ไปที่เนื้อหา


- - - - -

กลางคืนดูดาว ยามเช้าตักบาตร..


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 17 November 2009 - 09:26 AM

นับเป็นความโชคดีที่จะได้ชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกในปีนี้ เนื่องจากช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2552 เป็นคืนเดือนมืด ท้องฟ้าค่อนข้างจะมืดสนิทเหมาะแก่การสังเกตฝนดาวตก และในช่วงเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เรายังได้มีพิธีตักบาตรพระ 1,000 รูป ณ ทุ่งบัวตองเหลืองอร่ามหลายล้านดอก ถวายเป็นพุทธบูชา ณ ดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งนับว่าเป็นไฮไลท์สุดพิเศษของพิธีตักบาตรพระ 1,000 รูปท่ามกลางทุ่งดอกบัวตองในปีนี้กันเลย เพราะในรอบ 10 ปี ถึงจะมีฝนดาวตกเกิดขึ้นสักครั้ง และที่สำคัญปีนี้จะเห็นปรากฏการณ์สุดพิเศษนี้ได้เพียงแค่สองคืน คือในคืนวันเตรียมงานวันที่ 17 พ.ย และคืนวันตักบาตรวันที่ 18 พ.ย นี้เท่านั้น ว้าวๆ

แนบไฟล์  tungbuatong.gif   79.5K   60 ดาวน์โหลด


ฝนดาวตกสิงโต
........................................
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก Leonids)

ฝนดาวตกสิงโต หรือ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (อังกฤษ: Leonids) เป็นฝนดาวตกหนาแน่น เกิดจากเศษดาวหาง เทมเพล-ทัตเติล ได้ชื่อว่าฝนดาวตกสิงโตเนื่องจากตำแหน่งของรัศมีของฝนดาวตกอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวสิงโต กระแสของฝนดาวตกจะเริ่มต้นจากบริเวณนี้บนท้องฟ้า

เราสามารถมองเห็นฝนดาวตกนี้ได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่าทุกปีในราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่โลกโคจรผ่านกระแสอนุภาคของฝนดาวตกที่เป็นเศษซากเหลืออยู่ของ ในเส้นทางโคจรของดาวหาง กระแสอนุภาคนี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็ก เรียกว่า สะเก็ดดาว ที่แตกตัวออกมาจากดาวหางเมื่อแก๊สแข็งของดาวหางเกิดระเหยขึ้นเนื่องจากความร้อนของดวงอาทิตย์ขณะที่ดาวหางโคจรเข้ามาถึงบริเวณวงโคจรของดาวพฤหัสบดี

ฝนดาวตกสิงโตมีชื่อเสียงมากเนื่องจากเป็นฝนดาวตกที่ค่อนข้างสว่าง สะเก็ดดาวที่หลงเหลืออยู่จากซากดาวหางยังคงล่องลอยอยู่ในแนววงโคจรใกล้เคียง กับวงโคจรเดิมของดาวหาง แต่ถูกรบกวนจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะดาวพฤหัสบดี (อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมใน McNaught & Asher (1999)) และกลายไปเป็นกระแสอนุภาค หางสะเก็ดดาวแต่เดิมจะไม่หนาแน่นและเป็นเพียงฉากหลังของฝนดาวตก (เกิดเพียงไม่กี่ดวงต่อนาที) วันที่เกิดฝนดาวตกคือประมาณวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยอาจเปลี่ยนไปบ้างในแต่ละปี[1] ในทางกลับกันหางสะเก็ดดาวชุดใหม่จะหนาแน่นมากและทำให้เกิดพายุฝนดาวตกเมื่อโลกเคลื่อนผ่านบริเวณเหล่านั้น สามารถนับได้สูงถึงมากกว่า 1000 ดวงต่อชั่วโมง


แนบไฟล์  leonid_2.jpg   74.29K   90 ดาวน์โหลด



#2 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2009 - 06:40 PM

เดือนมืด...แรม15ค่ำเดือน12
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#3 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 17 November 2009 - 07:09 PM

ดาวตกน่ะ...มืดๆ เห็นถนัดดี

#4 somchet

somchet
  • Members
  • 900 โพสต์

โพสต์เมื่อ 17 November 2009 - 08:16 PM

เสร็จแล้วก็อย่าลืมมาดูดาวภายในนะ

#5 *sky noi*

*sky noi*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 17 November 2009 - 08:38 PM

ใช่ๆ ไม่ลืมค่ะ ขอบคุณนะคะ

#6 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 November 2009 - 07:48 AM

ฝนดาวตกไม่อาวว....เค้าจะดูฝนรัตนชาติตอนตักบาตรน่ะ...
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#7 Tree

Tree
  • Members
  • 2076 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 November 2009 - 04:32 AM

อย่างไรก็ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับผู้มีบุญทุกท่านด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ


#8 นมสด

นมสด
  • Members
  • 35 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 November 2009 - 08:57 AM

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ