ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ผิดด้วยเหรอ ที่"ยัง"ไม่มุ่งนิพพานตอนนี้


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ณนนท์

ณนนท์
  • Members
  • 57 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 July 2009 - 02:40 PM

เอามาฝากจากหนังสือเล่มหนึ่ง คาดว่าจะตรงใจหลายๆคน

" และหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้เน้นนิพพาน แม้ว่าสูงสุดของศาสนาพุทธคือนิพพาน แต่ผมคิดว่ายิ่งเราแยกคนที่ต้องการนิพพานออกจากคนที่ไม่ได้ต้องการนิพพานนั้นยิ่งทำให้คนห่างไกลวัดหรือศึกษาธรรมะน้อยลง เพราะการที่เราจะไปถึงนิพพานได้เมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่เราเคยสร้างมาด้วย ฉะนั้นหากเอาแต่เรื่องนิพพานไปคุยกับคนที่ยังไม่ต้องการจะยิ่งทำให้เขาไม่เข้าใจและยิ่งออกห่างจากพุทธศาสนา


ผมขอเปรียบเทียบกับภาพยนตร์จีน ผู้ที่ต้องการฝึกวิทยายุทธ์ในวัดเส้าหลิน จะมีหลายหลากวัตถุประสงค์ บางคนฝึกวิทยายุทธ์เพราะอยากให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น จึงฝึกแค่พื้นฐาน บางคนฝึกเพื่อใช้ป้องกันตัวก็จะต้องฝึกมากขึ้น ส่วนผู้ที่ต้องการเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ก็ต้องฝึกสูงขึ้นไปอีกจนกลายเป็นผู้เยี่ยมยุทธ์ที่ไม่ต้องมีกระบวนท่า การเหมารวมว่าผู้ที่ต้องการฝึกวิทยายุทธ์ต้องฝึกจนถึงขั้นสูงสุดเท่านั้น ส่วนผู้ที่ฝึกเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงไม่ควรจะฝึกวิทยายุทธ์นั้นจึงเป็นวิธีคิดที่ค่อนข้างคับแคบ


ธรรมะในพุทธศาสนาก็มีหลายระดับ ระดับพื้นฐาน จนถึงระดับสูงสุด ธรรมะในระดับพื้นฐานนั้นจะช่วยให้ชาวพุทธทั่วไปใช้ชีวิตถูกทาง ในเมื่อยังทิ้งกิเลสไม่ได้ จึงต้องเน้นความสุขภายนอกเน้นการทำบุญทางวัตถุ สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องเรียนรู้จึงเป็นวิธีใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง และหากจะมุ่งรวยขึ้นก็ต้องรวยอย่างถูกต้องตามหลักธรรม ซึ่งก็เทียบได้กับการฝึกวิทยายุทธ์ขั้นพื้นฐาน ดังตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า(พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ ข้อที่ ๖๒) ปุถุชนทั่วไปควรได้รับ สุข ๔ ประการ คือ สุขที่เกิดจากการมีเงิน สุขที่เกิดจากการใช้จ่ายเงิน สุขที่เกิดจากการไม่เป็นหนี้ สุขที่เกิดจากการประกอบงานที่ไม่มีโทษ และได้กล่าวในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ข้อที่ ๓๑๖ ว่า “ความเป็นคนจน เป็นทุกข์” เป็นต้น


ธรรมะระดับสูงก็จะเป็นเรื่องของการพัฒนาทางจิตใจมากขึ้น เราจะรู้วิธีมีความสุขทางจิตใจมากกว่าสร้างความสุขจากวัตถุ(ซึ่งก็เทียบได้กับการฝึกสูงขึ้น) ซึ่งความสุขจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุหรือเงินที่ได้รับ ส่วนระดับสูงสุดก็คือนิพพานซึ่งหลุดพ้นจากทุกอย่าง(เทียบกับวิทยายุทธ์ก็คือไร้กระบวนท่า)


หนังสือเล่มนี้จึงเน้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับผู้ที่ยังคงมีกิเลสอยู่ไม่น้อย เรื่องการหาความสุขทางใจเป็นเรื่องรองลงมา ส่วนเรื่องนิพพานนั้นยังเป็นเรื่องไกลตัว เพราะวันนี้ยังต้องกินต้องใช้ หากไม่มีกินจะเป็นเรื่องยากที่จะให้คิดเรื่องความสุขหรือคิดเรื่องนิพพาน จะให้ไปบวชก็ยังไม่ถึงเวลา หนังสือเล่มนี้มุ่งให้คำตอบว่าวันนี้เรายังจนหรือยังไม่รวยเกิดจากอะไร แล้วหากเราต้องการรวยขึ้นเราจะทำได้อย่างไร(ในแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม) หรือหากเรารวยแล้วเราจะรักษาความรวยนั้นไว้ได้อย่างไร และเราจะเอาความรวยของเราติดตัวเราไปชาติหน้าได้หรือไม่


หากหนังสือเล่มนี้จะช่วยเพิ่มความรู้เรื่องพุทธศาสนาให้กับคุณบ้าง และสามารถช่วยให้คุณรวยขึ้นได้โดยไม่ทำบาป นั่นถือว่าหนังสือผมได้ทำหน้าที่สำเร็จแล้ว แต่ยิ่งไปกว่านั้นหากหนังสือเล่มนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณเริ่มเปิดใจให้กับพุทธศาสนาและสนใจค้นคว้าศึกษามากขึ้น หรือทำให้คุณเริ่มสนใจความสุขทางใจหรือการหลุดพ้น ผู้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือตัวคุณเอง "

จากหนังสือ ถ้ารู้...(กรู)... ทำไปนานแล้ว โดย ณัฐพบธรรม

#2 julong

julong
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 July 2009 - 04:09 PM

เป็นความคิดที่ดี


ความดีก็มีหลายระดับ


เช่นแม้การตักบาตรพระหน้าบ้านวันละรูป ก็ไม่สามาตรไปนิพพานได้


แต่เป็นอุปนิสัยให้เราได้สร้างบารมีให้ยิ่งๆขึ้นไป

เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด


ปล.จะทำอะไรก็แล้วแต่ แต่อย่างทำกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดีเรื่อยไป

#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 03 July 2009 - 08:10 PM

การทำความดีไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่สิ่งที่ผิด(ซึ่งมักจะเป็นกันในหมู่ชาวพุทธ) คือ การคิดว่า ชาวพุทธที่ผิด คือ ชาวพุทธที่ไม่ได้ปฏิบัติตามเหมือนตัวเอง

หลายต่อหลายครั้ง ผมมักได้ยิน หรือ ได้อ่าน ชาวพุทธที่มุ่งนิพพาน ไปต่อว่าต่อขานชาวพุทธที่ยังไม่ได้มุ่งนิพพาน ว่าปฏิบัติผิดทาง

และเช่นเดียวกัน ผมก็เคยได้ยิน ชาวพุทธที่ไม่ได้มุ่งนิพพาน ไปต่อว่าต่อขานชาวพุทธที่มุ่งนิพพานว่า เห็นแก่ตัวบ้าง ไม่รู้จริงบ้าง เป็นต้น

อาจเป็นเพราะคำสอนของพระพุทธเจ้า มีถึง 84000 พระธรรมขันธ์ ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้ แต่มีทิฏฐิมาก มักเข้าใจไปว่า แนวที่ตนปฏิบัติเท่านั้นจึงถูก จึงเกิดการทะเลาะกันมากมาย

คงมีสักวัน ที่ชาวพุทธทั้งหลายจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยถ้วนทั่ว แล้วหันหน้าเข้าหากัน เลิกทะเลาะเบาะแว้งกัน มุ่งหน้าปฏิบัติตามคำสอนส่วนที่ตนถนัด โดยไม่ไปต่อว่ากันและกัน หากเป็นเช่นนั้น พระพุทธศาสนาก็จะกลายเป็นที่พึ่งให้แก่ชาวโลกได้อย่างแท้จริง
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 July 2009 - 09:28 PM

ประเด็นนี้อาจจะเรียกได้ว่าน่าสนใจในระดับหนึ่งทีเดี่ยว เราชาวพุทธจะต้องไม่ว่าร้ายกัน แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเขาหรือเธอ คุณหรือผม จะต้องไปนิพพานเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น

อนึ่งพวกเราลูกพระธรรม หลานคุณยาย เรามีจุดหมายเดียวกันครับ

สาธุ ครับผม

#5 *ธรรมรงค์*

*ธรรมรงค์*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 20 March 2011 - 03:46 PM

หากความหมายของ"พระนิพพาน" คือ หลุด,พ้น,หาย จากทุกข์ อย่างสิ้นเชิงถาวร ที่มิใช่ความหมายอื่น ผมว่า มนุษย์ทุกคนสามารถทำได้ครับ

เอากันง่ายๆ แค่ หายทุกข์ ก็คือนิพพาน ปัญหามันอยู่ตรงที่รู้จักสภาวะนิพพานและวิธีปฎิบัติแค่ไหน หากเปรียบ "พระนิพพาน" เป็นความเค็ม

ของเกลือ ที่คิดว่า ผู้ที่เคยกินเกลือ กับผู้ไม่เคยกินเกลือ(เคยฟังแต่เขาว่ามา) ผู้ใดจะรู้จักว่าเกลือหรือพระนิพพานดีกว่าว่า "มีรสชาติเช่นใด"