ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

พระพุทธศาสนาในราชอาณาจักรไทย (2)


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Roytavan

Roytavan
  • Members
  • 166 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 July 2009 - 06:07 PM

ต้องขออภัยนะคะที่นำบทความนี้มาขึ้นช้ากว่ากำหนดที่ให้ไว้

เมื่อครั้งที่แล้วเราทราบกันว่า ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในประเทศไทยแบ่งออกได้ทั้งสิ้น 16 ยุค เดิมได้กล่าวไปแล้ว 3 ยุค คือ


๑. ยุคเริ่มต้นที่พุทธศาสนาเผยแพร่สู่ประเทศไทย
๒. พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
๓. พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี

คราวนี้เราจะมาพูดกันต่ออีก 5 สมัย คือ



พระบรมธาตุไชยา เป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย สร้างขึ้นตามแบบลัทธิมหายาน


๔. พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย

ในสมัยที่อาณาจักรทวาราวดีกำลังรุ่งเรืองยู่นั้นปรากฏว่าทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีแว่นแคว้นใหญ่น้อยหลายแคว้น ดังปรากฏในจดหมายเหตุจีนเรียกซื่อประเทศเซี๊ยโท้ (แปลว่าดินแดง) ได้แก่แถวรัฐไทรบูรีในมลายบัดนี้มีพลเมืองนับถือพระพุทธศาสนาและ
ศาสนาพราหมณ์ ประเทศผานผานได้แก่บริเวณท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีบัดนี้ มีพลเมืองนับคือพระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานและที่เมืองเวียงสระเราเคยขุดพบพระพุทธรูปสมัยคุปตะ ดินแดนเหล่านี้ เคยมีสัมพันธ์ติดต่อกับอาณาจักรทวาราวดี จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อาณาจักรศรีวิชัยได้เกิดขึ้นที่เกาะสุมาตรา ภายหลังได้แผ่ขยายอำนาจรุกล้ำขึ้นมาทางแหลมมลายูและปราบแว่นแคว้นต่าง ๆ ในแหลมมลายู มีอาณาเขตทางเหนือติดกับอาณาจักรทวาราวดี

ในระยะเวลาดังกล่าวแคว้นเหล่านี้พระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานยังรุ่งเรืองดี นักธรรมจาริกอี้จิง บันทึกว่าอาณาจักรนี้พระราชาตลอดจนเหล่าราษฎร์ ศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนามาก มีพระภิกษุสงฆ์ในนคพลวงกว่าพันรูป และมีคณาจารย์สำคัญรูปหนึ่ง ชื่อศากยเกียรดี์ การปฏิบัติธรรมก็เคร่งครัดเหมือนกับในอินเดียต่อมาเมื่อราชวงศ์ปาละแห่งมคธเบงกอลมีอำนาจขึ้น กษัตริย์ราชวงศ์นี้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน โดยเฉพาะคือนิกายมันตรยาน

ราชวงศ์ไศเลนทระแห่งอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่ง ณ บัดนั้นได้แผ่อำนาจราชศักดิ์ ครอบงำทั่วดาบสมุทรทะเลใต้และแหลมมะลายูแล้วได้มีสัมพันธไมตรี กับราชสำนักปาละจึงพลอยได้ริบลัทธิมหายานนิกายมันตรยานเข้ามานับถือด้วยลัทธิมหายานได้เป็นศาสนาประจำของจักรวรรดิ์ศรีวิขัย ซึ่งเป็นจักรวรรดิ์มลายู ตลอดระยะกาลแห่งพ.ศ. ๑๒๐๐-๑๗๐๐ ปีเศษ

ทางตอนเหนือของแหลมมะลายูที่ในขณะนี้คือนครศรีธรรมราช ซึ่งมีชื่อเรียกในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ว่าเมืองตามพรพิงค์ เป็นประเทศราชของจักรวรรดิ์ศรีวิชัย เราได้พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต ยอเกียรติพระเจ้ากรุงศรีวิชัยและกล่าวถึงการสถาปนาพระเจดีย์ อุทิศในพระพุทธศาสนาเมื่อพ.ศ. ๑๓๑๘ ดังข้อความตอนหนึ่งว่า"พระเจ้ากรุงศรีวิชัย มีชัยชนะและพระสิริขาว พระองค์มีวาสนาอันร้อยด้วยเปลวเพลิงรัศมี ซึ่งเกิดขึ้นจากพระราซาแห่งประเทศใกล้เคียงพระองค์นี้พระพรหมได้อุตส่าห์บันดาลให้บังเกิดราวกะว่าทรงพระประสงค์ที่จะให้พระธรรมมั่นคงในอนาคตกาลพระเจ้ากรุงศรวิชัย ผู้เป็นเจ้าแห่งพระราชาทั้งหลายในโลกทั้งปวงได้ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้ง ๓ นี้ เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือดอกบัว (คือพระปัทมปาณี) พระผู้ผจญพญามาร และพระโพธิ สัตว์เจ้าผู้ถือวซิระ (คือพระ วัชรปาณี)ปราสาทอิฐทั้ง ๓ นี้ งามราวกับเพชรในภูเขาอันเป็นมลหินของโลกทั้งปวงแลเป็นที่บังเกิดความรุ่งเรืองแก่ไตรโลกพระองค์ได้ภวายแก่พระซินราช ประกอบด้วยพระสิริอันเลิศกว่าพระชินะทั้งหลาย ซึ่งสถิตอยู่ในทศทิศ (ปราสาทอิฐทั้ง ๓ ที่กล่าวในศิลาจารึก คือ ที่วัดแก้ว วัดหลง และที่วัดเวียง ทางภาคใต้ของประเทศไทย)

นอกจากนี้ อาณาจักรศรีวิชัย ยังเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระปริยัติธรรมที่โด่งดัง จนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕ พระทีปังกรอติศะ คณาจารย์ผู้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในธิเบตเคยมาพักศึกษาในสำนัก พระธรรมเกียรติ์ ที่สุมาตราถึง ๑๒ ปีมหาเจดีย์บุโรบุโตสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย

กล่าวเฉพาะในประเทศไทยเรามีปูชนียวัถุ เช่นพระเจดีย์บรมธาตุที่ไชยยา ก็ดีรูปปฏิมาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสัมฆทธิ์ขนาดโตกว่าคน ที่ไชยยาก็ดี และบรรดาพระพิมพ์ดินดิบต่าง ๆ ซึ่งมีซึ่งมีทั้งพุทธพิมพ์ และพิมพ์พระโพธิสัตว์ตามคติมหายานมีปรากฎมากมายทางจังหวัดภาคใต้ของไทย เช่นที่ ถ้ำคูหาสวรรค์ ถ้ำอกทะลุจังหวัดพัทลุง ที่เขากำปั่นจังหวัดปัตตานีและที่ถ้ำเขาตะเภาจังหวัดยะลาเป็นอาทิเหล่านี้เป็นเครื่องหมายแห่งมหายานและอิทธิพลของศรีวิชัย ตามเรื่องราวที่

ปรากฏในตำนานว่า อิทธิพลศรีวิขัยได้กำจายรุกขึ้นมาถึงประเทศกัมพูชา และบรรดาประเทศราชของเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ๒ คราว เมื่อกลาง พุทธศตวรรษที่ ๑๓ คราวหนึ่ง และเมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อีกคราวหนึ่ง

พระเจ้าสูริยวรมันที่ ๑ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๕ กษัตริย์กัมพูชาปรากฏน่าจะมีเชื้อสายสืบมาจากพวก ศรีวิชัยประเทศกัมพูชาและ ประเทศไทยจึงได้รับนับถือลัทธิมหายานตามแบบ อย่างศรีวิชัยอีกในระยะนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็นต้นมา




"พระพุทธมหาธรรมราชา" นั้นเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี


๕. พุทธศาสนาสมัยลพบุรี

ในยุคที่จักรวรรดิเขมรมีอำนาจครอบงำประเทศไทยเราเรียกว่ายุคลพบุรีมีระยะเวลา ราว พ.ศ. ๑๕๐๐-
๑๘๐๐ ปี

กษัตริย์เขมรบางพระองค์ก็เป็นพุทธมามกะ บางพระองค์ก็เป็นพราหมณมามกะ แต่พระพุทธศาสนาซึ่งแพร่หลายอยู่ในสมัยลพบุรีนี้ ปรากฏว่ามิทั้ง ลัทธิฝ่ายเถรวาทและลัทธิฝ่ายมหายานสำหรับลัทธิฝ่ายเถรวาทนั้นดูเหมือน จะไม่เจริญแข็งแรงนัก

ทั้งนี้ เพราะกษัตริย์เขมรที่เป็นพุทธมามกะ ก็เป็นพุทธมามกะในลัทธิมหายาน ก็ลัทธิมหายานที่ลพบุรีนั้นแพร่หลายสืบเนื่องมาแต่ครั้งสมัยอาณาจักรฟูนันวาระหนึ่งแล้วเมื่ออาณาจักรทวาราวดีรุ่งเรืองขึ้นลัทธิมหายานได้ชะงักลงชั้วคราว

ครั้นมาถึงสมัยนี้ลัทธิมหายานนิกายมันตรยาน ได้แพร่หลายขึ้นมาจากศรีวิชัยและเจริญงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเทศกัมพูชาเองและในประเทศไทย ตั้งแต่ตอนกลางและอีสานบางส่วนลงไปสถานที่สำคัญเกี่ยวกับลัทธิมหายานนิกายมันตรยาน เช่นปราสาทหินพิมาย ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๖

ที่ท่ามกลางลายประกอบส่วนบนประต ู(ทับหลัง) ด้านตะวันออกจำหลักรูปพระไตรโลกวิชัย ด้านตะวันตกเป็นพุทธประวัติตอนทรมานพญาซมภู ซึ่งภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิมหายาน และโดยเฉพาะนิกายมัตรยาน

ส่วนที่ลพบุรีนั้น ก็มีปรางค์สามยอดซึ่งเข้าใจว่าเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน และได้พบศิลาจารึกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ที่ลพบุรีมีข้อความ ตอนหนึ่งว่า "ในสถานที่อยู่ของดาบสทั้งหลายหรือของผู้ซึ่งงบวชเป็นพระภิกษุมหายานก็ดี บวชเป็นสถวีระ (คือฝ่ายเถรวาท) ก็ดีให้ท่านทั้งหลายบวชโดยจริงใจถวาย"ตบะ"แก่พระบาทกัมรเดงกำตวนอัญศรีสุริยะวรรมเทวะ..."

นอกจากนี้ในสมัยลพบุรี ได้มีการสร้างปฏิมากรรมทั้งขนาดใหญ่และเล็กขนาดเล็กนั้นคือพระพิมพ์ซึ่งนิยมกันในหมู่พระเครื่องว่าเป็นของขลังศักดิสิทธิเช่นพระร่วง ซึ่งเป็นพระทรงเครื่องปางประทานพร พระเศียรทรงกะบังมงกุฎเทริด ซึ่งข้าพเจ้าสันนิษฐนว่า พวกเขมร
ได้สร้างเป็นพระปฏิมาแห่งพระไวโรจพุทธเจ้า ซึ่งตามคติของนิกายมนตรยานมักจะเป็นพระทรงเครื่องเสมอ

พระพิมพ์อีกแบบหนึ่งที่เรียกกันว่า"พระหูยาน" เป็นพระปางภูมิสัมผัสมุทระข้าพเจ้าเข้าใจว่าเป็นพระปฏิมาแห่งพระอักโษภยพุทธเจ้า ซึ่งฝ่ายมหายานถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าประจำพุทธเกษตรทางบูรพาทิศ พวกเขมรจึงสร้างขึ้นไว้ในฐานะสัญลักษณ์แห่งความรุ่งโรจน์
ของจักรวรรดิเขมร ในภาคตะวันออกของโลกด้วย

นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์ที่ทำรูปเป็นพระอาทิพุทธ ประทับบนตัวพญานาคมีพระอวไลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระปรัชญาปารมิดาโพธิสัตว์ประทับยืนอยู่ซ้ายขวา ซึ่งจะพบได้ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลพบุรี สุพรรณบุรี และ สวรรคโลก ฯ

พระพิมพ์เหล่านี้ล้วนแล้วสร้างตามพิธีการของลัทธิมหายานนิกายมนตรยานซึ่งต่อมาได้แปรเป็นวิชาไสยศาสตร์ ฝ่ายพุทธคู่กับไสยศาสตร์ฝ่ายพราหมณ์ ในประเทศและเพื่อนบ้านใกล้เคียงต่อมา

๖. สมัยอาณาจักรอ้ายลาว

สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ชนชาติไทยเป็นชาติใหญ่ชาติหนึ่งในทวีปอาเชีย แต่หากได้แบ่งแยกกันออกเป็นหลายเผ่าตามเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงได้กระจัดกระจายพลัดพรากห่างเหินกันไป พื้นเพเดิมของไทยอยู่ในประเทศจีน ตั้งแต่ครั้ง ๔๐๐๐ ปีมาแล้ว ไทยได้ตั้งแว่นแคว้นอยู่ทางตอนใต้ ของลุ่มแม่น้ำเหลือง ต่อมาจีนได้อพยพเข้ามาแย่งที่ของไทย ขับไล่ไทยให้แตกร่นลงมาทางใต้ถึงลุ่มแม่น้ำแยงซเกียง พอไทยจะตั้งหลักได้บ้าง ก็ถูกจีนขยายอำนาจตามลงมาขับไล่อีก ไทยจึงต้องร่นลงมาทางใต้ได้เข้ามาตั้งแว่นแคว้นกระจายอยู่ทั่วไปในภาคใต้ของประเทศจีน เช่นในมณฑลเสฉวน กุยจิ๋ว กวางตุ้งกวางซี และมาชุมนุมคับคั่งมากกว่าแห่งอื่น คือที่มณฑล ยูนนาน

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ไทยในยูนนาน ได้ตั้งอาณาจักรอ้ายลาวขึ้น จดหมายเหตุของจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นบอกแก่เราว่า อาณาจักรไทยอ้ายลาวมีความสัมพันธ์กับอินเดียบ้างแล้ว จึงเข้าใจว่าอารยธรรมของอินเดียเช่นพระพุทธศาสนาเป็นต้น อาจแพร่เข้าสู่อ้ายลาวในระหว่างนี้ก็เป็นได้

ครั้นตกราวพุทธศตวรรษที่ ๖ เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่เข้าสู่ประเทศจีนแล้ว ปรากฏว่าขุนหลวงเม้ากษัตริย์ไทยอ้ายลาวพวกหนึ่ง (เวลานั้นไทยแบ่งเป็นหลายเหล่า)ได้ประกาศนับถือพระพุทธศาสนา นับเป็นกษัริย์ไทยองค์แรกที่เป็นพุทธมามกะพระพุทธศาสนาในครั้งนั้น เข้าใจว่าจะยังไม่ใชลัทธิมหายาน เป็นลัทธิสาวกยาน แต่จะใช่นิกายเถรวาทหรือไม่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดได้




เจดีย์สามองค์ ณ เมืองต้าลี่ ต้นกำเนิดของคนไทย สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรน่านเจ้า


๗. ไทยน่านเจ้านับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ในราวปลายพุทธศตวรรษที ๗ ราชวงศ์ฮั่นของจีนเสื่อมอำนาจบ้านเมืองระส่ำระสายแตกกันออกเป็น ๓ ก๊ก ขงเบ้ง แม่ทัพของเล่าปี่ ซึ่งตั้งก๊กขึ้นที่เสฉวน ได้ยกทัพมาตีอาณาจักรอ้ายลาวแตก ไทยต้องอพยพหนีภัยแตกกระจายคนละทิศละทางไทยบางพวกลง
มาอยู่ทางลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตอนเหนือของพม่าบางพวกอพยพมาอยูในสิบสองพันนา สิบสองจุไทยและหัวพันทั้งห้าทั้งหก บางพวกลงมาอยู่ในแดนลานช้างและภาคเหนือของประเทศไทย ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขง บางพวกล้ำเข้ามาอยู่ถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็มี
ในตอนแรก ๆ ก็อยู่อย่างฐานะผู้ลี้ภัย ต่อมาพอมีกำลังขึ้นจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ซึ่งต้องกินเวลาข้านานอีกหลายร้อยปี ส่วนพี่น้องไทยที่ไม่ยอมอพยพหนีลงมา ก็คอยหาโอกาส กู้เอกราชของชาติอยู่ในยูนนาน

ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ไทยเกิดวีรบุรุษชึ้นคือพ่อขุนพีลก ได้รวบรวมไทยในยูนนานประกาศตั้งเป็นอาณาจักรอิสระเรียกว่าอาณาจักรไทยเมืองต่อมาเปลี่ยนเป็นน่านเจ้า มีราชธานีอยู่ที่เมืองตาลีฟูอาณาจักรน่านเจ้ามีอายุยืนถึง ๕๐๐ ปี

ในระยะกาลอันยาวนานนี้ ไทยต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับจีนบ้าง ธิเบตบ้าง ญวนบ้าง บ้างคราวก็ชนะ บางคราวก็แพ้ ประจวบกับจีนตกอยู่ในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง ทั้งสองราชวงศ์มีกษัตริย์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอยู่หลายองค์โดยเฉพาะในสมัยถังพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายานเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก จนเรียกว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนา

ลัทธิมหายานจากจีนแพร่สู่น่านเจ้าและเจริญในเวลาไม่สู้ข้านัก จดหมายเหตุสมัยถังกล่าวถึงน่านเจ้าว่า "ประชาชนน่านเจ้ามีวัฒนธรรม
เจริญดี นับคือเคร่งครัดในพระพุทธศาสนาสาธยายพระพุทธคัมภีร์ด้วยความเคารพ ตัวหนังสือใช้เขียนด้วยตัวทอง"

เมื่อน่านเจ้ามีกำลังมากมักจะยกทัพขึ้นไปรุกรานเมืองเซ่งโตวของจีนในมณฑลเสฉวนจีนต้องส่งทูตมาขอเจรจาสัมพันธ์ไมตรี แต่น่าน
เจ้าไม่ยอมต้อนรับ อุปราชจีน มณฑลเสฉวนปรารภว่าน่านเจ้านับถือพระพุทธศาสนาแข็งแรงจึงเปลี่ยนเป็นส่งสมณจีนรูปหนึ่ง ซื่อเก็งเซียนมาเป็นทูตเจรจาคราวนีได้ผล กษัตริย์ไทยน่านเจ้าพร้อมด้วยราษฎรได้กราบไหว้ต้อนรับสมณะ
เก็งเซียนและแผนเจรจาสันติจึงสำเร็จ

ในสมัยราชวงศ์ซ้องเครี่องราชบรรณาการของน่านเจ้าที่ถวายต่อกษัตริย์จีน ปรากฏว่ามีคัมภีร์พระวัชรปรัชญาปารมิดาสูตร ๓ ผูก คัมภีร์มหายมานตกสตร ๓ ผูก ล้วนเป็นตัวทอง พระสูตรดังกล่าวนี้เป็นของลัทธิมหายาน เฉพาะสูตรหลังเป็นนิกาย
มนตรยาน

นอกจากนี้ยังมีวัดวาอารามสถูปวิหาร ซึ่งสร้างสมัยน่านเจ้า ยังมีซากอยู่ในยูนนานสืบมาจนถึงทุกวันนี้อาณาจักรไทยน่านเจ้าต้องพินาศดับสูญด้วยกองทัพของพวกมองโกล อันมีกุบไล่ข่านเป็นจอมทัพยกมาตีประเทศจีนได้ แล้วกุบไลข่านทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นในประเทศจีน แล้วส่งทัพมาตีน่านเจ้าแตกในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙

จดหมายเหตุครั้งราชวงศ์หงวน บันทึกถึงความเจริญของพระพุทธศาสนาในนครหลวงน่านเจ้าว่า "ราษฎรในแว่นแคว้นนี้ ถ้าเดินทางไป
อินเดียทางทิศตะวันตกใกล้กันมาก ทุกบ้านเรือนไม่ว่าจะมั่งมีหรือยากจน ส่วนมากจะต้องมีห้องบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ว่าจะเป็นคนเฒ่าชราหรือหนุ่มสาวที่มือจะต้องมีพวงประคำสำหรับชักเวลาสวดมนต์ติดประจำอยู่เสมอ"

จากบันทึกเหล่านี้ เราพอจะมองเห็นภาพความรุ่งโรจน์ของพระพุทธศาสนาในน่านเจ้าได้อย่างแจ่มชัด เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าแตกแล้ว ปรากฏว่าพี่น้องไทยน่านเจ้าได้อพยพมุ่งใต้ มาสมทบกับพี่น้องพวกที่มาอยู่ก่อนในแหลมอินโดจีนนี้ มากขึ้นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไทในแหลมอินโดจีนได้มีกำลังสามารถขับไล่พวกมอญและเขมรออกจากแผ่นดินไทยได้โดยสิ้นเชิง




พระพุทธรูปศิลปะโยนกเชียงแสน วัดร้อยข้อ จังหวัดเชียงราย


๘ พุทธศาสนาสมัยโยนกเชียงแสน

ชนชาวไทยที่อพยพมาอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนแต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ ๘ ดังได้กล่าวมาแล้ว บรรพบุรุของเราเหล่านี้ได้เที่ยวแยกย้ายกันสร้างบ้านแปลงเมือง ต้องสู้รบกับเจ้าของที่มาอยู่ก่อน คือพวกมอญและเขมร บางคราวก็แพ้บางคราวก็ชนะ จนราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ ไทยตั้งอาณาจักรเป็นปึกแผ่นขึ้นในลานนา ภาคเหนือและพายัพของประเทศ
ปัจจุบันนี้

นักประวัติศาสตร์กะระยะกาลตอนนี้ว่า เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ ๑๖-๑๘ เรียกว่าสมัยเชียงแสนรุ่นแรกระยะหนีง เริ่มตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๑ เรียกว่าสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง ระยะหนึ่ง แต่ที่จะ กล่าวในที่นี้มุ่งเฉพาะแต่สมัยเชียงแสนรุ่นแรก

ในระหว่างที่ไทยมาอยู่ในดินแดนใหม่ดั่งกล่าวนี้ไทยนับถือพระพุทธศาสนาติดเนื่องมาตั้งแต่ยังอยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว และเมื่อได้รับ อารยธรรม จากพวกมอญกับเขมร ก็คงจะได้นับถือพระพุทธศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาทตามแบบมอญ กับพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานตามแบบเขมรด้วยในระยะนี้ จึงเรียกได้ว่านับถือรวม ๆ กันไป แต่อิทธิพลของลัทธิเถรวาทมีสูงกว่าลัทธิมหายานมาก

ครั้น ตกราวพุทศตวรรษที่ ๑๖ ทางประเทศพม่าพระเจ้าอโนรธาได้เป็นใหญ่ครองพุกาม แล้วแผ่อานุภาพลงมาตีเมืองสูธรรมวดีของมอญแตก แผ่ขยายอำนาจเข้ามาปกครองหัวเมืองมอญ ในภาคเหนือของไทยกับภาคพายัพของไทยด้วยณาณาจักรไทย เช่นเวียงไชยปราการในท้องที่อำเภอฝางปัจจุบัน ก็พลอยแตกในตอนนี้ เป็นเหตุให้ไทยซึ่งรวมกำลังกล้าแข็งแล้วกลับทรุดลงระยะหนึ่ง แต่กลับได้อพยพลงมาทางภาคกลางมากขึ้น

มีความเห็นของนักโบราณคดีบางท่านว่าพระเจ้าอโนรธา ถึงกับสามารถมาตีอาณาจักร เขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย และว่าเมืองนครปฐมต้องร้างไป เพราะศึกพม่าคราวนี้

พวกพม่าแต่เดิมทีก็นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทต่อมาลัทธิมหายานกลับเจริญข่มรัศมีลัทธิเถรวาทลงมา ถึงสมัยพระเจ้าอโนรธา พวกมหายานนิกายมนตรยานแพร่หลายเข้ามาจากแคว้นเบงกอลเข้ามาในพุกามมากขึ้นและเป็นนิกายมนตรยานรุ่นปลาย ๆ ซึ่งปฏิบัติเลอะเทอะ ด้วยเอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาปะปนมาก ถึงกับพระสงฆ์อาจมีภริยาและดื่มสุราเมรัยได้ ใครถวายธิดาให้พระสงฆ์
เหล่านี้เป็นเมียก็ถือว่าได้บุญ

พระเจ้าอโนรธาไม่พอพระทัยวัตรปฏิบัติอันเป็นสัทธรรมปฏิรูปชนิดขัดแย้งกับพระพุทธวจนะ อย่างกลับหน้าเป็นหลังอย่างนี้ เมื่อตึได้อาณาจักรมอญ ซึ่งเป็นอู่ความเจริญของพระพุทธศาสนลัทธิเถรวาท สืบเนื่องมาแต่ครั้งพระโสณะพระอุคตระก็บังเกิดความเลื่อมใสในลัทนี้ จึงทรงรับเป็นศาสนูปภัมภก์ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ให้รุ่งเรืองขึ้น โดยมีเมื้องพุกามเป็นศูนย์กลาง

เพราะฉะนั้น ในตอนนี้พม่าจึงเป็นแหล่งสำคัญของความพัฒนาแห่งพระพุทธศาสนาฝายเถรวาทซึ่งได้ขยายเข้ามาในประเทศไทยด้วย ดังปรากฏโบราณสถานพระเจดีย์เจ็ดยอดเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างถ่ายแบบจากพระเจดีย์มหาโพธิเมืองกาม ซึ่งมีนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พระเจดีย์มหาโพธินี้พระเจ้าติโลมินโล กษัตริย์พุกาม โปรดให้ไปถ่ายแบบสร้างจากปรางค์พุทธคยาในอินเดีย เมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เวลานั้นอาณาเขตทางลานนายังตกเป็นประเทศราชของพุกามอยู่นักประวัติศาสตร์ จึงกล่าวถึงพระ
พุทธศาสนาในประเทศไทยยุคนี้ว่า"เถรวาทอย่างพุกาม"แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้าไม่อยากจะจัดระยะกาล อันนี้เป็นเหตุพิเศษ จนถึงกับจัดเข้าเป็นยุคเป็นสมัยทั้งนี้เพราะ พระเจ้าอโนรธาก็ได้พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากมอญเอง เพียงแต่ว่าเวลานั้นมอญแพ้พม่าความสำคัญของศาสนาก็ไปอยู่ที่ผู้ชนะซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในลัทธิเถรววาทอยู่ด้วย เอาเป็นธุระบำรุงให้เจริญเท่านั้น


ร้อยตะวัน (Roytavan)


...โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ...





#2 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 July 2009 - 07:12 PM

เนื้อหาดีมากครับ
อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 04 July 2009 - 10:16 AM

เยี่ยมครับ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 tnawut

tnawut
  • Moderators
  • 2398 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Laksi
  • Interests:Internet, Computer, Electronic, Security, Merit, Meditation, อินเตอร์เน็ต, คอมพิวเตอร์, ทำบุญ, ปล่อยปลา, บูชาเจดีย์, ฝันในฝัน, DOU, หมู่บ้านปฏิบัติธรรม, บวช, บรรพชา, Web, CU, Chula

โพสต์เมื่อ 06 July 2009 - 07:47 AM

รออ่านตอนสามครับ

#5 Roytavan

Roytavan
  • Members
  • 166 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 July 2009 - 10:44 AM

ถึงคุณ ตะกร้าอีกใบ, WISH , tnawut


ขอขอบคุณทั้ง 3 ท่านนะคะ ที่มาติดตามอ่าน แล้วจะนำเอาบทความดี ๆ มาขึ้นให้อ่านต่อนะคะ


ร้อยตะวัน (Roytavan) laugh.gif

#6 อู่ต่อเรือ

อู่ต่อเรือ
  • Members
  • 78 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 July 2009 - 09:50 PM

อ่านสนุกน่าติดตามเป็นอย่างมากเลยครับ
ใส ไว้ก่อน นั่ง นิ่งๆ ทิ้งทั้งตัว