ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

ความผูกพัน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 February 2009 - 11:19 AM

ในเมื่อคนเราเกิดมาไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้

จึงต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่นอยู่เสมอ จนมีความผูกพันเกิดขึ้นมากมาย

แต่ทว่า..ความผูกพันนั้น น่าจะเป็นสิ่งดี เพราะก่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

แต่เราก็ไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นอะไรให้มากเกินไป เพราะความผูกพันที่มากจนเกินไปจะเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงธรรม

ทำให้ใจเรามีห่วง มีกังวล เป็นทุกข์ เราจึงควรทำความรู้สึกว่า คน สัตว์ สิ่งของ ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้

เป็นเพียงอุปกรณ์ในการสร้างบารมีเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและอยู่กับเราแค่เพียงชั่วคราว

ด้วยเหตุนี้..ในแต่ละวัน เราควรมีเวลาในการตรองว่า เราไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นอะไรให้มาก

แม้กระทั่งร่างกายของเราเอง พอหมดเวลาเราก็ต้องละทิ้งมันไป

เมื่อทำใจคิดอย่างนี้แล้ว ใจจะสบาย..เป็นอิสระ เวลาผิดหวังเกิดทุกข์ ทุกข์ก็จะดับเร็ว

เวลาทำสมาธิ ใจจะรวมได้ง่าย และมีโอกาสในการเข้าถึงธรรมได้เร็ว

ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงเลือกที่จะผูกพันโดยการนำใจมาผูกไว้กับศูนย์กลางกาย พันไว้กับธรรมะภายใน

ความผูกพันอย่างนี้จะทำให้เรามีอิสระอันไม่มีประมาณ และเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริง

#2 kasaporn

kasaporn
  • Members
  • 870 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 February 2009 - 01:26 PM

จริงด้วยค่ะ ยิ่งผูกพันมากยิ่งมีห่วงกังวล ในมงคลชีวิตถึงได้บอกไว้ว่าการประพฤติหรหมจรรย์เป็นมงคลอย่างยิ่ง

คนทางโลกส่วนมากมักไม่ค่อยเข้าใจ เห็นว่าคนไปวัด นั่งสมาธิคือพวกที่อกหัก รักคุด หมดอาลัยตายอยากในชีวิต

#3 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 February 2009 - 02:18 PM

สาธุขอนุโมทนาบุญด้วยในธรรมะบทนี้สาธุ

#4 เดือนฉายงามแสง

เดือนฉายงามแสง
  • Members
  • 214 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 February 2009 - 02:19 PM

ผ่อนคลาย นิ่ง ๆ ใส ๆ สบาย ๆ ดีสุดค่ะ


#5 ปฏิปทา 072

ปฏิปทา 072

    ขอชื่อ ที่ถูกต้อง ปฏิปทา 072 THANIDA KOIKE

  • Members
  • 1358 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 February 2009 - 02:36 PM

ชีวิตนี้อยู่ได้ ด้วยสมาธิ กับการปล่อยวาง เท่านั้น ถึงจะรู้ว่าอะไร คือความสุข ที่อยู่ในศุนบ์ กลางกายเราได้ ค่ะ

และก็ ขออนุโมทนาบุญ กับคุณ.สุภาพบุรุษ 072 ที่เอาธรรมะดีๆ มาให้อ่านและก็เอามาปฏิบัติได้ ทุกๆวันค่ะ สาธุ

#6 Killy

Killy
  • Members
  • 8 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 February 2009 - 08:36 PM

สาธุ~
เห็นด้วยมากๆครับว่าเราต้องไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆก็ตามที่เข้ามา
ซึ่งมันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

หากมีสุขก็อย่าไปมัวเมาอยู่กับความสุขนั้น
หากมีทุกข์ก็อย่ามัวไปจมอยู่กับทุกข์นั้น

อย่างไรก็ตามเราก็ไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกได้นะครับ
เราจำเป็นจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันเสมอ

ขอให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเถอะครับ
แต่ก็อย่าไปยึดติดกับความสัมพันธ์เหล่านั้นมากจนเกินไปจนทำให้ใจเราทุกข์

ขอเสริมนิดนะครับ ในความคิดผมนั้นไม่เห็นด้วยกับคำพูดประโยคสุดท้ายที่ว่า

"ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงเลือกที่จะผูกพันโดยการนำใจมาผูกไว้กับศูนย์กลางกาย พันไว้กับธรรมะภายใน
การผูกพันอย่างนี้จะทำให้เรามีอิสระอันไม่มีประมาณ และเป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นอย่างแท้จริง"

เพราะหากใจเราไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนๆก็เป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นทั้งนั้นครับ
ไม่จำเป็นจะต้องผูกใจไว้กับศูนย์กลางกายตลอดเวลา
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับจิตทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับลมหายใจ
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับท้องว่ายุบหนอพองหนอ
ดังนั้นในความคิดของผมการฝึกเพื่อหลุดพ้นสามารถทำได้โดยไม่เลือกวิธีครับขึ้นอยู่กับต้วผู้ปฏิบัติเอง

^-^

#7 เพชรจักรพรรดิ

เพชรจักรพรรดิ
  • Members
  • 27 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 February 2009 - 07:16 PM

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ
เพราะธาตุธรรมส่งสั่งลงมาเกิด เพราะหน้าที่อันประเสริฐทหารกล้า
เพราะรื้อสัตว์ขนสัตว์นับคณา เพราะมารายังบัญชาเบื้องหลังเรา

#8 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 February 2009 - 12:38 PM

การไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นสิ่งที่ทางพระพุทธศาสนาได้สอนไว้ไม่ให้ยึดติดในความไม่เที่ยง เพราะเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังที่คุณKillyกล่าวว่า
''หากใจเราไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆแล้ว ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนๆก็เป็นหนทางแห่งความหลุดพ้นทั้งนั้นครับ...การฝึกเพื่อหลุดพ้นสามารถทำได้โดยไม่เลือกวิธีครับขึ้นอยู่กับต้วผู้ปฏิบัติเอง''

ผมว่าถ้าการฝึกหลุดพ้นโดยไม่เลือกวิธีขึ้นอยู่กับผู้ปฎิบัติเองนั้น
ถ้าผู้ปฎิบัตินั้นฝึกใจเพื่อความหลุดพ้นกระทำอย่างไม่ถูกหลักวิธีฉันใด
ก็เสมือนกับเรือแล่นอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่อันปราศจากหางเสือหรือมีหางเสือแล้วแต่ชี้ไปไม่ถูกทิศทาง
เมื่อพายุพัดโหมกระหน่ำมา ก็ไม่สามารถที่จะนำเรือนั้นเข้าสู่ฝั่งได้ฉันนั้น
ตราบใดที่ยังไม่ขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น ก็ย่อมยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทะเลแห่งทุกข์นี้ คือวัฎสงสาร
ซึ่งการหลุดพ้นโดยไม่ต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตายอีกนั้น
เราก็ต้องรู้วิธีการปฎิบัติโดยเลือกวิธีที่ถูกต้องที่จะนำพาไปสู่ความหลุดพ้นอย่างแท้จริง

ซึ่งในทางปฎิบัตินั้น อย่างที่คุณKillyกล่าวไว้ว่า
''ไม่จำเป็นจะต้องผูกใจไว้กับศูนย์กลางกายตลอดเวลา
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับจิตทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับลมหายใจ
บางคนอาจถนัดผูกใจไว้กับท้องว่ายุบหนอพองหนอ''
ผมว่าทุกวิธีล้วนดีทั้งนั้นครับและในการเจริญสมาธิทุกวิธีนั้น เมื่อใจหยุดถูกส่วนก็จะมาอยู่ที่กลางกายอันเป็นที่ตั้งของใจ แล้วเกิดเป็นสภาวะธรรมขึ้นที่กลางกายอันเป็นที่ตั้งของ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
ซึ่งในเรื่องของสมาธินั้น พระเดชพระคุณหลวงปู่สด จนฺทสโร
ได้กล่าวไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง สมาธิเบื้ื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง (28 กุมภาพันธุ์ 2497)ว่า
''สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้
สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอก แล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างใน
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

สมาธินอกพระพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนานั่นกสิณ10 อศุภะ10
อนุสติ10 เป็น30แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัตถานเป็น32นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ

ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น

ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุด ถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้าก็เข้ากลางของหยุดนั่น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วาหนาคืบหนึ่ง กลม เป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วาหนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้น''
โดยพระเดชพระคุณหลวงปู่สด จนฺทสโร ได้กล่าวสรุปไว้ในพระธรรมเทศนาเรื่อง ปัพพโตปมคาถา (28 มีนาคม 2497)ว่า
''เมื่อจรดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลย
นั่นแหละถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา''

ส่วนความหมายข้างต้นที่ผมได้กล่าวสรุปไว้ตอนท้ายนั้น คือ การนำใจมาไว้อยู่ภายในตัวอันเป็นทางให้เกิดสมาธิ ปัญญา ในหนทางสายกลาง(มัชฌิมา ปฎิปทา)
ซึ่งจะนำไปสู่ความรู้ภายในอันไม่มีประมาณ(พระไตรปิฎกในตัวและใบไม้ในป่า)
และสามารถขจัดกิเลสอาสวะที่ห่อหุ้มใจได้เป็นชั้นๆ(สังโยชน์เบื้องต่ำ,สังโยชน์เบื้องสูง)
จนกระทั่งขจัดจากกิเลสอาสวะอันเป็นหนทางสู่ความหลุดพ้น(จากภพสามซึ่งเป็นที่คุมขังของสรรพสัตว์ทั้งหลาย)
ซึ่งการนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายนั้น คือสิ่งจำเป็นที่สุดในชีวิตของการมาเกิดเป็นมนุษย์ครับ เพราะที่ศูนย์กลางกายเป็นที่ตั้งถาวรของใจ ซึ่งมีดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานสถิตย์อยู่ ณ กลางกาย อันเป็นทางเบื้องต้นสู่มรรคผลนิพพาน

#9 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 February 2009 - 01:49 AM

สาธุ ครับผม

#10 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 10 February 2009 - 02:56 PM

ความจริง คำพูดของคุณ killy นั้น ยังต้องปรับเรื่องความเหมาะสมของการนำเสนออยู่นะครับ

คือ หากไปนำเสนอเช่นนี้ ที่พุทธมณฑล หรือ ที่สาธารณะที่ใดที่หนึ่ง ที่มีผู้ฝึกปฏิบัติที่มาจากหลากหลายสำนักซึ่งล้วนสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา ตามความถนัดของตน การพูดเช่นนี้ย่อมเหมาะสมว่า วิธีไหนก็ได้ ที่ถูกต้องและเหมาะกับจริต

แต่หากนำไปพูดกับสำนักใดสำนักหนึ่งโดยเฉพาะ ผมว่าออกจะผิดกาลเทศะไปน่ะครับ
สมมุติคุณ killy เดินไปเข้าสำนักที่เน้นลมหายใจ แล้วอยู่ๆ ก็พูดขึ้นว่า อย่าไปสอนให้เน้นแต่ลมหายใจสิ จะเน้นสติ หรือ ยุบหนอพองหนอก็ถูกต้องทั้งนั้น คุณ killy คิดว่า พูดเช่นนี้เหมาะหรือเปล่าครับ

ตอบเลยว่า ไม่เหมาะ เพราะผู้ที่ฝึกมานานในสำนักนั้นๆ ย่อมจะรู้สึกว่า ผู้พูดไม่รู้จักกาละและเทศะ ส่วนผู้ฝึกใหม่ของสำนักนั้นๆ อาจไขว้เขวไปเลยก็ได้ แทนที่จะก้าวหน้า กลับทำให้คนใหม่ต้องถอยหลังแทน เป็นต้น

องค์ประกอบของวาจาสุภาิษิต
ภิกษุทั้งหลาย วาจาใดไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ไม่มีเจตนาดี ไม่ไพเราะ ตถาคตไม่พูดวาจานั้น
ภิกษุทั้งหลาย วาจาใดจริง มีประโยชน์ มีเจตนาดี ไพเราะ ตถาคตรู้กาล(เทศะ)ที่จะพูดวาจานั้น
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร