด็จเห็ดโคนมิราคิน
อ่อนเพื่อเกื้อทำกิน แม้อยู่ต่ำเป็นธรรมดา
ตปัง คือเผากิเลส ดุจเตาพิเศษมีคุณค่า
อบรมบ่มวิญญา ไม่หลงสุขสนุกสบาย
อักโกธัง คือยั้งโกรธ ดุจช้างโปรดชวนปีนป่าย
ไม่ตกมันอันตราย ง่ายควบคุมไม่รุ่มร้อน
อวิหิงสัง คือบังเหียน ไม่เบียดเบียดทั่วทุกบ่อน
กายใจไม่สัญจร กระทบกระทั่งระวังชีวิต
ขันติ คืออดทน ดุจภูวดลใจบัณฑิต
หนักแน่นไม่น้อยนิด รับทุกเรื่องไม่เปลืองแรง
อวิโรธนัง คือไม่คลาด- ธรรมอำนาจมิหน่ายแหนง
ดุจนักธนูผู้มีแรง ยิงถูกที่ด้วยฝีมือ
ทศพิธราชธรรม คือ น่าน้อมนำมาฝึกปรือ
#3
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 03:44 PM
#4
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 07:28 PM
#5
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 09:49 PM
#6
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 09:41 AM
#7
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 10:11 AM
เหมือนดอกบัวทะยานตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ เปิดกลีบรับแสงตะวันธรรม
น้อมนำสู่วิถีอันดีงาม
#8
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 11:59 AM
ทศพิธราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม 10
คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์
หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง
ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี
ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น
บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้
ทศพิธราชธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ราชธรรม 10" นี้
ปรากฏอยู่ในพระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก ปรากฏพระคาถา ดังนี้
ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.
ขุ.ชา.28/240/86
ทศพิธราชธรรมทั้ง 10 ประการ ดังนี้
ทาน (ทานํ)
การให้ หมายถึงการให้ การเสียสละ นอกจากเสียสละทรัพย์สิ่งของแล้ว ยังหมายถึงการให้น้ำใจแก่ผู้อื่นด้วย
ศีล (ศีลํ)
คือความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา และใจ ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา
บริจาค (ปริจาคํ)
คือ การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
ความซื่อตรง (อาชชวํ)
คือ ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
ความอ่อนโยน (มัททวํ)
คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า
ความเพียร (ตปํ)
มีความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความเกียจคร้าน
ความไม่โกรธ (อกฺโกธ)
หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
ความไม่เบียดเบียน (อวีหึสา)
การไม่เบียดเบียน หรือบีบคั้น ไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
ความอดทน (ขันติ)
การมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย
ความยุติธรรม (อวิโรธนํ)
ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่เอนเอียงหวั่นไหวด้วยคำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ
ที่มา http://th.wikipedia.org
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#9
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 12:18 PM
#10
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 03:33 PM
#11
โพสต์เมื่อ 23 January 2009 - 12:25 PM
#12
โพสต์เมื่อ 25 January 2009 - 01:57 AM
#13
โพสต์เมื่อ 27 January 2009 - 05:31 PM