ทำไมภิกษุณี ห้ามฉันท์ กระเทียม ครับ
#1
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 09:29 PM
แล้วของที่ โยม เอามาไส่ ก็มักมีกระเทียมลงไปปน ด้วย โดยเฉพาะในเมืองไทย
แบบนี้ฉันท์ไปไม่ผิดพระธรรมวินัย เหรอ
#2
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 10:21 PM
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๔๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งได้ปวารณากระเทียมไว้แก่ภิกษุณีสงฆ์ว่า แม่เจ้าเหล่าใดต้องการกระเทียม กระผมขอปวารณา. และยังได้สั่งคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า ถ้าภิกษุณีทั้งหลายมาขอ จงถวายท่านไปรูปละ ๒-๓ กำ.
ก็สมัยนั้นแล ในเมืองสาวัตถีกำลังมีงานมหรสพ. กระเทียมเท่าที่เขานำมาขายได้หมด ขาดคราว. ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาอุบาสกคนนั้น แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า อาวุโส พวกอาตมาต้องการกระเทียม
อุบาสกกล่าวว่า ไม่มี เจ้าข้า กระเทียมเท่าที่นำมาแล้วหมด ขาดคราว ขอท่านทั้งหลายได้โปรดไปที่ไร่
ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปที่ไร่ ขนกระเทียมไปมาก ไม่รู้จักประมาณ. คนเฝ้าไร่จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายไปถึงไร่แล้วจึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมายเล่า.
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเฝ้าไร่เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเอาไปมากมายเล่า.
ทรงสอบถามพระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทาไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมไปมากมาย จริงหรือ?
ภิกษุณีทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้าทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ไม่รู้จักประมาณ ขนกระเทียมเขาไปมากมาย การกระทำของนางนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของนางนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
[๑๔๘] พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ทรงกระทำธรรมมีกถาอันสมควรแก่เรื่องนั้น อันเหมาะสมแก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วตรัสเล่ากะภิกษุทั้งหลายว่า
เรื่องหงส์ทอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้เคยเป็นปชาบดีของพราหมณ์คนหนึ่ง มีธิดา ๓ คน ชื่อนันทา ๑ นันทวดี ๑ สุนทรีนันทา ๑ ครั้นพราหมณ์สามีทำลายขันธ์ไปบังเกิดในกำเนิดหงส์ตระกูลหนึ่ง มีขนเป็นทองทั้งตัว หงส์นั้นสลัดขนให้แก่สตรีเหล่านั้น
คนละขน แต่ภิกษุณีถุลลนันทาคิดว่า หงส์ตัวนี้สลัดขนให้แก่พวกเราคนละขนเท่านั้น แล้วได้จับพระยาหงส์นั้นถอนขนจนเกลี้ยง ขนพระยาหงส์นั้นที่งอกใหม่ได้กลายเป็นสีขาวไป.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นภิกษุณีถุลลนันทาได้เสื่อมจากทองเพราะความโลภจัด มาบัดนี้เสื่อมจากกระเทียม.
[๑๔๙] ได้สิ่งใดแล้ว ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น เพราะความโลภจัดเป็นเหตุให้เสื่อม เหมือนภิกษุณีถุลลนันทาจับพระยาหงส์ถอนขนแล้ว เสื่อมจากทองฉะนั้น.
[๑๕๐] พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุณีถุลลนันทา โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ... ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๕๖. ๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณีที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.ที่ชื่อว่า กระเทียม ได้แก่ กระเทียมที่เขาเรียกกันว่าเกิดในแคว้นมคธ. ภิกษุณีรับประเคนด้วยหมายใจว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๑๕๒] กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่กระเทียม ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่ากระเทียม ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่กระเทียม ภิกษุณีสำคัญว่า ไม่ใช่กระเทียม ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๑๕๓] กระเทียมเหลือง ๑ กระเทียมแดง ๑ กระเทียมเขียว ๑ กระเทียม
ต้นไม่มีเยื่อ ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกง ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในเนื้อ ๑ กระเทียมเจียว
น้ำมัน ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในน้ำพุทรา ๑ กระเทียมที่ปรุงลงในแกงอ่อม ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
#3
โพสต์เมื่อ 21 January 2009 - 11:13 PM
#5
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 09:17 AM
#6
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 09:29 AM
#7
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 09:36 AM
แล้วของที่ โยม เอามาไส่ ก็มักมีกระเทียมลงไปปน ด้วย โดยเฉพาะในเมืองไทย
แบบนี้ฉันท์ไปไม่ผิดพระธรรมวินัย เหรอ
เลยไปค้นข้อมูล กกี่ยวกับการบวช ภิกษุณี http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=2735
และจากบทความเกี่ยวกับภิกษุณีประเทศอื่นๆ http://www.oknation....nt.php?id=79779
ทั้งนี้มีเรื่องสิกขาบทก่อนที่พุทธองค์จะอนุญาตให้มีการบวช ภิกษุณี จึงเข้าใจว่าจะไม่มีภิกษุณีในประเทศไทย
เรียนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
#8
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 10:01 AM
#9
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 10:12 AM
ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑
ความหมาย
[ฉันทะ] น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคํา ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. (ป.).
ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ
ความหมาย
น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิดความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
ฉัน ๑
ความหมาย
ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ฉัน ๒
ความหมาย
ก. กิน (ใช้แก่ภิกษุสามเณร).
ฉัน ๓
ความหมาย
ว. เสมอเหมือน, เช่น, อย่าง, เช่น ฉันญาติ.
ฉัน ๔
ความหมาย
ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่งออกไป, เช่น พระสุริฉัน.
#10
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 10:30 AM
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#11
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 10:32 AM
นี่น้ำใสก็ใช้คำว่า ฉัน ผิดไปหลายครั้งแล้ว ก็กราบขออภัยทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ค่ะ
ต่อไปต้องระมัดระวังมากกว่านี้แล้ว ขอบคุณคุณทัพพีในหม้อ ผู้ใจดี อีกครั้งค่ะ
เหมือนดอกบัวทะยานตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ เปิดกลีบรับแสงตะวันธรรม
น้อมนำสู่วิถีอันดีงาม
#12
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 12:16 PM
#13
โพสต์เมื่อ 22 January 2009 - 03:48 PM
#14
โพสต์เมื่อ 23 January 2009 - 02:17 PM
แบบนี้ฉันท์ไปไม่ผิดพระธรรมวินัย เหรอ
หากเป็นของที่ผ่านการปรุงมาแล้วจนไม่เหลือสภาพความเป็นกระเทียมไม่ถือว่าเป็นอาบัติครับ
อันนี้ไม่ทราบนะ ผมทราบแต่ว่ากระเทียม หัวหอม ขิง ข่า (จำได้เท่านี้อ่ะ - -" ) จัดเป็นสมุนไพรประเภทหนึ่ง ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อจุกเสียดแน่นท้องและระบายลมได้เป็นอย่างดี และยังช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดลมดีขึ้นด้วยครับ(หรือเป็นเพราะเลือดลมดีขึ้นหว่า เลยทำให้คึกคัก - -" ) สมัยก่อนผู้ที่เป็นโรคลม ที่เรียกกันว่า ลมตีขึ้น ทำนองนี้อ่ะ เขาจะใช้ของเหล่านี้ช่วยในการรักษาครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#15
โพสต์เมื่อ 24 January 2009 - 09:31 AM
#16
โพสต์เมื่อ 26 January 2009 - 10:45 AM
เท่าที่จำได้ อ่านมาหลายปีแล้ว เพราะ ภิกษุณีท่านหนึ่งนั่งฉันกระเทียมขณะที่นั่งฟังพระองค์กำลังเทศนา จึงกลัวว่าท่านอื่นจะเหม็นกระเทียม จึงออกไปนั่งไกลจากกลุ่ม และเป็นการไม่เคารพในการฟังธรรม และทราบว่าที่นั่งไกลเพราะนั่งฉันกระเทียม พระองค์จึงตรัสห้ามฉันกระเทียม