อยากทราบว่าผู้ที่เกิดเป็นผู้หญิงจะสามารถไปนิพพานได้มั้ยคะ
นิพพาน
เริ่มโดย SayNo2Lกฮ, Oct 20 2009 06:21 PM
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 20 October 2009 - 06:21 PM
#2
โพสต์เมื่อ 20 October 2009 - 07:03 PM
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงลาพระประยูรญาติแล้วพาพระสาวกไปประทับที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ก่อนเสด็จพุทธดำเนินต่อไปยังแคว้นโกศลนั้น พระนางมหาปชาบดีกับเจ้าหญิงศากยะจำนวนหนึ่ง ได้พร้อมพระทัยกันให้กัลบก(ช่างตัดผม) ปลงพระเกศาแล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ จากนั้นจึงเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่าไปยังเมืองเวสาลี การเสด็จดำเนินทางไกลด้วยพระบาทเปล่าเช่นนั้น ทำให้พระนางมหาปชาบดีและเจ้าหญิงศากยะเจ็บระบมพระบาท พระวรกายต้องฝุ่นสกปรก พระอานนท์เห็นพระนางมหาปชาบดีประทับยืนกันแสงอยู่หน้าซุ้มประตูกูฏาคารศาลา อันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าจึงเข้าไปทูลถามถึงเหตุผล เมื่อได้ทราบพระประสงค์เรื่องการขอออกบวชแล้ว ท่านจึงรับอาสาเข้าไปกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรีได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างบุรุษ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธคำทูลขอของท่านเหมือนอย่างที่ทรงเคยปฏิเสธคำทูลขอของพระนางมหาปชาบดีว่า
“อย่าเลย อานนท์ เธออย่าพอใจให้สตรีออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย”
ท่านได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “หากสตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุมรรคผลได้หรือไม่” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “สามารถบรรลุได้” จึงกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรีโดยเฉพาะพระนางมหาปชาบดีได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาได้อย่างบุรุษบ้าง
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตตามที่พระอานนท์ทูลขอ แต่ทรงมีเงื่อนไขว่า พระนางมหาปชาบดีจะต้องถือปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการ ตลอดพระชนมชีพ หากพระนางทรงถือปฏิบัติได้ ขอให้การถือปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการนี้แหละ จงเป็นการอุปสมบทของพระนาง
“อย่าเลย อานนท์ เธออย่าพอใจให้สตรีออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย”
ท่านได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “หากสตรีออกบวชแล้วสามารถบรรลุมรรคผลได้หรือไม่” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “สามารถบรรลุได้” จึงกราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรีโดยเฉพาะพระนางมหาปชาบดีได้ออกบวชในพระพุทธศาสนาได้อย่างบุรุษบ้าง
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตตามที่พระอานนท์ทูลขอ แต่ทรงมีเงื่อนไขว่า พระนางมหาปชาบดีจะต้องถือปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการ ตลอดพระชนมชีพ หากพระนางทรงถือปฏิบัติได้ ขอให้การถือปฏิบัติครุธรรม ๘ ประการนี้แหละ จงเป็นการอุปสมบทของพระนาง
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#3
โพสต์เมื่อ 20 October 2009 - 07:26 PM
เมื่อได้บำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ทัศ ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี(การหลีกออกจากกาม) ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี จนแก่รอบบริบูรณ์ อย่างน้อย 1 แสนมหากัป (กัปหนึ่ง คือ เวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งยาวนานมากๆ) ก็สามารถบรรลุนิพพานได้ครับ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นชาย หรือ หญิง
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#4 *sky noi*
โพสต์เมื่อ 21 October 2009 - 09:42 AM
ผู้หญิงจะสามารถไปนิพพานได้
ซึ่งในอดีตก็มีมาแล้วมากมายที่ได้บรรลุอรหันต์เข้านิพพานได้แก่
1.พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น
พระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระ
กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้
บรรลุพระอรหัตผล
2.พระเขมาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระ
นามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้
อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์ พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคา
เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเอง
เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้ว
ละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”
เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก
บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
ขวา
3.พระอุบลวรรณาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า
“อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว ได้จุดประทีปเพื่อขจัดความมืดแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอาเป็นนิมิตร ขณะที่กำลังยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโช กสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็น
ฐานเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้น นั่นเอง ทรงสถาปนาพระอุบลวรรณา
เถรี นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ และเป็นอัครสา
วิการฝ่ายซ้าย
4.พระปฏาจาราเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงพระวินัย พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสัตถี เมื่ออายุย่างได้ 16 ปี เป็นหญิงมี
ความงดงามมาก บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใยให้อยู่บนปราสาท ชั้น 7 เพื่อป้องกันการคบหากับ
ชายหนุ่ม
“ปฎาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทานหรือเป็นที่ป้องกันแก่
ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี ส่วนผู้รู้ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว
ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น”
เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางปฏาจาราดำรงอยู่ในโสดาปัตผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระ
โสดาบันแล้ว กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงบวชเป็นภิกษุณี ไม่นานนัก
ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
เมื่อนางปฏาจาราได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระเถรีผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระวินัย
เป็นอย่างดี อาศัยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เล่าสู่กันฟัง ตามประสา "ผู้หญิง"
ซึ่งในอดีตก็มีมาแล้วมากมายที่ได้บรรลุอรหันต์เข้านิพพานได้แก่
1.พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู พระมหาปชาบดีเถรี เป็นราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งพระนครเทวทหะ เป็น
พระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา (พุทธมารดา) พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทสำเร็จเป็นนางภิกษุณีแล้วเรียนพระ
กรรมฐานในสำนักพระบรมศาสดา อุตสาห์บำเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้
บรรลุพระอรหัตผล
2.พระเขมาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระ
นามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้
อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์ พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคา
เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเอง
เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้ว
ละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”
เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก
บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
ขวา
3.พระอุบลวรรณาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า
“อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว ได้จุดประทีปเพื่อขจัดความมืดแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอาเป็นนิมิตร ขณะที่กำลังยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโช กสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็น
ฐานเจริญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้น นั่นเอง ทรงสถาปนาพระอุบลวรรณา
เถรี นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ และเป็นอัครสา
วิการฝ่ายซ้าย
4.พระปฏาจาราเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงพระวินัย พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสัตถี เมื่ออายุย่างได้ 16 ปี เป็นหญิงมี
ความงดงามมาก บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใยให้อยู่บนปราสาท ชั้น 7 เพื่อป้องกันการคบหากับ
ชายหนุ่ม
“ปฎาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทานหรือเป็นที่ป้องกันแก่
ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี ส่วนผู้รู้ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว
ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น”
เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางปฏาจาราดำรงอยู่ในโสดาปัตผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระ
โสดาบันแล้ว กราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงบวชเป็นภิกษุณี ไม่นานนัก
ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
เมื่อนางปฏาจาราได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าเป็นพระเถรีผู้มีความรอบรู้ในเรื่องพระวินัย
เป็นอย่างดี อาศัยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย
ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เล่าสู่กันฟัง ตามประสา "ผู้หญิง"
#5
โพสต์เมื่อ 21 October 2009 - 07:13 PM
ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับคำตอบ
ทุกคำตอบช่วยตอบข้อสงสัยที่มีมานานได้อย่างดีเลยค่ะ
ทุกคำตอบช่วยตอบข้อสงสัยที่มีมานานได้อย่างดีเลยค่ะ