ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

หลายข้อข้องใจครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr29061

usr29061
  • Members
  • 9 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 July 2009 - 06:56 PM

มีข้อข้องใจครับ

1. การทำบุญ กับการ ทำทาน เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ (ไปเคยได้ยินมาว่า ถ้าทำบุญส่งผลชาติหน้า ถ้าทำทานส่งผลชาตินี้)

2. เราสามารถเลือกได้ในชาตินี้เลยเหรอคับว่า ชาติหน้าเราจะไม่เกิดอีก



ลืมอีกข้อคับ

มีคนบอกให้ผมไป ตรวจสอบ กรรม กับ คนทรงคับ(บอกว่าเป็นผู้สร้างจักรวาล เค้าขอเพียงแค่ผมไปครั้งเดียว แต่ผมไม่ไป เพราะถ้าผมไป หมายความว่า ผมเชื่อหมอดู ฉนั้น ผลคือ ชั้น จาตุมหาราชิกาใช่มั๊ยคับ หรือไม่อย่างไร


และขอประกาศอีกอย่างนะคับ

ถ้าอาจารย์ที่พาผมไปซื้ออาสนะตอนวันรวมพลังเด็กดี วีสตาร์ มาอ่านเจอ ติดต่อผมมาหน่อยนะคับ ที่ผมพาปั่นซาเล้งไปอะ

#2 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 21 July 2009 - 10:05 AM

1. การทำทานเป็นบุญอย่างหนึ่งใน บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้

1)บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

2)บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

3)บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

4)บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

5)บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

6)บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

7)บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

8)บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

9)บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

10)บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

อ้างอิง : http://www.dhammakay...amma/boon01.php

ดังนั้น การทำทานเป็น สับเซ็ต ของการทำบุญ ทานเป็นบุญอย่างหนึ่ง และยังมีอีกหลายๆบุญที่เราสามารถทำได้
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาศีล นั่งสมาธิ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ช่วยเหลือผู้อื่น อุทิศบุญ อนุโมทนาบุญ ฟังธรรม สนทนาธรรม
และทำความเห็นให้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง

ซึ่งบุญส่งผลได้ทั้ง สองระยะ คือ ในชาตินี้แลละชาติหน้า
แต่บุญที่ทำในชาตินี้โดยมากจะรอส่งผลในชาติหน้า ยกเว้นบุญใหญ่จริงๆก็ส่งผลในชาตินี้ได้เลย

2.เราสามารถเลือกได้ในชาตินี้เลยเหรอคับว่า ชาติหน้าเราจะไม่เกิดอีก
เลือกได้สิ..เลือกที่จะสร้างเหตุแห่งการไม่เกิดอีก จะเกิดหรือไม่เกิด อยู่ที่บุญที่สั่งสมมา
ดังนั้นต้องค่อยๆสั่งสมบุญทุกบุญไป ผู้ที่ไม่เกิดคือผู้ที่หมดกิเลสแล้วน่ะค่ะ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  2.jpg   10.63K   8 ดาวน์โหลด


#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 July 2009 - 09:18 PM

อนุโมทนา กับธรรมทานของ New Crystal Pandita ด้วยครับ
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 22 July 2009 - 11:55 AM

1. การทำทานและการทำบุญไม่สามารถจำแนกได้ด้วยช่วงเวลาการส่งผลน่ะครับ เพราะทั้งสองอย่างสามารถส่งผลได้ทั้งชาตินี้ และชาติหน้า

การทำบุญ ประกอบด้วย การทำทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา (หรือ บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ดังที่คุณ Sky noi โพสมา หากพูดย่อๆ จะเหลือ 3 คือ ทาน ศีล ภาวนา)
ดังนั้น การทำทาน จึงเป็นส่วนหนึ่งของ การทำบุญ น่ะครับ

2. หากเราสามารถทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาจนกระทั่งบรรลุธรรม หมดกิเลส เป็นพระอรหันต์ เราก็จะไม่ต้องเกิดอีกครับ แต่ถ้ายังไม่หมดกิเลส ก็ต้องเกิดอีกน่ะครับ

3. ผลก็ืคือ ดีแล้วที่ไม่ไปครับ ถ้าหากไป เมื่อละโลกแล้ว สุคติที่ดีที่สุด ที่จะสามารถไปได้ คือ แค่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาเท่านั้น ถูกต้องครับ หรือ อาจต้องไป ทุคติ แทน หากสร้างบาปกรรม

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร