ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

การนั่งสมาธิ 6 ชม ต่อวันขึ้นไปต้องทำอย่างไร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 trsew

trsew
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 July 2009 - 06:49 PM

เหมือนได้ยินมาว่ามีคนนั่งสมาธิ จากเที่ยงคืนจนถึงเช้า เลยสงสัยว่าเค้าพักผ่อนและดูแลตัวเองกันอย่างไรบ้างครับ

เผื่อจะได้นำไปปฏิบัติดูบ้าง
ขอบคุณครับ

#2 แก้วใสเย็น

แก้วใสเย็น
  • Members
  • 234 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 July 2009 - 09:05 PM

กราบอนุโมทนาบุญล่วงหน้านะคะ สาธุ happy.gif

เกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมี


#3 ลูกอินทรีย์หัดบิน

ลูกอินทรีย์หัดบิน
  • Members
  • 369 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 July 2009 - 06:55 AM

การหยุดนิ่ง คือการพักผ่อนที่ดีที่สุดแล้วครับ


จะเห็นได้ว่า ผู้ที่หยุดนิ่งได้เป็นเวลานาน ๆๆๆ นอนแค่นิดเดียวก็สดใส ร่าเริง กว่าคนที่นอนเยอะ ๆ แต่ หยุดนิ่งนิดเดียวครับ

ไม่ต้องไปกังวลครับ หยุดนิ่งให้เต็มที่เลย ยิ่งนิ่งนาน เท่าไหร่ยิ่งสดชื่นเท่านั้นครับ

รายการชีวิตในสังสารวัฏ

ยืนยันตัวจริงเสียงจริงเจ้าของกรณีศึกษากฎแห่งกรรม

http://video.dmc.tv/programs/life_in_samsara/page5.html


หนังสือเรียนธรรมะ DOU           http://book.dou.us/d...ya-book-gl.html

GL 101 จักรวาลวิทยา                            http://book.dou.us/gl101.html
GL 102 ปรโลกวิทยา                              http://book.dou.us/gl102.html
GL 203 กฎแห่งกรรม                             http://book.dou.us/gl203.html
GL 305 ปฏิปทามหาปูชนียาจารย์           http://book.dou.us/gl305.html


#4 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 July 2009 - 10:25 AM

เริ่มจากการเก็บชั่วโมงหยุดชั่วโมงนิ่งในแต่ละวัน
เมื่อความละเอียดของใจมีมากขึ้นๆ การนั่งสมาธินั้นก็จะมีความสุขในผลของการปฎิบัติธรรม
โดยสติกับสบายและสม่ำเสมอ(รวมทั้งการทำการบ้าน10ข้อ)นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการปฎิบัติธรรม
เมื่อเรานั่งสมาธิแล้วมีความสุขซึ่งเกิดจากประสบการณ์ภายในที่ดีขึ้นตามลำดับและสำคัญที่หยุด
.......หยุดใจเราได้เพียงใด?...เมื่อใจหยุดนิ่งติดสนิทที่ศูนย์กลางกายแล้ว การนั่งครั้งละนานๆก็จะเกิดขึ้นโดยปริยาย
เพราะความปีติมีความสุขอันเปี่ยมล้นจากภายในที่ได้รับจากการปฎิบัติธรรมอย่างมีสติกับสบายและสม่ำเสมอนั่นเอง
แม้มืดตื้อมืดมิด..ก็มีสิทธิเข้าถึงธรรม...อนุโมทนาบุญกับผู้ที่มีความตั้งใจในการปฎิบัติธรรมทุกๆท่านนะครับ สาธุ

#5 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 July 2009 - 12:32 PM

ระหว่างรอเพื่อนกัลยาณมิตร ที่หมั่น ขยันนั่งสมาธิครั้งละ นาน ๆ , วันละหลาย ๆ ครั้ง และแบบเนสัชชิกังคัง
มาร่วมแบ่งปัน

ขอเพิ่มเติมข้อมูลจากเพื่อนกัลยาณมิตร อีกนิด ให้พิจารณานะครับ

การนั่งสมาธิ อย่างสม่ำเสมอ วันละหลายชั่วโมง
หรือ นั่งสมาธิ ครั้งละนาน ๆ ของแต่ละท่าน
มีการเตรียมพร้อมต่างกัน ตามแต่วัย สุขภาพ โรคเฉพาะตัว อัธยาศัย ฯล

แต่ โดยรวม ผมคิดว่า สิ่งสำคัญ คือ

สุขภาพกาย และคุณภาพใจ + อิทธิบาทธรรม ๔ ครับ

สุขภาพกาย :
เรื่องอาหารมื้อก่อนนั่งสมาธิ ย่อยง่าย ไม่มากเกิน , น้ำดื่ม พอดีกับสภาพการขับถ่ายของร่างกายตนเอง ,
บริหารเส้น ด้วย โยคะ เช่น ท่า สุริยนมัสการ ฯล ,
ยาดม น้ำมันที่ช่วยให้สดชื่นยามง่วง , อาสนะที่เหมาะสมกับการนั่งสมาธิและร่างกายของตนเอง
อาบน้ำ ชำระกายให้สะอาด สดชื่น ฯล

จิตใจ :
การนั่งสมาธิ ครั้งละนาน ๆ การเตรียมความพร้อมของใจ ในระหว่างวัน
ด้วยการสร้าง-รักษาอารมณ์ดี อารมณ์สบาย ไม่มีเรื่องรกใจ กังวล คั่งค้างใจ เอื้อเฟื้อการนั่งสมาธิ ดีมากนะครับ

ซึงการสร้างกุศลกรรมบท ๑๐ ในระหว่างวัน

และตั้งใจรักษาศีล ๕ โดยเฉพาะ ศีล ๘ ให้ดี
ก็ยิ่งเอื้อเฟื้อและส่งเสริมผลการนั่งสมาธิ ในวันนั้น ๆ รอบ นั้น ๆ
ให้ใจเกลี้ยง จากบรรดาเรื่องรกใจ ให้ใจหยุด นิ่ง สงบ มั่นคง ได้ดียิ่งขึ้น

เพราะศีล ที่บริสุทธิ์ ยิ่งส่งเสริม สนับสนุน สมาธิ

การสวดมนต์ ทำวัตร ก่อนนั่งสมาธิ ก็ช่วยปรับใจ จากหยาบเข้าสู่ละเอียด ได้ครับ

และที่สำคัญมาก คือ
การวางใจ ถูกศูนย์ ถูกส่วน อย่างผ่อนคลาย แตะ แผ่ว เบา พอดีๆ ฯล
ตามที่ครูบาอาจารย์ สั่ง สอน แนะ นำ ไว้ดีแล้วครับ


อย่างไรก็ตามการนั่งสมาธิครั้งละ นาน ๆ ในช่วงกลางวัน กับเวลากลางคืน
ก็มีการเตรียมกาย และผลกระทบต่อสุขภาพกาย และคุณภาพใจ ต่างกันนะครับ

การนั่งสมาธิในเวลากลางคืน โดยเฉพาะการนั่งแบบเนสัชชิกังคัง นั่ง ยืน เดิน ไม่นอน ตลอดทั้งคืน
จะมีอุปสรรคพิ่มขึ้นกว่า การนั่งช่วงกลางวัน
เพราะ เวลากลางคืน เป็นเวลาพักผ่อนของ อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
คือ
กลางวัน อาจง่วง เพราะ นิวรณ์ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมาธิภาวนา / วางใจเบาเกิน
แต่กลางคืน เจอทั้ง นิวรณ์ ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมาธิภาวนา / วางใจเบาเกิน
และง่วงนอน เพราะร่างกายต้องการพักผ่อน

ดังนั้น
ใครที่สุขภาพไม่แข็งแรงนัก
อาวาส อาหาร อารมณ์ อุปกรณ์ เช่น เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ หมวก ควรเหมาะสมพอดี ๆ
และที่สำคัญ การเตรียมความพร้อมของใจ ในระหว่างวัน ความมุ่งมั่น ความเพียร ไม่มากพอ

ผลของการนั่งสมาธิ อาจไม่ม่วนใจ อาจนั่งหลับ ปวดเมื่อยเกือบทั้งคืน
และสุขภาพ อาจรวน ไม่สดชื่นในวันต่อมาได้ครับ

ฉะนั้น ท่านใดที่นั่งสาธิแบบเนสัชชิกังคัง
จึงต้องดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง
จึงต้องดูแลรักษาอารมณ์ดี อารมณ์สบาย ในระหว่างวัน ให้ต่อเนื่อง มั่นคง

เคยมีโอกาส ได้นั่งสมาธิกับ พระอาจารย์ สมรรถ สมัตถผโล
คราวอบรมสมาธิแก้ว

ท่านบอกว่า

ครั้งอยู่ในฆราวาส ท่านฝึกนั่งสมาธินาน ๆ ทั้งที่บ้าน และที่ธุดงค์แก้ว
ควบคู่การรักษาศีล ๘
ใหม่ ๆ ก็ทั้งมืด ทั้งฟุ้ง ทั้งเมื่อยมาก ๆ แต่ก็ใช้ขันติ อดและทน และตื้อนั่งสาธิ
ต่อมา ใจ จึงหยุด นิ่ง แน่น มั่นคง กระทั่งได้ผลดี อะไร ๆ มากมาย

จากนั่งด้วยความืด เมื่อยมากมาก มาสู่ นั่งด้วยความม่วนใจ เพราะใจดำเนินเข้าสู่ภายใน สว่างไสว ฯล
แบบนั่งตั้งแต่ต้น จนจบ หลับตา ลืมตา ครั้งเดียว

ท่านจึงฝึกให้ สมาธิแก้ว นั่งครั้งละนาน ๆ ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
แบบนั่งรวดดียว ๔ ชั่งโมง , ๖ ชั่วโมง ถึง ๑๐ ชั่วโมง ให้ลุกยืนยืดเส้นได้บ้าง ห้ามเดินออก

ได้ฝึกบ่มขันติ และความเพียรในการฝึกสมาธิ ดีมากครับ

แต่
ผม เลือกที่นั่งสมาธิ ครั้งละ นาน ๆ ในเวลากลางวันมากกว่า ครับ happy.gif happy.gif

สรุป ว่า

ขออนุโมทนา การนั่งสมาธิครั้ง ละนาน ๆ หลายชั่วโมง , วันละหลาย ๆ ครั้ง
และแบบเนสัชชิกังคัง ของทุกท่านด้วยครับ

ตัวอย่างภาพ โยคะ ท่า สุริยนมัสการ

แนบไฟล์  33991227586290SunSalutation.png   26.57K   84 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  Yoka2.jpg   30.94K   111 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  surya00.jpg   257.54K   158 ดาวน์โหลด

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#6 trsew

trsew
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 July 2009 - 02:42 PM

ขอขอบคุณทุก ๆ ความเห็นนะครับ
ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเลย smile.gif

#7 usr25389

usr25389
  • Members
  • 6 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 July 2009 - 12:08 PM

การนั่งสมาธิ คือการกำหนดจิต เมื่อรวมใจหยุดนิ่ง
จิตหยุดนิ่งก็จะเป็นการพักผ่อนไปในตัว
โดยที่เราไม่ต้องใช้การนอนหลับเป็นการพักผ่อนค่ะ

ขออนุโมทนาบุญล่วงหน้าด้วยนะค่ะ สำหรับการเริ่มต้น
ถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีที่จะเริ่มไปสู่การเข้าถึงธรรมกายค่ะ