ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 2 คะแนน

ตุง : สัญลักษณ์แห่งศิริมงคล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Roytavan

Roytavan
  • Members
  • 166 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 August 2009 - 01:27 PM



ตุง : สัญลักษณ์แห่งศิริมงคล


ตุง คือ ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา พบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย ทำด้วย ผ้า ไม้ โลหะ ด้าย หรือกระดาษ เป็นรูปแถบยาว ห้อยลง ใช้ประดับ หรือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพิธีกรรมที่ใช้ตุง

'ตุง' สัญลักษณ์แห่งล้านนา

"ตุง" ของล้านนา ก็คือ "ธง" ของไทยภาคกลางนั่นเอง มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำ ตุงนั้นมีหลายอย่าง เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อและพิธีกรรมตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

ส่วนจุดประสงค์ของการทำตุงล้านนาก็คือ ทำถวายเป็นพุทธบูชาโดยทั้งชาวไทยยวน ไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ จะถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์

ความงามของตุงจะวัดกันที่ลวดลาย และ สีสรรที่แต่งแต้มประดิษฐ์ลงไปที่ผืนตุง โดยจำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำตุงดังนี้

ตุงผ้าทอ โดยทั่วไปมีขนาดกว้าง 15-50 ซม. ยาว 1-6 เมตร โครงสร้างประกอบด้วย ส่วนหัว-ตัว-หาง นิยมทอด้วยฝ้ายสีขาว มีลวดลายขิตสีดำและแดงเป็นเส้นพุ่ง อาจสอดสีอื่น ๆ เพื่อความสวยงาม

ตุงใย ใช้เส้นฝ้ายสีขาวมัดหรือถกคล้ายแมงมุมชักใย มีไม้ไผ่สอดเป็นโครงยึดเป็นช่วงๆ ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เป็นดอกไม้ หรือพู่ห้อย

ตุงกระดาษ เช่น ตุงไส้หมู ไส้ช้าง ตุงพญายอ โดยการนำกระดาษแก้วสีต่าง ๆ อย่างน้อยแผ่นละสีมารวมกัน พับไปมาแล้วตัดสลับไม่ให้ขาดจากกันเมื่อคลี่ออก และจับหงายขึ้นจะเป็นช่อพวงยาว ผูกติดกับไม้ยาวประมาณ 1 เมตร ปักตกแต่งหรือใช้ร่วมขบวนแห่ครัวทานเข้าวัดหรือปักเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์



ตุง กับงานประเพณีต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์ของชาวล้านนา ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุง และ ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ มี 4 ประเภท คือ

1. ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง
2. ตุงไส้หมู บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย
3. ตุงไจยหรือธุงไชย ถวายบูชาพระพุทธรูป เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย
4. ช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง ๆ

ตุงจัดเป็นเครี่องสักการะของล้านนาไทย มีตุงหลายชนิดที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น งานฉลอง หรืองานปอย งานสืบชาตา หรือขบวนแห่ต่าง ๆ เป็นต้น แม้จนกระทั่งปัจจุบัน ตุงก็ยังมีหน้าที่สำคัญผูกพันกับความศรัทธาของชาวล้านนา นอกจากนั้นก็ยังมีหน้าที่ใหม่เพิ่มเข้ามาได้แก่ การแห่แหนหรือการประดับประดาเพื่อเฉลิมฉลองงานการท่องเที่ยว ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบที่ยิ่งใหญ่อลังการมากขึ้นไปอีก ดังเช่น การแห่ตุงพันวาในขบวนแห่สลุงหลวงที่ จ.ลำปาง และในขบวนแห่ต่างๆ ที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย เป็นต้น

ประเภทของตุง
ตุงช่อ ทำด้วยกระดาษสี ใช้ปักตกแต่ง
ตุงร้อยแปด ทำด้วยกระดาษสี ใช้ในพิธีสะเดาะเคราะห์
ตุงค่าคิง ทำด้วยกระดาษว่าวสีขาว ใช้ในพิธีสะเดาะเคราะห์และงานสงกรานต์
ตุงไส้หมู ทำด้วยกระดาษสี ใช้ในงานสงกรานต์ และพิธีทางศาสนา
ตุงใย ทำด้วยเส้นด้ายหรือไหม ใช้แขวนหน้าพระพุทธรูป
ตุงไชย ทำด้วยผ้าสี ยกเว้นสีดำ มีลักษณะยาว ใช้ในการฉลองวัด
ตุงสามหาง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรใช้เป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย
ตุงกระด้าง ทำด้วยไม้หรือโลหะ ใช้เป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม
-ตุง-หลายท่านอาจเข้าใจว่า,ตุง,เป็นธง แต่อันที่จริงแล้วตุงไม่ใช่ธง ตุงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเชื่อต่างๆ เช่น ตุงที่มีการแบ่งเป็น 7 ช่องซึ่งหมายถึง สวรรค์ทั้ง 7 ชั้น เป็นต้น



ความเชื่อและอานิสงส์การตานตุง (ถวายตุง)

เรื่องการตานตุงหรืออานิสงส์การถวายตุงนี้ ปรากฏในหนังสือสังขยาโลก ตัวอักษรพื้นเมืองในคัมภีร์ใบลานมีว่า... มีภิกษุรูปหนึ่งท่านได้ไปเห็นไม้ตายแห้งท่อน หนึ่งมีลักษณะยาวงามดีมาก ท่านก็นึกที่จะเอาต้นไม้ไปทำ เป็นเสาตุงบูชาไว้ในวัดที่ท่านจำ พรรษาอยู่ แต่บังเอิญท่านมีอันเป็นลมปัจจุบันถึงแก่มรณกรรมลงในทันทีก่อนที่วิญญาณของท่านจะล่องลอยออกจากร่าง ท่านมีจิตประหวัดถึงแต่ไม้ท่อนนั้นจึงทำ ให้ต้องไปปฏิสนธิเป็นตุ๊กแก อาศัยอยู่ที่ไม้ท่อนนั้นได้รับทุขเวทนาเป็นเวลานาน ท่านจึงดลใจให้ชาวบ้านทราบว่า เวลานี้ท่านได้มาเกิดเป็นตุ๊กแกอาศัยอยู่ที่ไม้ต้นนั้น หากพอ
พวกชาวบ้านศรัทธาอยากจะให้ท่านพ้นจากกองทุกข์ ก็ขอให้สร้างตุงเหล็ก ตุงทองถวายทานไว้ในพระศาสนา จึงจะช่วยบันดาลให้ท่านหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้ได้ เมื่อชาวบ้านทราบเช่นนั้น ก็สร้างตุงเหล็กตุงทอง ถวายไว้ในพระศาสนา พระภิกษุรูปนั้นจึงพ้นจากกองทุกข์ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏศักราช มีความดังนี้ สิงห์คุตต์อำ มาตย์เอาตุงไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่และพระเจดีย์คีรี ครั้นสิ้นอายุจะไปตกนรก พระยายมราชก็แสดงตุงนั้นให้เห็นแล้วกล่าวว่า “เมื่อท่านทำ บุญวันนั้น ท่านยังกรวดนํ้าแผ่กุศลถึงเราและบัดนี้ท่านจงขึ้นไปบนสวรรค์เทอญ”

และอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า ยังมีนายพรานผู้หนึ่งล่าเนื้อมาตั้งแต่อายุได้ ๑๕ ปีจนถึงอายุ ได้ ๔๘ ปี วันหนึ่งเข้าป่าไปเพื่อจะล่าเนื้อ บังเอิญไปถึงวัดศรีโคมคำ ได้เห็นพระปฏิมากร องค์ใหญ่ และมีการประดับตุงเป็นพุทธบูชา เมื่อยามลมพัดต้องเกิดความสวยงามก็มีใจ พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกลับมาถึงบ้านก็จัดแจงหาผ้ามาทำ ตุง แล้วเอาไปบูชาพระประธานองค์ใหญ่นั้น ครั้นนายพรานผู้นี้ตายไป พระยายมราชมิทันได้พิจารณาก็เอาโยนลงนรก ในทันใดนั้น ตุงที่นายพรานเคยทำเพื่อถวายพระประธานองค์ใหญ่นั้นก็พันเอาตัวนายพรานพ้นจากนรกเสีย พระยายมจึงพิจารณาดูแล้วก็บอกนายพรานขึ้นไปบนสวรรค์

จุดมุ่งหมายในการสร้างตุง

- ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างบุญกุศลให้ตนเองและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์
- ประดับประดาศาสนสถาน ศาสนวัตถุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
- เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดไป โดยเฉพาะภัยที่เชื่อว่า เกิดจากภูติผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย
- ใช้ในทางไสยศาสตร์ ทำ เสน่ห์ บูชาผีสางเทวดา
- ใช้ในพิธีกรรมและเทศกาลต่าง ๆ เช่น พิธีสวดพุทธมนต์ พิธีสืบชะตา การขึ้นท้าวทั้งสี่ การตั้งธรรมหลวง งานปอยหลวง ทอดกฐิน ประเพณีสงกรานต์ประเพณีเกี่ยวกับคนตาย

อานิสงส์ของการสร้างตุง

จากหลักฐาน ตำ นาน ลิลิต และพงศาวดารต่าง ๆ ได้เขียนถึงอานิสงส์ของการสร้างตุงว่าผู้ที่สร้างตุงถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่ตกนรก ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะเป็นใหญ่เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำ ไว้ จากอานิสงส์ดังกล่าวนี้ทำ ให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขั้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี พื้นฐานความเชื่อ ของคนในสังคม วัสดุและความสามารถของชาวท้องถิ่น ในการที่จะนำ เอาวัสดุที่มีมาประดับตุง โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ

สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง

ปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุง เพื่อใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งทางศาสนา ประเพณีเกี่ยวกับการตาย งานเทศกาลและเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิม แต่แนวโน้มการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากบรรดาหน่วยงานทั้งภาคราชการและเอกชนมักนิยมใช้ตุงประดับตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม ซึ่งเรื่องนี้ศาสตราจารย์มณี พยอมยงค์ ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า งานบางงานสามารถใช้ตุงปักได แต่ควรใช้ตุงให้ถูกประเภท บางงานนำ ตุงไปใช้อย่างไม่เหมาะสม เป็นการทำ ลายคติความเชื่อดั่งเดิมของชาวล้านนา เช่น การนำ ตุงไปประดับประดาบนเวทีประกวดนางงาม เป็นต้น หากไม่มีการอนุรักษ์และศึกษารูปแบบคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนนำ ไปใช้แล้ว อนาคตการใช้ตุงในพิธีการต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิมคงจะถูกดัดแปลงให้เพี้ยนไปในที่สุด


ขอขอบคุณ “ตุงล้านนา”
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
อดิสร/วรวรรณ/พิมพ์
รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์/ตรวจทาน
๒๗/๓/๒๕๔๕.



ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่แวะเวียนเข้ามาอ่านกันนะคะ

ร้อยตะวัน (Roytavan)




#2 ตะกร้าอีกใบ

ตะกร้าอีกใบ
  • Members
  • 1297 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 August 2009 - 11:05 PM

งดงามมากครับ
อนุโมทนากับบทความที่ดีๆด้วยนะครับ
สาธุ
อย่าขาดการปฏิบัติธรรมแม้แต่เพียงวันเดียว
เพราะขาดแม้เพียงวันเดียว ใจเราจะหยาบ ทำให้ผังวิตกกังวลได้ช่อง

7 ส.ค. 48



#3 glouy.

glouy.
  • Members
  • 605 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 August 2009 - 11:33 PM

สวย งาม จริง จริง

ลูกพระธรรม

#4 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 August 2009 - 12:59 PM

อนุโมทนา คุณ Roytavan เจ้าของกระทู้ครับ

อ่านแล้วนึกถึง เรื่องอานิสงส์ การถวายธง เป็นพุทธบูชา
กับเรื่องวันลอยกระทง ลอยโคมประทีป ที่เชียงใหม่

เลยค้นหาข้อมูลมาเสริมกระทู้ครับ

อานิสงส์ การถวายธง เป็นพุทธบูชา


"ตุง" พุทธบูชาของชาวล้านนา โดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง
http://www.lannacorn...c...pe=A&ID=236

ตัวอย่างข้อมูล
คำว่า "ตุง" ตรงกับภาษาบาลีว่า "ปฏากะ" หรือ ธงปฏาก
ตุงมีบทบาทและความเป็นมาที่ยาวนาน ดังที่พบในศิลาจารึกที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ตอนหนึ่งว่า

"...วันนั้นตนท่านพญาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธามหาชน ลูกเจ้า ลูกขุน มนตรี ทั้งหลายยายกัน
ให้ถือช่อธง ข้าวตอกดอกไม้ไต้เทียน ตีพาดดังพิณ ฆ้องกลอง ปี่สรไนพิสเนญชัยทะเทียด กาหล แตรสังข์ มานกังสดาร"


ซึ่งหมายความว่า ในปีพ.ศ.1913 นั้น "เจ้าท้าวสองแสนมา" หรือ พญากือนา
เมืองเชียงใหม่พร้อมด้วยข้าราชบริพารไปรอต้อนรับพระสุมนเถระซึ่งมาจาก สุโขทัย
ก็ได้ยืนเรียงรายกันถือเครื่องสักการะต่าง ๆ เช่น ถือช่อ คือธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก
และถือธง หรือ ตุง ไปรอต้อนรับและในขบวนยังมีการบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่าง ๆ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#5 เด็กนอกวัด

เด็กนอกวัด
  • Members
  • 41 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 August 2009 - 01:40 PM




"ตุง" พุทธบูชาของชาวล้านนา


บทคัดย่อ : โดยทั่วไปแล้วตุงที่ใช้ในพิธีกรรมของล้านนาจะแบ่งออกเป็นตุงที่ใชในพิธีที่ถือเป็นศิริมงคล และตุงที่ใช้ในพิธีอุทิศกุศล การจำแนกตุงในการใช้งานสามารภจำแนกได้ดังนี้ ตุงประดับ หมายถึงตุงที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ซึ่งมีปอย หรืองานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาเพื่
โดยทั่วไปแล้วตุงที่ใช้ในพิธีกรรมของล้านนาจะแบ่งออกเป็นตุงที่ใชในพิธีที่ถือเป็นศิริมงคล และตุงที่ใช้ในพิธีอุทิศกุศล การจำแนกตุงในการใช้งานสามารภจำแนกได้ดังนี้ ตุงประดับ หมายถึงตุงที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ซึ่งมีปอย หรืองานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความสวยงามและยังใช้เป็นเครื่องหมายนำไปสู่บริเวณงานอีกด้วย

ตุงล้านนา หมายถึงเครื่องใช้ในการประดับหรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมอย่างหนึ่งของคนล้านนา คำว่า "ตุง" ตรงกับภาษาบาลีว่า "ปฏากะ" หรือ ธงปฏาก มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุทำจากผ้าหรือไม้ก็ได้ ส่วนปลายจะแขวนห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตุงมีบทบาทและความเป็นมาที่ยาวนาน ดังที่พบในศิลาจารึกที่วัดพระยืน จังหวัดลำพูน ตอนหนึ่งว่า "...วันนั้นตนท่านพญาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธามหาชน ลูกเจ้า ลูกขุน มนตรี ทั้งหลายยายกัน ให้ถือช่อธง ข้าวตอกดอกไม้ไต้เทียน ตีพาดดังพิณ ฆ้องกลอง ปี่สรไนพิสเนญชัยทะเทียด กาหล แตรสังข์ มานกังสดาร" ซึ่งหมายความว่า ในปีพ.ศ.1913 นั้น "เจ้าท้าวสองแสนมา" หรือ พญากือนา เมืองเชียงใหม่พร้อมด้วยข้าราชบริพารไปรอต้อนรับพระสุมนเถระซึ่งมาจากสุโขทัย ก็ได้ยืนเรียงรายกันถือเครื่องสักการะต่าง ๆ เช่น ถือช่อ คือธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก และถือธง หรือ ตุง ไปรอต้อนรับและในขบวนยังมีการบรรเลงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีต่าง ๆ

ตุงที่พบในล้านนาส่วนมากจะทำมาจากผ้า กระดาษ ไม้ โลหะ ทองเหลืองหรือใบลาน ความเชื่อของคนล้านนาเชื่อว่า "ตุง" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีส่วนร่วมอยู่ในประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ ที่ทำขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ใช้ในงานพิธีทางศาสนา ทั้งในงานมงคลและอวมงคล โดยจะมีขนาดรูปทรงและรายละเอียดแตกต่างกันไป รวมถึงความเชื่อ พิธีกรรมตลอดจนความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

โดยทั่วไปแล้วตุงที่ใช้ในพิธีกรรมของล้านนาจะแบ่งออกเป็นตุงที่ใชในพิธีที่ถือเป็นศิริมงคล และตุงที่ใช้ในพิธีอุทิศกุศล การจำแนกตุงในการใช้งานสามารภจำแนกได้ดังนี้ ตุงประดับ หมายถึงตุงที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ซึ่งมีปอย หรืองานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดความสวยงามและยังใช้เป็นเครื่องหมายนำไปสู่บริเวณงานอีกด้วย

ตุงที่ใช้ตกแต่งสถานที่ได้แก่ ตุงไจย หรือ ตุงชัย ตุงประเภทนี้อาจเรียกต่างกันไปตามคุณสมบัติที่ใช้ เช่น ทำจากผ้าเรียกว่า ตุงผ้า หรืออาจจะทอเป็นตุงใย ส่วนตุงผ้าของชาวไทลื้อนิยมทอด้วยเทคนิคการขิดหรือการจก ซึ่งมีลวดลายที่สวยงามแปลกตา ตุงชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องมีความกว้างและยาวมากนัก อาจจะแบ่งเป็นปล้อง ๆ ประกอบด้วยส่วนหัว ตัวและหาง โดยมีไม้ไผ่สอดคั่นเป็นระยะ ๆ มักนิยมตกแต่งด้วยเศษผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น

ตุงกระด้างมีลักษณะเป็นธงตะขาบ ทำด้วยแผ่นไม้ สังกะสี หรือวัสดุอื่น ประดับด้วยลวดลายวิจิตรบรรจง ที่สวนปลายทั้งสองด้านมักจะทำให้แหลมขนาดพอเหมาะใช้แขวนติดกับเสา ลวดลายที่แกะสลักบนตุงกระด้างได้แก่ ลายพฤกษา ลายดอกไม้ ลายนักษัตร สันนิษฐานว่า ตุงกระด้าง เป็นวัฒนธรรมที่ล้านนารับมาจากพม่า ชาวพม่านิยมสร้างตุงกระด้างสำหรับถวายแด่พระรัตนตรัยอย่างถาวร มักถวายเป็นคู่ไว้หน้าพระประธานหรือหน้าอุโบสถ วิหาร บางแห่งทำไว้กลางลานวัดหรือใกล้พระเจดีย์




นอกจากนั้น ยังมีตุงที่ใช้ในพิธีอวมงคล ได้แก่ ตุงสามหาง ใช้นำหน้าขบวนศพไปสุสาน โดยให้คนแบกคันตุงสามหางนำหน้าซึ่งลักษณะรูปร่างคล้ายกับคน จากเอวลงไปแยกออกเป็น 3 แฉก เรียกว่า 3 หาง ตัดด้วยกระดาษสา หรือผ้าขาวกว้างประมาณ 35 ซม. ยาวประมาณ 100 ซม. เหตุที่ต้องทำเป็นรูป 3 หาง มีความหมายถึง กุศลมูล 3 บ้าง อกุศลมูล 3 บ้าง อันหมายถึง วัฏฏวน 3 ได้แก่ กิเลส กรรม วิบาก

ตุงแดง ตุงค้างแดง หรือตุงผีตายโหง มีลักษณะคล้ายกับตุงไจย เป็นตุงสีแดงกว้างประมาณ 1 คืบ ยาวตั้งแต่ 30 ซม.จนถึง 2 เมตร บางทีก็ให้ยาวเท่ากับความสูงของผู้ตาย และปักให้ปลายหางแตะพื้นดิน ใช้ในพิธีสูตรถอนวิญญาณผู้ตายจากอุบัติเหตุตามท้องถนน จะปักไว้บริเวณที่คนตายและก่อเจดีย์ทรายกองเล็ก ๆ เท่ากับอายุของคนตาย

ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์ จะใช้ประกอบในพิธีตั้งธัมม์หลวง หรือเทศน์มหาชาติในคืนวันยี่เป็ง (วันเพ็ญเดือน 12) หรืองานตั้งธัมม์หลวงเดือนสี่เป็ง ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาคารที่มีการเทศน์ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อและอานิสงส์ในการถวายตุง ผลดีในการถวายตุงปฏากะนี้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานชื่อ สังขยาโลก จารด้วยอักษรธรรมล้านนากล่าวว่าหากผู้ใดได้ทานตุงแล้วตายไป อานิสงส์นั้นจะช่วยบันดาลให้หลุดพ้นจากทุกข์เวทนา อานิสงส์แห่งการถวายตุงจะช่วยให้เกาะชายตุงขึ้นสู่สวรรค์ ซึ่งจะเห็นว่า "ตุง" ที่ปรากฏอยู่ในล้านนานั้นมีความหลากหลายทั้งด้านรูปแบบ โครงสร้าง วัสดุและสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวกับพิธีกรรมต่าง ๆ อันนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอีกประการหนึ่งที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

จักรพงษ์ คำบุญเรือง


ที่มา : http://www.lannacorner.net/lanna2008/artic...pe=A&ID=236


เห็น คุณ "นักเรียนอนุบาล Dd2683" มาเขียนไว้...เราเลยเอามาลงต่อให้เสียเลย... laugh.gif rolleyes.gif smile.gif

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
เด็กนอกวัด


#6 ปฏิปทา 072

ปฏิปทา 072

    ขอชื่อ ที่ถูกต้อง ปฏิปทา 072 THANIDA KOIKE

  • Members
  • 1358 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 18 August 2009 - 06:44 PM

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ เคยได้เห็นของจริง เมื่อตอนกลับไปบ้าน เมื่อ 7 ปีที่ผ่านมาทางภาคเหนือ สวยงามมากๆๆๆ ค่ะ เห็นแล้วก็ยังได้ ร่วมบุญ

ด้วยในช่วงที่ไปนั้นด้วย เพราะพอดีมีงานบุญ ค่ะ ก็ขอเอาบุญที่ทำไปในตอนนั้น มาฝากเพื่อนๆทุกท่านด้วยนะค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ