ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอความกรุณา ช่วยแปล ธรรมะ เป็นภาษาอังกฤษ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ครูผู้นำแสงสว่าง

ครูผู้นำแสงสว่าง
  • Members
  • 88 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 February 2009 - 09:58 AM

ขอความกรุณาท่านที่เก่งภาษา

ช่วยอธิบายรายละเอียด พร้อมแปล ธรรมะ เป็นภาษาอังกฤษ

ขออธิบายทั้งภาคภาษาไทย และภาษาอังกฤษนะค่ะ

หัวข้อธรรม

1.การเดินจงกรม 6 ระยะ

2.อริยสัจ 4

3.โอวาท 3

4.สังคหวัตถุ 4

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ



#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 16 February 2009 - 11:24 AM

ไม่ได้เก่งภาษา นะครับ
พอดีเคยเจอข้อมูลเหล่านี้บ้าง

ในระหว่างรอท่านอื่นมาตอบ
ขอนำข้อมูลมาฝากให้ศึกษา ก่อนนะครับ

อริยสัจ ๔
(ความจริงอันประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
- The Four Noble Truths)

๑. ทุกข์
(ความทุกข์, สภาพที่ทนได้ยาก, สภาวะที่บีบคั้น ขัดแย้ง บกพร่อง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้ ไม่ให้ความพึงพอใจแท้จริง,
ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง
โดยย่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
- suffering; unsatisfactoriness)

๒. ทุกขสมุทัย
(เหตุเกิดแห่งทุกข์, สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
- the cause of suffering; origin of suffering)

๓. ทุกขนิโรธ
(ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป, ภาวะที่เข้าถึงเมื่อกำจัดอวิชชา สำรอกตัณหาสิ้นแล้ว
ไม่ถูกต้อง ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ คือนิพพาน
- the cessation of suffering; extinction of suffering)

๔. ทุกขนิโรธคามีนิปฏิปทา
(ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์, ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง มรรคมีองค์ ๘ นี้
สรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
- the path leading to the cessation of suffering)

อริยสัจ ๔ นี้ เรียกกันสั้นๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การแสดงอริยสัจ ๔ นี้
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามุกกังสิกา ธรรมเทศนา (เช่น องฺ.อฏฺก.๒๓/๑๐๒/๑๙๐)
แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงหยิบยกขึ้นถือเอาไว้ด้วยพระองค์เอง คือ
ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (= ตรัสรู้เอง) ไม่สาธารณะแก่ผู้อื่น
(แต่ตามที่อธิบายกันมา มักแปลว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง
โดยไม่ต้องปรารภคำถามหรือการทูลขอร้องของผู้ฟัง อย่างการแสดงธรรมเรื่องอื่นๆ;
ความจริง จะแปลว่า พระธรรมเทศนาขั้นสุดยอดก็ได้
ซึ่งสมกับเป็นเรื่องที่ทรงแสดงท้ายสุดต่อจาก อนุปุพพิกถา ๕ คำแปลอย่างหลังนี้
พึงเทียบ องฺ.ทสก.๒๔/๙๕/๒๐๘)
ดู (๒๐๘) ขันธ์ ๕; (๗๓) ตัณหา ๓; (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘ (๑๒๓) สิกขา ๓.
Vin.I.9; S.V.421; Vbh.99
วินย.๔/๑๔/๑๘; สํ.ม.๑๙/๑๖๖๕/๕๒๘; อภิ.วิ.๓๕/๑๔๕/๑๒๗

http://www.84000.org..._item.php?i=204

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


ถ้าสนใจศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ ธรรมะเรื่อง อริสัจ ๔
ลองค้นหากับอาจารย์กูฯ ด้วยคำค้น
อริยสัจ ๔ / the four noble truths
ก็จะเจอแหล่งข้อมูล ครับ

QUOTE
พุทธโอวาท ๓
(ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ๓ ข้อ
— the Three Admonitions or Exhortations of the Buddha)

๑. สพฺพปาปสฺส อกรณํ (ไม่ทำความชั่วทั้งปวง — not to do any evil)

๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา (ทำแต่ความดี — to do good; to cultivate good)

๓. สจิตฺตปริโยทปนํ (ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ — to purify the mind)

หลัก ๓ ข้อนี้ รวมอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญ เดือน ๓ ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา
D.II.49; Dh.183 ที.ม.๑๐/๕๔/๕๗; ขุ.ธ.๒๕/๒๔/๓๙.

http://www.84000.org...d_item.php?i=97

ควรศึกษาเพิ่มเติม ในโอวาทปาฏิโมกข์ ครับ


สังคหวัตถุ ๔
(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์
- bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service;
virtues making for group integration and leadership)


๑. ทาน
(การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน
- giving; generosity; charity)

๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ
(วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี
ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม
- kindly speech; convincing speech)

๓. อัตถจริยา
(การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม
- useful conduct; rendering services; life of service; doing good)

๔. สมานัตตตา
(ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์
โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม
ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
- even and equal treatment; equality consisting in impartiality,
participation and behaving oneself properly in all circumstances)

ดู (๑๑) ทาน ๒; (๒๒๑) พละ ๔.
D.III.152,232; A.II.32,248; A.IV.218.363.
ที.ปา.๑๑/๑๔๐/๑๖๗; ๒๖๗/๒๔๔; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๓๒/๔๒; ๒๕๖/๓๓๕;
องฺ.อฏฺฐก.๒๓/๑๑๔/๒๒๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๐๙/๓๗๗.

http://www.84000.org..._item.php?i=186


ส่วนเรื่อง เดินจงกรม ไม่ทราบครับ
พอค้นข้อมูลได้เล็กน้อย ภาคภาษาไทย คือ

บทความของ อ. สยาม ราชวัตร

QUOTE
“จงกรม”
ศัพทเดิมจากภาษาสันสกฤต แตศัพทภาษาบาลีจริงๆ มาจากคําวา “จงฺกม”

ไทยเรานิยมพูดติดรากศัพทในภาษาสันสกฤตวา “จงกรม”
แตคําวา “กรม” ในที่นี้ไมไดหมายความ
วาการเดินเวียนเปนวงกลม “จงกรม”
ในที่นี้หมายถึงการกาวไป มาจาก กม ธาตุ มีความหมาย
วา ความกาวไป กาวในที่นี้ หมายถึง การไปโดยมีสติกํากับทุกอิริยาบถ

พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต) ไดใหคําอธิบายไวในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับ
ประมวลศัพทวา “ จงกรม คือ เดินไปโดยมีสติกํากับ”๑

ในพระบาลี การเดินจงกรมและการมีสติกําหนดรูตัวอยูเสมอเชนนี้ เปนวิธีปฏิบัติตามสติ
ปฏฐานสูตรในอิริยาปถปพพะ กายานุปสสนาสติปฏฐานที่วา “เมื่อเดินอยูก็รูวาเดินอยู” (คจฺฉนฺโตวา คจฺฉามีติ ปชานาติ) หรือวา “เมื่อยืนอยูก็รูวายืนอยู” (ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ)๒ และเมื่อ
กลับพรอมกับกําหนดรูตัวอยูเสมอ ก็เปนการปฏิบัติตามในสัมปชัญญปพพะ กายานุปสสนาสติปฏ
ฐานแหงสติปฏฐานสูตรที่วา “เปนผูทําความรูตัวอยูเสมอในการกาวกลับหลัง” (ปฏิกฺกนฺเต สมฺ
ปชานการี โหติ)๓

จึงกลาวสรุปไดวา “การเดินจงกรม” ก็คือการเดินที่มีสติกํากับอยูตลอดเวลานั่นเอง

การเดินจงกรม มีปรากฎรายละเอียดวิธีการปฏิบัติอยูในคัมภีรอรรถกถาวิสุทธิมรรค
ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆสาจารย ไดอธิบายการเดินจงกรมเปน ๖ ระยะ คือ

อุทธรณะ (ยกสนหนอ)
อติหรณะ (ยกหนอ)
วีติหรณะ (ยางหนอ)
โวสสัชชณะ (ลงหนอ)
สันนิกเขปณะ (ถูกหนอ) และ
สันนิรุมภนะ (กดหนอ)

ซึ่งถือเปนหลักฐานสําหรับแนวทางการปฏิบัติการเดินจงกรมตอมาในสมัยปจจุบัน

วิธีการเดินจงกรมที่นิยมกันมากที่สุด ไดแกการเดินจงกรม ๖ ระยะ ไดแก

ลําดับที่ ๑ ขวายางหนอ ซายยางหนอ

ลําดับที่ ๒ ยกหนอ เหยียบหนอ

ลําดับที่ ๓ ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ

ลําดับที่ ๔ ยกสนหนอ ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ

ลําดับที่ ๕ ยกสนหนอ ยกหนอ ยางหนอ ลงหนอ ถูกหนอ

ลําดับที่ ๖ ยกสนหนอ ยกหนอ ยางหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ

ไฟล์แนบ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 ครูผู้นำแสงสว่าง

ครูผู้นำแสงสว่าง
  • Members
  • 88 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 February 2009 - 11:40 AM

คุณDd2683 ขออนุโมทนาบุญในธรรมทาน และขอบคุณมากค่ะ

ยังรอข้อมูลเพิ่มเติมอยู่นะคะสำหรับท่านอื่นๆ ที่จะแนะนำเพิ่มเติมอีก


#4 crystal_mind

crystal_mind
  • Members
  • 10 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 February 2009 - 09:01 PM

ไม่ได้เก่งภาษาเหมือนกันนะคะ แต่ลองแปลมาให้จากที่คุณ Dd2683 เอาเรื่องจงกรมมาให้ข้างบนนะคะ

ไม่ได้แปลเป๊ะๆ เอาแบบสรุปๆนะคะ จะข้ามพวกคำบาลีไปจะได้อ่านง่ายๆหน่อยน่ะค่ะ

“จงกรม”
ศัพทเดิมจากภาษาสันสกฤต แตศัพทภาษาบาลีจริงๆ มาจากคําวา “จงฺกม”

ไทยเรานิยมพูดติดรากศัพทในภาษาสันสกฤตวา “จงกรม”
แตคําวา “กรม” ในที่นี้ไมไดหมายความ
วาการเดินเวียนเปนวงกลม “จงกรม”
ในที่นี้หมายถึงการกาวไป มาจาก กม ธาตุ มีความหมาย
วา ความกาวไป กาวในที่นี้ หมายถึง การไปโดยมีสติกํากับทุกอิริยาบถ

พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต) ไดใหคําอธิบายไวในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับ
ประมวลศัพทวา “ จงกรม คือ เดินไปโดยมีสติกํากับ”๑

ในพระบาลี การเดินจงกรมและการมีสติกําหนดรูตัวอยูเสมอเชนนี้ เปนวิธีปฏิบัติตามสติ
ปฏฐาน สูตรในอิริยาปถปพพะ กายานุปสสนาสติปฏฐานที่วา “เมื่อเดินอยูก็รูวาเดินอยู” (คจฺฉนฺโตวา คจฺฉามีติ ปชานาติ) หรือวา “เมื่อยืนอยูก็รูวายืนอยู” (ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ)๒ และเมื่อ
กลับพรอมกับกําหนดรูตัวอยูเสมอ ก็เปนการปฏิบัติตามในสัมปชัญญปพพะ กายานุปสสนาสติปฏ
ฐานแหงสติปฏฐานสูตรที่วา “เปนผูทําความรูตัวอยูเสมอในการกาวกลับหลัง” (ปฏิกฺกนฺเต สมฺ
ปชานการี โหติ)๓

จึงกลาวสรุปไดวา “การเดินจงกรม” ก็คือการเดินที่มีสติกํากับอยูตลอดเวลานั่นเอง

การเดินจงกรม มีปรากฎรายละเอียดวิธีการปฏิบัติอยูในคัมภีรอรรถกถาวิสุทธิมรรค
ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆสาจารย ไดอธิบายการเดินจงกรมเปน ๖ ระยะ คือ

อุทธรณะ (ยกสนหนอ)
อติหรณะ (ยกหนอ)
วีติหรณะ (ยางหนอ)
โวสสัชชณะ (ลงหนอ)
สันนิกเขปณะ (ถูกหนอ) และ
สันนิรุมภนะ (กดหนอ)

ซึ่งถือเปนหลักฐานสําหรับแนวทางการปฏิบัติการเดินจงกรมตอมาในสมัยปจจุบัน

วิธีการเดินจงกรมที่นิยมกันมากที่สุด ไดแกการเดินจงกรม ๖ ระยะ ไดแก

ลําดับที่ ๑ ขวายางหนอ ซายยางหนอ

ลําดับที่ ๒ ยกหนอ เหยียบหนอ

ลําดับที่ ๓ ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ

ลําดับที่ ๔ ยกสนหนอ ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ

ลําดับที่ ๕ ยกสนหนอ ยกหนอ ยางหนอ ลงหนอ ถูกหนอ

ลําดับที่ ๖ ยกสนหนอ ยกหนอ ยางหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ


ฉบับแปล

“Terraced walking” (Cankama)

This walking means progression with fulltime consciousness.

Phra Depveti (Payoot Payooto) has delivered an explanation in “Buddhist Dictionary (Vocabularies) that “Cankama is walking with consciousness”.

In Pali, Cankama or terraced walking is a method of performance according to Satipatthan Sutra mentioning that while walking, the walker shall have consciousness of walking, and while standing, the walker shall have consciousness of standing, and to the action of turning around is likewise.

In conclusion, “Cankama” or Terraced Walking is progression with fulltime consciousness.

The detail of Cankama appears in Atthakatha Visuddhimagga composed by Phra Buddhaghosajara, explaining about Cankama and dividing it into 6 stages as follows;

1. Uddhrana (Lifting the heel)
2. Adiharana (Lifting the foot)
3. Vitiharana (Proceeding)
4. Vossajjara (Putting the foot down)
5. Sannikkhepna (Touching) and
6. Sannirumbhana (Pressing)

This is an evidence for the pattern of present Cankama.

The most popular Cankama is the 6-staged walking, i.e.

Stage 1: Right foot is proceeding, left foot is proceeding
Stage 2: Lifting the foot and stepping it down
Stage 3: Lifting the foot, proceeding and stepping down
Stage 4: Lifting the heel, lifting the foot, proceeding, stepping down
Stage 5: Lifting the heel, lifting the foot, proceeding, putting the foot down, touching the ground
Stage 6: Lifting the heel, lifting the foot, proceeding, putting the foot down, touching the ground, pressing.


หวังว่าคงช่วยได้บ้างนะคะ happy.gif อ้อลินดาแปลเองเลยถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยนะคะ ไม่เก่งแต่ก็พยายามช่่วยอะค่ะ happy.gif

#5 Chadawee

Chadawee
  • Members
  • 299 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 16 February 2009 - 09:22 PM

อนุโมทนาบุญกับน้องแดง น้องลินดาด้วยค่ะ

พี่เปิ้ล
Ple

#6 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 February 2009 - 01:44 AM

สาธุ ครับ เข้ามาอ่านก็ได้ึความรู้ด้วยนะครับนี่

#7 homer324

homer324
  • Members
  • 522 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 February 2009 - 10:07 AM

หัวข้อธรรมที่คุณครูผู้นำแสงสว่างนำมา post ไว้นั้น..

เป็นชื่อเรียกเฉพาะตัว เฉพาะหมวด เฉพาะหมู่ ซึ่งมีผู้เคยได้ทำการแปลเป็นภาษาอื่นๆมามากมายหลายภาษาแล้วครับ..

การค้นหาคำศัพท์เฉพาะนี้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ไม่ได้ยากเหมือนสมัยก่อนอีกต่อไป ส่วนใหญ่ก็ค้นหาจากพจนานุกรมคำศัพท์เฉพาะบ้าง หรือห้องสมุดใหญ่ๆบ้าง..

แต่ปัจจุบันโลกได้ถูกย่อลงเหลือแค่กรอบสี่เหลี่ยมคือ จอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต..พจนานุกรมเล่มโตๆ หรือข้อมูลในห้องสมุดใหญ่ๆ จึงถูกนำมาเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลอินเทอร์เนตนี้เช่นเดียวกัน..

ส่วนใหญ่ ผมก็ค้นหาข้อมูลใน google.com บ้าง yahoo.com บ้าง..แต่มีที่นึงที่ใช้ได้เลยทีเดียว ลองเข้าไปค้นดูเองน่ะครับ..

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=17002

#8 ครูผู้นำแสงสว่าง

ครูผู้นำแสงสว่าง
  • Members
  • 88 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 February 2009 - 11:57 AM

ขอขอบพระคุณ คุณcrystal_mind , คุณhomer324 และทุกๆท่านเป็นอย่างยิ่ง

ที่ให้ข้อมูล ธรรมทานนี้

เวบบร์อดของ DMC.TV เป็นที่พึ่งในการค้นคว้าหาความรู้

ทุกๆเรื่องที่ไม่รู้จะถามใคร

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ