ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

***ทำบุญทำกุศลตลอดเวลา แต่ต้องตกนรก***


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 21 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 08:18 AM

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ดูแล้วไม่ยุติธรรมเลย เช่น

ทำบุญใส่บาตร ถือศีลอุโบสถ ทำกรรมดีตลอด ตอนใกล้ตาย นึกถึงบุญไม่ทัน แค่นี้ ต้องตกนรก

คนจะตายส่วนมาก มักจะเจ็บไข้ได้ป่วย ร่างกายต้องทนทุกข์ พอใจไม่ผ่องใสร่าเริงก็ต้องตกนรก

หลายคนที่กำลังจะตาย ลูกหลานก็ต้องเสียใจร้องให้ แล้วจะให้คนที่กำลังจะตาย ทำใจให้เป็นสุขได้อย่างไร

คนที่กำลังจะตายไม่มีใครรู้ล่วงหน้าหรอกว่า จะตายวันไหน จึงไม่ได้เตรียมตัว พอรู้ว่าตัวเองจะต้องตาย

แค่เป็นห่วง ลูกหลานสมบัติที่ยังไม่ได้จัดการ ต้องไปตกนรก ทำไมถึงเป็นอย่างนี้หล่ะ คุณกรรมเจ้าขา
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]

#2 usr17578

usr17578
  • Members
  • 161 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 09:08 AM

ก็ต้องทำให้ถูกหลักวิชาอย่างที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเมตตาแนะนำค่ะ

#3 สาธุธรรม

สาธุธรรม
  • Members
  • 1124 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 10:35 AM

ก็นี่ไงค่ะ หลวงปู่ถึงต้องปราบมาร

ภัยในสังสารวัฎ บัดนี้ คุณสาคร เห็นแล้ว...สาธู๊ สาธู๊ สาธู๊
หยุดนิ่งนั้นแหละไซร้ พรหมจรรย์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ

สุนทรพ่อ

#4 ดอกอุบล

ดอกอุบล
  • Members
  • 926 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 11:00 AM

สั่งสมบุญ ทาน ศีล ภาวนา ให้มากๆทุกวันๆไปตลอดชีวิตไม่มีตกนรกครับ บุญจะช่วยเองครับ

#5 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 11:08 AM

ในเรื่องนี้ถ้าบุคคลใดตอนยังมีชีวิตอยู่ทำบุญกุศลสม่ำเสมอ ภาพกรรมนิมิตก็จะปรากฏเป็นภาพบุญครับ แต่ถ้าเกิดทุกขเวทนาทางกายหรือเบี่ยงไปทางหมองบ้าง ถ้าผู้นั้นมีบุญกุศลไว้มากกว่าบาปอกุศล หรืออยู่ในระดับกลางๆอิงไปทางหมอง..ก็จะไม่ถึงกับต้องตกนรกครับ คือ
1.จะมีเจ้าหน้าที่รับตัวไปยมโลกพิจารณาบุญบาป
2.เกิดในภูมิที่ไม่ใช่ทุคติตามกำลังบุญที่ชิงช่วงขณะนั้น เช่นทำบุญไว้มากแต่เป็นห่วงลูกหลาน ห่วงกิจการงานก็มีสิทธิ์ไปเกิดเป็นภุมมเทวา รุกขเทวา อากาศเทวา สวรรค์ชั้นต่างๆตามกำลังบุญหรืออาจจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เป็นต้น
3.ขึ้นอยู่กับบุญและบาปชิงช่วงขณะนั้น เช่น ถ้าคนนั้นทำบุญสม่ำเสมอก็จริง แต่ดื่มเหล้าและกระทำในสิ่งที่เป็นบาปด้วย
ถ้าบาปชิงช่วง เช่น เห็นภาพตัวเองดื่มเหล้าอยู่ กรรมนิมิตมืดอย่างนี้ก็ไม่รอดครับ ด่ำดิ่งไปมหานรกขุม5เลย แต่ถ้ามีบุญมาก บุญนั้นอาจตัดรอนบาป ไปยมโลกขุม5 เป็นต้น

สรุปก็คือ กายมนุษย์นั้นคือหุ่นที่ให้บุญและบาปเชิด คราวใดที่ทำแต่กุศลกรรม จิตใจก็จะสดชื่นผ่องใส ถ้าบางคราวพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศลกรรม จิตใจก็จะหมองมัว. การกระทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ทั้งทางกาย วาจา ใจ ล้วนเกิดจากการชิงช่วง ช่วงชิงของบุญและบาป ซึ่งการกระทำทุกอย่างล้วนมีวิบากทั้งสิ้นและมีภพภูมิรองรับผลแห่งการกระทำนั้น

จิตเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส ทุคติเป็นที่ไป
จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา เมื่อจิตผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นที่ไป



#6 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 12:23 PM

ก็มันเป็นทั้งฝ่ายบุญและฝ่ายบาปน่ะครับ ที่คุณสาครยกมานั่นเฉพาะฝ่ายบาป แต่ฝ่ายบุญก็มีครับ

บางคนฆ่าสัตว์ตัิดชีวิต ดื่มเหล้าเมายามาเกือบตลอดชีวิต แต่ก่อนตายนึกถึงเรื่องที่เป็นกุศลได้ จิตก็ไปสู่สุคติอย่างนี้ก็มีครับ

แต่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน (บาปหรือบุญ) ก็จะมีกำลัง(บาปหรือบุญ) อยู่ในนั้นไม่ได้นานหรอกครับ

บางคนรับโทษอยู่ในนรกอยู่พอสมควร ครั้นได้ยินเสียงอุปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ใช้ลงนรกสัตว์นรก ดังพรึบ พลันก็นึกถึงเสียงผ้าไตรที่ตนเคยยกถวายพระลูกชาย แต่มื่อสั่นเลยทำผ้าไตรตกลงพื้นเสียงดัง พรึบ พอจิตนึกถึงภาพเหตุการณ์เช่นนี้ จิตกลายเป็นกุศล ก็เปลี่่ยนภพภูมิมาเป็นสุคติโดยฉับพลันก็มีครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#7 ยึดมั่นความดี

ยึดมั่นความดี
  • Members
  • 183 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 01:53 PM

น่ากลัวใช่ไหมหล่ะคะ...อย่ากระนั้นเลย เรามาเร่งสร้างบุญสร้างกุศลกันเยอะๆ ดีกว่าค่ะ จะได้มีความทรงจำดีดี
ให้บุญหนาแน่นมากมาก จนบาปแทบจะนึกไม่ออกว่าได้สร้างกรรมอะไรบ้างกันดีกว่านะคะ

ถ้ามามัวคิดว่าเราทำบุญเยอะแล้วใจไม่ใสแล้วกลัวตกนรก อย่างนี้ก็แย่สิคะ เดี๋ยวพาลจะไม่อยากทำบุญกันพอดี

ยึดมั่นความดีว่า ยึดหลักคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อกันดีกว่านะคะ "จิตสดใส เมื่อใจสิ้นระแวง"

ทำบุญบ่อยๆ ทำบุญทุกบุญ ทำบุญเรื่อยๆ ทำบุญทุกวัน ทำเป็นประจำ เอาน่า ยังไงบุญก็ช่วยไม่ให้ตกนรกหรอกน่า

ถ้ากลัวตกนรกกันจริงๆ หล่ะก็ ก็อย่าทำบาปอีกสิคะ ลืมให้หมด แล้วเร่งทำบุญอย่างถี่ยิบ แค่นี้เอง

ที่นี้ ตั้งจิตอธิษฐานทุกภพทุกชาติ ขอให้สามารถระลึกถึงบุญทุกบุญที่เราทำได้ทั้งหมด ขอให้จิตสดใสเมื่อ

ใกล้ละกายหยาบ ขอให้เราอย่าได้ทำอะไรที่ทำให้เกิดกรรม หรือขออย่าได้สร้างบาปใดใดได้อีกเลย

ตลอดทุกภพทุกชาติไป

อิอิ ยึดมั่นความดี คิดเองค่ะว่า ลองอธิฐานจิตแบบนี้บ้าง อาจได้ตามอธิฐานก็ได้ค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะคะ...

#8 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 04:45 PM

- ใช้หลัก...มรณานุสติ....ไม่ประมาทในธรรม nerd_smile.gif

- การบ้านของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จึงแนะให้หลับ-ตื่นในอู่ทะเลบุญ...เมื่อตื่นแล้วรวมใจเป็นหนึ่งกับองค์พระ...ให้เรานึกว่าเราโชคดีที่รอดมาอีก 1วัน ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงมีความสุข อันตัวเรานั้น ตายแน่ ตายแน่ glare.gif
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#9 Boontomak

Boontomak
  • Members
  • 431 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 09:31 PM

สาธุขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ยายทำ ยายก็ได้ คุณก็ไม่ได้ คุณทำคุณก็ได้ เพราะฉะนั้นก็ทำมากๆ ไว้ก่อน เราทำทุกๆ วัน "ขอให้ข้าพเจ้าได้เข้าวัดตลอดชีวิต"

#10 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 10:18 PM

น่ากลัวนะครับ ศึกชิงภพ เราต้องเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด


#11 สุรชัย (กัปตัน)

สุรชัย (กัปตัน)
  • Members
  • 407 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 10:34 PM

สาธุครับ

#12 ขันติธรรม

ขันติธรรม
  • Members
  • 132 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 June 2009 - 10:55 PM

อย่างนี้ต้องรีบทำการบ้านของพระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านให้ครบ 10 ข้อนะคะ
จะได้ปลอดภัย

#13 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 12:42 AM

แบบนี้ไง ท่านถึงให้นั่งสมาธิมาก ๆ อย่าขึ้เกียจนั่ง เพราะใจเราสำคัญมากต้องรักษาให้ผ่องใสอยุ่ตลอดเวลา

รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html


#14 SatChu

SatChu
  • Members
  • 106 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 02:01 AM

บาปกรรมไม่มีคำว่า " ยุติธรรม " หรอกครับ

จะโทษก็ไปโทษ " ผู้ที่ตั้งกฎแห่งกรรม " ดีกว่านะครับ ... rolleyes.gif

  " ปราบมาร " 


#15 นายดีใจ

นายดีใจ
  • Members
  • 68 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 06:21 AM

ต้องดูยาวๆครับ
จริงอยู่ คนทำบาปเยอะ แต่ก่อนตายคิดดี ได้ผลบุญไป แต่ก็สั้นๆน่ะครับ
จากนั้นก็ต้องตามนั้นล่ะ ครับ

ทางกลับกัน ทำบุญเยอะิคิดไม่ดี รับผลบาปก่อน แต่ก็ไม่นานครับ

ยุติธรรมเสมอครับ แต่ช้าเร็ว

ไม่งั้นเราตบยุง แล้วเราต้องตายเลยก็แย่น๊ะครับ

#16 Ozeria

Ozeria
  • Members
  • 879 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 12:43 PM

หลวงพ่อธัมฯ ถึงเน้นให้พวกเรา ตรึกระลึก นึกถึงบุญตลอดเวลา ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน ให้คุ้นชิน เสมอ ๆ ทุกวันเลยไงคะ

สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ

ลูกพระธัมฯ หลานหลวงปู่ หลานคุณยาย

#17 usr29468

usr29468
  • Members
  • 99 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 01:31 PM

คนอย่างที่คุณ ว่า มันทำดีไม่จริง ต่างหาก

คนทำบุญจริง ทำกรรมดีจริงๆ ย่อมนึกถึงบุญได้ หรือภาพแห่งความดี มาปรากฏ ล้าน%

คุณสาคร เคยเห็นคนที่คุณว่าเขาทำความชั่วมาบ้างรึเปล่า?

คุณรู้ได้อย่างไร ว่าเขาเป็นคนดีจริง คุณเห็นด้วยธรรมจักขุแล้วหรอ?

พวกสักแต่ว่า เข้าวัด ทำบุญ นั่งสมาธิ รักษาศีล ศึกษาธรรมะ ทำไปอย่างนั้น

ไม่ได้ชอบรักบุญกันจริงๆ ไม่เห็นคุณค่า ไม่เข้าใจ ก็สมควร ไปสู่ที่ชอบๆ ของตน

ชอบทำบุญทำความดีกันจริงๆ ก่อนตาย แม้เครื่องบินกำลังตก ผู้คนกรีดร้อง บรรยากาศน่ากลัว ยิ่งกว่า แย่งสมบัติกันอีก

ก็ภาวนา สัมมอะระหัง นึกองค์พระ ได้ ก็ไปสวรรค์ อย่างแน่นอน ไม่แน่ อาจรอดตาย

เพราะ ฝึกกัน ทุกวันจริง ทำความดีกันจริงๆ ของมันคุ้นๆ หลักวิชชา ก็รู้ๆกันอยู่

ไม่อย่างนั้น คนเขาจะสร้างความดีไปทำไม

จะตายอยู่แล้ว ปล่อยวางไม่เป็น ยังห่วงคนอื่น ห่วงสมบัติ ก็สมควร ทั้งๆรู้ว่า หลักวิชชาเป็นยังไง

มันแปลกตรงไหน ก็รู้ๆกันอยู่ แล้วจะมาบ่นทำไม cool.gif

คุณสาคร นั่งสมาธิ ศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม บ้างรึเปล่า? หรือว่า เป็นพวกสักแต่ว่า เข้าวัด ศึกษาธรรมมะ ไปอย่างนั้น

แนะนำให้คุณสาครเข้าเว็ปนี้ไปเลย

http://www.kalyanami...a...type=&cid=5

มันน่าอายคนใหม่ๆมากๆหากเขาเข้ามาเห็นกระทู้ของคุณ red_smile.gif (แถมตอบตั้งกระทู้มาเยอะแยะ) เห็นคุณมานานหลายปี

ยิ่งกระแสบาปมันแรงอยู่ คนยิ่งไม่เข้าใจในเรื่องบุญ ไม่ค่อยมีเหตุผล มาอ่านกระทู้ของคุณ เดี๋ยวก็เหมาเอาไป คิด ไปพูดคุยกัน

แบบอ่านข่าว "หนังสือพิมพ์ตามหน้า1" ว่า

"เห็นไหม ทำบุญ แล้วยังไปตกนรกเลย" อะไรทำนองนี้ ส่วนรายละเอียด เขาไม่ค่อยมาศึกษา พิจารณาเหตุผลกันหรอก เพราะ

ตัวคุณสาครเอง ยังไม่พิจารณาเลย มองชีวิตคนแค่ด้านเดียว แบบนี้

และคุณสาครอยากจะให้มัน "ยุติธรรม" จริงๆ ก็โน่น ต้อง "ที่สุดแห่งธรรม"เท่านั้น

แล้วคุณสาครตั้งกระทู้นี้มาเพื่ออะไร?

เพื่อให้ผู้คนมาเชื่อว่า ***ทำบุญทำกุศลตลอดเวลา แต่ต้องตกนรก***อย่างนั้นหรอ?

แล้วมันสร้างสรรค์ ได้บุญ ได้กุศล ไหม คุณสาคร เอยยยยยยย ไปพิจารณาดูกันเถิด wink.gif mad.gif tongue.gif

#18 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 06:52 PM

ทำบุญตลอดชีวิต แต่สุดท้าย ต้องตกนรก

ทำบาปตลอดชีวิต แต่สุดท้าย ได้ขึ้นสวรรค์ เช่น เพชฌฆาตเคราแดง

ในสมัยพุทธกาล ก็เคยมีเรื่องเล่าอยู่ค่ะ เพราะ นิมิตก่อนตาย ส่งให้ไปแบบนั้น

ใครได้ ศึกษา กฎแห่งกรรม ก่อนตาย คนนั้นก็ ได้เปรียบค่ะ

ก่อนตายจะเป็นยังไง ทรมานแค่ไหน ไม่มีใครทราบ

ถ้ายังดี ๆ มีชีวิตอยู่ ไม่นึกถึงบุญเข้าไว้ ก่อนตายจะนึกไม่ออก

เลยต้องบอกว่าให้ เจริญมรณานุสติ สม่ำเสมอ ดังการบ้าน 10 ข้อ ของหลวงพ่อที่บอกไว้ค่ะ

อีกอย่าง การส่งผลของบุญ และ บาป เป็นเรื่อง ซับซ้อน และมี ตัวแปรมาก

ขออนุญาต นำเรื่อง กรรม 12 มา ให้ทุกคนอ่านไว้ เพื่อเป็นความรู้นะคะ



#19 hk_girlza

hk_girlza
  • Members
  • 580 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 07:00 PM

กรรมที่กำลังทำหน้าที่ให้ผลแก่พวกเราอยู่นี้ ท่านจัดไว้เพียง ๑๒ ประการ คือ




หมวดที่ ๑ ให้ผลตามคราว ( ตามเวลา )
( ปากกาลจตุกกะ )

1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาตินี้

ชวนจิต ดวงที่ 1

เหมือน นายพรานยิงเนื้อด้วยลูกศร ถ้ายิงโดน เนื้อตัวนั้นก็ล้มลงในที่นั้นทันที

อาจเป็นกรรมที่มีผลรุนแรง หรือที่เรียกว่า กรรมทันตาเห็น

หรือผลไม่รุนแรง แต่ต้องให้ผลภายในชาตินี้เท่านั้น เพราะถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ กรรมประเภทนี้ ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม คือ ไม่ให้ผลอีกต่อไป

1.1) ปริปักกทิฏฐธรรมเทวนียกรรม - กรรมที่ให้ผลภายใน 7 วัน

* ฝ่ายกุศล - กาฬวฬิยเศรษฐี เมื่อก่อนยากจน ได้ถวายอาหารแก่พระมหากัสสปะที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ จึงร่ำรวยภายใน 7 วัน

* ฝ่ายอกุศล - พระเจ้าสุปปพุทธศากยะ ( พ่อของพระเทวทัต ) นั่งดื่มเหล้าเพื่อปิดทางบิณฑบาตของพระพุทธเจ้า ถูกธรณีสูบในวันที่ 7 ใกล้เชิงบันไดในปราสาท

1.2 ) อปริปักกทิฏฐธรรมเทวนียกรรม - กรรมที่ให้ผลหลังจาก 7 วันเป็นต้นไปแต่ภายในชาตินี้

แบ่งเป็น รับผลใน ปฐมวัย , มัชฌิมวัย , ปัจฉิมวัย

กรรมทันตาเห็นคนชอบกินเนื้อ ชายอาชีพฆ่าสัตว์ขาย ทำอาชีพนี้นาน 45 ปี ไม่เคยทำทาน

กินแต่อาหารที่ตนเองลงมือฆ่าเท่านั้น วันหนึ่งไปอาบน้ำก่อนจะกินข้าว

ขณะนั้นมีเพื่อนบ้านมาขอซื้อเนื้อ ภรรยาขายให้ไป จึงโกรธและเดินไปตัดลิ้นโคมีบริโภค

โคตายทันทีที่ถูกตัดลิ้น เขากินอาหารได้แค่ 3 คำ ลิ้นขาดร่วงลงมา ตายทันทีเหมือนกัน

กรรมทันตา จะต้องประกอบด้วย ลักษณะ 4 ประการ คือ

1. เป็นกรรมที่ไม่ได้ถูกเบียดเบียนจากกรรมที่ตรงกันข้าม หมายความว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่เป็นกุศล

จะไม่ถูกเบียดเบียนจากอกุศล เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ย่อมที่จะมีโอกาสให้ผลแก่บุคคลที่กระทำกรรมให้ได้รับผลที่ตนกระทำไว้ใน

ปัจจุบันชาตินี้ แต่ถ้าถูกเบียดเบียนแล้วก็จะไม่สามารถให้ผลได้ และกลายเป็นอโหสิกรรมไป

2. เป็นกรรมที่มีกำลังเป็นพิเศษ เพราะได้รับความสนับสนุนส่งเสริมจากวิบัติ 4 ประการ ( ฝ่ายกุศล )และสมบัติ 4 ประการ ( ฝ่ายอกุศล )

3. เป็นกรรมที่มีกำลังแรงมากด้วยอำนาจแห่งปุญญาภิสังขาร หมายความว่า บุคคลที่มีความตั้งใจเพียรพยายามที่จะทำกุศลหรืออกุศลกรรม จิตของเขาในขณะนั้นย่อมมีกำลังแรงมาก

4. เป็นกรรมที่สำเร็จลงด้วยอำนาจแห่งการกระทำกุศลหรืออกุศลกรรมต่อบุคคลที่ประกอบด้วยคุณวิเศษทั้งหลาย เช่น นันทยักษ์ที่ตีศีรษะพระสารีบุตรผู้กำลังเข้านิโรธสมาบัติ จึงทำให้ถูกธรณีสูบ หรือ มหาทุคคตะมีความตั้งใจอย่างมากที่จะถวายทาน และได้ถวายทานแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้กลายเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เป็นต้น


วิบัติ 4 ประการ ได้แก่
1. คติวิบัติ - เกิดในทุคติภูมิ
2. อุปธิวิบัติ - เกิดมามีร่างกายไม่สมประกอบ , พิการ
3. กาลวิบัติ - เกิดในยุคสมัยที่พระราชาเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่รู้คุณค่าของพระพุทธศาสนา
4. ปโยควิบัติ - การประกอบความเพียรพยายามในทางที่ผิด

สมบัติ 4 ประการ ได้แก่
1. คติสมบัติ - การได้เกิดในสุคติภูมิ
2. อุปธิสมบัติ - เกิดมามีร่างกายสวยงาม ไม่พิกลพิการ
3. กาลสมบัติ - เกิดในยุคสมัยที่บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข พระราชาเป็นสัมมาทิฏฐิ รู้คุณค่าของพระพุทธศาสนา
4. ปโยคสมบัติ - ประกอบความเพียรพยายามในทางที่ถูกต้อง

2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อไป ( ชาติหน้า )

ชวนจิตดวงที่ 7 เกิดในสุคติภูมิ หรือ ทุคติภูมิ

เป็นกรรมที่คอยจ้องจะให้ผลในชาติต่อไปอย่างแน่นอน ไม่ยอมผิดคิว เพราะถ้าไม่มีโอกาสให้ผล กรรมประเภทนี้ก็จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปอีก

2.1 ) อุปปัชชเวทนียกรรมฝ่ายกุศล - ครุกรรม ฝ่ายดี , มหัคคตกุศล 8 ราชธิดาหลอกทำลายตบะของดาบส แต่ดาบสก็ไปเกิดในพรหมโลกได้

2.2 ) อุปัชชเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล - อนันตริยกรรม 5 + นิตยมิจฉาทิฏฐิ
ปรโลกของนันทิยอุบาสก ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และ ภรรยา นางเรวดี ผู้ไม่มีศรัทธา แต่แกล้งทำเพื่อแต่งงาน ไปเกิดในอุสสทนรก

3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป

( อปรปริยายเวทนียกรรม )

กรรมประเภทนี้ จะไม่ยอมกลายเป็นอโหสิกรรมง่าย ๆ ต้องคอยให้ผลตอบแทนกับผู้กระทำให้ได้ก่อน จึงจะยอมเลิกรา เว้นแต่จะเป็นพระอรหันต์แล้ว

ชวนจิตดวงที่ 2 – 6
อประ = ภพอื่น
ปริยาย = วาระ กำหนดระยะเวลา
เวทนียะ = กรรมที่จะเสวยผล

เหมือน พรานสุนัข เมื่อเห็นเนื้อ ก็ปล่อยสุนัขให้ไล่เนื้อ เมื่อสุนัขไล่ตามไปทัน ในที่ใด ก็จะกัดเนื้อลงในที่นั้น

3.1) อกุศล - ตายเพราะกรรมเก่าตามทัน ภรรยาสาวของนายเรือ ถูกจับถ่วงน้ำตาย เพราะชาติก่อนได้ จับสุนัข ซึ่งเป็นสามีในชาติก่อน ถ่วงน้ำตาย

3.2) กุศล - พระนางมัลลการาชเทวี พระนางได้ประกอบคุณงามความดีสร้างบุญกุศลเอาไว้มากมาย แต่ได้หลอกลวงพระเจ้าปเสนทิโกศลในเรื่องที่พระนางยินดีในสัมผัสของสุนัข แม้ว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลจะไม่ติดใจ แต่กรรมลามกได้ติดอยู่ในใจพระนางจนกระทั่งวันตาย ทำให้ต้องไปเกิดในอเวจีมหานรกถึง 7 วันมนุษย์ แล้วจึงไปเสวยผลบุญบนสวรรค์ชั้นดุสิต การไปสู่สวรรค์ชั้นนี้ ถือว่าเป็นอปรปริยายเวทนียกรรมของพระนาง ซึ่งให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป

4. อโหสิกรรม กรรมที่เคยให้ผลแล้ว หรือ ยกเลิกการให้ผล

กรรมที่เคยให้ผลแล้ว หรือยกเลิกการให้ผล เพราะไม่มีโอกาสที่จะให้ผล ( เหมือนกรรมประเภทที่ 1 และ 2 )

เพราะมีกรรมอื่นแซงคิวมาให้ผลก่อน กรรมนี้จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปทันที

เหมือนเมล็ดพืชที่เก็บไว้นานเกินไปหรือถูกคั่วให้สุกด้วยไฟแล้ว

1. อโหสิกมฺมํ นาโหสิกมฺมวิปาโก - กรรมที่ได้ให้ผลแล้ว
เช่นได้ตกนรก หรือขึ้นสวรรค์แล้ว หรือ ได้ฌาน ( ตติยฌาน , ปฐมฌาน , ทุติยฌาน )

2. อโหสิกมฺมํ นตฺถิกมฺมวิปาโก - กรรมที่ไม่ให้ผล
เช่นกิริยาจิต แม้จะกระทำสักเท่าใด ก็เป็นกิริยาทั้งหมด ไม่ทำให้เกิดวิบาก ไม่มีผล จึงเป็นอโหสิกรรม

3. อโหสิกมฺมํ นภวิสฺสติกมฺมวิปาโก - ชาติอนาคตไม่มีอีกแล้ว
เช่นองคุลีมาล เป็นพระอรหันต์ บาปที่ได้ฆ่าคนไป จัดเป็นอโหสิกรรม


เหมือน บุคคลวิ่งหนีสุนัข สามารถข้ามไปอีกฝั่งได้แล้ว ซึ่งเหลือวิสัยที่สุนัขจะไล่ตามได้ เมื่อบุคคลไม่กลับมาฝั่งนี้อีก สุนัขซึ่งเฝ้าคอยอยู่ก็จะตายไปเอง

4.1) ฝ่ายอกุศล - พระมาลกติสสะ นายพรานล่าสัตว์ ต่อมา บรรลุเป็นพระอนาคามี กรรมฆ่าสัตว์ทั้งหมดไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็นอโหสิกรรม

4.2) ฝ่ายกุศล - กาฬเทวิลดาบส อาจารย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ กาฬเทวิลดาบสได้บรรลุฌานสมาบัติ 8 ทำให้ต้องไปสู่พรหมโลกที่ยาวนาน ไม่สามารถเข้านิพพานได้ เปรียบเหมือน ท่านดาบสมีข้าวอยู่ 8 คำ เมื่อกินไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกอิ่มในคำที่ 8 สุดท้ายพอดี ซึ่งคำที่ 1 – 7 เป็นตัวช่วยเสริมจึงกลายเป็นอโหสิกรรม
หมวดที่ ๒ ให้ผลตามกิจ ( ตามหน้าที่ )

( กิจจตุกะ )
5. ชนกกรรม กรรมที่ทำให้เรามาเกิด

เสมือนเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร ไม่มีใครสามารถทำหน้าที่นี้แทนได้

สัตว์ทุกชนิดที่เกิดมา ล้วนอาศัยอำนาจของกรรมประเภทนี้ทั้งนั้น กรรมนี้มีหน้าที่ทำให้สัตว์มาเกิดในภพภูมิต่างๆ เท่านั้น แล้วก็ปล่อยทิ้งให้กรรมประเภทอื่น ๆ เข้ามารับหน้าที่ต่อไปแทน

-- สุคติภูมิ - มนุษย์โลก, สวรรค์โลก, พรหมโลก
-- ทุคติภูมิ - สัตว์เดรัจฉาน , สัตว์นรก , อสุรกาย , เปรต

6. อุปัตถัมภภกรรม กรรมสนับสนุนต่อจากชนกกรรม

มีหน้าที่คอยประคบประหงม สนับสนุนส่งเสริมให้ดีขึ้น หรือ แย่ลง อยู่ที่ว่า ส่งมาเกิดดี หรือส่งมาเกิดชั่ว ถ้าส่งมาดี ก็สนับสนุนให้ดี ถ้าส่งมาชั่ว ก็สนับสนุนให้ชั่ว ( + ) กับ ชนกกรรม

6.1) ฝ่ายกุศล - ดลบันดาลให้คิดทำในสิ่งที่ดี เช่น สมาทานศีล ฟังธรรม ให้ทาน
เกิดมาดี  ส่งให้ดียิ่งขึ้น , รวยขึ้น : พระอนุรุทธะ

6.2) ฝ่ายอกุศล – ดลบันดาลให้ทำบาปมากขึ้นเรื่อยๆ
เกิดมาเลว  ส่งให้เลวมากขึ้น , จนลง : เศรษฐีตระหนี่ เกิดเป็นลูกขอทาน

7. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น กรรมขัดขวาง

กรรมที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับประเภทที่ ๕ และ ๖

คอยขัดขวางไม่ให้กรรมทั้งสองประเภทนี้ ให้ผลตอบแทนได้เต็มที่
ถ้ากรรมทั้งสองนั้น ส่งมาดี กรรมนี้จะเข้าไปหันเหสู่ทิศทางที่ไม่ดี
ถ้ากรรมนั้น ส่งมาไม่ดี กรรมนี้จะเข่าไปสนับสนุนให้สู่ทิศทางที่ดี
แต่จะค่อยเป็นค่อยไป ไม่ทำลายน้ำใจของกรรมทั้งสอง แบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น
( - ) กับ ชนกกรรม และ อุปัตถัมภกกรรม

7.1 ) เกิดมาดี  ทำตัวเลว , แย่ลง : ออกบวช แต่ ตกนรกเพราะหลงผิด
7.2 ) เกิดมาเลว  ได้ดี , รวยขึ้น : เพชฌฆาต บรรลุโสดาบัน

8. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เข้าไปฆ่าให้ตรงข้ามอย่างเด็ดขาด

กรรมที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ ที่ ๕ และ ๖ แต่รุนแรงกว่า

กรรมนี้ให้ผล ตรงข้าม แบบหักด้ามพร้าด้วยเข่า

ตัดการให้ผลของกรรมนั้นทันทีทันใด

ถ้ากรรมส่งมาดี ก็จะตัดหน้าด้วยการให้ผลชั่วทันที
ถ้ากรรมส่งมาไม่ดี ก็จะตัดหน้าด้วยการให้ผลดีทันที
( - ) กับ ชนกกรรม และ อุปัตถัมภกกรรม แต่ ( + ) กับ อุปปีฬกกรรม

8.1 ) เกิดมาดี  ทำให้ล่มจม , เสียชีวิต : พระเจ้าอชาตศัตรู
8.2 ) เกิดมาเลว  มีคนนับถือ , ประสบความสำเร็จ : องคุลีมาล

หมวดที่ ๓ ให้ผลตามลำดับ
( ปากทานปริยายจตุกกะ )
กรรมหนักให้ผลก่อน

9. ครุกรรม กรรมหนัก

มีผลตอบแทนที่รุนแรง ให้ผลฉับไว สามารถแซงคิวให้ผลก่อนกรรมประเภทอื่น ๆทั้งหมด

เปรียบเสมือน ก้อนหินที่โยนลงน้ำ

9.1) ฝ่ายกุศล คือ มหัคคตกุศล 9 ประการ คือ รูปกุศล ๕ + อรูปกุศล ๔
เช่น พระราชา ฟังธรรม เกิดเบื่อหน่ายในกาม สละราชสมบัติ ออกบวชเป็นฤาษี

9.2) ฝ่ายอกุศล มี 2 ประเภท คือ
* นิตยมิจฉาทิฏฐิกรรม ความเห็นผิดอย่างแรงกล้า
1) นัตถิกทิฏฐิ - ทำดีทำชั่ว ไม่มีผล
2) อเหตุกทิฏฐิ - มนุษย์ต่างกันเป็นเพราะดวง ไม่มีกรรมและผลของกรรม
3) อกิริยาทิฏฐิ - บุญบาปไม่มี

* อนันตริยกรรม คือ กรรมหนัก ให้ผลในภพชาติต่อไปแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้
มี 5 อย่างคือ
1. ปิตุฆาต - ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า
2. มาตุฆาต - ฆ่ามารดาบังเกิดเกล้า
ตัวอย่างคือ พระมหาโมคคัลลานะ ชาติอดีตได้ฆ่าพ่อแม่ตัวเอง ตามคำยุยงของภรรยา
ถ้าผู้สั่งฆ่า เป็นลูก ใช้คนอื่นไปฆ่า ก็จัดเป็นอนันตริยกรรม
ถ้าผู้ลงมือฆ่าไม่เกี่ยวพันกัน ไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม
แต่ถ้าฆ่าพ่อแม่ตัวเอง ถึงจะไม่รู้ว่าเป็น พ่อแม่ที่แท้จริง ก็จัดเป็นอนันตริยกรรม

3. อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
ผู้สั่งฆ่า กับ ผู้ฆ่า ถือว่าได้ทำอนันตริยกรรม ทั้งคู่

4. โลหิตุปบาท - ทำพระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต
พระเทวทัต กลิ้งหินหวังฆ่าพระพุทธเจ้า แต่เศษหินแค่กระทบโดนเล็กน้อยทำให้ห้อเลือด จัดเป็นอนันตริยกรรม
หมอชีวกโกมารภัจน์ ผ่าตัดให้พระพุทธเจ้า ไม่จัดเป็นอนันตริยกรรม เพราะมีกุศลเจตนาดี ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วย

5. สังฆเภท - ทำสงฆ์ให้แตกกัน ผู้กระทำต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น
สามเณร หรือ คฤหัสถ์ ทำสงฆ์แตกกัน ไม่จัดเป็น อนันตริยกรรม

การทำสังฆเภทต้องมีครบทั้ง 5 องค์ คือ
5.1) กัมเมนะ - แยกออกไปกระทำสังฆกรรม
5.2) อุทเทเสนะ - แยกออกไปสวดพระปาติโมกข์
5.3) โวหะรันโต - การกล่าวเภทกรวัตถุ 18 ประการ
5.4) อนุสาวเนนะ - เชื่อคำชักชวน นับถือลัทธิตน ที่ผิดไปจากพระพุทธบัญญัติ
5.5) สลาภัคคาเหนะ - เขียนสลากให้ภิกษุจับ จะได้ยึดมั่นในพวกตนที่กล่าวตู่พระพุทธพจน์
หากภิกษุทะเลาะวิวาทขัดแค้นใจกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง แต่ยังคงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า และ ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติ ถึงแม้จะแยกออกไปทำสังฆกรรม ก็ไม่จัดว่าเป็นสังฆเภท

ข้อ 1 -4 จัดเป็น สาธารณอนันตริยกรรม ทำได้ทั้ง คฤหัสถ์ และ พระภิกษุสามเณร
ข้อ 5 จัดเป็น อสาธารณอนันตริยกรรม ทำได้เฉพาะพระภิกษุเท่านั้น

จัดเรียงจากโทษหนัก ไปหา โทษเบา ดังนี้
สังฆเภท  โลหิตุปบาท  อรหันตฆาต  มาตุฆาต  ปิตุฆาต
การฆ่ามารดา จัดเป็นครุกรรมที่หนักกว่า ฆ่าบิดา เพราะ มารดาอุ้มท้องคลอดออกมา มีคุณมากกว่า

10. อาจิณณกรรม กรรมที่เกิดจากการสั่งสมบ่อย ๆ ทำบ่อยๆ

( พหุลกรรม )
มีอำนาจเกือบเท่าครุกรรม เมื่อไม่มีครุกรรมนั้น กรรมนี้ย่อมตามให้ผลทันที

เปรียบเสมือน นักมวยปล้ำ 2 คนสู้กัน ใครมีกำลังมากกว่า ก็ชนะ ( กุศล : อกุศล )

คนเราทำดีชั่ว ปะปนตลอดเวลา จึงดูที่ว่า ดีหรือชั่ว มากกว่ากัน
10.1 ) ฝ่ายกุศล - เทพนารีอดีตนางทาสี ผู้สมาทานไตรสรณคมน์ และ ศีล 5 ตลอดชีวิต
10.2) ฝ่ายอกุศล - นายจุนทะ คนฆ่าหมู กรรมปาณาติบาต ตกนรกอเวจี


11. อาสันนกรรม กรรมที่ระลึกถึงก่อนตาย ( กรรมใกล้ตาย )

( ยทาสันนกรรม )
อาจเป็นกรรมหนัก หรือกรรมเล็กน้อย ก็ได้ เพียงแต่เราระลึกถึงก่อนตาย

กรรมนี้จะให้ผลทันทีแต่ต้องรอครุกรรม หรือพหุลกรรมให้ผลก่อน

เมื่อไม่มีกรรมเหล่านั้น อาสันนกรรมถึงจะมีโอกาสให้ผล
เปรียบเสมือน โคใกล้ประตู ได้ออกจากคอกก่อน

11.1) ฝ่ายกุศล - มัฏฐกุณฑลี พ่อมีความตระหนี่ ไม่เคยทำทานเลย แต่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าก่อนตาย เพียงแค่ทำจิตให้เลื่อมใส เกิดเป็นเทพบุตรชั้นดาวดึงส์

11.2) ฝ่ายอกุศล - พระภิกษุ ก่อนตาย นึกถึงอาบัติตน ที่เคยทำสาหร่ายน้ำขาด เกิดเป็นนาค

12. กตัตตากรรม กรรมที่เกิดจากความพลั้งเผลอ ไม่มีเจตนา


( กฏัตตตวาปนกรรม ) กรรมสักแต่ว่าทำ

เช่น มีเจตนาดีให้แค่เจ็บ แต่เขากลับตาย หรือการตักบาตรเพราะแม่บังคับ , การจับมือเด็กทารกใส่บาตร , สอนลูกไหว้พระ
เมื่อไม่มีกรรมอื่นที่หนักหนาสาหัส กรรมนี้ถึงจะมีโอกาสให้ผล

แต่เมื่อพลาดโอกาสที่จะให้ผล กรรมนี้จะกลายเป็นอโหสิกรรม ไม่หวนกลับมาให้ผลอีก

เหมือน ลูกศรของคนตาบอด ยิงออกจากแล่งธนู กตัตตากรรมนี้ จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะให้ผลแน่นอน เป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน เพียงช่วยเสริมกรรมอื่นๆ

12.1) ฝ่ายกุศล - เทพบุตรกบ กบซาบซึ้งในเสียงของพระพุทธเจ้า ทั้งที่ไม่เข้าใจความหมาย ตายเกิดเป็น เทพบุตร

12.2) ฝ่ายอกุศล - บุพกรรมของเปรต ดูหมิ่นพระพุทธเจ้า เป็นวจีกรรม ประชดประชันว่า พระองค์ไถนาไม่ได้อย่างเรา เกิดเป็นเปรต ต้องไถนาไม่มีหยุด


คำพูดที่ว่า “ ทำดี ไม่ได้ ดี” หรือ “ ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดี มีถมไป”
ถ้าคิดตามหลัก การให้ผลของกรรมทั้ง ๑๒ ประการนี้ จึงสรุปได้ว่า
ทำดี ได้ดี จริง แต่ต้อง ทำให้ ถูกดี ถึงดี และ พอดี อย่างถูกที่ และ รู้จักรอเวลา

เพราะฉะนั้น ทำดีเข้าไว้ เพราะถ้าไม่ทำดี บาปอกุศลจะเข้าแทรก ให้ทำความชั่วได้ง่ายขึ้น

จะเห็นว่า กรรมไม่ได้สูญหายไปไหน แต่กำลังทำงานอยู่ตลอดเวลา

ซึ่งกรรมแต่ละหมวดก็มีหน้าที่ มีลำดับ และมีระยะเวลาในการให้ผลที่ชัดเจน

เปรียบเหมือนการปลูกต้นไม้ที่กว่าต้นไม้ชนิดนั้นๆ ที่ปลูกขึ้นมาจะเจริญเติบโตขึ้นมาให้ร่มเงา แผ่กิ่งก้านสาขาได้นั้น

ต้องใช้เวลาในการเจริญเติบโตเป็นเดือนเป็นปี กรรมก็เช่นกัน มีหน้าที่ มีลำดับ

มีระยะเวลาในการให้ผลแก่บุคคลที่กระทำกุศลหรืออกุศลกรรมให้ได้รับความทุกข์หรือสุขอย่างแน่นอน

ไม่มีใครสามารถที่จะหนีกรรมที่ตนกระทำไว้ได้ ดังเช่นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

“ บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ( เพราะ )

เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่”

การได้เกิดเป็นมนุษย์ ยากแสนยาก ดังเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงในมหาสมุทร

เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้นมาคราวหนึ่ง ๆ

สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียว” ( แอก = ห่วงยาง )

ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้แล้ว จึงควรใช้ชีวิตในแต่ละวันให้คุ้มค่า

และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดสมกับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ การหมั่นสั่งสมบุญทุกบุญเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

สิ่งใดที่เคยทำผิดพลาดมาก็ลืมไปให้หมด หมั่นสร้างแต่กรรมดีอยู่ทุกวัน และต้องทำใจของเราให้ใสตลอดเวลา

โดยการหมั่นนั่งสมาธิ เพื่อไม่ให้บาปได้ช่อง แต่กลับให้บุญกุศลได้โอกาสในการให้ผล เมื่อทำอย่างนี้แล้ว

ชีวิตก็จะปลอดภัยจากภัยในทุคติภูมิ แต่จะมีบุญกุศลกรรมที่คอยสนับสนุนให้ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป

และเข้าใกล้สุคติภูมิ เหมือนมีแก้วโชติรสที่คอยบันดาลความสุขความสำเร็จให้บังเกิดขึ้นในชีวิต

( หมายเหตุ กระทู้นี้ เข้าอยู่ใน ข้อ 11 คือ กรรมก่อนตาย อาสันนกรรม )

สาธุ ค่ะ


#20 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 07:14 PM

นรอ. สาคร ย้งไงก็เข้าใจนะคะ ว่าคุณมีจุดมุ่งหมายในการถามอย่างไร

คำถามแบบที่คุณเอามาโพสต์ที่คนทั่วไปมักจะถามกัน บางครั้งตัว ณ 072 เอง ก็นึกคำตอบไม่ออกเหมือนกัน บางครั้งต้องนึกตั้งนานถึงจะนึกออก บางครั้งก็ต้องไปคนคว้าหาคำตอบเอา บางครั้งก็ได้คำตอบจากที่ นรอ. สาครถามนี่ล่ะค่ะ

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#21 ส.เสือ

ส.เสือ
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 June 2009 - 09:31 PM

คนที่คุณ ว่า เขาคงไม่ได้ เข้าวัดพระธรรมกายหรอก เลยไม่รู้หลักวิชชา ก็เป็นเรื่องธรรมดา ของผู้มีบุญน้อย ที่ไม่ได้มาเข้ามาศึกษา เรื่อง กฏแห่งกรรม

การเป็นคนขี้สงสัย มากเกินไป ทำให้กลายเป็นคนวิตกจริต

เวลา นั่งสมาธิ ก็จะเกิด ความลังเลสงสัย ใจไม่หยุด ก็นั่งฟรี

ไม่เบื่อหรอครับ คุณ สาคร


#22 สาคร

สาคร
  • Members
  • 764 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 June 2009 - 09:02 AM

คุณ ณ 072 ผมไม่รู้จะอธิบายความรู้สึกนี้กับคุณยังไง แต่ในถานะที่ผมเคยบวชเรียนมาแล้ว ขอบอกได้เลยว่า

คุณ มีเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา เกินร้อยเลยครับ ผมขออนุโมทนาในบุญกุศลในครั้งนี้ด้วยครับ

ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ไปอ่านกระทู้ใหม่ของผมนะ จะได้เข้าใจ
ความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นสิ่งที่คนดีเขามีกัน


[email protected]